ข้อใดคือผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้านลบ ที่เกิดจากการสร้างสนามบิน

เมื่อการพัฒนาถูกตั้งคำถามจากคุณภาพชีวิต...

     ‘เหรียญมีสองด้าน’ เช่นเดียวกับโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ใช้เม็ดเงินลงทุนจำนวนมหาศาล ในมุมหนึ่งคือ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใต้ความคาดหวังว่าจะช่วยกระตุ้นให้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เติบโตขึ้น ทว่าอีกมุมหนึ่งคือ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับคนในพื้นที่จัดตั้งโครงการ

     ย้อนกลับไปเมื่อปี 2560 กรมท่าอากาศยาน ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของ โครงการท่าอากาศยานสำหรับรองรับการบินเชิงธุรกิจ (Business Aviation Airport) เพื่อรองรับการขยายตัวด้านการท่องเที่ยว

เมื่อ ‘นครปฐม’ คือ พื้นที่เป้าหมาย

     ที่สุดแล้ว บริษัทที่ปรึกษาลงความเห็นว่า พื้นที่ขนาด 3,500 ไร่ ใน อ.นครชัยศรี และ อ.บางเลน จ.นครปฐม มีความเหมาะสมมากที่สุดจากการปูพรมศึกษาทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียงรวม 11 พื้นที่

     การเกิดขึ้นของโครงการขนาดใหญ่อย่าง “โครงการสนามบินนครปฐม” นำมาซึ่งข้อกังวลจากภาคประชาสังคมและประชาชนในพื้นที่ ทั้งเรื่องเศรษฐกิจฐานราก สังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม

     ชาวนครปฐมจึงได้หยิบยกเครื่องมือภายใต้ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ที่เรียกว่า การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact Assessment : HIA) เข้ามาใช้ เพื่อจัดทำข้อมูลวิชาการที่แสดงให้เห็นถึงข้อเท็จจริงในทุกมิติ

     โจทย์ใหญ่จากนี้คือ จะทำอย่างไรให้การลงทุน ‘สมดุล’ กับคุณภาพชีวิตของทุกฝ่าย และเกิดการพัฒนาที่ไม่ทำลายวิถีชีวิตของคนในพื้นที่

     สำหรับ HIA เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของสังคม เพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์ผลกระทบต่อสุขภาพทั้งเชิงบวกและลบ รวมถึงปัจจัยทางสังคมที่ผลกระทบต่อสุขภาพ โดยจะใช้ข้อมูลจากแต่ละพื้นที่เป็นตัวตั้ง ซึ่งในกระบวนการจัดทำ HIA จะมีการนำเครื่องมือที่หลากหลายเข้ามาช่วยวิเคราะห์ มีการนำกระบวนการการมีส่วนร่วมของพื้นที่เข้ามาใช้

     ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่ “การสร้างข้อเสนอเชิงนโยบาย” ที่มีทางเลือกหลากหลาย เพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่มากที่สุด

     น.ส.ชุติมา น้อยนารถ คณะทำงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดนครปฐม เล่าว่า ภาคประชาชนเริ่มทราบข้อมูลโครงการในช่วงต้นปี 2562 ซึ่งเป็นการศึกษาครั้งที่สองของกรมท่าอากาศยาน แต่การรับรู้นั้นเป็นไปเฉพาะข้อมูลเชิงบวกของโครงการตามที่บริษัทที่ปรึกษานำเสนอ

     อย่างไรก็ดี เพื่อความรอบด้าน เครือข่ายภาคประชาชนจึงได้ปรึกษากับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในการนำเครื่องมือ HIA เข้ามาร่วมศึกษาคู่ขนานอย่างถูกต้องบนหลักวิชาการ เมื่อดูในรายละเอียด จึงพบว่าสนามบินเชิงธุรกิจแห่งนี้ เป็นสนามบินสำหรับเครื่องบินเล็กหรือเครื่องบินส่วนตัวของกลุ่มบุคคลพิเศษ นักธุรกิจ หรือผู้มีฐานะเท่านั้น แต่ละเที่ยวบินมีผู้โดยสารเฉลี่ยเพียง 2.7 คน

     นอกจากนี้ แม้จะพิจารณาจากตัวเลขคาดการณ์ในอีก 20 ปีข้างหน้า หรือปี 2589 ว่าอาจมีเที่ยวบินสูงสุดถึง 11,700 ลำ แต่ก็ยังมีผู้โดยสารเฉลี่ยเพียง 98 คนต่อวันเท่านั้น นั่นจึงไม่มีผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจจากนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามามากขึ้น

ข้อมูลวิชาการจากกระบวนการมีส่วนร่วม

     “เราเริ่มกระบวนการ HIA ด้วยการทำข้อมูลพื้นฐานทางกายภาพของพื้นที่ ซึ่งพบว่า นอกจากจะมีความมั่นคงทางอาหารดีมากแล้ว ยังมีความเปราะบางทางระบบนิเวศ ด้วยสภาพของพื้นที่เป็นแก้มลิงขนาดใหญ่ที่รองรับน้ำในช่วงน้ำหลาก หากสนามบินเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบกับลุ่มแม่น้ำท่าจีนตอนล่าง และมีความเสี่ยงที่น้ำจะล้นไปถึง กทม.หรือนนทบุรี” ผู้แทนในพื้นที่ระบุ

     ขณะเดียวกัน ได้มีการจัดเวทีในชุมชนเพื่อพูดคุยถึงข้อห่วงกังวลในประเด็นต่างๆ โดยมีการพูดถึงผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งในเรื่องของน้ำ อากาศ เสียง ไม่ว่าจะผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือคนในพื้นที่ 3,500 ไร่ ที่จะต้องย้ายถิ่นฐาน หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบทางอ้อมคือผู้อยู่อาศัยโดยรอบในระยะ 15-20 กิโลเมตร ที่จะพบปัญหาระยะยาวทั้งจากมลพิษ หรือความเปลี่ยนแปลงของเมืองที่รวดเร็ว ซึ่งอาจนำไปสู่การแย่งชิงทรัพยากร และกระทบกับคนในพื้นที่ที่มีเงินน้อยและเข้าถึงทรัพยากรได้น้อยกว่า

     มากไปกว่านั้น ยังมีข้อค้นพบอีกมากที่ในรายงานการศึกษาของโครงการ ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง

     “HIA เป็นเครื่องมือที่ทำให้เราจำแนกข้อมูลได้ชัดเจนขึ้นว่าอะไรที่กระทบกับสุขภาพและเป็นความเดือดร้อน ซึ่งวิเคราะห์ไปได้ถึงในระดับนโยบาย ดังนั้น HIA จึงเป็นใบเบิกทางที่ดีและมีน้ำหนัก ถือเป็นการจัดทำข้อมูลวิชาการบนกระบวนการการมีส่วนร่วมที่จะนำไปสู่การสร้างทางเลือกในการดำเนินนโยบายหรือโครงการใหญ่ๆ ได้อย่างแท้จริง” น.ส.ชุติมา ระบุ

กลุ่มงานสื่อสารสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) 02-832-9147

ผลกระทบของเทคโนโลยี

ในการสร้างเขื่อนมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการกักน้ำ การชลประทาน และป้องกันอุทกภัย รวมถึงผลิตกระแสไฟฟ้า แต่การสร้างเขื่อนก็ก่อให้เกิดการปิดกั้นทางน้ำ ทำให้สิ่งมีชีวิตบางชนิดในน้ำไม่สามารถว่ายขึ้นไปวางไข่ในช่วงฤดูผสมพันธ์ุ และพื้นทีเหนือเขื่อนจมอยู่ใต้น้ำทำให้เกิดการทำลายพื้นที่ป่าไม้ ในขณะเดียวกันต้องมีการอพยพประชากรออกจากพื้นที่ ดังนั้น นักพัฒนาจะต้องตัดสินใจและวางแผนการดำเนินงานให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ของทรัพยากร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาเมื่อเกิดการสร้างเขื่อน ที่สำคัญอย่างยิ่งต้องหาวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย

รูปที่ 24 ผลกระทบของการสร้างเขื่อน

ผู้เรียนมีความรู้เดิมเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ซับซ้อน และการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นเมื่อมีปัจจัย เช่น ปัญหาและความต้องการของมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ความก้าวหน้าของศาสตร์ต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอาจเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิม หรือสร้างเทคโนโลยีขึ้นมาใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน

การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงอยู่กับความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งเทคโนโลยีเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มั่นคงและเติบโตอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิต อย่างไรก็ตามมนุษย์จำเป็นต้องเตรียมรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ การพัฒนา และการสร้างเทคโนโลยี ซึ่งมีทั้งด้านบวกและด้านลบ

ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในหลายด้าน จึงมีการพัฒนา และสร้างเทคโนโลยีให้เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเทคโนโลยีเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นด้านการสื่อสาร การคมนาคม การศึกษา การแพทย์ ฯลฯ ถ้ามนุษย์นำเทคโนโลยีไปใช้ในทางที่ผิด เช่น สร้างขีปนาวุธ ระเบิดนิวเคลียร์ สิ่งเหล่านี้ย่อมก่อให้เกิดโทษอย่างร้ายแรง ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้นมนุษย์จึงต้องตระหนักถึงผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบของการใช้ การพัฒนา และการสร้างเทคโนโลยี ซึ่งผลกระทบของเทคโนโลยีสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้ ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อมนุษย์และสังคม ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อเศรษฐกิจ และผบกระทบของเทคโนโลยีต่อสิ่งแวดล้อม

1. ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อมนุษย์และสังคม

ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีมีผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ เช่น ความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข ทำให้อายุขัยของมนุษย์ยืนยาวขึ้น แม้อยู่ในชนบทก็สามารถได้รับการรักษาทางการแพทย์ได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากมีระบบแพทย์ทางไกล (telemedicine) ช่วยให้แพทย์ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลสามารถวางแผนการรักษาร่วมกับแพทย์เฉพาะทาง เมื่อมีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น ทำให้สังคมกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ (aging society) เพิ่มขึ้น

รูปที่ 25 จำนวนประชากรผู้สูงอายุ

ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เช่น หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ มีการนำมาใช้แทนที่มนุษย์ในกิจกรรมที่อันตราย และช่วยทำให้มนุษย์ไม่เสี่ยงกับปัญหาสุขภาพในการทำงาน เช่น การใช้หุ่นยนต์แทนมนุษย์ในขั้นตอนการผลิตที่มีการสูดควันของสารพิษ ในขณะเดียวกันการนำหุ่นยนต์มาช่วยในกระบวนการผลิต ส่งผลให้ชิ้นงานที่ผลิตออกมามีคุณภาพตรงตามมาตรฐาน มีประสิทธิภาพสูง และยังสามารถใช้วัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเป็นการประหยัดทรัพยากรและลดต้นทุนการผลิต แต่ในอีกมุมมองหนึ่งก็ก๋อให้เกิดภาวะการว่างงาน เนื่องจากมีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติแทนที่มนุษย์ในอุตสาหกรรมหนัก ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมอื่นๆ ตามมา เช่น ปัญหาอาชญากรรม

รูปที่ 26 ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

แพทย์ทางไกล เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองต่อสภาพสังคมปัจจุบันที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น โดยระบบแพทย์ทางไกล เป็นการนำเอาความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารมาประยุกต์ใช้กับงานทางการแพทย์ โดยการส่งสัญญาณผ่านสื่อ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณดาวเทียม (satellite) หรือใยแก้วนำแสง (fiber optic) ควบคู่ไปกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

2. ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อเศรษฐกิจ

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนา และขณะเดียวกันการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก็นำไปสู่การขยายอำนาจของประเทศต่างๆ เพื่อหาแหล่งทรัพยากรใหม่ เทคโนโลยีจึงเป็นกุญแจสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ สังเกตได้จากประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสูงมักเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีบทบาทสำคัญต่อสภาพเศรษฐกิจโลก

ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิต เช่น การมีเทคโลโนยีที่ทันสมัย ช่วยทำให้ประหยัดต้นทุนการผลิต ผลิตสินค้าได้ในปริมาณมาก และสินค้ามีประสิทธิภาพสูง ส่งผลให้มีรายได้จากการผลิตสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น และมีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด เมื่อกลุ่มธุรกิจรายใดมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากว่ารายอื่นอาจก่อให้เกิดการผูกขาดทางการค้า คือ ไม่มีผู้ผลิตรายอื่นสามารถผลิตสินค้าชนิดเดียวกันมาแข่งขันในตลาดได้

รูปที่ 27 สินค้าอุปโภค บริโภค

ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม ทำให้มีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น ในการควบคุมดูแลเครื่องจักรกลทางการผลิต เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้เกิดการจ้างงาน การขยายตัวทางเศรษฐกิจและชุมชนเมือง แต่ในขณะเดียวกันอาจส่งผลให้เกิดปัญหาการย้ายถิ่นของแรงงานจากสังคมชนบทสู่สังคมเมือง เกิดเป็นชุมชนอุตสาหกรรม เช่น นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ทำให้ยากต่อการจัดการทรัพยากรหรือเกิดมลภาวะได้ นอกจากนี้การนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก หรือพึ่งพาเทคโนโลยีจากประเทศอื่นๆ เพียงอย่างเดียว อาจก่อให้เกิดการเสียดุลทางการค้า ดังนั้นการพัฒนาและการสร้างเทคโนโลยีขึ้นเองจะช่วยให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ทำให้ประเทศมีรายได้และมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจมากขึ้น

รูปที่ 28 การย้ายถิ่นจากสังคมชนบทสู่สังคมเมือง

3. ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาและการสร้างเทคโนโลยี ส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้นอย่างมาก ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษทางน้ำ ดิน อากาศ เสียง หรือการปนเปื้อนของสารพิษ แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง มนุษย์สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปรับปรุงธรรมชาติ ให้เหมาะสมต่อการใช้งานและความต้องการของมนุษย์ เช่น โครงการแกล้งดิน

รูปที่ 29 การแก้ปัญหาดินเปรี้ยว

ในขณะเดียวกันมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบำบัดของเสียจากกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม หรือภาคครัวเรือน เช่น เทคโนโลยีบำบัดน้ำเสีย เป็นการบำบัดน้ำเสียให้มีสมบัติตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก่อนปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีการกรองอากาศ ช่วยกำจัดหรือบำบัดแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซค์ ฝุ่น และไอปรอท ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตของโรงไฟฟ้าถ่านหิน

รูปที่ 30 มลพิษที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรม

4. ตัวอย่างการวิเคราะห์ผลกระทบของเทคโนโลยี

โครงการแกล้งดินเป็นการแก้ปัญหาดินเปรี้ยวหรือดินที่มีความเป็นกรดมาก ทำให้พื้นที่ที่มีลักษณะดังกล่าว ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกได้ จึงมีการหาแนวทางในการปรับปรุงดิน ให้สามารถนำมาใช้เป็นพื้นที่การเกษตรและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน ในขณะเดียวกับต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งวิธีการปรับปรุงดินต้องเริ่มจากวิธีการ "แกล้งดินให้เปรี้ยว" คือทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกัน เพื่อเร่งปฏิกิรกยาทางเคมีของดิน กระตุ้นให้ดินมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้นนั่นคือการ "แกล้งดินให้เปรี้ยวถึงจุดอิ่มตัว" จนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นกับสภาพพื้นที่และปริมาณของความเป็นกรดของดิน เช่น ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด เพื่อให้ดินมีความเป็นกรดลดน้อยลง จากนั้นเติมปุ๋ยในโตรเจนและฟอสเฟตผสมกับหน้าดิน หรือการใช้วิธีผสมปูนขาวที่มีสมบัติเป็นต่างผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน เพื่อก่อให้เกิดการสะเทินของกรดและเบสของหน้าดินในพื้นที่ดังกล่าวหรืออาจมีการใช้ทั้งสองวิธีข้างต้นร่วมกัน แต่ต้องมีการควบคุมระดับน้ำใต้ดินตลอดเวลา เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน จากปฏิกิริยาของสารไพไรท์ที่อยู่ในชั้นดินเลนกับออกซิเจน

ดังนั้น "โครงการแกล้งดิน" จึงเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนและเกษตรกรโดยทั่วไปส่งผลให้เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพได้ มีผลผลิตและรายได้สูงขึ้น จากการแก้ปัญหาดังกล่าว

ตารางที่ 1 สรุปผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการแกล้งดิน

สนามบินเป็นการเชื่อมโยงการคมนาคมทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศที่สะดวกรวดเร็วมากที่สุด ซึ่งการคมนาคมทางอากาศมีความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากการเพิ่มจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม จึงทำให้เกิดความต้องการการคมนาคมที่สะดวกและรวดเร็วเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการสร้างสนามบินเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ในการสร้างสนามบินนั้น ต้องศึกษาข้อมูลหลายด้าน เช่น พื้นที่ในการก่อสร้าง ขนาดของพื้นที่ของสนามบิน ความเหมาะสมในการเดินทาง สิ่งแวดล้อมและชุมชนที่อยู่เคียงข้าง และงบประมาณในการก่อสร้าง

รูปที่ 31 การคมนาคมขนส่งโดยเครื่องบิน

ตารางที่ 2 สรุปผลกระทบที่เกิดจากการสร้างสนามบิน

การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือที่เรียกว่า EIA (Environmental Impact Assessment) เป็นการใช้หลักวิชาการในการคาดการณ์ผลกระทบของการดำเนินโครางการที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทั้งด้านบวกและด้านลบ ในประเด็นของทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อจะได้หาทางป้องกันผลกระทบในด้านลบให้เกิดน้อยที่สุด ในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด นอกจากนี้การวิเคราะห์ผลกระทบต่ดสิ่งแวดล้อมยังใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจของนักพัฒนาว่าสมควรดำเนินโครงการหรือไม่ และสามารถทราบได้ว่าจะเกิดปัญหาอะไร และสามารถแก้ปัญหาได้ทันที หรือป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้จากการดำเนินโครงการ การจัดทำ EIA ประกอบด้วย การศึกษาต่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน มีแนวโฯ้มจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อโครงการเริ่มก่อสร้าง ได้แก่

ทรัพยากรกายภาพ ศึกษาถึงผลกระทบทาง ดิน น้ำ อากาศ เสียง

ทรัพยากรชีวภาพ ศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อระบบนิเวศ และการดำรงชีวิตของสัตว์

คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ศึกษาถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทั้งทางกายภาพและชีวภาพของมนุษย์ เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดิน

คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต ศึกษาผลกระทบที่จะเกิดกับมนุษย์ ชุมชน ระบบเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ วัฒนธรรมประเพณี

ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการใช้ การพัฒนา และการสร้างเทคโนโลยีในด้านต่างๆ นั้น ก่อให้เกิดผลกระทบด้านบวกและด้านลบต่อมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องรู้จักวิธีการคิดอย่างมีเหตุผลและรอบคอบ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้สามารถใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม สามารถประเมินความเสียงของผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีได้ เช่น เทคโนโลยีประเภทหนึ่งมีผลกระทบด้านบวกต่อระบบเศรษฐกิจ แต่มีผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม ถ้าผู้ใช้เทคโนโลยีไม่พิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ หรือขาดความรับผิดชอบ อาจส่งผลให้เกิดผลกระทบด้านลบมากกว่าด้านบวก

ข้อใดเป็นผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจในกรณีการสร้างสนามบิน

ข้อใดเป็นผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจในกรณีการสร้างสนามบิน เกิดมลพิษทางเสียง เนื่องจากการบิน งบประมาณในการก่อสร้างสูงรัฐบาลต้องระดมทุนหรือกู้เงินในการก่อสร้าง เกิดมลพิษทางอากาศ เนื่องจากสนามบินเป็นแหล่งปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

ข้อใดคือผลกระทบด้านลบ ที่เกิดจากโครงการแกล้งดิน

เปลืองพื้นที่ทำการเกษตร ดินเสียเพราะการขุดเจาะ ปิดกั้นทางน้ำของสิ่งมีชีวิตในน้ำ เปลืองทรัพยากรในการสร้าง

ข้อใดคือผลกระทบด้านลบของโครงการแกล้งดิน ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้านลบ อาจก่อให้เกิดปัญหาสารเคมีตกค้าง ในกรณีใช้สารเคมีมากเกินความจำเป็น

ข้อใดคือผลกระทบด้านลบของเทคโนโลยีต่อสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาและการสร้างเทคโนโลยีส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษทางดิน น้า อากาศ เสียง หรือการปนเปื้อนของ สารพิษ ในขณะเดียวกันมีการนาเทคโนโลยีมาใช้ในการบาบัดของเสียจากกระบวนการผลิต ในภาคอุตสาหกรรม หรือภาพครัวเรือน เช่น เทคโนโลยีบาบัดน้าเสียเป็นต้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก