การแต่งนิราศนรินทร์คำโคลงมีจุดมุ่งหมายใด

  ผู้แต่ง  นายนรินทรธิเบศร์    

         นายนรินทรธิเบศร์ เดิมชื่อ อิน ได้รับราชการเป็น มหาดเล็ก ฝ่ายพระราชวังบวร (วังหน้า) ในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้รับพระราชทานยศเป็นหุ้มแพร มีบรรดาศักดิ์ที่ นายนรินทรธิเบศร์ จึงมักเรียกกันว่า นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) คือใส่ชื่อเดิมเข้าไปด้วย

  ที่มา

           นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ได้แต่งนิราศเรื่องนี้เมื่อคราวตามเสด็จสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาเสนานุรักษ์ยกกองทัพหลวงไปปราบพม่า ซึ่งยกลงมาตีเมืองถลางและชุมพร ในช่วงต้นรัชกาลที่ 2 เมื่อปีมะเส็ง (พ.ศ. 2352) นิราศเรื่องนี้ผู้แต่งไม่ได้ระบุชื่อเอาไว้ แต่เรียกกันโดยทั่วไปตามชื่อผู้แต่ง ว่า “นิราศนรินทร์”

  ลักษณะคำประพันธ์   

           นิราศนรินทร์แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 143 บท โดยมีร่ายสุภาพขึ้นต้น 1 บท ผู้แต่งประณีตในการคัดสรรคำและความหมาย ร้อยกรองเป็นบทโคลงที่ไพเราะ ทั้งยังมีสัมผัสอักษรแพรวพราวตามขนบของคำโคลง อาจกล่าวได้ว่า แทบไม่มีโคลงบทไหนเลย ที่อ่านแล้วไม่รู้สึกถึงความไพเราะงดงาม อย่างไรก็ตาม ด้วยสำนวนภาษาที่เก่าถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงมีคำศัพท์จำนวนไม่น้อยที่เข้าใจยาก หรือเป็นที่ถกเถียงกันโดยยังไม่มีข้อยุติ

   

    ความรู้เรื่องร่ายสุภาพ   

    ความรู้เรื่องโคลง     

   เนื้อหา

            นิราศนรินทร์คำโคลงเริ่มเรื่องด้วยร่ายสุภาพยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ แล้วกล่าวถึงความเจริญของบ้านเมือง จากนั้นจึงรำพันถึงการจากนางอันเป็นที่รักและพรรณนาสถานที่ที่ผ่านไป โดยนายนรินทรธิเบศร์ (อิน)  ได้ออกเดินทางเริ่มต้นจากคลองขุดผ่านวัดแจ้ง  คลองบางกอก (ใหญ่)  วัดหงส์  วัดสังข์กระจาย  บางยี่เรือ (คลอง) ด่านนางนอง บางขุนเทียน บางบอน บางหัวกระบือ โคกขาม คลองโคกเต่า มหาชัย ท่าจีน บ้านบ่อ นาขวาง คลองสามสิบสองคด คลองย่านซื่อ แม่กลองปากน้ำ (ออกทะเล) บ้านแหลม คุ้งคดอ้อย เพชรบุรี ชะอำ ห้วยขมิ้น ท่าข้าม เมืองปราณ (บุรี) สามร้อยยอด ทุ่งโคแดง (ทุ่งวัดแดง) อ่าวนางรม (อ่าวประจวบ) บางสะพาน ขามสาวบ่าว อู่แห้ง เขาหมอนเจ้า โพสลับ ลับยักษ์ เมืองแม่น้ำ อู่สะเภา หนองบัว แก่งตุ่ม แก่งคุลาตีอก แก่งแก้ว (แก่งแก้วสงสาร) แก่งนางครวญ ปากน้ำ (ร่วม) เขาเพชร จนถึงตระนาว (ตะนาวศรี) เป็นที่หมายปลายทาง

  บทอาขยานจากเรื่องนิราศนรินทร์

  ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับนิราศ
 

        นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา

ลักษณะของนิราศ  

      พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 อธิบายว่า “นิราศ” หมายถึง .เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่างๆ

 เนื้อหาของนิราศ  

 

      เนื้อหานิราศส่วนใหญ่มักเป็นการคร่ำครวญของกวี (ชาย) ต่อสตรีอันเป็นที่รักเนื่องจากต้องพลัดพรากจากนางมาไกลไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม

      อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่าวรรณคดีนิราศมักมีความเศร้าเพราะร้างรักเป็นแก่นเรื่องของรายละเอียดอื่นๆ ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น

 นางในนิราศ  

 

      สำหรับนางในนิราศที่กวีพรรณนานั้น อาจมีตัวตนจริงหรือไม่ก็ได้แต่กวีถือว่า นางอันเป็นที่รักเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะเอื้อให้กวีแต่งนิราศได้ไพเราะในบางกรณีกวีเมื่อเดินทางไกลและแม้ว่าจะไม่ได้จากนางอันเป็นที่รักจริง เพราะมีนางนั้นติดตามมาด้วย แต่กวีก็ยังต้องครวญถึงนางตามแบบแผนของนิราศ

  คำประพันธ์ในนิราศ

         วรรณคดีประเภทนิราศอาจแต่งด้วยคำประพันธ์หลายๆประเภท เช่น โคลง กาพย์ กลอน กาพย์ห่อโคลง แต่ที่นิยมมากสุดในสมัยโบราณได้แก่ โคลง ส่วนมากมักขึ้นต้นด้วยร่ายหนึ่งบทและร่ายหนึ่งบทนี้จะมีใจความสดุดีบ้านเมืองและยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์

นิราศนรินทร์คำโคลงฉบับสมบูรณ์    

     

จุดมุ่งหมายในการแต่งนิราศนรินทร์คืออะไร

มีจุดประสงค์หลักในการคร่ำครวญถึงสตรีอันเป็นที่รักอยู่ห่างไกล โดยมีร่ายสุภาพขึ้นต้น ๑ บท เป็นโคลงบทร้อยกรอง แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ ๑๔๓ บท

นิราศนรินทร์ แต่งในสมัยใด *

นิราศนรินทร์ เป็นวรรณคดีในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ประเภทนิราศ ที่จัดว่าแต่งได้ดี โดยกระทรวงศึกษาธิการได้คัดมาให้นักเรียนได้ศึกษากันในชั้นเรียน และมีบทโคลงที่ใช้เป็นแบบแผนของโคลงสี่สุภาพด้วย ... .

ข้อใดคือคำประพันธ์ของนิราศนรินทร์

นิราศนรินทร์แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 143 บท โดยมีร่ายสุภาพขึ้นต้น 1 บท ผู้แต่งประณีตในการคัดสรรคำและความหมาย ร้อยกรองเป็นบทโคลงที่ไพเราะ ทั้งยังมีสัมผัสอักษรแพรวพราวตามขนบของคำโคลง อาจกล่าวได้ว่า แทบไม่มีโคลงบทไหนเลย ที่อ่านแล้วไม่รู้สึกถึงความไพเราะงดงาม อย่างไรก็ตาม ด้วยสำนวนภาษาที่เก่าถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงมีคำ ...

ใครเป็นผู้แต่งนิราศนรินทร์คำโคลง

นายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน) กวีเอกในสมัย ร . 2 เป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระบวชราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ แต่งเรื่องนี้ในขณะเดินทางตามเสด็จ สมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ ไปรบพม่าซึ่งยกมาตีเมืองถลางและเมืองชุมพรในปี พ.ศ. 2352 ในการพิมพ์ครั้งที่ 2 กรมศิลปากร ได้จัดทำคำอธิบายถ้อยคำบางตอนที่เข้าใจยากและจัดทำเส้นทางเดินทางที่สำคัญ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก