กฎหมายคุ้มครองเด็กเป็นกฎหมายประเภทใด

๑. กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานแรกรับสถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู พ.ศ. ๒๕๔๙ 

๒. กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถาน แรกรับสถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู พ.ศ. ๒๕๔๙ 

๓. กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถาน รับเลี้ยงเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๙ 

๔. กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการว่ากล่าวตักเตือน ทําทัณฑ์บน และจัดให้เด็กทํางานบริการสังคมหรือทํางานสาธารณประโยชน์ พ.ศ. ๒๕๔๙ 

๕. กฎกระทรวงกําหนดเด็กที่อยู่ในสภาพที่จําต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ พ.ศ. ๒๕๕๔

๖. กฎกระทรวงกําหนดเด็กที่อยู่ในสภาพที่จําเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๕๔ 

๗. กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานขั้นต่ําในการอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล พ.ศ. ๒๕๕๔ 

๘. กฎกระทรวงกําหนดแนวทางการพิจารณาว่าการกระทําใดเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กหรือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๙

๙. กฎกระทรวงกําหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทําผิด พ.ศ. ๒๕๔๙

๑๐. กฎกระทรวงกําหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ 

๑๑. กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนว ให้คําปรึกษาและฝึกอบรมแก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๘ 

๑๒. กฎกระทรวงกําหนดอัตราค่าธรรมเนียมสําหรับการจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรก รับสถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู พ.ศ. ๒๕๔๘ 

๑๓. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง บัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความ ประพฤตินักเรียนและนักศึกษา 

๑๔. ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ว่าด้วย วิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่ ถูกทารุณกรรม หรือถูกเลี้ยงดูโดยมิชอบ พ.ศ. ๒๕๔๘ 

๑๕. ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ว่าด้วยวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ที่ต้องการหาว่ากระทําการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดแต่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ต้องรับโทษทางอาญา พ.ศ. ๒๕๕๕ 

๑๖. ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ว่าด้วยวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ที่เสี่ยงต่อการกระทําผิด พ.ศ. ๒๕๕๓ 

๑๗. ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ว่าด้วยวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่ถูก ทารุณกรรมหรือถูกเลี้ยงดูโดยมิชอบ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ 

๑๘. ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ว่าด้วยวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่ถูก ทารุณกรรมหรือถูกเลี้ยงดูโดยมิชอบ พ.ศ. ๒๕๕๘ 

๑๙. ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารกองทุน การพิจารณา คนมัติการจ่ายเงิน และรายงานสถานะการเงิน และรายงานสถานะการเงิน และการบริหารกองทุนคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๘ 

๒๐. ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้งพนักงาน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ 

๒๑. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ 

๒๒. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริม ความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ 

๒๓. ระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ว่าด้วยการกําหนดแบบ บัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ พ.ศ. ๒๕๔๘ 

๒๔. ระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ว่าด้วยการลงโทษเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๘ 

๒๕. ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้งพนักงาน เจ้าหน้าที่ในการสงเคราะห์เด็กและคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๗ 

๒๖. ระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ว่าด้วยวิธีการดําเนินงาน ของสถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู พ.ศ. ๒๕๔๗ 

๒๗. ระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ว่าด้วยวิธีการให้การ สงเคราะห์เด็ก พ.ศ. ๒๕๔๗

เอกสารแนบ

ลงวันที่ 8 ก.ย. 2563 16:34 น.

จำนวนผู้อ่าน 11,755 คน

Skip to content

  • รู้จักมูลนิธิ
    • ความเป็นมา
    • กรรมการมูลนิธิ
    • รายงานผลการดำเนินงาน
    • ติดต่อเรา
  • กิจกรรมและโครงการ
    • ข่าวสารกิจกรรม
    • โครงการปัจจุบัน
    • โครงการร่วมกับภาคี
    • โครงการเปิดรับบริจาค
  • คลังความรู้
    • กฎหมายเกี่ยวกับเด็ก ครอบครัว / อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก แห่งองค์กรประชาชาติ
    • กระบวนการคุ้มครองเด็ก
    • มาตรฐานขั้นต่ำในการอุปการะเลี้ยงดูเด็ก
    • การป้องกันภัยทางเพศในเด็ก
    • การป้องกันการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก
    • การบําบัดฟื้นฟูเด็กทางร่างกายจิตใจ
    • เทคนิคการเลี้ยงดูเด็ก (How to / Tip)
  • มัลติมีเดีย
    • E-Newsletter
    • สิ่งพิมพ์
    • เสียง
    • วิดีโอ
  • นิทรรศการออนไลน์
    • ศิลปะสร้างสุข
    • ศิลปะกับธรรมชาติ
  • ผู้พิทักษ์เด็ก
    • เรื่องราวผู้พิทักษ์เด็ก
    • กิจกรรมผู้พิทักษ์เด็ก
    • สมัครสมาชิกผู้พิทักษ์เด็ก
  • เรื่องเล่าดีดี
    • เรื่องเล่าของสังคม
    • เรื่องเล่าจากคนทำงาน
    • ผู้ให้การสนับสนุน
  • ร่วมสนับสนุน
    • ร่วมบริจาคเงินออนไลน์
    • ร่วมจัดกิจกรรมระดมทุน
    • ร่วมเป็นอาสาสมัคร
    • แบ่งปันข่าวสาร

เด็ก กลุ่มเป้าหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546

เด็ก กลุ่มเป้าหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546

“เด็ก” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบุูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิภาวะด้วยการสมรส

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มีเนื้อหาสาระในการดูแลเด็กทุกคน โดยกำหนดให้ผู้ปกครองมีหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็ก ตามความในมาตรา 23 ดังนี้

“มาตรา 23 ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู    อบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตน ตามสมควรแก่ขนบธรรมเนียมประเพณี และ วัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น แต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และต้องคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนมิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ”

จากรายละเอียดมาตรฐานขั้นต่ำในกฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการอุปการะเลี้ยงดู  อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล พ.ศ.  2549

โดยทั่วไปเรามักเข้าใจว่า ผู้ปกครอง หมายถึง บิดามารดา แต่พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546  มาตรา 4 กำหนดความหมายของคำว่า “ผู้ปกครอง” ไว้อย่างกว้างครอบคลุมผู้เกี่ยวข้องทุกคนที่ทำหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูเด็ก

“ ผู้ปกครอง  หมายความว่า บิดามารดา ผู้อนุบาล ผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้หมายความรวมถึงพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง ผู้ปกครองสวัสดิภาพ นายจ้าง ตลอดจนบุคคลอื่นซึ่งรับเด็กไว้ในความอุปการะเลี้ยงดูหรือซึ่งเด็กอาศัยอยู่ด้วย ”

สรุปว่า   เด็กปกติทั่วไปเป็นกลุ่มเป้าหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546

เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ และเด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ

นอกจากพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546   กำหนดให้ผู้ปกครองทำหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูเด็กอย่างเหมาะสม ได้รับการส่งเสริมพัฒนา ปกป้องคุ้มครอง ตามที่กำหนดในมาตรา 23 แล้วยังกำหนดเด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ และเด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ ซึ่งมีรายละเอียดอยู่ในกฎกระทรวงกำหนดเด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ พ.ศ.2549     กฎกระทรวงกำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิด พ.ศ.2549    กฎกระทรวงกำหนดเด็กที่จำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ พ.ศ.2549

* ความหมายของเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิด

เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด เป็นเด็กที่อยู่ในสภาพจำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ  แต่ในทางปฏิบัติเด็กกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ  เหตุผลเพราะผู้ปฏิบัติงานบางส่วนยังไม่เข้าใจความหมาย หรือขาดความรู้และทักษะในการทำงานกับเด็กกลุ่มนี้  จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่า เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิดเป็นเด็กกลุ่มไหน

“เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด”   หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

กฎกระทรวง กำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด พ.ศ. 2549

ข้อ 1 เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร  ได้แก่ เด็กที่มีพฤติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) ประพฤติตนเกเรหรือข่มเหงรังแกผู้อื่น
(2) มั่วสุมในลักษณะที่ก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น
(3) เล่นการพนันหรือมั่วสุมในวงการพนัน
(4) เสพสุรา สูบบุหรี่ เสพยาเสพติดให้โทษหรือของมึนเมาอย่างอื่น เข้าไปในสถานที่เฉพาะเพื่อการ
จำหน่ายหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
(5) เข้าไปในสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
(6) ซื้อหรือขายบริการทางเพศ เข้าไปในสถานการค้าประเวณีหรือเกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี
ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี
(7) ประพฤติตนไปในทางชู้สาว หรือส่อไปในทางลามกอนาจารในที่สาธารณะ
(8) ต่อต้านหรือท้าทายคำสั่งสอนของผู้ปกครองจนผู้ปกครองไม่อาจอบรมสั่งสอนได้
(9) ไม่เข้าเรียนในโรงเรียนหรือสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ

ข้อ 2 เด็กที่ประกอบอาชีพที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี  ได้แก่  เด็กที่ประกอบอาชีพ ดังต่อไปนี้
(1) ขอทานหรือกระทำการส่อไปในทางขอทานโดยลำพังหรือโดยมีผู้บังคับ ชักนำ ยุยงหรือส่งเสริม หรือ
(2)   ประกอบอาชีพหรือกระทำการใดอันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดย มิชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี

ข้อ 3  เด็กที่คบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีได้แก่ เด็กที่คบหาสมาคมกับบุคคล ดังต่อไปนี้
(1) บุคคลหรือกลุ่มคนที่รวมตัวกันมั่วสุม เพื่อก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น หรือกระทำการอันขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือ
(2) บุคคลที่ประกอบอาชีพที่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี

ข้อ 4 เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ได้แก่ เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่ ดังต่อไปนี้
(1) อาศัยอยู่กับบุคคลที่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษหรือให้บริการทางเพศ
(2) เร่ร่อนไปตามสถานที่ต่าง ๆ โดยไม่มีที่พักอาศัยเป็นหลักแหล่งที่แน่นอน หรือ
(3) ถูกทอดทิ้งหรือถูกปล่อยปละละเลยให้อยู่ในสภาพแวดล้อมอันอาจชักนำไปในทางเสียหาย

สรุป

“ เด็ก”  ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546   หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส  กฎหมายฉบับนี้ กำหนดหลักการปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใดให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญและไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมและกำหนดบทบาทหน้าที่ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนตามสมควรแก่ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น แต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กำหนดในกฎกระทรวงและต้องคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนมิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ  นอกจากพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546   กำหนดเด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ และเด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ ซึ่งมีรายละเอียดอยู่ในกฎกระทรวงหลายฉบับ ประชาชนทั่วไปส่วนมากไม่ทราบรายละเอียดเหล่านี้ส่งผลให้เด็กไม่ได้รับการส่งเสริมพัฒนา ไม่ได้รับการสงเคราะห์หรือไม่ได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

Page load link

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก