เอกลักษณ์ของภาษาไทยมีอะไรบ้าง

นาย ครูสุธะนะ พามนตรี ตำแหน่งครู ชำนาญการพิเศษ

เข้าสู่ระบบเมื่อ เกือบ 4 ปี ที่แล้ว

ความสำคัญของภาษาไทย

          ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระการงานและดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาชาติได้อย่างสันติสุข   และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง  ทางสังคมและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี  ชีวทัศน์ โลกทัศน์ และสุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่า      ภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

ธรรมชาติ / ลักษณะเฉพาะ ของภาษาไทย

          ภาษาไทยเป็นเครื่องมือใช้สื่อสาร   เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและตรงตามจุดหมายไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิด ความต้องการและความ รู้สึก คำในภาษาไทยย่อมประกอบด้วยเสียง  รูปพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และความหมาย ส่วนประโยคเป็นการเรียงคำตามหลักเกณฑ์ของภาษา และประโยคหลายประโยคเรียงกันเป็นข้อความ นอกจากนั้นคำในภาษาไทยยังมีเสียงหนัก เบา มีระดับของภาษา ซึ่งใช้ให้เหมาะแก่กาลเทศะและบุคคล ภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ตามสภาพวัฒนธรรมของกลุ่มคน ตามสภาพของสังคมและเศรษฐกิจ การใช้ภาษาเป็นทักษะที่ผู้ใช้ต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน การเขียน การพูด การฟัง และการดูสื่อต่างๆ รวมทั้งต้องใช้ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางภาษา    เพื่อสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพ และ ใช้อย่างคล่องแคล่ว มีวิจารณญาณและมีคุณธรรม

วิสัยทัศน์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

          ภาษาไทยเป็นเครื่องมือของคนในชาติเพื่อการสื่อสารทำความเข้าใจกันและใช้ภาษาในการประกอบกิจการงานทั้งส่วนตัว ครอบครัว กิจกรรมทางสังคมและประเทศชาติ เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ การบันทึกเรื่องราวจากอดีตถึงปัจจุบัน และเป็นวัฒนธรรมของชาติ ดังนั้นการเรียนภาษาไทย จึงต้องเรียนรู้เพื่อให้เกิด  ทักษะอย่างถูกต้อง    เหมาะสมในการสื่อสาร เป็นเครื่องมือในการเรียนแสวงหาความรู้  และประสบการณ์ เรียนรู้ในฐานะเป็นวัฒนธรรมทางภาษาให้เกิดความชื่นชม ซาบซึ้ง และภูมิใจในภาษาไทย โดยเฉพาะคุณค่าของวรรณคดี   และภูมิปัญญาทางภาษา ของบรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ไว้ อันเป็นส่วนเสริมสร้างความงดงามในชีวิต

          การเรียนรู้ภาษาไทยย่อมเกี่ยวพันกับความคิดของมนุษย์ เพราะภาษาเป็นสื่อของความคิดการเรียนรู้ภาษาไทยจึงต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ คิดวิพากษ์วิจารณ์ คิดตัดสินใจแก้ปัญหา และวินิจฉัยอย่างมีเหตุผล  ขณะเดียวกันการใช้ภาษาอย่างมีเหตุผลใช้ในทางสร้างสรรค์และใช้ภาษาอย่างสละสลวยงดงาม ย่อมสร้างเสริมบุคลิกภาพของผู้ใช้ภาษาให้น่าเชื่อถือ   และ เชื่อภูมิด้วย

          ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ   ในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร   การอ่าน การฟังเป็นทักษะของการแสดงออกด้วยการแสดงความคิดเห็น ความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาไทยจึงต้องเรียนเพื่อการสื่อสารให้สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างพินิจพิเคราะห์สามารถเลือกใช้คำ เรียบเรียงความคิด  ความรู้  และใช้ภาษาได้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ ได้ตรงตามความหมาย และถูกต้องตามกาลเทศะ  บุคคล และใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          ภาษาไทยมีส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระ ได้แก่ กฎเกณฑ์ทางภาษา ซึ่งผู้ใช้ภาษาจะต้องรู้และใช้ภาษาให้ถูกต้อง นอกจากนั้น วรรณคดีและวรรณกรรม ตลอดจนบทร้องเล่นของเด็ก เพลงกล่อมเด็ก ปริศนาคำทาย เพลงพื้นบ้าน วรรณกรรมพื้นบ้าน เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม  ซึ่งมีคุณค่าต่อการเรียนภาษาไทยจึงต้องเรียนวรรณคดีวรรณกรรม  ภูมิปัญญาทางภาษา  ที่ถ่ายทอดความรู้สึก นึกคิด ค่านิยม   ขนบธรรมเนียมประเพณี เรื่องราวของสังคมในอดีต     และความงดงามของภาษา    ในบทประพันธ์ทั้งร้อยแก้ว  ร้อยกรองประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดความซาบซึ้ง   ความภูมิใจในสิ่งที่บรรพบุรุษได้สั่งสมและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)

สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2565)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)

ภาษาไทยมีลักษณะเฉพาะของตนเองแตกต่างจากภาษาอื่นการใช้ภาษาไทยให้ได้ผลตรงตาม จุดมุ่งหมายจะต้องรู้จักหลักเกณฑ์ของภาษาไทยอย่างถ่องแท้ ดังนี้
   ๑. ภาษาไทยมีตัวอักษรเป็นของตนเองภาษาไทยมีรูปตัวอักษรใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวอักษรมาหลายยุคสมัย ทำให้ปัจจุบันเรามีรูปพยัญชนะรูปสระและรูปวรรณยุกต์ใช้แทนเสียงพูดในภาษาของเราเอง  ซึ่งเป็นที่น่าภาคภูมิใจยิ่งเพราะบางชาติไม่มีภาษาของตนเองใช้และยังต้องใช้ภาษาของชาติอื่นอยู่
   ๒. ภาษาไทยแท้มักเป็นคำที่มีพยางค์เดียว โดยคำพยางค์เดียวจะออกเสียงชัดเจนและมีความหมายที่ผู้ฟังสามารถเข้าใจได้ทันที เช่น พ่อ แม่ นั่ง นอน เดิน เสือ ลิง ฯลฯ
   ๓. ภาษาไทยแท้มีตัวสะกดตรงตามมาตรา มาตราตัวสะกดมี ๘ มาตรา คือแม่กก แม่กด แม่กบ แม่กง
แม่กน แม่กม แม่เกย แม่เกอว คำไทยแท้จะมีตัวสะกดตามมาตราและไม่มีการันต์ เช่น มาก ขาด นับ ของ โยม คน ร่วงโรยขาว ฯลฯ ส่วนคำไทยแท้ที่ไม่มีตัวสะกด เราเรียกว่า มาตราแม่ ก กา เช่นคำว่า ตา ดี งู โต
ฯลฯ
   ๔. ภาษาไทยมีรูปสระวางไว้หลายตะาแหน่ง เช่น ข้างหน้าพยัญชนะ ในคำว่าเสแสร้ง เฉไฉไป แพ โมโห ข้างหลังพยัญชนะ  เช่น จะ มา รา ปอ ข้างบนพยัญชนะ เช่น ดี กัน บีบ คิด ข้างล่างพยัญชนะ เช่น
ครู สู้ ขุด ทรุด ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง เช่น เขา เธอ เละเทะ เกาะ ทั้งข้างหน้าและข้างบนพยัญชนะ เช่น เป็นเสียง เมีย เกลือ
   ๕. ภาษาไทยหนึ่งคำมีหลายความหมาย จะสังเกตได้จากข้อความที่ประกอบแวดล้อมหรือบริบทถ้าคำทำหน้าที่ต่างกันความหมายก็ต่างกัน เช่น "เขาสนุกสนาน

กัน

ในห้องนั้น แต่น่าแปลกใจว่าทำไมเขา

กัน

ไมาให้

กัน

เข้าไปในห้อง"  คำว่า "กัน" ทั้ง ๓ คำ มีความหมายต่างกันดังนี้
                         "กัน" คำที่หนึ่ง เป็นสรรพนามแสดงจำนวนมากกว่าหนึ่ง
                         "กัน" คำที่สอง เป็นกริยา  หมายถึง การขัดขวางไม่ให้กระทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง
                         "กัน" คำที่สาม เป็นสรรพนามแสดงถึงผู้พูดแทนคำว่า " ฉัน " (ชื่อคน)
   ๖.  ภาษามีความหมายประณีตมีคำที่มีความหมายหลักเหมือนกัน แต่มีความหมายเฉพาะต่างกัน
เช่น      การทำให้ขาดจากกัน มีคำว่า ตัด หั่น แล่ เชือด เฉือน สับ ฯลฯ
             การทำให้อาหารสุก มีคำว่า ปิ้ง ย่าง ต้ม ตุ๋น ทอด ฯลฯ
             บุพบทบอกสถานที่ (ที่ติดกัน) มีคำว่า ใกล้ ชิด แนบ ข้าง ฯลฯ
   ๗.  ภาษาไทยเป็นภาษาเรียงคำการเรียงคำในภาษาไทยเป็นเรื่องสำคัญ การเปลี่ยนตำแหน่งของคำจะทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปด้วย เช่น "พ่อแม่ เลี้ยง ลูก" กับ "ลูก เลี้ยงพ่อแม่" มีความหมายที่ต่างกัน
    ๘.  ภาษาไทยเป็นภาษาดนตรีคือ การเปลี่ยนระดับเสียงวรรณยุกต์ทั้ง ๕ เสียง ได้แก่ เสียงสามัญ
เอก โท ตรี จัตวา ทำให้ภาษาไทยมีคำเพิ่มมากขึ้น เพราะเมื่อเปลี่ยนระดับเสียงความหมายของคำก็จะเปลี่ยน เช่น "ขาว" หมายถึง สีชนิดหนึ่งหรือกระจ่างแจ้ง เมื่อเปลี่ยนวรรณยุกต์เป็น "ข่าว" หมายถึงคำบอกเล่าเรื่องราว หากเปลี่ยนวรรณยุกต์เป็น "ข้าว" หมายถึง พืชที่ใช้เมล็ดเป็นอาหาร
   ๙.  ภาษาไทยมีวรรคตอน ด้วยเหตุที่ภาษาไทยมีวิธีเขียนคำต่อกันไม่มีการเว้นระยะระหว่างคำเมื่อจบความ การใช้วรรคตอนจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะใช้แบ่งความหมายถ้าเว้นวรรคตอนผิด ความหมายก็จะเปลี่ยนไปการพูดก็ต้องเว้นจังหวะให้ถูกที่เช่นเดียวกัน ถ้าหยุดผิดจังหวะความหมายก็จะเปลี่ยนไป เช่น พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียพันตำลึงทอง หมายถึง นิ่งเสียดีกว่าพูด
 ส่วน พูดไปสองไพเบี้ย นิ่ง  เสียพันตำลึงทอง หมายถึงยิ่งนิ่งยิ่งเสียหายมาก
   ๑๐. ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีลักษณนามคำลักษณนามจะปรากฏอยู่หลังคำนามและจำนวนนับ ซึ่งตรงกับความหมายของลักษณนามว่า คือ คำที่ทำหน้าที่ประกอบนามอื่นเพื่อแสดงรูปลักษณะ ขนาดของนามนั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ปลา ๒ ตัว เรือ ๔ ลำ พระพุทธรูป ๘ องค์ พระสงฆ์ ๙ รูป บ้าน ๓ หลัง ปี่ ๕ เลา
ลักษณนามทำให้เราเข้าใจลักษณะการมองเห็นของนามข้างหน้า
  ๑๑. ภาษไทยเป็นภาษาที่มีระดับของคำได้แก่ คำราชาศัพท์ ชาติไทยเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงส่งมาแต่โบราณได้รับการยกย่องไปในนานาประเทศที่มีสัมพันธไมตรีกับไทยโดยเฉพาะในเรื่องการคารวะผู้อาวุโสซึ่งแสดงออกทั้งทางกิริยามารยาทและการใช้ภาษา
  ๑๒.  ภาษาไทยมีคำพ้องเสียงพ้องรูปภาษาไทยรับภาษาต่างประเทศมาใช้ก็นำมาปรับให้เข้ากับเสียงในภาษาไทยในคำพ้องเสียง คือ มีเสียงพ้องกันแต่ความหมานต่างกัน จึงต้องเขียนให้ถูก มิฉะนั้นความหมายจะเปลี่ยนไปเช่น  กาฬ-ดำ, กาล-เวลา ส่วนคำพ้องรูป คือคำที่มีรูปเหมือนกันแต่ออกเสียงต่างกัน
รูปคำเหมือนกันแต่ความหมายต่างกันต้องเข้าใจความจึงจะใช้ได้ เช่น เพลา อ่านว่า เพ-ลา หมายถึง เวลา,เพลา อ่านว่า เพลา หมายถึง เบา ๆ หรือส่วนประกอบของยานพาหนะ

ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะอะไรบ้าง

เพราะภาษาไทยมีอัจฉริยลักษณ์ พึงประจักษ์ความงดงามภาษาไทย.
ภาษาไทยเป็นภาษาดนตรี.
ภาษาไทยมีอักษรไทยเป็นของตนเอง.
ภาษาไทยมีตัวเลขไทยเป็นเอกลักษณ์.
ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด.
ภาษาไทยไทยมีฉันทลักษณ์.
ภาษาไทยมีภาษาถิ่นหลากหลายทุกภูมิภาค.
ภาษาไทยเป็นภาษาที่อ่านออกเสียงเป็นทำนองเสนาะได้ไพเราะ.
ภาษาไทยภาษานี้มีคำพ้อง.

เอกลักษณ์ของความเป็นไทยมีอะไรบ้าง

- ฉายาสยามเมืองยิ้ม ซึ่งแสดงถึงความยิ้มแย้มแจ่มใส มีอัธยาศัย ซึ่งหายากในชนชาติอื่น - มารยาทไทย เช่นการไหว้ เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก การมีสัมมาคารวะ เคารพผู้อาวุโส รู้จักกาลเทศะ - ประเพณีไทย เช่น ผีตาโขน บุญบั้งไฟ การแห่ปราสาทผึ้ง แห่นางแมว - การแสดงแบบไทย เช่นลิเก โขน รำวง

ภาษาไทยมีความพิเศษอย่างไร

1. เป็นคำภาษาโดด มีคำใช้โดยอิสระ ไม่ต้องเปลี่ยนรูปเพื่อบอก เพศ,พจน์,กาล เช่น พ่อ, แม่, เขย, ลุง, พระ เป็นคำแสดงเพศในตัว ฝูง,กอง,เดียว,เหล่า,เด็กๆ เป็นคำแสดงพจน์(จำนวน)ในตัว กำลัง, จะ, แล้ว, เพิ่ง, เมื่อวาน เป็นคำแสดงกาล (เวลา) ในตัว

ภาษาไทยมีลักษณะพิเศษที่ต่างจากภาษาอื่นอย่างไร

๑. ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด นักภาษาศาสตร์จัดให้ภาษาไทยอยู่ในภาษาตระกูลคำโดด คือภาษาที่อุดมไปด้วยคำพยางค์เดียว เช่น คำที่เกี่ยวกับญาติพี่น้อง ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ต่อมาเกิดการยืมคำจากภาษาต่างประเทศจึงมีคำหลายพยางค์ใช้ เช่น มารดา บิดา เสวย ดำเนิน ออกซิเจน คอมพิวเตอร์ ในที่สุดก็สร้างคำขึ้นใช้เองจากคำพยางค์เดียว และคำที่ยืม ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก