ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2565 หักกี่เปอร์เซ็นต์

วิธีคำนวณ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายไทยจะคิดเป็นรายปีปฏิทิน (ปีภาษี) โดยต้องใช้ 2 วิธีคู่กันแล้วเลือกใช้วิธีที่คำนวณแล้วเสียภาษีสูงกว่า ได้แก่

  • วิธีคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ (อัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันได) และ
  • วิธีคำนวณภาษีแบบเหมา 0.5%

วิธีคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ (แบบขั้นบันได)

วิธีนี้คำนวณจากจากเงินได้สุทธิด้วยสมการง่ายๆ คือ1

เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

จากนั้น

เงินได้สุทธิ × อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย

เทคนิคการคำนวณภาษีอย่างง่าย

1. เงินได้สุทธิไม่เกิน ฿150,000 (ขั้นบันได 0%)

ด้วยฐานภาษีขั้นแรกนี้ คุณจะไม่ต้องเสียภาษีเลย เนื่องจากเงินได้สุทธิ ฿150,000 แรก ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี2

2. เงินได้สุทธิ ฿150,001 – ฿300,000 (ขั้นบันได 5%)

ด้วยฐานภาษีขั้นบันไดนี้ คุณจะเสียภาษีสูงสุดไม่เกิน ฿7,500

3. เงินได้สุทธิ ฿300,001 – ฿500,000 (ขั้นบันได 10%)

ด้วยฐานภาษีขั้นบันไดนี้ คุณจะเสียภาษีราวๆ ฿7,500 – ฿27,500

4. เงินได้สุทธิ ฿500,001 – ฿750,000 (ขั้นบันได 15%)

ด้วยฐานภาษีขั้นบันไดนี้ คุณจะเสียภาษีราวๆ ฿27,500 – ฿65,000

5. เงินได้สุทธิ ฿750,001 – ฿1,000,000 (ขั้นบันได 20%)

ด้วยฐานภาษีขั้นบันไดนี้ คุณจะเสียภาษีราวๆ ฿65,000 – ฿115,000

6. เงินได้สุทธิ ฿1,000,001 – ฿2,000,000 (ขั้นบันได 25%)

ด้วยฐานภาษีขั้นบันไดนี้ คุณจะเสียภาษีราวๆ ฿115,000 – ฿365,000

7. เงินได้สุทธิ ฿2,000,001 – ฿5,000,000 (ขั้นบันได 30%)

ด้วยฐานภาษีขั้นบันไดนี้ คุณจะเสียภาษีราวๆ ฿365,000 – ฿1,265,000

8. เงินได้สุทธิมากกว่า ฿5,000,000 (ขั้นบันได 35%)

ด้วยฐานภาษีขั้นบันไดนี้ คุณจะเสียภาษีมากกว่า ฿1,265,000 อย่างแน่นอน

วิธีคำนวณแบบเหมา 0.5%

วิธีคำนวณแบบเหมา 0.5% จะถูกนำมาใช้ก็ต่อเมื่อคุณมีรายได้ทางอื่นนอกเหนือจากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว โดยการนำรายได้ทางอื่นทั้งหมดที่ไม่ใช่เงินเดือนไปคูณ 0.5% ก็จะได้เป็นค่าภาษี

เงินได้ที่ไม่ใช่เงินเดือน x 0.005 = ค่าภาษี

วิธีคำนวณแบบเหมา 0.5% จะนำมาใช้ก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขครบทุกข้อต่อไปนี้เท่านั้น

  • คำนวณจากรายได้ทุกทางยกเว้น เงินเดือน3
  • คำนวณแล้วค่าภาษีต้องเกิน ฿5,0004 (ถ้าคำนวณแล้วได้ ฿5,000 พอดีหรือต่ำกว่าจะไม่นำวิธีนี้มาใช้) แปลได้อีกทาง คือ ต้องมีรายได้ทุกทาง (ยกเว้นเงินเดือน) รวมกันแล้วเกิน ฿1,000,000 นั่นเอง
  • คำนวณภาษีแบบเหมาแล้วได้มากกว่าคำนวณภาษีแบบขั้นบันได5

การคำนวณภาษีกรณีเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะกิจ

ในกรณีที่ทำธุรกิจใน เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะกิจ (ท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสงขลาเฉพาะในท้องที่อําเภอจะนะ อําเภอเทพา อําเภอนาทวี และอําเภอสะบ้าย้อย และจังหวัดสตูล)6 และมี รายได้จากการรับเหมา หรือ รายได้จากการทำธุรกิจ ในรูปแบบ บุคคลธรรมดา จะได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตรา 0.1% จากยอดรายรับโดยไม่ต้องไปรวมคำนวณกับเงินได้ประเภทอื่นๆ ก็ได้7

เรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อย

  • หลายคนมักเข้าใจผิดว่าบ้านเรามีแค่คำนวณภาษีแบบขั้นบันไดอย่างเดียวเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วถ้าคุณมีรายได้ทางอื่นนอกเหนือจากเงินเดือนจะต้องใช้วิธีคำนวณแบบเหมา 0.5% มาคำนวณคู่กันด้วย
  • เวลาคำนวณภาษีแบบขั้นบันไดหลายคนเข้าใจผิดว่า ถ้าทั้งปีเรามีรายได้ ฿500,000 ก็จะเอา ฿500,000 มาคูณ อัตราภาษี ทันที (เช่น เอารายได้ ฿500,000 x อัตรา 10% ทันที) ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ยังไม่ถูกต้องและทำให้เราเสียเปรียบ เพราะเรายังไม่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอื่นๆ ทั้ง ค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน ซึ่งจะช่วยลดภาระภาษีได้อีกมาก ดังนั้น เราจึงต้องเอาเงินได้พึงประเมินลบด้วย ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนก่อนจึงจะเป็นฐานภาษีที่ถูกต้อง ที่เราเรียกว่า เงินได้สุทธิ

เพราะภาษีเป็นเรื่องที่ทำให้หลายคนปวดหัวได้ไม่หยุดหย่อน iTAX จึงอยากมีส่วนช่วยให้ผู้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีทุกคน สามารถคำนวณภาษีได้ถูกต้องครบถ้วนแม้จะไม่มีความรู้พื้นฐานภาษี และหากคุณเป็นหนึ่งคนที่ไม่อยากทนปวดหัวกับวิธีการคำนวณภาษีที่ยุ่งยาก ยื่นภาษีปีนี้ลองคำนวณภาษีผ่าน iTAX รับรองเลยว่า iTAX จะทำให้ชีวิตคุณง่ายขึ้นเยอะ

มาวางแผนการเงิน เช็กรายการลดหย่อนภาษี 2565 กัน! เข้าสู่ช่วงท้ายปี อีกหนึ่ง to-do list ที่ผู้มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปีต้องเตรียมตัวก็คือ การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรุงไทยจึงขอสรุปรายการลดหย่อนภาษีปี 2565 มาให้คุณได้เตรียมตัววางแผนบริหารภาษี เพราะหากบริหารดีๆ คุณจะเสียภาษีน้อยลง และได้รับเงินคืนอีกด้วย


วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  1. คำนวณด้วยเงินได้สุทธิ*
  2. คำนวณด้วยเงินได้พึงประเมิน (แบบเหมา)

สำหรับเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้จากเงินเดือน (รายได้ประเภทที่ 1) เป็นหลักมักจะคุ้นเคยและใช้วิธีคำนวณด้วยเงินได้สุทธิ แต่ถ้าคุณมีรายได้ประเภทที่ 2-8 รวมกันถึง 1 ล้านบาท ให้ใช้วิธีคำนวณด้วยเงินได้พึงประเมินด้วยเพื่อเปรียบเทียบกัน วิธีไหนเสียภาษีมากกว่า ให้เสียภาษีด้วยวิธีนั้น

หากใครไม่แน่ใจว่ารายได้ของตัวเองเป็นเงินได้ประเภทไหน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร
*ในบทความนี้จะเน้นวิธีคำนวณด้วยเงินได้สุทธิเป็นหลัก


วิธีคำนวณเงินได้สุทธิ

เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิเป็นตัวเลขที่แสดงให้เห็นว่ารายได้จริงๆ ของคุณต้องจ่ายภาษีในอัตรากี่เปอร์เซ็นต์ โดยเงินได้สุทธิแต่ละระดับจะถูกคิดอัตราภาษีที่แตกต่างกันเป็นขั้นบันได ยิ่งมีเงินได้สุทธิมาก ยิ่งต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นตามไปด้วย

เงินได้สุทธิ (บาท)อัตราภาษีภาษีสูงสุดแต่ละขั้นภาษีสะสมสูงสุด0 – 150,000 บาทได้รับการยกเว้นภาษี--150,001 – 300,000 บาท5%7,500 บาท7,500 บาท300,001 – 500,000 บาท10%20,000 บาท27,500 บาท500,001 – 750,000 บาท15%37,500 บาท65,000 บาท750,001 – 1,000,000 บาท20%50,000 บาท115,000 บาท1,000,001 – 2,000,000 บาท25%250,000 บาท365,000 บาท2,000,001 – 5,000,000 บาท30%600,000 บาท965,000 บาท5,000,001 บาทขึ้นไป35%ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินได้สุทธิ965,001 บาทขี้นไป

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก