อาชีพใดที่มีการจ้างงานมากที่สุดในปัจจุบัน

ใครกำลังมองหางาน แวะมาอ่านทางนี้ ! Jobbkk เว็บไซต์หางานและสมัครงานยอดนิยม ได้เปิดโผ 10 อาชีพเนื้อหอม ที่กำลังเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานอย่างมากในช่วงครึ่งปีหลัง 2564 นี้ วันนี้ทันข่าว Today ได้เรียบเรียง 10 อาชีพสุดฮอตไว้ให้แล้ว มีอาชีพใดบ้าง ไปดูกันเลย

1. การขาย

แน่นอนว่าช่วงนี้ อาชีพที่เกี่ยวกับด้านการขาย เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก เพราะเป็นเหมือนแนวหน้าในการสร้างรายได้ให้กับองค์กร นอกจากจะต้องมีทักษะการขายที่ดีแล้ว ยังต้องมีไหวพริบเป็นเลิศอีกด้วย มนเรื่องของเงินเดือนนั้น ฐานเงินอาจจะทั่วไปตามท้องตลาด แต่เรื่องของค่าคอมมิชชั่นนั้นไม่ธรรมดา นักขายบางรายสร้างรายได้ต่อเดือนได้หลักแสนเลยทีเดียว

2. ITสายงานไอที เป็นที่สายอาชีพที่ฮอตไม่แพ้กัน เพราะทุกวันนี้ องค์กรต่าง ๆ ล้วนมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยสายงานไอทีที่เป็นที่ต้องการนั้น ไม่ว่าจะเป็นนักพัฒนาระบบเว็บไซต์ ซอฟต์แวร์, ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์, ดูแลความปลอดภัยของระบบ, การจัดการการเข้าถึงข้อมูล เป็นต้น

3. ช่างเทคนิคบริการดูแลบำรุงรักษา ซ่อมบำรุง เครื่องจักรต่าง ๆ เครื่องยนต์ เครื่องมือเครื่องใช้โลหะและไฟฟ้า รวมถึงคำนวณรายการและประเมินราคาการดำเนินงาน รวมไปถึงควบคุม ตรวจสอบ และแก้ไข งานสายนี้ เป็นความต้องการในตลาดแรงงานไม่แพ้สายอาชีพอื่น ๆ

4. บัญชีงานบัญชี ต้องมีความสามารถเฉพาะทาง มีประสบการณ์ หรือจบสายงานนี้โดยตรง เพราะเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดสูง มีหน้าที่ ทำบัญชี บันทึก จัดเก็บ รวบรวม และตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารทางบัญชี  บันทึกรายรับรายจ่าย ตลอดจน การจัดทำรายงานทางการเงิน

5. การตลาดไม่ว่าเวลาจะผ่านไปเท่าไร สายงานการตลาด ก็ยังเป็นที่ต้องการของตลาดเสมอ ไม่ว่าจะเป็น นักวิจัยการตลาด, นักวิเคราะห์และวางแผนการตลาด, การสร้างสื่อโฆษณา ซึ่งนักการตลาด จะต้องมีทักษะการบริหารงานหลายอย่างพร้อมกัน สามารถทำงานร่วมกับคนได้ทั้งในและนอกองค์กร มีทักษะการสื่อสารที่ดี มีความคิดสร้างสรรค์ รวมไปถึงทักษะเฉพาะทางเช่น ภาษาต่างประเทศ และสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว พร้อมเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ

6. ร้านอาหารและเครื่องดื่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เป็นที่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปากท้อง จึงมีความสำคัญมาก และสายงานที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหารและเครื่องดื่มนี้ ก็เป็นที่ต้องการของตลาดเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น กุ๊กอาหารไทย หรืออาหารนานาชาติ, บาเทนเดอร์, พนักงานต้อนรับ, พนักงานเสิร์ฟ, พนักงานร้านกาแฟ เป็นต้น

7. วิศวกรรมตำแหน่งวิศวกร เรียกได้ว่าเป็นตำแหน่งงานยอดฮิตกันเลยทีเดียว นอกจากจะเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานแล้ว ยังมีฐานเงินเดือนที่ดีอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น วิศวกรไฟฟ้า อิเล็กทรอนิคส์ โทรคมนาคม, วิศวกรเครื่องกล ยานยนต์, วิศวกรโยธา, วิศวกรคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

8. ขนส่ง - คลังสินค้าเจ้าหน้าที่สายงานนี้ก็ฮอตไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็น เจ้าหน้าที่จัดเรียงคลังสินค้า, เจ้าหน้าที่จัดส่งสินค้า, เจ้าหน้าที่จัดการสต๊อก โดยอาชีพนี้เลือกเข้างานป็นกะได้ มีความละเอียดรอบคอบเพราะต้องมีการตรวจสอบสินค้า นับจำนวน จัดเก็บ แยกแยะ สภาพและคุณภาพของสินค้า และอื่น ๆ

9. การผลิต - QA & QCฝ่ายผลิตสินค้ามีความสำคัญอย่างมากต่อองค์กร เป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจเลยทีเดียว และเป็นฝ่ายที่ต้องใช้กำลังคนจำนวนมาก เพราะมีหลายขั้นตอน การผลิตแต่ละครั้ง ต้องมีมาตรฐาน และมีจำนวนมากเพียงพอต่อการจำหน่าย ต้องวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ วางแผนการดำเนินงาน ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

แน่นอนว่า การผลิตต้องมีฝ่าย QA คือ Quality Assurance มีหน้าที่กำหนดกฎเกณฑ์และมาตรฐานของสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า มีการวิเคราะห์และวางแผนป้องกันของเสียหาย ส่วน QC หรือ Quality Control ตรวจสอบสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ QA กำหนด

10. Call Centerสายงานนี้หลายคนอาจมองว่าโหดเอาเรื่อง และน่าเบื่อพอตัว เพราะต้องคอยตอบคำถามลูกค้าจำนวนมาก และบ่อยครั้งที่ต้องรองรับคำตำหนิจากลูกค้าด้วย แต่ความจริง อาชีพนี้ ต้องใช้ทักษะอยู่พอตัว ไม่ว่าจะเป็นทักษะการพูด การฟัง การโน้มน้าวจิตใจ เพื่อให้การสื่อสารกับลูกค้าเป็นไปได้ด้วยดี

เจ้าหน้าที่ในระบบคอลเซ็นเตอร์ มีหลายส่วนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น เจ้าหน้าที่รับสาย, หัวหน้างาน, เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม, เจ้าหน้าที่วิเคราะห์คุณภาพ, เจ้าหน้าที่สนับสนุนระบบคอมพิวเตอร์และระบบ Call center (IT Support) เป็นต้น

อ้างอิงข้อมูลจาก เว็บไซต์ Jobbkk อัปเดตวันที่ 20 มิ.ย. 2564


หากใครได้ติดตามบทความก่อนหน้าหลาย ๆ บทความที่กล่าวถึงเรื่องแนวโน้มในอนาคต จะพบว่ามีเรื่องที่ตรงกันหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งที่ชัดเจนก็คือ การเข้ามาของเทคโนโลยีทางด้านดิจิทัล
(Digitalization) ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของโรงพยาบาล อุตสาหกรรมยาและเครื่องมือแพทย์ หรือแม้กระทั่งวิธีการตรวจวินิจฉัย และการรักษาของแพทย์เอง ก็อาจมีการเปลี่ยนไป

ปัจจัยที่เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การระบาดของโรคโควิด 19 การพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกและอีกหลายๆปัจจัย ทำให้มีการกล่าวว่าตลาดแรงงานและทักษะที่จำเป็นต้องใช้หลังการระบาดของโรคโควิด 19 อาจไม่เหมือนเดิม และจะทำให้มีแรงงานที่ปรับตัวไม่ทัน ต้องตกงานเป็นล้านคน ที่มีงานก็ต้องฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ ที่ตนเองไม่เคยมีมาก่อน และยังไม่รู้ว่าจะมีความมั่นคงในหน้าที่การงานมากน้อยแค่ไหน


สถานการณ์การจ้างงานทั่วโลกในปัจจุบัน

แนวโน้ม ปี 2564 (WESO Trends) ของไอแอลโอ ประเมิน “การว่างงาน” เนื่องจากวิกฤตโลกจะสูงถึง 75 ล้านตำแหน่ง ในปี 2564 ก่อนจะลดลงสู่ 23 ล้านตำแหน่งในปี 2565 เมื่อบวกกับจำนวนชั่วโมงการทำงานที่ลดลงเทียบเท่ากับการจ้างงานเต็มเวลา 100 ล้านตำแหน่งในปี 2564 และ 26 ล้านตำแหน่งในปี 2565 ทำให้มีการคาดการณ์ว่าจะมีคนว่างงานทั่วโลก 205 ล้านคนในปี 2565 สูงกว่าปี 2562 ที่มีคนว่างงานจำนวน 187 ล้านคน ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการว่างงานร้อยละ 5.7 และหากไม่พิจารณารวมช่วงวิกฤตโรคโควิด 19 การว่างงานในอัตราดังกล่าวเกิดขึ้นครั้งสุดท้ายในปี 2556

การฟื้นตัวของการจ้างงานทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 หากสถานการณ์การระบาดใหญ่โดยรวมจะไม่เลวร้ายลงไปกว่านี้ อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของการจ้างงานในแต่ละประเทศอาจไม่เท่ากัน เนื่องจากความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงวัคซีน และศักยภาพที่จำกัดของประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ รวมถึงลักษณะ ประเภทและรูปแบบของงานที่ถูกกระตุ้นให้เปลี่ยนเร็วขึ้นจากปัจจัยด้านเทคโนโลยีและการระบาดของโรคโควิด 19

โดยการฟื้นตัวของการจ้างงานยังเกี่ยวกับยุทธศาสตร์หลักที่สำคัญ 4 ประการ คือ การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวางและการสร้างการจ้างงานมุ่งเน้นผลิตภาพ การสนับสนุนช่วยเหลือรายได้ครัวเรือนและการเปลี่ยนผ่านของตลาดแรงงาน การเสริมสร้างรากฐานเชิงสถาบันที่เข้มแข็งที่จำเป็นต่อการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม ยั่งยืนและสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดี และการนำการเจรจาทางสังคมมาใช้เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การฟื้นตัวที่ยึดคนเป็นศูนย์กลาง


การปรับตัวของภาคธุรกิจในช่วงเวลาที่ผ่านมา

เพื่อรับมือกับวิกฤตครั้งนี้ World Economic Forum, WEF พบว่า ภาคธุรกิจส่วนใหญ่เลือกที่จะเร่งกระบวนการดิจิตัลไลเซชั่น (Digitalization) ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนหรือเสริมสร้างการทำงาน ด้วยเทคโนโลยีดิจิตัลมากที่สุดกว่า 84 เปอร์เซ็นต์ รองมาคือ การให้โอกาสพนักงานเลือกที่จะทำงานทางไกล 83 เปอร์เซ็นต์ ตามมาด้วยการเร่งกระบวนการนำเครื่องจักรมาใช้แทนคน หรือ Automation ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ รวมไปถึง การเพิ่มและสร้างทักษะแรงงานด้วยเทคโนโลยีดิจิตัลประมาณ 42 เปอร์เซ็นต์ โดยมีบริษัทเพียง 28 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่เลือกจะลดจำนวนแรงงานชั่วคราว และอีก 13 เปอร์เซ็นต์เลือกที่จะปลดพนักงานถาวร

โดยพนักงานหรือลูกจ้างที่ยังคงมีงานทำอยู่ทาง WEF ได้แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) แรงงานจำเป็น (Essential workers) เช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พนักงานจัดส่ง ลูกจ้างร้านขายอาหาร เกษตรกร และผู้ผลิตสินค้าทางการแพทย์ 2) แรงงานทำงานทางไกล (Remote workers) หรือผู้ที่ทำงานจากบ้าน และ 3) แรงงานพลัดถิ่น (Displaced workers) หมายถึง ผู้ที่ต้องโยกย้ายออกจากงานเดิม ซึ่งส่วนใหญ่คือ ผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนัก เช่น อุตสาหกรรมการบริการ ที่พัก อาหาร การเดินทาง การท่องเที่ยว ศิลปะ บันเทิง สันทนาการ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจให้เช่า ลิสซิ่ง และอื่น ๆ ในขณะที่ อุตสาหกรรมทางการเงินและการประกันภัย ขายปลีก ภาครัฐ สาธารณสุข การดูแลสุขภาพและก่อสร้างมีผู้โยกย้ายงานเข้าไปทำในช่วงเวลาที่ผ่านมา


เทคโนโลยีและอาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการหลังการระบาดโรคโควิด
-19

ตามผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้นำธุรกิจทั่วโลกเกี่ยวกับเทคโนโลยีอะไรที่พวกเขาจะรับมาปรับใช้กับธุรกิจ ภายในปี 2568 (ค.ศ. 2025) ของ World Economic Forum พบว่าการใช้คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) มีแนวโน้มที่จะถูกใช้มากกว่า 80% ตามมาด้วย Big data analytics, Internet of things, AI และที่เป็นที่สนใจเพิ่มขึ้นในขณะนี้คือ Cyber security การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ จากเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้จะเห็นทักษะเฉพาะหรืออาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการในอนาคตได้


แนวโน้มแรงงานที่เป็นที่ต้องการในอนาคต

จากแนวโน้มเทคโนโลยีที่จะถูกนำมาใช้ภายในปี 2568 นำไปสู่คำตอบสำคัญของบทความนี้ เรื่องแรงงานที่ตลาดต้องการในอนาคต โดยเป็นการสรุปจากรายงาน Jobs of Tomorrow report ของ WEF มีดังนี้

  • นักวิเคราะห์ข้อมูลและนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Analyst & Scientist) เป็นผู้ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเข้ามาวิเคราะห์เพื่อปรับใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์กับหน่วยงานในแต่ละด้านที่สนใจ
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง (AI & Machine Learning Specialists) เป็นผู้ที่มีความรู้ด้านการพัฒนา AI ให้สามารถทำงานบางอย่างทดแทนแรงงานมนุษย์ได้
  • นักวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data & Analytics) เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการรวบรวม วิเคราะห์ ตีความข้อมูลขนาดใหญ่ให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง เพื่อการนำไปใช้อย่างแม่นยำ
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing Specialist) เป็นผู้ที่มีความรู้ด้านการตลาด และการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อชักจูงโน้มน้าวผู้รับสารให้เกิดความรู้สึกร่วมจนถึงขั้นตัดสินใจ
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านวางระบบอัตโนมัติ (Process Automation Specialists) เป็นผู้วิเคราะห์และวางแผนการทำงานในระบบต่างๆให้สั้น กระชับ ทำได้อัตโนมัติ สะดวกและใช้แรงงานมนุษย์น้อยที่สุด
  • นักพัฒนาธุรกิจอย่างมืออาชีพ (Business Development Professionals) เป็นผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในช่วงการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี พร้อมเสาะหาและพัฒนาต่อยอดธุรกิจใหม่ๆให้กับองค์กร
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล (Digital Transformation Specialists) เป็นผู้เชี่ยวชาญในการนำองค์กรเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีสู่การใช้ Digital Technology เป็นหลัก โดยไม่โดน Disruption ไปก่อน
  • นักวิเคราะห์ระบบความปลอดภัยข้อมูล (Information Security Analysts) เป็นผู้เชี่ยวชาญในการวางระบบเพื่อดูแลความปลอดภัยของข้อมูล ป้องกันการเจาะ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ที่ไม่ถูกต้อง
  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชั่น (Software and Application Developers) เป็นผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาซอฟต์แวร์และแอพลิเคชั่นใหม่ๆให้กับแต่ละธุรกิจ
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things Specialists) เป็นผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อส่งต่อข้อมูลในเรื่องที่ต้องการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
    .
    .
  • ผู้จัดการโครงการ (Project Managers) ชื่อตำแหน่งอาจคุ้นเคยอยู่แล้ว ที่เปลี่ยนแปลงไปคือ การมีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการโครงการทางด้านดิจิทัล ซึ่งต้องสามารถสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานได้อย่างดี
  • ผู้จัดการฝ่ายบริหารและบริการธุรกิจ ชื่อตำแหน่งอาจคุ้นเคยอยู่แล้ว ที่เปลี่ยนแปลงไปคือ ต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารองค์กร ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (Data Network Specialist) เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบระบบสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายสารสนเทศ
  • วิศวกรหุ่นยนต์ (Robotic engineer) แน่นอนชื่อบอกชัดเจนแล้ว ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการพัฒนาหุ่นยนต์ เพื่อทำงานแทนมนุษย์ได้ในหลากหลายรูปแบบ
  • ผู้ให้คำแนะนำด้านการกลยุทธ์ (Strategic Advisors) องค์กรหรือผู้เชี่ยวชาญในการให้คำแนะนำเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ กำหนดเป้าหมาย และวางกลยุทธ์ให้กับธุรกิจ ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
  • นักวิเคราะห์การจัดการและองค์กร เป็นผู้เชี่ยวชาญในการจัดการองค์กรโดยเฉพาะช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี
  • ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านการเงิน (Financial Technology Specialists) ในอนาคตเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาททางด้านการเงินมากขึ้น แน่นอนว่าความต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนี้จึงเป็นที่ต้องการในอนาคต
  • ช่างกลและช่างซ่อมเครื่องจักร ต่อเนื่องจากข้อก่อนหน้า การพัฒนาหุ่นยนต์ เครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆขึ้นมาใช้งาน ต้องมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล ซ่อมบำรุง สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาองค์กร ไม่ใช่ชื่อตำแหน่งที่ใหม่ แต่การพัฒนาองค์กรที่มีการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในอนาคต ต้องการผู้ที่มีความเข้าใจในธุรกิจ รวมถึงผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างดี
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารความเสี่ยง ไม่ใช่ชื่อตำแหน่งที่ใหม่ แต่ในอนาคตจะมีธุรกิจใหม่ๆเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี จำเป็นต้องมีผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการประเมิน การป้องกันและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละธุรกิจได้

ในเบื้องต้นพอจะมองออกว่า งานในอนาคตจะเป็นงานที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับทางด้านเทคโนโลยี สำหรับงานที่ใช้เทคโนโลยีน้อย ใช้แรงงานคน ทำซ้ำ ๆ ไม่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์อาจจะถูกแทนที่โดยหุ่นยนต์, AI เครื่องจักรูปแบบต่าง ๆ   แนะนำอ่าน อาชีพที่ต้องระวัง อนาคตอาจหางานทำลำบาก

กลับมาที่อาชีพแพทย์ ยังคงเป็นอาชีพที่ตลาดต้องการ โดยต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง  และการมีปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะสมในการให้บริการ เทคโนโลยีหรือหุ่นยนต์ไม่สามารถทดแทนได้ทั้งหมด แต่แพทย์อาจต้องมีการปรับปรุงทักษะเพิ่มเติม เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อแนวทางการตรวจวินิจฉัยและให้บริการทางการแพทย์ได้   แนะนำอ่าน 10 แนวโน้มอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ บุคลากรการแพทย์ไม่รู้ไม่ได้

เรียบเรียงโดย กองบรรณาธิการ
ขอขอขอบคุณข้อมูลจาก
1.
บทความ “เปิด 20 อาชีพแห่งโลกอนาคต ตลาดต้องการหลังยุคโควิด 19” จากเว็บไซต์ www.tnnthailand.com
2. บทความ “การฟื้นตัวในการจ้างงานที่ล่าช้าและความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น เสี่ยงให้เกิดผลกระทบระยะยาวจากโควิด-19 จากเว็บไซต์ ilo.org/Asia and the Pacific
ภาพประกอบจาก www.freepik.com

อาชีพใดมีการจ้างงานมากที่สุดในปัจจุบัน

อาชีพที่คนอยากทำมากที่สุด อันดับ 1 สายงานขายและการตลาด 27.26% อันดับ 2 สายงานวิศวกร 17.31% อันดับ 3 สายงานบริการลูกค้า 11.05% อันดับ 4 สายงานบัญชีและการเงิน 7.39%

อาชีพที่ตลาดแรงงานมีความต้องการสูงมีอะไรบ้าง

7 สายอาชีพน่าทำที่ตลาดแรงงานต้องการ Posted By Plook Magazine | 16 ส.ค. 65. 2,369 Views..
1. งานด้านการตลาด cr.freepik. ... .
2. งานด้านบัญชีและการเงิน cr.freepik. ... .
3. งานด้านขนส่งและโลจิสติกส์ cr.freepik. ... .
4. งานด้านการแพทย์และสุขภาพ cr.freepik. ... .
5. งานด้านไอที cr.freepik. ... .
6. งานด้านวิศวกร cr.freepik. ... .
7. งานด้านฝ่ายผลิต cr.freepik..

อาชีพอะไรเป็นที่ต้องการของตลาด

อาชีพที่ตลาดต้องการอาชีพแรกอาจจะเซอร์ไพรส์ใครหลายคน นั่นก็คือ อาชีพด้านการขาย เช่น พนักงานขายหน้าร้าน, พนักงานขายออนไลน์, เจ้าหน้าที่ให้บริการด้านข้อมูลสินค้า,งานขายประกัน และ พนักงานขายทางโทรศัพท์ แม้ร้านค้าหลายร้านจะปิดตัวลง แต่จากข้อมูลการจ้างงานยังพบว่าอาชีพด้านการขายยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่ค่ะ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก