ซอฟต์แวร์สําเร็จรูป มีอะไรบ้าง

ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลายเราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่ม คือซอฟต์แวร์สำเร็จและซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ

ซอฟแวร์ประยุกต์แบ่งออกเป็น ประเภท ดังนี้

1. ซอฟแวร์สำเร็จรูป

มี กลุ่มใหญ่ ได้แก่

         1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร
        2)ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส 

          3)ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส 

        4)ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก

        5)ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิก

 2. ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะทาง

เป็นโปรแกรมที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาสำหรับนำไปใช้งานเฉพาะด้านหรือในสาขาใดสาขาหนึ่งตามความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้เขียน คือ โปรแกรมเมอร์ (Programmer) ที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ และต้องศึกษาทำความเข้าใจงานและรายละเอียดของการประยุกต์นั้นเป็นอย่างดี เช่น โปรแกรมช่วยจัดการด้านการเงิน โปรแกรมช่วยจัดการบริการลูกค้า ฯลฯ ตามปกติจะไม่ค่อยได้พบเห็นซอฟต์แวร์ประเภทนี้ในท้องตลาดทั่วไป แต่จะซื้อหาได้จากผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายในราคาค่อนข้างสูงกว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้งานทั่วไป

ในประเทศไทย มีการใช้ซอฟต์แวร์ประเภทใช้เฉพาะทางอยู่บ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตต่างประเทศได้ออกแบบมาเพื่อรองรับงานด้านธุรกิจ ในที่นี้ได้รวบรวมจัดประเภทไว้ดังนี้

            1) ซอฟต์แวร์ระบบงานด้านบัญชี

ได้แก่ ระบบงานบัญชีเจ้าหนี้ บัญชีลูกหนี้ บัญชีสินทรัพย์ถาวรและค่าเสื่อมราคาสะสม บัญชีแยกประเภททั่วไป และบัญชีเงินเดือน

            2) ซอฟต์แวร์ระบบงานจัดจำหน่าย

ได้แก่ ระบบงานรับใบสั่งซื้อสินค้า ระบบงานบริหารสินค้าคงคลัง และระบบงานประวัติการขาย

            3) ซอฟต์แวร์ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม

ได้แก่ ระบบงานกำหนดโครงสร้างผลิตภัณฑ์ การวางแผนกำลังการผลิต การคำนวณต้นทุนของงาน การประเมินผลงานของพนักงาน การวางแผนการผลิตหลัก การวางแผนความต้องการวัสดุ การควบคุมการทำงานภายในโรงงาน การกำหนดเงินทุนมาตรฐานสินค้า และการกำหนดขั้นตอนการผลิต

            4) ซอฟต์แวร์อื่น ๆ

ได้แก่ ระบบการสร้างรายงาน การบริหารการเงิน การเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ และการเช่าซื้อรถยนต์


วิธีการเลือกซอฟต์แวร์


หลักการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน

ซอฟต์แวร์ประเภทซอฟต์แวร์ประยุกเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับคอมพิวเตอร์เพราะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยมีหลักการเลือกซอฟต์แวร์ดังนี้

    1.ความสามารถในการทำงาน 

     เป็นหลักการในอันดับต้นที่ผู้ใช้ซอฟต์แวร์จะต้องเลือกเพื่อให้ซอฟต็แวร์ที่ติดตั้งนั้น สามารถตอบสนองต่อการทำงาน สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวก และเกิดประสิทธิ์ภาพในการทำงานมากที่สุด

     2.การติดต่อกับผู้ใช้

          รูปแบบของซอฟต์แวร์ต้องออกแบบมาเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายต่อการทำงาน เช่น เป็นรูปแบบไอคอน เพื่อง่ายต่อการทำงานมากขึ้น เป็นต้น

     3.ความเข้ากันได้

       ความเข้ากันได้ของซอฟต์แวร์สำเร็จรูป เป็นหลักการที่ต้องพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบอย่างเหมาะสม เนื่องจากอาจทำให้เกิดการทำงานไม่เต็มที่ หรือส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้ มีข้อต้องคำนึง 2 ส่วนดังนี้

     - ความเข้ากันได้ของฮาร์ดแวร์

ต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการใช้งานให้คู่กันไปของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ คือ ต้องเข้ากันได้ ควรเลือกให้สัมพันะ์กันมากที่สุด เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด

     - ความเป็นกันได้ของซอฟต์แวร์

คำนึงถึงความเข้ากันได้ของระบบปฏิบัติการซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ความเข้ากันได้ของรุ่นคอมพิวเตอร์ ตลอดจนความเข้ากันได้ของซอฟต์แวร์ด้วยกันเอง

     4.การติดตั้งและการดูแลรักษา

       ซอฟต์แวร์ทั่วไปจะต้องติดตั้งง่าย มีระบบการตรวจสอบการติดตั้ง ระบบช่วยเหลือ เพื่อความสะดวกในการใช้งานของผู้ใช้เองด้วย

     5.กลุ่มผู้ใช้

         

หากมีผู้ใช้มากๆก็เป็นการรับรองคุณภาพได้ว่า ของเขาดีจริง จึงมีคนใช้มาก


การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับทรัพยากร


       การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับทรัพยากรหรือฮาร์ดแวร์ที่มีอยู่ต้องพิจารราคุณลักษณะขั้นต่ำของคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้สามารถประมวลผลซอฟต์แวร์นั้นได้ โดยคอมพิวเตอร์ที่จพติดตั้งซอฟต์แวร์จะต้องมีคุณลักษณะไม่ต่ำไปกว่าที่ผู้ผลิตซอฟต์แวร์กำหนดไว้ คุณลักษณะในการพิจารณา เช่น ความเร็วของซีพียู ความจุของแรม ความละเอียดของการ์ดแสดงผล


การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงบประมาณ


  หากมีงบประมาณไม่เพียงพออาจเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่มีราคาต่ำกว่าหรือไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน เช่น การใช้วอฟต์แวร์แบบรพัสเปิดแทนซอฟต์แวร์ที่มีราคาแพง


การเลือกใช็ซอฟต์แวร์โดยไม่ละเมิอลิขสิทธิ์


  เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีผู้ผลิตซอฟต์แวร์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ถ้าต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ต้องจัดซื้อให้ถูกต้องตามกฎหมาย

      ซอฟต์แวร์อาจสามารถหาซื้อได้จากร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์โดยมักจะอยู่ในรูปแบบของแผ่นซีดี หรือแผ่นดีวีดีที่บรรจุโปรแกรม หรืออาจดาวน์โหลดซอฟตืแวร์ที่ต้องการจากอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะได้ซอฟต์แวร์มาด้วยวิธีการก็ตาม ซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะถูกติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์เสียก่อน จึงสามารถเรียกใช้เพื่อให้ประมวลผลตามหน้าที่ของซอฟต์แวร์นั้นๆได้


ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ประยุกต์ช่วยในการทำงานด้านธุรกิจ

        ซอฟต์แวร์สำหรับจัดโครงการ (Project management) ใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนโครงการเป็นหลัก ซึ่งตัวโปรแกรมสามารถช่วยให้ผู้ใช้งานมีการวางแผนงานที่ง่ายขึ้น รวมถึงความสามารถในการจัดการกิจกรรมงาน ( schedule ) ติดตามงาน วิเคราะห์ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของโครงการได้ง่ายขึ้น


                   ซอฟต์แวร์สำหรับงานบัญชี (Accounting) หัวใจของการทำงานทางด้านธุรกิจที่ขาดไม่ได้ก็คือ ส่วนงานบัญชีนั่นเอง โปรแกรมส่วนนี้จะช่วยให้บริษัทหรือหน่วยงานสามารถที่จะบันทึกข้อมูลและแสดงรายงานทางการเงินต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การออกงบกำไรขาดทุน งบดุล รวมถึงรายการการซื้อ ขาย เป็นต้น


                   


                  ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word processing) เป็นกลุ่มของโปรแกรมที่ช่วยในการประมวลผลคำนั่นเอง ซึ่งคุณสมบัติหลัก ๆ ก็คือ สามารถจัดการเอกสารต่าง ๆ ได้ เช่น ขนาดตัวอักษรใหญ่ เล็ก รูปแบบตัวอักษร เป็นต้น ปัจจุบันได้พัฒนาให้มีขีดความสามารถโดยการนำเอารูปภาพมาผนวกเข้ากับเอกสารได้ด้วย บางครั้งอาจจะเป็นรูปภาพที่มีอยู่แล้วที่เรียกว่า คลิปอาร์ต หรือภาพถ่ายอื่น ๆ ก็ได้ 








         แหล่งที่ : //sites.google.com/site/5303103323toon/sxftwaer-prayukt-khux-xari-baeng-xxk-pen-ki-                               prapheth-xari-bang-cng-xthibay  เพื่อการศึกษา

โปรแกรมซอฟต์แวร์สําเร็จรูป มีอะไรบ้าง

ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป.
ซอฟต์แวร์ประมวลคำ(word processing software) ... .
ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) ... .
ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) ... .
ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) ... .
ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software).

ซอฟต์แวร์สําเร็จรูป คือข้อใด

ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป คือซอฟต์แวร์ที่มีการขาย ให้เช่า หรือให้บริการ โดยคิดค่าบริการเป็น transaction หรือ license สำหรับธุรกิจ องค์กร หน่วยงาน ที่ไม่มีความรู้เรื่องการใช้ซอฟต์แวร์ หรือต้องการซอฟต์แวร์ที่สามารทำงานได้ตรงความต้องการ ซึ่งซอฟแวร์สำเร็จรูปเมื่อผู้ใช้นำไปติดตั้งแล้วก็สามารถใช้งานได้ทันทีสำหรับโปรแกรมสำเร็จรูปจะ ...

โปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง (User’S Written Program) คืออะไร

1. โปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง (User's Written Program) เป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนสั่งให้คอมพิวเตอร์ท างานได้ตามความต้องการ หรือ ตรงตามวัตถุประสงค์ และเหมาะสมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ โดยใช้เทคนิคและ ความช านาญของผู้เขียนโปรแกรมด้วย ภาษาคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้เช่น ภาษาเบสิก ภาษาซีเป็นต้น

ซอฟต์แวร์ (Software) แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่มำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ 2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน 2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก