คุณค่าของจิตสาธารณะคืออะไร

ความสำคัญของการมีจิตสาธารณะ


     สมพงษ์ สิงหะพล (2542: 16) กล่าวว่า จิตสำนึกเป็นความรู้สึกนึกคิดภายในบุคคล และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้โดยการเรียนรู้ จิตสำนึกเมื่อเกิดขึ้นแล้วยากนักที่จะหยุด หรือหมดหายไปคนที่มีจิตสำนึกที่ดีจะประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสมกับจิตสำนึกนั้น และใช้จิตสำนึกของตน เพื่อประโยชน์ต่อสิ่งต่างๆ ตามมา เช่น บุคคลที่มีจิตสำนึกด้านระเบียบวินัย จะไม่ขับรถผิดกฎจราจรบุคคลที่มีจิตสำนึกสาธารณะจะไม่ขีดเขียนในสถานที่สาธารณะ และ ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2538: 77) กล่าวถึงการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมว่าเด็กช่วงแรกเกิดจนถึงก่อน 10 ขวบ เป็นช่วงที่เด็กมีความไวต่อการรับการปลูกฝังและส่งเสริมจริยธรรม และวัฒนธรรมเป็นอย่างยิ่งเพราะเด็กยังเป็น “ไม้อ่อนที่ดัดง่าย” ฉะนั้น การปฏิบัติต่อเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการทางร่างกาย และโดยเฉพาะเหมาะสมกับพัฒนาการทางจิตใจของเด็กจะเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ได้มากการที่คนมาอยู่รวมกันเป็นสังคม ย่อมต้องมีความสัมพันธ์ในรูปแบบการพึ่งพากัน คนในสังคมซึ่งมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันไปถ้าคนในสังคมขาดจิตสำนึกสาธารณะ ซึ่งนอกจากจะมีผลกระทบต่อบุคคล ครอบครัว องค์กรแล้ว การขาดจิตสำนึกสาธารณะยังมีผลกระทบต่อชุมชนระดับประเทศ และระดับโลก ดังนี้ (ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรมและ สังคม สัญจร. 2543: 22 – 29)


ผลกระทบต่อบุคคล ทำให้เกิดปัญหา คือ

     1. สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเอง

     2. สร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่น

   

ผลกระทบระดับครอบครัว ทำให้เกิดปัญหา คือ

     1. ความสามัคคีในครอบครัวลดน้อยลง

     2. การแก่งแย่ง ทะเลาะเบาะแว้งภายในครอบครัว


ผลกระทบระดับองค์กร ทำให้เกิดปัญหา

    1. การแบ่งพรรคแบ่งพวกภายในองค์กร

    2. ความเห็นแก่ตัว แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น

    3. การเบียดเบียนสมบัติขององค์กรเป็นสมบัติส่วนตน

    4. องค์กรไม่ก้าวหน้า ประสิทธิภาพและคุณภาพของงานลดลง

     นอกจากนั้นในระดับองค์กร วิรุณ ตั้งเจริญ (2547: 2 – 3) กล่าวว่า การเป็นผู้บริหารต้องมีคุณสมบัติหลายประการ คุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งคือ การมีจิตสำนึกสาธารณะผู้บริหารควรเป็นผู้ที่เสียสละเพื่อผู้อื่น เพื่อสังคม เอาสังคมเป็นตัวตั้ง เสียสละทั้งกำลังกายกำลังใจ กำลังศรัทธาหรือแม้แต่การเสียสละในเชิงวัตถุระดับหนึ่ง ถ้าผู้บริหารขาดจิตสำนึกสาธารณะจนกลายเป็นคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน จะเกิดการเอาเปรียบองค์กร เห็นแก่ประโยชน์ของกลุ่มและพวกพ้อง องค์กรคงมีปัญหาอื่นๆ ตามมา


ในระดับชุมชน ทำให้เกิดปัญหา คือ

     1. ชุมชนอ่อนแอ ขาดการพัฒนา เพราะต่างคนต่างอยู่ สภาพชุมชน มีสภาพเช่นไรก็ยังคงเป็นเช่นนั้น ไม่เกิดการพัฒนา และยิ่งนานไปก็มีแต่เสื่อมทรุดลง

     2. อาชญากรรมในชุมชนอยู่ในระดับสูง

     3. ขาดศูนย์รวมจิตใจ ขาดผู้นำที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เพราะคนในชุมชนมองปัญหาของตัวเองเป็นเรื่องใหญ่ ขาดคนอาสานำพาการพัฒนา เพราะกลัวเสียทรัพย์กลัวเสียเวลา หรือกลัวเป็นที่ครหาจากบุคคลอื่น


ในระดับชาติ  ถ้าบุคคลในชาติขาดจิตสำนึกสาธารณะจะทำให้เกิด

     1. วิกฤตการณ์ภายในประเทศบ่อยครั้ง และแก้ปัญหาไม่ได้ เกิดการเบียดเบียนทำลายทรัพยากรและสมบัติที่เป็นของส่วนรวม

     2. ประเทศชาติอยู่ในสภาพล้าหลัง เนื่องจากขาดพลังของคนในสังคม เมื่อผู้นำประเทศนำมาตรการใดออกมาใช้ ก็จะไม่ได้ผลเพราะไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน

     3. เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก เกิดการแก่งแย่งแข่งขัน เห็นแก่ประโยชน์กลุ่มของตนและพวกพ้อง เกิดการทุจริตคอรัปชั่น


ในระดับโลก  ถ้าบุคคลขาดจิตสำนึก จะทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบระหว่างประเทศทำให้เกิดปัญหาในระดับต่างๆ ดังนี้

     1. เกิดการสะสมอาวุธกันระหว่างประเทศ เพราะขาดความไว้วางใจซึ่งกันและกันกลัวประเทศอื่นจะโจมตี จึงต้องมีอาวุธที่รุนแรง มีอานุภาพในการทำลายสูงไว้ในครอบครอง เพื่อข่มขู่ประเทศอื่น และเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ก็มักมีแนวโน้มในการใช้ความรุนแรงของแสนยานุภาพทางการสงครามในการตัดสินปัญหา

     2. เกิดการกลั่นแกล้ง แก่งแย่งหรือครอบงำทางการค้าระหว่างประเทศ พยายามทุกวิถีทาง เพื่อให้เกิดการได้เปรียบทางการค้าทำให้ประเทศด้อยกว่าขาดโอกาสในการพัฒนาประเทศของตน

     3. เกิดการรังเกียจเหยียดหยามคนต่างเชื้อชาติ ต่างเผ่าพันธุ์ หรือต่างท้องถิ่นมองชนชาติอื่นๆ เผ่าพันธุ์อื่นว่ามีความเจริญหรือมีศักดิ์ศรีด้อยกว่าเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ของตนเอง ดูถูกหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อชาติอื่นจากความสำคัญของการมีจิตสำนึกสาธารณะ ถ้าสามารถปลูกฝัง ส่งเสริมหรือพัฒนาให้เด็กมีจิตสำนึกด้านสาธารณะ ด้วยวิธีการต่างๆ จะทำให้เด็กมีจิตใจที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน อาสาดูแลรับผิดชอบสมบัติส่วนรวม มีการใช้อย่างสมบัติของส่วนรวมอย่างเห็นคุณค่าใช้อย่างทะนุถนอม รู้จักการแบ่งปันโอกาสในการใช้ของส่วนรวมให้ผู้อื่น เมื่อเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ปัญหาที่เกิดการเอารัดเอาเปรียบคนอื่น ปัญหาการทำลายสาธารณะสมบัติต่างๆ จะลดลง การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน และประโยชน์พวกพ้องก็จะลดน้อยลง และจะนำมาสู่สังคมที่มีความสงบสุขและพัฒนาขึ้น

จิตสํานึกสาธารณะ หมายถึงอะไร

ราชบัณฑิตยสภา ได้ให้ความหมายของจิตส านึกทางสังคม หรือจิตสาธารณะว่า คือการตระหนักรู้และค านึงถึง ส่วนรวมร่วมกัน หรือการคานึงถึงผู้อื่นที่ร่วมสัมพันธ์เป็นกลุ่มเดียวกัน

หลักสำคัญที่สุดของการมีจิตสำนึกสาธารณะคือข้อใด

ความหมายของ จิตสาธารณะนั้น ได้มีหลายท่านให้ความหมายไว้มากมาย สรุปใจความสำคัญได้ว่า จิตสาธารณะ หมายถึง จิตสำนึกที่ดีในการรู้จักหน้าที่ ความรับผิดชอบ เสียสละเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ยึดมั่นทั้งในด้านคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนร่วมมือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย

จิตอาสาและจิตสาธารณะมีความสำคัญอย่างไร

จิตอาสา หรือ จิตสาธารณะ เป็นคุณธรรมของพลเมือง ส่งเสริมทาให้สังคมเข้มเเข็งมีศักยภาพ ในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากการมีพลเมืองที่ตะหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม มีปรารถนาที่จะ ช่วยเหลือสังคม เชื่อมั่นในความสามารถของตนเองและการรวมกลุ่มปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ตามแนวทางที่ได้กาหนดไว้จะทาให้เกิดการพัฒนาของสังคมนั้นได้ ...

คนที่มีจิตสาธารณะมีลักษณะอย่างไร

ผู้ที่มีจิตสาธารณะ คือ ผู้ที่มีลักษณะเป็นผู้ให้และช่วยเหลือผู้อื่น แบ่งปันความสุขส่วนตนเพื่อทําประโยชน์แก่ส่วนรวม เข้าใจ เห็นใจผู้ที่มี ความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยแรงกาย Page 3 สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 9 สติปัญญา ลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาหรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม ให้เกิดในชุมชน ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก