วัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้งธนาคารออมสิน คืออะไร

ธนาคารเฉพาะกิจ


ธนาคารที่ว่าไม่ใช่ทั้งธนาคารกลาง และก็ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์

ธนาคารเฉพาะกิจหรือธนาคารพิเศษที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน

ธนาคารออมสิน
ก็ตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้ประชาชนรู้จักการประหยัดและเก็บออม

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ก็ตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อส่งเสริมและช่วยเหลือประชาชนให้นำเงินไปลงทุนเกี่ยวกับการสร้างอาคารและที่ดิน

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ก็ตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อทำหน้าที่อำนวยสินเชื่อให้เกษตรกรทั้งตัวเกษตรกรและสถาบันทางการเกษตร

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า ชื่อก็บอกแล้วว่าตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้สินเชื่อเกี่ยวกับการส่งออกและนำเข้า

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
ก็ตั้งขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่อุตสาหกรรมขนาดย่อม

ธนาคารอิสลาม
ตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเป็นช่องทางทางด้านการเงินสำหรับชาวไทยมุสลิม

จะเห็นว่าธนาคารต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป ต่างมีบทบาทสำคัญในฐานะของการเป็นธนาคารเฉพาะกิจหรือเป็นสถาบันการเงินพิเศษ

ธนาคารออมสิน //www.gsb.or.th/

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ //www.ghb.co.th/ 

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร //www.baac.in.th/ 

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า //www.exim.go.th/ 

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย //www.smebank.co.th/ 

สถาบันการเงินประชาชน

สถาบันการเงินประชาชนคืออะไร มีบทบาทหน้าที่อย่างไร

>> องค์กรการเงินชุมชนที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการออมทรัพย์และให้บริการทางการเงินแก่สมาชิก รวมทั้งส่งเสริมหรือสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ คุณภาพชีวิต และสวัสดิการของสมาชิกและประชาชนในพื้นที่ สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นสถาบันการเงินประชาชนตามพระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. 2562 ได้ตามความสมัครใจ โดยสถาบันการเงินประชาชนสามารถทำหน้าที่เป็นธนาคารของชุมชนซึ่งให้บริการรับฝากเงินจากสมาชิก ประชาชน และวิสาหกิจชุมชน ให้สินเชื่อแก่สมาชิก และเป็นตัวแทนการรับชำระเงินและโอนเงินของสมาชิกและประชาชน โดยมีพื้นที่ในการดำเนินงานไม่เกินเขตตำบลหรือแขวงที่ตั้งของสถาบันการเงินประชาชนและเขตหมู่บ้านที่ติดกับตำบลหรือแขวงอันเป็นที่ตั้งของสถาบันการเงินประชาชน

>> การจดทะเบียนเป็นสถาบันการเงินประชาชนเป็นการยกระดับองค์กรการเงินชุมชนให้มีสถานะเป็นนิติบุคคลที่มีธนาคารผู้ประสานงานเป็นพี่เลี้ยงช่วยจัดทำและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการให้บริการทางการเงิน เป็นตัวกลางในการทำธุรกรรมทางการเงิน และช่วยตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการ ซึ่งการมีพี่เลี้ยงดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนและสนับสนุนให้สถาบันการเงินประชาชนสามารถดำเนินการเป็นธนาคารของชุมชนที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับและไว้วางใจของสมาชิกและประชาชนในพื้นที่

องค์กรการเงินชุมชนประเภทใดบ้างที่สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นสถาบันการเงินประชาชน และยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่ไหน

คณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชนได้ออกประกาศกำหนดให้ ( 1 ) กลุ่มออมทรัพย์หรือกลุ่มสัจจะ ( 2 ) กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ( 3 ) สถาบันการเงินชุมชน และ ( 4 ) วิสาหกิจชุมชนที่ให้บริการทางการเงินและไม่เป็นนิติบุคคล เป็นองค์กรการเงินชุมชนที่สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นสถาบันการเงินประชาชน รวมถึงออกประกาศกำหนดให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน เป็นธนาคารผู้ประสานงานของสถาบันการเงินประชาชน ทั้งนี้ องค์กรการเงินชุมชนที่สนใจจะจดทะเบียนเป็นสถาบันการเงินประชาชนสามารถติดต่อยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่สาขาของ ธ.ก.ส. หรือธนาคารออมสินในพื้นที่

องค์กรการเงินชุมชนที่จะยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นสถาบันการเงินประชาชนต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้นอย่างไร

1) ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกด้วยมติไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นสถาบันการเงินประชาชน
2) มีการจัดทำงบการเงินประจำปีต่อเนื่องกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน
3) มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
4) มีทุนที่ชำระแล้ว เป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 5 แสนบาท
5) มีผลการดำเนินงานเป็นกำไรต่อเนื่องกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน และในวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียนต้องไม่มีผลการดำเนินงานขาดทุนสะสม

นอกจากนี้ สมาชิกขององค์กรการเงินชุมชนดังกล่าวต้องเป็นบุคคลธรรมดาและมีภูมิลำเนาหรือประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งในพื้นที่ในการดำเนินงานขององค์กรการเงินชุมชนนั้นเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่วันที่สมัครเป็นสมาชิก รวมทั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อบังคับของสถาบันการเงินประชาชน

เอกสารและหลักฐานที่องค์กรการเงินชุมชนต้องใช้สำหรับการยื่นขอจดทะเบียนเป็นสถาบันการเงินประชาชนมีอะไรบ้าง

1) คำขอจดทะเบียนเป็นสถาบันการเงินประชาชน
2) รายงานการประชุมสมาชิกซึ่งลงมติไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเพื่อดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียน พร้อมด้วยรายชื่อสมาชิกทั้งหมด และรายงานการประชุมสมาชิกซึ่งตั้งผู้แทน (ไม่น้อยกว่า 3 คน) เพื่อดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียน พร้อมสำเนา
3) ทะเบียนสมาชิกพร้อมลายมือชื่อและทะเบียนหุ้นที่แต่ละคนจะถือเมื่อได้จดทะเบียนเป็นสถาบันการเงินประชาชน
4) ร่างข้อบังคับตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. 2562
5) งบการเงินย้อนหลังอย่างน้อย 2 ปี
6) รายงานการเคลื่อนไหวทางบัญชีย้อนหลังอย่างน้อย 2 ปี
7) หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

สถาบันการเงินประชาชนแตกต่างกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอย่างไร ?

สถาบันการเงินประชาชนกับกองทุนหมู่บ้านฯ เป็นนิติบุคคลที่มีบทบาทแตกต่างกันในการเพิ่มการเข้าถึงทางการเงินให้แก่ประชาชนและแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ โดยสถาบันการเงินประชาชนจะทำหน้าที่เป็นเหมือนธนาคารของประชาชนในตำบลที่ให้บริการรับฝากเงิน ให้สินเชื่อ รับชำระเงินรับโอนเงิน รวมถึงส่งเสริมหรือสนับสนุนการจัดสวัสดิการในพื้นที่ดำเนินงานโดยใช้เงินที่ได้จากการจัดสรรกำไร ซึ่งจะได้ธนาคารผู้ประสานงานเข้ามาช่วยสนับสนุนการดำเนินงานและพัฒนาระบบการให้บริการทางการเงิน ขณะที่กองทุนหมู่บ้านฯ ทำหน้าที่เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ หรือบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับประชาชนในหมู่บ้าน ซึ่งสามารถให้กู้ยืมแก่สมาชิกและรับฝากเงินจากสมาชิกรวมถึงจัดหาทุนจากแหล่งเงินทุนอื่นเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์

โครงสร้างของระบบสถาบันการเงินประชาชน

ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการเงินประชาชน

1 / 2

2 / 2


เอกสารสำหรับ Download

ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการเงินประชาชน ข้อมูลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ.2562 ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน ประกาศนายทะเบียนสถาบันการเงินประชาชน คำสั่งนายทะเบียนสถาบันการเงินประชาชน กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รายชื่อสถาบันการเงินประชาชนที่เปิดดำเนินการในปัจจุบัน

  สาระสำคัญเกี่ยวกับสถาบันการเงินประชาชน

  กระบวนการยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นสถาบันการเงินประชาชน

  พระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. 2562

  สาระสำคัญของพระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. 2562

  ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดองค์กรการเงินชุมชน พ.ศ. 2562

  ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดธนาคารผู้ประสานงาน พ.ศ. 2562

  ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดกรอบอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทน ค่าธรรมเนียม และค่าบริการของสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. 2562

  ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดกรอบอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทน ค่าธรรมเนียม และค่าบริการของสถาบันการเงินประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565

  ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การฝากเงินหรือกู้ยืมเงินเพื่อใช้ในการดำเนินงานของสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. 2562

  ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้บริการทางการเงินโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. 2562

  ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้บริการทางการเงินโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการเงินประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565

  ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาจัดทำรายงานการดำเนินงานของธนาคารผู้ประสานงาน พ.ศ. 2562

  ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาจัดทำรายงานการดำเนินงานของธนาคารผู้ประสานงาน พ.ศ. 2565

  ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการทางการเงินและข้อมูลทั่วไปของสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. 2562

  ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการทางการเงินและข้อมูลทั่วไปของสถาบันการเงินประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565

  ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้กู้และการให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้รายใหญ่ พ.ศ. 2562

  ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการดำรงเงินกองทุน พ.ศ. 2562

  ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง พ.ศ. 2562

  ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนการจัดชั้นสินทรัพย์และการกันเงินสำรอง พ.ศ. 2562

  ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดชั้นสินทรัพย์และการกันเงินสำรอง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565

  ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการดำรงอัตราส่วนหนี้สินต่อเงินกองทุน พ.ศ. 2562

  ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการดำรงอัตราส่วนหนี้้สินต่อเงินกองทุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565

  ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดอัตราขั้นสูงของเงินที่จ่ายเป็นเงินรางวัลของกรรมการ ผู้จัดการ พนักงาน หรือลูกจ้างของสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. 2565

  ประกาศนายทะเบียนสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดแบบคำขอ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. 2562

  ประกาศนายทะเบียนสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดแบบคำขอ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นสถาบันการเงินประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563

  ประกาศนายทะเบียนสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการมอบอำนาจของสมาชิกสถาบันการเงินประชาชนในการประชุมใหญ่ พ.ศ. 2562

  ประกาศนายทะเบียนสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดทำทะเบียนสมาชิกและทะเบียนหุ้นของสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. 2562

  ประกาศนายทะเบียนสถาบันการเงินประชาชน เรื่อง กำหนดระยะเวลาเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีของสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. 2564

  คำสั่งนายทะเบียนสถาบันการเงินประชาชน ที่ 1/2563 เรื่อง กำหนดรายละเอียดของข้อมูลที่สถาบันการเงินประชาชนต้องบันทึกโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

  ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินสำหรับการจัดตั้งและการดำเนินงานของสถาบันการเงินประชาชนตามหลักเกณฑ์ ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

  พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 734) พ.ศ. 2564

  รายชื่อสถาบันการเงินประชาชนที่เปิดดำเนินการในปัจจุบัน

ข้อใดเป็นหน้าที่หลักของธนาคารออมสิน

ภารกิจ ๕ ประการ.
ก้าวต่อมา จากธนาคารเชิงพาณิชย์สู่ธนาคารเพื่อสังคม ... .
ภารกิจที่ ๑ : การเป็นธนาคารเพื่อการออม ... .
ภารกิจที่ ๒ : การเป็นธนาคารเพื่อสังคมและชุมชน ... .
ภารกิจที่ ๓ : การเป็นธนาคารเพื่อภาครัฐ ... .
ภารกิจที่ ๔ : การเป็นธนาคารเพื่อบุคคลทั่วไป ... .
ภารกิจที่ ๕ : การเป็นธนาคารเพื่อธุรกิจ.

ธ อาคารสงเคราะห์จัดตั้งเพื่อวัตถุประสงค์ใด

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ อส. (อังกฤษ: Government Housing Bank) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการคลัง โดยปัจจุบันกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2496 ทำหน้าที่ช่วยเหลือตลาดทางการเงินให้กับประชาชน ได้มีที่อยู่อาศัยตามสมควรแก่อัตภาพ โดยการให้กู้ยืมเงิน และ จัดสรรที่ดิน ...

ธนาคารกรุงเทพมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานอย่างไร

ธนาคารกรุงเทพมุ่งหมายที่จะเป็นธนาคารที่ให้บริการด้านการเงินที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า มีความพร้อมด้วยบุคลากรที่มีคุณภาพ มีเทคโนโลยีและระบบงานที่ทันสมัย คงไว้ซึ่งความเป็นสากล ตลอดจนการเป็นธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคเอเชีย

ธนาคารออมสินมีความหมายว่าอย่างไร

(n) the Government Saving Bank, See also: savings bank. ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ธนาคารออมสิน น. ธนาคารที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อรับฝากเงินออมสินเป็นสำคัญ.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก