รหัสเทียมหรือซูโดโค้ดคืออะไร


                                                               รหัสเทียม

                   รหัสเทียม หรือซูโดโค้ด (Pseudo code) เป็นคำสั่งที่จำลองความคิดที่เป็นลำดับขั้นตอนการ
    ทำงานของการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยใช้สัญลักษณ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษ ซึ่งรหัสเทียม
    หรือซูโดโค้ดนี้ไม่ใช่ภาษาโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถนำไปใช้ในการเขียนโค้ดทางภาษา
    คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลได้ แต่เป็นการเขียนจำลองคำสั่งจริงแบบย่อๆ ตามอัลกอริทึมของโปรแกรม
    ระบบ เพื่อนำไปพัฒนาเป็นการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ได้
                   สรุปได้ว่า รหัสเทียม หรือซูโดโค้ด (Pseudo code) หมายถึง การเขียนโปรแกรมในรูปแบบ
    ภาษาอังกฤษที่มีขั้นตอนและรูปแบบแน่นอน มีความกะทัดรัด และคล้ายกับภาษาระดับสูงที่ใช้กับเครื่อง
    คอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่เจาะจงให้เป็นภาษาใดภาษาหนึ่ง รหัสเทียมจึงเหมาะที่จะใช้ในการออกแบบ
    โปรแกรมก่อนที่โปรแกรมเมอร์จะทำการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์จริง
                   ประโยชน์ของรหัสเทียม
                   รหัสเทียมจะช่วยให้ผู้เขียนโปรแกรมนำไปพัฒนาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ได้
    จึงมีประโยชน์ดังต่อไปนี้
                   1. เป็นเครื่องมือในการกำหนดโครงร่างกระบวนการทำงานของการเขียนโปรแกรมแต่ละ
    โปรแกรม
                   2. เป็นต้นแบบในการทบทวน ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาโปรแกรมของโปรแกรมเมอร์และ
    นักวิเคราะห์ระบบ
                   3. เป็นตัวกำหนดงานเขียนโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมเมอร์นำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมคอม
    พิวเตอร์ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามกระบวนการที่ได้จำลองกระบวนการจริงไว้ในรหัสเทียม
    หรือซูโดโค้ด
                   วิธีเขียนรหัสเทียม
                   ผู้เขียนโปรแกรมจะมีวิธีเขียนรหัสเทียมดังต่อไปนี้
                   1. ประโยคคำสั่ง (Statement) จะอยู่ในรูปแบบของภาษาอังกฤษอย่างง่าย
                   2. ในหนึ่งบรรทัด ให้เขียนประโยคคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวเท่านั้น
                   3. ควรใช้ย่อหน้าเพื่อแยกคำเฉพาะ (Keywords) ได้ชัดเจน รวมถึงจัดโครงสร้างการควบคุม
    ให้เป็นสัดส่วน ซึ่งช่วยให้อ่านโค้ดได้ง่าย
                   4. แต่ละประโยคคำสั่งให้เขียนลำดับจากบนลงล่าง โดยมีทางเข้าของข้อมูลเพียงทางเดียว
    และมีทางออกของข้อมูลทางเดียวเท่านั้น
                   5. กลุ่มของประโยคคำสั่งต่างๆ อาจจัดรวมกลุ่มเข้าด้วยกันในรูปแบบของมอดูล แต่ต้องมีการ
    กำนหนดชื่อของมอดูลด้วย เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานมอดูลนั้นได้
                   ตัวอย่างการเขียนรหัสเทียม หรือซูโดโค้ด
            ให้เขียนโปรแกรมรับค่าข้อมูล 3 ค่า แล้วหาค่าผลบวกของตัวเลข 3 ค่า แสดงผลออกทางหน้าจอ

                                                         ตัวอย่างการเขียนรหัสเทียม (Pseudo Code)
           ตัวอย่างการเขียนรหัสเทียม สำหรับหาค่าของพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัส และแสดงค่าพื้นที่ที่คำนวณได้

    ขั้นตอนการแก้ปัญหา                                                                            การเขียนผังงาน
    อัลกอริทึม                                                                                            แผนภูมิโครงสร้าง

ซูโดโค้ด (Pseudo Code) หมายถึงอะไร

รหัสเทียม (Pseudo Code อ่านว่า "ซูโดโค้ด") เป็นคำสั่งที่ไม่ขึ้นกับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง แต่เป็นคำสั่งที่นำมาใช้ในการเขียนเลียนแบบชุดคำสั่งแบบย่อๆ เพื่อการออกแบบโปรแกรม หรือร่างเค้าโครงโปรแกรมที่จะเขียนขึ้นมา ก่อนที่จะนำไปแปลงเขียนเป็นชุดคำสั่งด้วยภาษาคอมพิวเตอร์จริงๆ ต่อๆไป

รหัสเทียมและโฟชาร์ตแตกต่างกันอย่างไร

2.1 ผังงาน (Flowchart) คือ การใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ แทน รายละเอียดขั้นตอนการแก้ปัญหาอย่างเป็นเหตุเป็นผล 2.2 รหัสเทียม (Pseudo code) คือการใช้ภาษาเขียนแทนรายละเอียด ขั้นตอนการแก้ปัญหาอย่างเป็นเหตุเป็นผล

รูปแบบการเขียนรหัสเทียม มีอะไรบ้าง

สำหรับรูปแบบรหัสเทียมตามโครงสร้างควบคุมแบบเลือกทำจะมี 3 รูปแบบ คือ 1.1 รหัสเทียมแบบทางเลือกทางเดียว (Single Alternative IF) 1.2 รหัสเทียมแบบทางเลือกสองทาง (Double Alternative IF) 1.3 รหัสเทียมแบบทางเลือกหลายทาง(Multiple Alternative IF)

Pseudo Code คือ อัลกอริทึมรูปแบบใด

2.1 ซูโดโค้ด (Pseudo Code) คือ การเขียนอัลกอริทึม โดยใช้ประโยคภาษาอังกฤษที่สื่อความหมายง่าย ๆ สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้โดยทันที

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก