ระดับภาษาทางการมีลักษณะอย่างไรมักใช้ในงานเขียนประเภทใด

๑. เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการ เช่น การกล่าวคาปราศรัย การเปิดประชุมรัฐสภา การกล่าวสดุดี การกล่าวรายงานในพิธีมอบปริญญาบัตรหรือประกาศนียบัตร เป็นต้น

 ๒. ผู้ส่งสาร ต้องเป็นบุคคลสำคัญหรือตำแหน่งสูงในวงการ ส่วนผู้รับสารมักจะเป็นกลุ่มชน ส่วนใหญ่ ผู้ส่งสารจะเป็นผู้กล่าวฝ่ายเดียว ไม่มีการโต้ตอบ

๓. ลักษณะสารจะเลือกเฟ้นถ้อยคาที่ไพเราะ เป็นคาศัพท์ที่เป็นทางการ

๔. เป็นสารที่ต้องเตรียมล่วงหน้าและมีการส่งสารด้วยการอ่าน ผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ **เราสามารถดูตัวอย่างการใช้ภาษาระดับพิธีการ เช่น คาปราศรัยของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เนื่องในวันเด็กหรือวันสำคัญอื่นๆ ซึ่งหนังสือพิมพ์จะนามาตีพิมพ์ในช่วงเวลาของวันสำคัญนั้น ๆ

ภาษาระดับทางการ

การใช้ภาษาในระดับทางการมีข้อสังเกต คือ

 ๑. เป็นภาษาที่ใช้ในการบรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในที่ประชุมใหญ่ การรายงานทางวิชาการ, หนังสือราชการ (จดหมายราชการ) หรือจดหมายที่ติดต่อในวงการธุรกิจ คานาหนังสือ, ประกาศของทางราชการ ฯลฯ

 ๒. การใช้ภาษา จะใช้อย่างเป็นทางการ มุ่งเข้าสู่จุดประสงค์ ที่ต้องการความรวดเร็ว สารชนิดนี้มีลักษณะตรงไปตรงมาไม่ใช้คาฟุ่มเฟือย ไม่เน้นความไพเราะของถ้อยคำ

          ภาษาระดับกึ่งทางการ

การใช้ภาษาในระดับกึ่งทางการมีข้อน่าสังเกต คือ

๑.เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารคล้ายกับระดับที่ ๒ แต่ลดความเป็นการเป็นงานลงบ้าง การใช้ภาษาระดับนี้ มักใช้ในการประชุมกลุ่มเล็ก การบรรยายในห้องเรียน ข่าวและบทความในหนังสือพิมพ์ โดยทั่วไปจะมีถ้อยคา สานวน ที่ทาให้รู้สึกคุ้นเคยมากกว่าในระดับที่ ๒

 ๒. เนื้อของสาร มักจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความรู้ทั่วไป หรือเป็นการแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการที่เกี่ยวกับการดาเนินชีวิต หรือเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจ ใช้ศัพท์ทางวิชาการเท่าที่จาเป็น เอกสารประกอบการจัดการเรียนการสอน รายวิชา ท๔๐๑๐๕ หลักภาษาไทยในชีวิตประจาวัน นายสมศักดิ์ ทองช่วย สาขาวิชาภาษาไทย โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ๖

ภาษาระดับสนทนา

การใช้ภาษาในระดับสนทนามีข้อน่าสังเกต  คือ

๑. เป็นภาษาที่มักใช้ในการสนทนาโต้ตอบกันของคนที่รู้จักมักคุ้นกัน อยู่ในสถานที่และกาละที่ไม่เป็นการส่วนตัว

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก