ธุรกิจซื้อมาขายไป มีอะไรบ้าง

หากคุณอยากทำธุรกิจ แต่ไม่เคยทำ ไม่มีความรู้มาก่อน ไม่รู้ว่าจะสร้างแบรนด์ยังไง ?! หรือไม่เคยขายของมาก่อน ! แนะนำว่า ลองซื้อของมาขายก่อนครับ หรือที่เรียกว่า “ธุรกิจซื้อมาขายไป” นั่นเอง

ในธุรกิจประเภทนี้ คุณจะเห็นบรรดาพ่อค้าแม่ขาย ทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ สามารถบริหารธุรกิจของตนให้ประสบความสำเร็จได้ในแบบของตนได้

วันนี้ ใครรู้สึกไม่มั่นใจว่าจะรุ่งหรือร่วง ผมก็มีคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับธุรกิจซื้อมาขายไปมาฝากครับ

1.ต้องมีใจรัก และชอบค้าขาย.

ธุรกิจซื้อมาขายไป จำเป็นต้องติดต่อกับผู้คนอยู่ตลอดเวลา คุณต้องถามใจตัวเองก่อนว่า มีใจรักในการค้าขายหรือไม่ ชอบพูดคุยกับลูกค้าหรือเปล่า เป็นคนที่มีความขยันอดทนและรักงานบริการหรือไม่

เพราะถ้าคุณไม่รักไม่ชอบแล้ว โอกาสที่คุณจะผลักดันตัวเองหรือกระตุ้นตัวเองให้ไปต่อนั้นแทบไม่มีเลย

แต่คุณจะหาข้ออ้างที่จะหยุดแทน อย่างงี้ไม่รุ่งแน่นอนครับ

2.คัดแต่สินค้าที่ดีมีคุณภาพ

เรื่องคุณภาพของสินค้า เป็นอะไรที่ต้องคิดให้หนักเลย ไม่ใช่คิดแต่จะได้กำไรเยอะ ๆ นำสินค้าเกรดรองหรือเกรดต่ำมาวางจำหน่าย เพราะในมุมของลูกค้าแล้ว พวกเขาจะพอใจมากหากสินค้าที่พวกเขาซื้อมีคุณภาพสมราคาหรือเกินราคา คุณจึงต้องมอบสิ่งนี้ให้กับลูกค้า

โดยเริ่มจากความคิดก่อนว่า ธุรกิจซื้อมาขายไปของคุณจะเน้นแต่สินค้าที่มีคุณภาพ เป็นที่วางใจของลูกค้าแล้วเท่านั้น ถ้าคิดและทำได้แบบนี้รับรองธุรกิจซื้อมาขายไปคุณรุ่งชัวร์ครับ

3.รู้ว่าจะหาแหล่งรับสินค้าจากที่ไหน

เมื่อตั้งต้นมาดี มีใจรักในการค้าขาย และมีความคิดที่จะขายสินค้าที่มีคุณภาพแล้ว สิ่งที่จะต้องพิจารณาต่อไป ในการทำธุรกิจซื้อมาขายไปก็คือ แล้วจะไปเอาสินค้ามาจากที่ไหนล่ะ

ก่อนอื่นคุณก็ต้องรู้ก่อนว่าจะขายอะไร  ให้ลูกค้ากลุ่มไหน แล้วค่อยไปหาว่า จะซื้อจากแหล่งผลิตไหน ที่คุ้มค่าที่สุด และตอบโจทย์ความต้องการที่วางไว้

ขั้นตอนนี้คุณต้องศึกษารายละเอียดให้ดี และทำการเปรียบเทียบราคากับคุณภาพของสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อทุกครั้ง ห้ามดูแค่ราคา และอย่าไปแห่ซื้อตามคนอื่น ว่าแหล่งนู้น แหล่งนี้ดี แต่ให้พิจารณาด้วยตนเองอย่างรอบคอบก่อนครับ

4.เลือกสินค้าที่จะขายให้ตรงกระแส

การเลือกสินค้าที่ขายได้หรือไม่ตกกระแส ก็สามารถสร้างยอดขายแบบที่คุณคาดไม่ถึงได้ง่าย ๆ เลยทีเดียว

คุณคงไม่อยากเจอปัญหาสินค้าค้างสต๊อกหรือขายไม่ออกแน่ ๆ อย่างนี้ก็ต้องสำรวจตลาดสินค้ากันหน่อยครับ

.

ที่เห็น ๆ สินค้าส่วนใหญ่ที่กำลังเป็นที่นิยม อาทิ สินค้าเพื่อสุขภาพ สินค้าแฮนด์เมด ของตกแต่งบ้าน สินค้าแฟชั่นตามเทรนด์ เสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องสำอาง หรือสินค้าที่เกี่ยวกับผู้หญิงที่ไม่ตกเทรนด์ เป็นต้น

หรือถ้าใครเชื่อมั่นว่าสินค้าที่จับมา มีความแปลกแตกต่างจากผู้อื่น และสามารถนำเสนอได้ ก็สามารถเลือกสินค้าชนิดนั้น มาทำให้ธุรกิจซื้อมาขายไปของคุณรุ่งได้ด้วยเช่นกันครับ

5.ทำเลดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

การเลือกทำเลดี การค้าขายก็พลอยดีไปด้วย ทำเลดีในที่นี้ ไม่ใช่ว่าเลือกตามอารมณ์ความรู้สึกนะครับ

แต่ต้องพิจารณาจากกลุ่มลูกค้าของคุณ ว่าคนกลุ่มนั้น มีพฤติกรรมยังไง เวลาเลือกซื้อสินค้า เขาจะไปเลือกที่ไหน

คุณควรไปสำรวจทำเลก่อนว่า เหมาะที่จะลงสินค้าหรือไม่ และจะต้องลงช่วงเวลาไหน ที่ใด  มีค่าเช่าพื้นที่เท่าไร

ในแต่ละทำเลที่คุณเคยไปลงของแล้วนั้น ลองทำสถิติดูว่าแต่ละแห่งมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากน้อยเพียงใด

ขายดีหรือไม่ดีอย่างไร  เกิดความคุ้มค่าหรือไม่

เครื่องมือสถิติที่คุณจดนี้ ไม่ใช่เล่นๆนะครับ  แต่จะช่วยให้คุณเข้าใจในทำเล และสามารถเลือกทำเลที่ดีที่สุด

ในการทำธุรกิจซื้อมาขายไปได้อย่างมืออาชีพเลยครับ

นอกจากนี้ในการทำธุรกิจซื้อมาขายไปให้รุ่งนั้น คุณควรทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายทุกครั้งด้วย เพื่อทราบผลการดำเนินการ ว่าสิ่งที่คุณลงทุนลงแรงไป ได้ผลตอบแทนกลับมาเป็นที่น่าพอใจมั๊ย  ข้อเท็จจริงด้านตัวเลขจะช่วยให้คุณปรับกลยุทธ์ใหม่ เพื่อให้ธุรกิจซื้อมาขายไปของคุณ รุ่งเรืองไม่รุ่งริ่ง เลยล่ะครับ

บริการอบรม ให้คำปรึกษาการทำธุรกิจออนไลน์  ฝึกอบรมภายในบริษัท แบบตัวต่อตัว การทำ  Content  Marketing,การโฆษณา  Facebook,การโฆษณา  Tiktok,การตลาด  Line  OA และการทำสินค้าให้คนหาเจอบน Google

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารความรู้การทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ Add Line id :@taokaemai

           ประเภทของธุรกิจการค้า หมายถึง หน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด แบ่งออกตามกิจกรรมในการประกอบธุรกิจได้ 3 ประเภท


            1. ธุรกิจให้บริการ (Service  Business)  ธุรกิจประเภทนี้เน้นการให้บริการหรือขายบริการไม่ได้จำหน่ายสินค้า เช่น กิจการธนาคาร  กิจการประกันภัย  ธุรกิรโรงแรม ร้านเสริมสวย  โรงภาพยนตร์  ร้านซักรีด  สำนักงานจัดหางาน  กิจการรับทำบัญชี  เป็นต้น ธุรกิจบริการมีหน้าที่ให้บริการแก่ลูกค้า ส่วนลูกค้าได้ใช้ประโยชน์จากบริการแล้วต้องจ่ายชำระเงินค่าบริการหรือหากยังไม่ชำระเงินอาจจะขอสินเชื่อจากผู้ให้บริการ ลูกค้าจะมีฐานะเป็นลูกหนี้ของกิจการ รายได้ของกิจการคือรายได้จากการให้บริการ  ส่วนค่าใช้จ่ายคือต้นทุนในการให้บริการและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน


            2. ธุรกิจพาณิชยกรรม  หรือธุรกิจซื้อมาขายไป (Merchandising  Business)  ธุรกิจประเภทนี้มิได้ผลิตสินค้าเองแต่จะซื้อสินค้าสำเร็จรูปจากผู้ผลิตหรือโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อจัดจำหน่าย โดยทั่วไปเรียกว่า ธุรกิจซื้อมาขายไป ได้แก่  ร้านขายของชำ  ร้านขายเสื้อผ้าสำเร็จรูป  ห้างสรรพสินค้า  ร้านขายเฟอร์นิเจอร์  ร้านขายหนังสือ  เป็นต้น

            กระบวนการซื้อขายสินค้า จะเริ่มจากธุรกิจซื้อมาขายไปซื้อสินค้าจากผู้ผลิตมาขายอาจจะเป็นการซื้อสินค้าเป็นเงินสดหรือซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ หากซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อจะมีเจ้าหนี้การค้าเกิดขึ้นซึ่งต้องจ่ายชำระหนี้ในอนาคต หากชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดก็จะได้รับส่วนลดจากการซื้อ และในการซื้อสินค้า หากภายหลังสินค้าชำรุดหรือคุณภาพไม่ตรงกับที่สั่งซื้อ ผู้ซื้อสามารถส่งคืนสินค้าให้ผู้ผลิตได้ สำหรับการขายสินค้าให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าเป็นเงินสดหรือขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ การขายสินค้าเป็นเงินเชื่อจะมีลูกหนี้การค้าเกิดขึ้น และต้องชำระหนี้ในภายหลัง ผู้ขายมักจะกำหนดเงื่อนไขในการชำระหนี้โดยการให้ส่วนลดจากการขาย และหากสินค้าชำรุดหรือคุณภาพไม่ตรงกับที่ซื้อ ลูกค้าจะส่งคืนสินค้าให้ผู้ขาย ผู้ขายเรียกว่าการรับคืนสินค้า รายได้ของกิจการ คือ รายได้จากการขายสินค้าและค่าใช้จ่ายคือต้นทุนสินค้าที่ขายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

        3. ธุรกิจอุตสาหกรรม (Manufacturing  Business)  เป็นกิจการที่ทำการผลิตสินค้าสำเร็จรูปเพื่อจำหน่าย ได้แก่ โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป  โรงงานสิ่งทอ  โรงงานผลิตน้ำตาล  โรงงานผลิตรถยนต์  เป็นต้น กระบวนการธุรกิจอุตสาหกรรม เริ่มต้นจากผู้ผลิตซื้อวัตถุดิบจากผู้จำหน่ายวัตถุดิบนำมาผ่านกระบวนการผลิต มีการจ้างแรงงานเข้ามาในกระบวนการผลิต และใช้วัสดุ/ค่าใช้จ่ายในการผลิตป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตจนเป็นสินค้าสำเร็จรูปแล้วนำไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าต่อไป หลังจากนั้นก็ปฏิบัติตามกระบวนการในการซื้อขาย สินค้าตามที่กล่าวมาแล้ว รายได้ของธุรกิจอุตสาหกรรม คือ รายได้จากการขายสินค้าและค่าใช้จ่าย คือ ต้นทุนขาย ซึ่งมาจากต้นทุนการผลิตสินค้าสำเร็จรูป


1.1.2  ความหมายของสินค้า (Merchandise)

สินค้า (Merchandise)  หมายถึง  สิ่งของที่กิจการมีไว้จำหน่ายเพื่อหากำไร ในทางบัญชีเรียกว่า " สินค้าคงเหลือ (Inventory) " เป็นสินทรัพย์หมุนเวียนของกิจการ

ธุรกิจซื้อขายสินค้าไม่ว่าจะเป็นห้างเทสโก้โลตัส  ห้างบิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์  ห้างแมคโคร  ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น  ฯลฯ  กิจการเหล่านี้เป็นผู้ค้าปลีก (Retailers) และผู้ค้าส่ง (Wholesalers) รายการค้าของกิจการเกี่ยวข้องกับการซื้อสินค้า การส่งคืนสินค้า การขายสินค้า และการรับคืนสินค้า ดังนั้น สินค้าหรือสินค้าคงเหลือเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญของกิจการที่ต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบ เพราะกิจการจะต้องยอมรับกับความเสี่ยงต่อปัญหาของสินค้าคงเหลือ หากกิจการจำหน่ายไม่ได้

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2552) ได้ให้ความหมายสินค้าคงเหลือไว้ดังนี้

สินค้าคงเหลือ หมายถึง สินทรัพย์ซึ่งมีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ถือไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติของกิจการ หรือ
  2. อยู่ในระหว่างกระบวนการผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป หรือ
  3. อยู่ในรูปของวัตถุดิบหรือวัสดุที่มีไว้เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า หรือให้บริการ

สรุป สินค้าคงเหลือ (Inventory) หมายถึง สินทรัพย์หมุนเวียนของกิจการที่มีไว้เพื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้าเพื่อหากำไร โดยทั่วไปเรียกว่า สินค้าสำเร็จรูป หรือหากเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมมีสินค้าระหว่างผลิตวัตถุดิบและวัสดุคงเหลือ ซึ่งเป็นสินค้าคงเหลือในธุรกิจดังกล่าว ระบบการบันทึกบัญชีสินค้ามี 2 วิธี ได้แก่

           1. ระบบการบันทึกบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง (Perpetual  Inventory  System)  เป็นการบันทึกบัญชีซื้อขายสินค้าหรือการรับจ่ายสินค้าอย่างต่อเนื่อง และบันทึกบัญชีต้นทุนขายทุกครั้งที่เกิดรายการขายสินค้า จะมีการจัดทำบัญชีสต๊อกการ์ดแสดงปริมาณ ราคาต่อหน่วย และราคารวมของสินค้าที่ซื้อขาย ถ้าต้องการทราบสินค้าคงเหลือในวันใดวันหนึ่งก็สามารถคำนวณได้โดยรวมยอดคงเหลือครั้งหลังสุดในสต๊อกการ์ดทุกสินค้าเข้าด้วยกันแต่วิธีนี้มีข้อจำกัดคือ การบันทึกบัญชีสต๊อกการ์ดจะทำให้เป็นการเพิ่มภาระในการบันทึกบัญชีอย่างมากจึงเหมาะสำหรับธุรกิจที่จำหน่ายสินค้าราคาค่อนข้างสูงและมีปริมาณไม่มากเกินไป อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการนำระบบการลงบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์มาช่วยให้การทำงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

           2. ระบบการบันทึกบัญชีสินค้าเมื่อสิ้นงวด (Periodic  Inventory  System)  กิจการจะไม่มีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าในแต่ละครั้ง ฉะนั้นระบบการลงบัญชีแบบ Periodic ยอดคงเหลือยกมาในบัญชีสินค้าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนกว่าจะสิ้นงวดบัญชีเพราะเมื่อมีการซื้อสินค้าเพิ่มเติมในระหว่างงวดจะลงรายการไว้ในบัญชีซื้อสินค้าและเมื่อขายสินค้าจะลงบัญชีขายสินค้า ดังนั้นกิจการ จึงจำเป็นต้องทำการตรวจนับสินค้าในวันสิ้นงวดบัญชี เพื่อนำไปคำนวณต้นทุนขาย ระบบบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวดเหมาะสำหรับสินค้าคงเหลือที่มีปริมาณมากและต้นทุนต่อหน่วยต่ำ ในปัจจุบันกิจการที่เลือกการบันทึกบัญชีสินค้าแบบตรวจนับสินค้าสิ้นงวดนั้น อาจหาเครื่องมือหรือเทคโนโลยีมาช่วยในการบันทึกรายการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เครื่องอ่านแถบรหัส (Bar  Code) เช่น ห้างสรรพสินค้า  ร้านสะดวกซื้อ  ฯลฯ  ทำให้การบันทึกบัญชีสินค้าเข้าออกนั้นทำได้กับสินค้าหน่วยย่อยเหมือนกับใช้วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง นอกจากนี้ตามหลักเกณฑ์กฎหมายภาษีอากรต้องมีการจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ สำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ยังบังคับให้บันทึกรายการบัญชีให้เป็นปัจจุบัน (Up  to  date) ภายใน 3 วันทำการ จึงทำให้ระบบการบันทึกบัญชีสินค้าแบบ Periodic ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดดังกล่าว จึงอาจต้องบันทึกโดยใช้วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่องควบคู่กันไปด้วย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก