ธุรกิจโลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของโลจิสติกส์

ต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ช่วยลดต้นทุนเพื่อสร้างกำไรทางธุรกิจได้มากขึ้น เป็นเครื่องมือสำคัญในการแข่งขันธุรกิจเปลี่ยนการทำงานจากหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกันเป็นขบวนการประสานงานให้บรรลุเป้าหมายและนโยบายองค์การทำให้งานที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายอื่นที่ต้นทุนสูง สามารถลดต้นทุนได้ ก่อให้เกิดการใช้ทรัพย์สินที่คุ้มค่าขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการบริการลูกค้า สร้างสัมพันธ์ลูกค้าภายในและภายนอกองค์การ เป็นพื้นฐานของการเจริญเติบโตของธุรกิจทำให้เกิดความรวดเร็วอันเนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประเภทของโลจิสติกส์

• โลจิสติกส์เพื่อการขนส่งผู้โดยสาร( Passenger Logistics)
• โลจิสติกส์เพื่อการผลิต (Manufacturing Logistics)
• โลจิสติกส์เพื่อการกระจายสินค้า (Distribution Logistics)
การบริหารสินค้าคงคลัง รักษาสมดุลย์ระหว่าความต้องการของลูกค้า และผู้ขายสินค้าให้อยู่ในระดับสต็อคที่ต่ำสุด จัดทำสต็อคกรณีเก็งกำไรให้อยู่ในระดับที่พอดีกับความต้องการที่วางแผนไว้ ลงทุนสต็อคเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน สร้างความคงที่ในการผลิต และ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผล

ลักษณะธุรกิจแบบโลจิสติกส์ ในด้านการบริการ

1. แบบภายในประเทศ เป็นแบบขนส่งทั่ว ๆ ไปและแบบส่งร่วม

2. แบบสากลระหว่างประเทศ (การส่งออกและนำเข้าสินค้า) การขนส่งสินค้าออก และสินค้าเข้าคือเมื่อสินค้าพร้อมที่จะส่งออกจากโกดังโลจิสติกส์ หรือคลังสินค้าของโรงงานแล้ว หมายถึงว่ามีการแพคกิ้งเป็นมาตรฐานเพื่อการส่งออกและพร้อมด้วยใบอนุญาตต่าง ๆ ถ้าจำเป็นต้องใช้แล้วบริษัทขนส่งระบบโลจิสติกส์จะดำเนินการล่วงหน้าดังนี้
– การจองเรือเดินสมุทรหรือสายการบิน (Freight forwarder)
– การผ่านพิธีการทางศุลกากรและสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่จะได้รับชดเชยภาษี
– นำตู้คอนเทนเนอร์มาบรรจุที่โกดังโลจิสติกส์หรือคลังสินค้าของโรงงานแล้วบรรทุกไปที่ท่าเรือที่กำหนดไว้

3. งานโครงการขนาดใหญ่ งานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เครื่องกลหนักหรือโรงงานอุตสาหกรรมหนักที่ต้องมีเครื่องจักรน้ำหนักมาก อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับการขนส่งวัสดุก่อสร้างหรือวัตถุดิบสำหรับการผลิตจำนวนมาก การรับงานขนส่งเคลื่อนย้ายเครื่องกลและเครื่องจักรขนาดหนักและวัสดุนี้ต้องใช้วิศวกรคิดคำนวณ สำรวจเส้นทาง วางแผนการทำงานโดยละเอียด ซึ่งงานลักษณะนี้จะต้องเขียนรายงาน ขั้นตอนในการที่จะทำงานและความเป็นไปได้อย่างละเอียดเสนอต่อเจ้าของงาน โดยใช้ระบบโลจิสติกส์มาช่วยในการจัดการและบริหารวางแผนงานต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้งานนั้นมีความราบรื่นด้วยดี

4. การขนส่งพืชเกษตร-ผลไม้และสัตว์น้ำ การขนส่งลักษณะนี้จำเป็นต้องใช้รถบรรทุกแบบมิดชิด มีการควบคุมอุณหภูมิ การออกแบบภายในรถบรรทุกจะต้องมีชั้นและช่องวางสินค้าเพื่อป้องกันความเสียหายจากการซ้อนทับกัน หรือใส่ภาชนะบรรจุพลาสติกโดนสามารถซ้อนกันได้ ภาชนะบรรจุที่ได้มาตรฐานสามารถใช้ได้ทั้งการส่งภายในประเทศและการส่งออกไปต่างประเทศด้วย สำหรับการขนส่งสินค้าเกษตรกรรมในปริมาณมากที่ใช้การขนส่งทางน้ำ ถ้าเป็นการส่งออกก็จะใช้เรือฉลอมซึ่งสามารถเข้าไปเทียบกับเรือเดินสมุทรได้โดยตรง

Cr : //th.wikipedia.org/wiki/โลจิสติกส์

บริการของเรา

บริษัท ทริพเพิล ไอ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) รวมทั้งบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ดำเนินธุรกิจการให้บริการด้านโลจิสติกส์มานานกว่า 25 ปี ปัจจุบันกลุ่มบริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์ชั้นนำของไทยที่ให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจรอย่างแท้จริง การให้บริการของกลุ่มบริษัทฯ ประกอบด้วยการให้บริการที่ครอบคลุมการขนส่งสินค้าทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งทางอากาศ ทางทะเล และทางบก การให้บริการด้านพิธีการศุลกากร และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ (Supply Chain Management) การให้บริการด้านโลจิสติกส์ของกลุ่มบริษัทฯ ครอบคลุมการให้บริการทั้งกลุ่มสินค้าทั่วไป และสินค้าที่ต้องการความชำนาญเฉพาะด้าน เช่น สินค้าเคมีและสินค้าอันตราย เป็นต้น

การให้บริการโลจิสติกส์ในแต่ละด้านต้องอาศัยความรู้ความชำนาญและประสบการณ์เฉพาะด้าน เนื่องจากวิธีการดำเนินธุรกิจ กระบวนการทำงาน เครือข่าย พันธมิตร คู่ค้า และความต้องการของลูกค้าในแต่ละส่วนมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ทางกลุ่มบริษัทฯ จึงมีโครงสร้างองค์กรที่มุ่งเน้นให้เกิดทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านเพื่อให้ครอบคลุมบริการทุกด้านของโลจิสติกส์อย่างแท้จริง

โดยการดำเนินการของบริษัทฯ บริษัทย่อยและบริษัทร่วม แบ่งออกเป็นกลุ่มธุรกิจ 4 กลุ่มธุรกิจหลัก ดังนี้

ธุรกิจการให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ

กลุ่มบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจเป็นตัวแทนการขายระวางสินค้าของสายการบินต่างๆ ทั้งในรูปแบบตัวแทนการขายระวางสินค้าแต่เพียงผู้เดียว (General Cargo Sales Agent – GSA) และตัวแทนฝ่ายขายของสายการบิน (Cargo sale agent – CSA)

รายละเอียดเพิ่มเติม

ธุรกิจการให้บริการขนส่งสินค้าทางทะเลและทางบก

กลุ่มบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจเป็นตัวแทนการขายระวางสินค้าของสายการเดินเรือ โดยมีหน้าที่เป็นตัวแทนการขายระวางสินค้าของสายการเดินเรือ ให้แก่ผู้ให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (freight forwarder) ผู้รวบรวมสินค้ารายย่อย (common consolidator) ผู้นำเข้า และผู้ส่งออก ในรูปแบบการขนส่งแบบเต็มตู้คอนเทนเนอร์ (FCL)

รายละเอียดเพิ่มเติม

ธุรกิจการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศและการรับบริหารโลจิสติกส์ คลังสินค้า และการกระจายสินค้า

กลุ่มบริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศแบบบูรณาการ (Integrated logistics service provider) สำหรับสินค้าทั่วไปและสินค้าควบคุมอุณหภูมิ โดยให้บริการการขนส่งแบบโรงงานถึงโรงงาน (Door to Door) ที่ครอบคลุมตั้งแต่การรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

รายละเอียดเพิ่มเติม

ธุรกิจการให้บริการโลจิสติกส์สำหรับสินค้าอันตรายและเคมีภัณฑ์

กลุ่มบริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการขนส่งแบบบูรณาการครบวงจร (Integrated logistics service provider) สำหรับสินค้าอันตรายและเคมีภัณฑ์ ซึ่งเป็นสินค้าที่อยู่ภายใต้กฎระเบียบและข้อบังคับเรื่องการควบคุมการจัดเก็บและการขนส่งสินค้าอันตรายและเคมีภัณฑ์ ของหน่วยงานต่างๆ

รายละเอียดเพิ่มเติม

ธุรกิจโลจิสติกส์คืออะไร

โลจิสติกส์คืออะไร โลจิสติกส์ (Logistics) หมายถึงระบบการจัดส่งสินค้า สิ่งของ หรือทรัพยากรใดก็ตามจากแต่ละสถานที่ไปยังจุดหมาย รวมไปถึงการบริหารสินค้าคงคลัง การจัดการบรรจุหีบห่อ โดยมีจุดประสงค์หลักคือการนำส่งของไปถึงมือผู้รับอย่างปลอดภัย

ประเภทโลจิสติกส์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

08/05/2020 ความรู้โลจิสติกส์.
การขนส่งทางบก (Road or Motor Transportation).
การขนส่งทางน้ำ (Water Transportation).
การขนส่งทางอากาศ (Air Transportation).
การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ (Container System).
การขนส่งทางท่อ (Pipeline Transportation).

ผลิตภัณฑ์โลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง

5 ประเภทของบริการ โลจิสติกส์ Logistic ในประเทศไทย ... .
การขนส่งสินค้า ทั้งภายใน และ ส่งออกนอกประเทศ.
การจัดเก็บ / บริหารคลังสินค้า.
การให้บริการด้านพิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานโลจิสติกส์.
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และ งานที่ปรึกษาด้านโลจิสติกส์.
5. การให้บริการพัสดุ ไปรษณียภัณฑ์ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ.

กิจกรรมที่สําคัญของโลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง

การจัดการโลจิสติกส์ หมายถึง กระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้า จากแหล่งผลิตไปยังลูกค้าเป้าหมาย ณ สถานที่ที่ลูกค้าต้องการ ด้วยต้นทุนที่คุ้มค่า โดยกิจกรรมทางการจัดการโลจิสติกส์ ประกอบด้วยกิจกรรม 5 กลุ่มกิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมทางด้านการบริหารจัดการการผลิต 2) การตลาดและการบริการลูกค้า 3) การจัดหาวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆ 4) การ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก