หน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านปรมณูของไทยคือหน่วยงานใด

ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
(International Atomic Energy Agency—IAEA)

1. ภูมิหลัง IAEA

      1.1 IAEA ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติเพื่อทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางในการตรวจพิสูจน์นิวเคลียร์ (nuclear verification)  ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ (nuclear safety) และส่งเสริมการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ ปัจจุบัน IAEA มีสมาชิกทั้งสิ้น 150 ประเทศ ประเทศสมาชิกล่าสุด คือ กัมพูชา และรวันดา (กัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958 แต่ขอถอนตัวเมื่อ 26 มี.ค. ค.ศ. 2003) ซึ่งได้รับการรับรองการเป็นสมาชิก IAEA ในการประชุมใหญ่ สมัยสามัญ ครั้งที่ 53 เมื่อเดือน ก.ย. 2552 ทั้งนี้ ไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกก่อตั้ง IAEA
      1.2 กลไกสูงสุดในการกำหนดนโยบายการดำเนินงานของ IAEA ทั้งด้านการเมืองและเทคนิค คือ  การประชุมใหญ่ สมัยสามัญ (General Conference-GC) ซึ่งประเทศสมาชิกจะเข้าร่วมการประชุมปีละครั้ง ทั้งนี้ IAEA จะมีคณะกรรมการผู้ว่าการ (Board of Governors-BoG) ซึ่งเป็นผู้แทนจากประเทศสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ สมัยสามัญ จำนวน 35 ประเทศ เป็นกลไกให้ข้อเสนอต่าง ๆ แก่ที่ประชุมใหญ่   สมัยสามัญ  ทั้งนี้ ล่าสุด การประชุมใหญ่ สมัยสามัญ ของ IAEA ครั้งที่ 53 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-18 กันยายน 2553 ณ กรุงเวียนนา ประเทสออสเตรีย โดยมี ออท.ผทถ. ณ กรุงเวียนนา เป็นหัวหน้าคณะ
      1.3 สำนักเลขานุการ (Secretariat) ของทบวงการฯ มีหน้าที่นำนโยบายและมติของ BoG / GC ไปปฏิบัติร่วมกับประเทศสมาชิก โดยมีโครงสร้างประกอบด้วย 6 ฝ่าย คือ
• ฝ่ายบริหารจัดการทั่วไป (Department of Management)
• ฝ่ายพิทักษ์การแพร่ขยายวัสดุนิวเคลียร์ (Department of Safeguards)
• ฝ่ายพลังงานนิวเคลียร์ (Department of Nuclear Energy)
• ฝ่ายความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัย ของการใช้พลังงานนิวเคลียร์(Department of Nuclear Safety and Security)
• ฝ่ายการประยุกต์วิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ (Department of Nuclear Sciences and Applications)
• ฝ่ายความร่วมมือทางวิชาการ (Department of Technical Cooperation)
      1.4 BoG จะประชุมร่วมกันปีละ 5 ครั้ง (เดือน มี.ค. มิ.ย. ก.ย. 2 ครั้ง คือ ก่อนและหลังการประชุม GC และ ธ.ค.) เพื่อร่วมกันกำหนดแผนงานและนโยบายทางด้านการบริหารองค์กร เทคนิค ความร่วมมือและความช่วยเหลือระหว่าง IAEA กับประเทศสมาชิก รวมทั้งประเด็นที่เกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามพันธกรณีของสนธิสัญญาการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty  -NPT) ของประเทศสมาชิก รวมทั้งการดำเนินงานด้านการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการในด้านต่าง ๆ ระหว่าง IAEA กับประเทศสมาชิก และหน่วยงาน องค์กรอื่น ๆ
      1.5 ผู้อำนวยการใหญ่ IAEA คนปัจจุบัน คือ นาย Yukiya Amano ชาวญี่ปุ่น ได้รับการแต่งตั้งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2552 (ค.ศ. 2009) โดยถือเป็นผู้อำนวยการใหญ่ IAEA คนที่ 5 นับตั้งแต่มีการก่อตั้งองค์กรขึ้นมา (ไทยมีท่าทีสนับสนุน ออท. Amano ดำรงตำแหน่ง ผอ.ใหญ่ของ IAEA สืบต่อจากนาย Mohamed ElBaradei มาตั้งแต่ต้น)

2.  บทบาทของไทยในกรอบ IAEA


      2.1 ในฐานะสมาชิก IAEA ประเทศไทยมีพันธกรณีในการปฏิบัติตามข้อมติต่างๆ ของ IAEA และปฏิบัติตามสนธิสัญญา อนุสัญญา รวมทั้ง ระเบียบและมาตรการต่าง ๆ ที่ออกโดย IAEA ซึ่งในปัจจุบันมีดังนี้
- ความตกลงพิทักษ์ความปลอดภัยวัสดุนิวเคลียร์ (Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand and the International Atomic Energy Agency for the Application of Safeguards in Connection with the Treaty on the Non-Proliferation of Nuclear Weapons) ไทยลงนามและให้สัตยาบันแล้ว เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ 2517 (ค.ศ 1974)
- พิธีสารเพิ่มเติม (Additional Protocol — AP) ของความตกลงพิทักษ์ความปลอดภัยวัสดุนิวเคลียร์พิเศษ (Safeguards Agreement) ไทยลงนามประเทศไทยลงนามในพิธีสารเพิ่มเติมโดยผ่านการเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2548 แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน
- อนุสัญญาว่าด้วยการแจ้งเหตุทางนิวเคลียร์โดยเร็ว (Convention on Early Notification of a Nuclear Accident) ไทยลงนามเมื่อ 25 กันยายน 2530 และให้สัตยาบันเมื่อ 21 มีนาคม 2532 (สนธิสัญญาฯ มีผลใช้บังคับ 21 เมษายน 2532)
- อนุสัญญาว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือ ในกรณีเกิดอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์หรือเหตุฉุกเฉินทางรังสี (Convention on Assistance in the Case of Nuclear or Radiological Emergency) ไทยลงนามเมื่อ 25 กันยายน 2530 และให้สัตยาบันเมื่อ 21 มีนาคม 2532 (สนธิสัญญาฯ มีผลใช้บังคับ 21 เมษายน 2532)
  นอกจากนี้ ไทยกำลังดำเนินการเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาการป้องกันวัสดุนิวเคลียร์ (Convention on Physical Protection of Nuclear Materials) และอนุสัญญาความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ (Convention on Nuclear Safety)
      2.2  คผถ. ณ กรุงเวียนนา เป็นหน่วยประสานงานของไทยกับ IAEA โดยมี สนง. ปรมาณูเพื่อสันติเป็น national focal point กับ IAEA และหน่วยงานต่างๆ ของไทย และไทยส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมใหญ่สมัยสามัญของ IAEA ทุกปี โดยระยะหลังไทยเน้นการเสริมสร้างความร่วมมือกับ IAEA เพื่อพัฒนาขีดความสามารถและสร้างความเข้าใจนโยบายก่อตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของไทย และความร่วมมือในกรอบอาเซียนด้านพลังงานนิวเคลียร์ รวมทั้งความร่วมมือทางเทคนิคและวิชาการกับ IAEA ในการใช้ประโยชน์พลังงานนิวเคบียร์ทางสันติ เช่น การแพทย์ สาธารณสุข การเกษตร
      2.3  ไทยเคยได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะกรรมการผู้ว่าการ (Board of Governors-BoG) ในนามกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก (SEAP) วาระ 2 ปี ระหว่าง ก.ย. 2549 – ก.ย. 2551
ประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการเข้าเป็นสมาชิก BoG ของ IAEA ที่สำคัญ คือ
  -  โดยที่ IAEA ซึ่งมีบทบาทหลักในการตรวจพิสูจน์นิวเคลียร์ จะต้องเสนอรายงานการตรวจพิสูจน์โครงการพัฒนานิวเคลียร์ของประเทศต่างๆ ให้ BoG พิจารณาในช่วงการประชุม BoG แต่ละครั้ง ดังนั้น ในฐานะสมาชิก BoG ไทยได้ประโยชน์จากการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการตรวจสอบการพัฒนานิวเคลียร์ของประเทศต่างๆ ว่ามีวัตถุประสงค์ในทางสันติหรือไม่ และไทยสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเป็นพื้นฐานในการกำหนดนโยบายของไทยต่อปัญหาการพัฒนานิวเคลียร์ของอิหร่านหรือเกาหลีเหนือทั้งในกรอบของ IAEA และเวทีการเมืองอื่นๆ ได้
  - ไทยแสดงบทบาทที่สร้างสรรค์ร่วมกับสมาชิก BoG ที่เหลืออีก 34 ประเทศ ในการเรียกร้องให้ประเทศที่มีปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนานิวเคลียร์ อาทิ อิหร่าน เกาหลีเหนือ ปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ อาทิ สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the Non-Proliferation of  Nuclear Weapons-NPT) และมาตรการพิทักษ์ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency (IAEA) Safeguards Agreement) สนธิสัญญาห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty-CTBT)
  -  สร้างโอกาสในการพัฒนาความร่วมมือกับ IAEA ด้านการสนับสนุนข้อมูล องค์ความรู้และความร่วมมือ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ อาทิ การใช้พลังงานนิวเคลียร์สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า การรักษาทางการแพทย์ การถนอมและรักษาอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อรักษาสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของไทยในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ของไทยเพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์ในทางสันติและเพื่อพัฒนาประเทศเท่านั้น ขณะเดียวกันก็จะเป็นการแสดงบทบาทสร้างสรรค์ในการสนับสนุนภารกิจการดำเนินงาน ด้านเทคนิคของ IAEA อีกทางหนึ่ง

กองสันติภาพ ความมั่นคงและการลดอาวุธ
กรมองค์การระหว่างประเทศ
30 มีนาคม 2553

สำนักงานปรมณูเพื่อสันติสังกัดกระทรวงใด

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เลขที่ 16 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900.

สํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ ทำอะไรบ้าง

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (Office of Atoms for Peace : OAP) เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและยุทธศาสตร์ รวมทั้งการบริหารจัดการด้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์ตามมาตรฐานสากลเพื่อการพัฒนาประเทศ

หน่วยงานใดที่มีหน้าที่กำกับดูแลความปลอดภัยทางรังสีในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ด้านต่างๆในประเทศไทย

ปัจจุบันสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จึงเป็นหน่วยงานหลักในการเสนอแนะนโยบายแนวทาง และแผนยุทธศาสตร์ด้านพลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ และกำกับให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ ประชาชน และสิ่งแวดล้อม โดยการบริหารจัดการด้านพลังงานนิวเคลียร์และรังสี กำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี เพื่อให้มีนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน ...

ข้อใดต่อไปนี้เป็นบทบาทหน้าที่ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

(๑) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๒) รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ (๓) กำกับดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี รวมทั้งพิทักษ์ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก