วัดประจำอาณาจักรธนบุรี คือวัดใด

ดูเหมือนว่าเบราว์เซอร์ของคุณต้องได้รับการปรับปรุง อัปเกรดเป็น Chrome, Firefox, Safari หรือ Microsoft Edge เวอร์ชันล่าสุดเพื่อรับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด

คุณยังเลือกดำเนินการต่อได้ แต่ฟีเจอร์บางอย่างอาจดูแตกต่างออกไปหรือใช้งานไม่ได้ตามที่คาดไว้

พาชมโบราณสถานสำคัญของฝั่งธนบุรี พระราชวังกรุงธนบุรี หรือ พระราชวังเดิม พระราชวังแห่งเดียวในสมัยธนบุรี พระราชวังหลวงของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สถานที่ประทับพระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้โปรดเกล้าฯ และสถานที่ที่พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี 3 พระองค์ ทรงมีพระราชสมภพ

ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชจากพม่าได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2310 พระองค์ได้ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่แทนกรุงศรีอยุธยาที่เสียหายจากสงคราม โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังหลวง ขึ้นทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา อาณาเขตของพระราชวังในสมัยนั้นมีพื้นที่ตั้งแต่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ขึ้นมาจนถึงคลองเหนือวัดอรุณราชวราราม โดยรวมวัดอรุณราชวราราม และ วัดโมลีโลกยาราม เข้าไปในเขตพระราชวัง ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้ทรงย้ายราชธานีมาอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และได้ทรงสร้างพระบรมมหาราชวังขึ้นเป็นที่ประทับ ดังนั้นพระราชวังกรุงธนบุรีจึงได้รับการเรียกว่า “พระราชวังเดิม” รัชกาลที่ 1 ทรงกำหนดเขตของพระราชวังเดิมให้แคบกว่าเดิม โดยให้วัดทั้งสองอยู่ภายนอกพระราชวัง และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์ชั้นสูง ที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย มาประทับที่พระราชวังเดิม เนื่องจากพระราชวังเดิมและกรุงธนบุรีมีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์ จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแลรักษา พระราชวังเดิมยังเป็นสถานที่ที่พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี 3 พระองค์ ทรงมีพระราชสมภพ ซึ่งทุกพระองค์เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ขณะยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พื้นที่แห่งนี้เป็นพระราชวังเรื่อยมา เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชวังเดิมให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองทัพเรือ

โบราณสถานสำคัญของพระราชวังเดิม

ประตูโรงเรียนนายเรือ หรือ ประตูสามสมอ ซุ้มสีขาวขนาดใหญ่ ตัดกับประตูไม้สีน้ำตาล ตั้งอยู่ด้านหลังของอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช เหตุที่ได้ชื่อ ประตูสามสมอ เนื่องจากมีสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนนายเรือที่วาดอยู่บนประตู คือรูปสมอ 3 ตัวที่คล้องรวมไว้ด้วยห่วงสมอ โดยมีจักรอยู่ด้านหลัง

ด้านข้างบริเวณประตูโรงเรียนนายเรือมีแผ่นจารึกลายพระหัตถเลขาของรัชกาลที่ 5 กล่าวถึงการยกเขตพระราชฐานให้เป็นโรงเรียนนายเรือว่า มีความปลื้มใจซึ่งได้เหนการทหารเรือมีรากหยั่งลงแล้ว จะเปนที่มั่นสืบไปในภายหน้า

เมื่อเดินผ่านประตูโรงเรียนนายเรือเข้ามาในเขตพระราชวังเดิม แนะนำให้เดินไปยัง เรือนเขียว เพื่อรับชมวิดีทัศน์แนะนำเกี่ยวกับพระราชวังเดิม เรือนเขียวหลังนี้ ตั้งอยู่ข้างเนินดินที่คนในบริเวณเรียกกันว่า เขาดิน เรือนเขียวเคยเป็นห้องพยาบาล ซึ่งตั้งขึ้นหลังจากวังเดิมกลายเป็นโรงเรียนนายเรือแล้ว เพราะเมื่อมีโรงเรียนทหาร ก็ต้องมีห้องรักษาพยาบาลเตรียมไว้เผื่อบาดเจ็บ ตัวอาคารเรือนเขียวทำจากไม้ทั้งหมด ทาด้วยสีเขียว จึงเรียกว่า เรือนเขียว

เดินออกจาก เรือนเขียว เดินเลียบมายังฝั่งตรงข้ามเพื่อชม เก๋งทรงอเมริกันสูง 2 ชั้น ที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว แสดงนิทรรศการเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นผู้บัญชาการทหารเรือคนแรก รวมถึงทรงเป็นผู้คิดตำราปืนใหญ่ของไทย อาคารหลังนี้ตกแต่งด้วยสีเขียวอ่อน เพราะเป็นสีของความสูงศักดิ์ในสมัยนั้น บนหน้าจั่วมีสัญลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวประดับอยู่ ถือเป็นอาคารแบบตะวันตกหลังแรกสร้างขึ้นในสมัยรัตโกสินทร์

ข้างเก๋งทรงอเมริกันสูง 2 ชั้น คือ ท้องพระโรง สิ่งปลูกสร้างที่เก่าแก่ที่สุดในพระราชวังเดิม สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2310 พร้อมกับการสร้างพระราชวังแห่งนี้ ภายในประกอบด้วยลานของท้องพระโรง หรือ วินิจฉัย เป็นที่ซึ่งพระเจ้าตากสินมหาราชทรงออกว่าราชการ และเป็นส่วนราชมณเฑียรอันเป็นที่ประดับส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ เดิมทีท้องพระโรงเป็นไม้ทั้งหมด แต่ปัจจุบันบูรณะซ่อมแซมด้วยปูนและหินอ่อน

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ศาลประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ศาลศีรษะปลาวาฬบรูด้า ซึ่งสันนิษฐานว่ามีมาแต่เก่าก่อนแล้ว เกยตื้นตายแถวบริเวณนี้จนซากเน่าเปื่อยเหลือแต่กระดูก ผู้คนก็นำมาบูชา โดยเชื่อว่าจะช่วยให้หาปลาได้สำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งขุดเจอบริเวณใต้ศาลพระเจ้าตากสินที่ตั้งอยู่ข้างกัน

เก๋งจีนคู่หลังเล็ก เก๋งหลังเล็กออกแบบอย่างจีนล้วนๆ ข้างในจัดแสดงอาวุธจากสมัยกรุงธนบุรี เช่น ปืนคาบศิลาที่มีความยาวจากด้ามจับถึงปากกระบอกถึง 145 เซนติเมตร ดาบญี่ปุ่นคร่ำทอง ดาบจตุลังคบาท และดาบหัวช้าง

ข้างเก๋งจีนคู่หลังเล็ก คือ เก๋งจีนคู่หลังใหญ่ ซึ่งสร้างในภายหลังและได้ผสมศิลปะไทยเข้าไปด้วย บนหน้าจั่วมีรูปค้างคาวกับเหรียญอยู่ ตามคติจีนค้างคาวเป็นสัตว์นำโชคตัวหนึ่ง ภายในอาคารจัดแสดงข้อมูลเรื่องการติดต่อค้าขายในสมัยกรุงธนบุรี พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในด้านต่างๆ ทั้งรูปภาพจิตรกรรม ตู้แสดงสิ่งของ หุ่นจำลองและแผนที่

นอกกำแพงวัง คือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ป้อมนี้ตั้งชื่อตามผู้ควบคุมการก่อสร้าง คือคอนสแตนติน ฟอลคอน หรือเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ป้อมนี้ใช้เป็นด่านเก็บภาษีปากเรือในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ โดยจะมีโซ่ขนาดใหญ่ยักษ์ล่ามจากป้อมนี้ข้ามไปยังป้อมที่อยู่อีกฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนราชินี เมื่อใครจ่ายภาษีแล้วก็จะปล่อยให้เรือผ่านไปโดยการหย่อนโซ่ลงใต้น้ำ โซ่ที่ว่านี่เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ป้อมนี้ยังเป็นที่ตั้งปืนใหญ่สมัยใหม่ 4 กระบอกซึ่งหันหน้าเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา คือปืนใหญ่สำหรับยิงสลุตในงามเฉลิมฉลองใหญ่ๆ ที่นี่เป็นตัวแทนของกองทัพเรือ ในขณะที่กองทัพบกจะยิงที่สนามหลวง และกองทัพอากาศจะยิงที่ดอนเมือง ทั้งสามกองทัพจะยิงพร้อมกัน โดยใช้ปืน 4 กระบอกยิงวนไปเรื่อยๆ จนครบ 21 นัด

พระราชวังเดิมตั้งอยู่ที่เลขที่ 1 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600 โดยปกติ พระราชวังเดิม เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาดูได้อย่างอิสระแค่ 1 วันต่อปี คือวันที่ 28 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันปราบดาภิเษกพระเจ้าตากสินมหาราช แต่ปี 2562 นี้ ทางมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิมขยายระยะเวลาเปิดวังเพิ่มขึ้นเป็น 14 วัน ตั้งแต่วันที่ 14 – 28 ธันวาคม 2562 ในช่วงเวลา 09.00 – 15.30 น.

วิธีการเดินทาง รถโดยสารประจำทางสาย 19 และ 57 หรือ MRT อิสรภาพ เข้าจากประตูใหญ่ริมถนนอรุณอมรินทร์ที่เขียนว่ากองทัพเรือ แล้วเดินอ้อมกำแพงวังมาเข้าประตูสามสมอทางริมน้ำก็ได้ หรือจะนั่งเรือข้ามฟากจากท่าเตียนมาลงท่าวัดอรุณฯ แล้วเดินต่อมาก็ได้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก