Gantt chart คืออะไร ประกอบด้วยอะไร

แผนภูมิแกนต์ (อังกฤษ: Gantt chart) หมายถึง แผนผังคุมกำหนดงาน มักใช้ในด้านการจัดการโครงการต่าง ๆ ในองค์การขนาดใหญ่ ซึ่งอาจมีขั้นตอนซับซ้อน และมากมาย โดยจะใช้เป็นเทคนิคเครื่องมือช่วยการปฏิบัติงานของผู้บริหาร ในการดำเนินการแก้ไขการควบคุม การวางแผนที่เหมาะสม เพื่อช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ ผังในลักษณะนี้จะแสดงถึงปริมาณงานและกำหนดเวลาที่จะต้องใช้ เพื่อทำงานนั้นให้ลุล่วง เป็นแผนภูมิในรูปของกราฟแท่งที่ประกอบด้วย แกนหลัก 2 แกน คือ แกนนอนแสดงถึงเวลาในการทำงานตลอดโครงการ และแกนตั้งแสดงถึงงานหรือกิจกรรมที่ต้องทำ แท่งกราฟวางตัวในแนวนอน ความยาวของแท่งกราฟเป็นสัดส่วนโดยตรงกับระยะเวลาในการทำงาน

แผนภูมิแกนต์ แสดงงานสามงานที่ขึ้นต่อกัน (สีแดง) และอัตราร้อยละของความสำเร็จลุล่วง

แผนภูมิแกนต์ พัฒนาขึ้นในปี 1917 โดย Henry L. Gantt เป็นผู้พัฒนาแผนภูมินี้ขึ้นมา เพื่อใช้ในการวางแผนเกี่ยวกับเวลา ใช้แก้ปัญหาเรื่องการจัดตารางการผลิต การควบคุมแผนงานและโครงการการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ เรียกว่า แผนภูมิแกนต์ ซึ่งมีลักษณะเป็นแถบหรือเส้น โดยใช้แกนนอนเป็นเส้นมาตราส่วนแสดงเวลา ส่วนแกนตั้งเป็นมาตราส่วนแสดงขั้นตอนของกิจกรรมหรืองาน หรืออัตรากำลังขององค์การ

หลักการของแผนภูมิแกนต์ จะเป็นแบบง่าย ๆ กล่าวคือ กิจกรรมต่าง ๆ จะถูกกำหนดให้มีการดำเนินเป็นไปตามแผนการผลิตที่ต้องการ และถ้ามีความเบี่ยงเบนเกิดขึ้นในเวลาใด ๆ ก็จะมีการจดบันทึกและแสดงสภาพที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้หาทางแก้ไข เช่น เรื่องการกำหนดงาน สาเหตุของการล่าช้า ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงและการจัดแจกภาระงานในการผลิต

แม่ครัวในร้านอาหารประจำของผมทำผัดไทยเสร็จในเวลาหนึ่งนาทีครึ่ง

เริ่มต้นที่วางกะทะ จุดไฟ ใส่น้ำมัน หยิบก๋วยเตี๊ยวเส้นเล็กลงไปลวกในหม้อน้ำร้อน หั่นเต้าหู้แข็งเป็นชิ้น ตักเครื่องปรุงเช่นกุ้งสด กุ้งแห้ง เต้าหู้แข็ง กระเทียม ฯลฯ ลงกะทะ ระหว่างที่ปล่อยให้มันสุก ก็หันไปยกเส้นเล็กที่เพิ่งลวกเสร็จลงกะทะ ควงตะหลิวเขี่ยเครื่องปรุงกับเส้นเล็กให้เข้ากัน ตอกไข่ไก่ตามลงไป ในนาทีที่ 1.5 ทุกสิ่งสรรพในกะทะก็นอนสงบนิ่งบนจานพร้อมเสิร์ฟ

เชื่อว่าแม่ครัวคงไม่เคยเรียนวิชา Critical Path Method ในมหาวิทยาลัย การจัดการกับงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันนี้มาจากประสบการณ์ล้วนๆ และเมื่อจัดการเป็น สิ่งที่ทำก็ดูเหมือนปาฏิหาริย์

ผมพบว่าในชีวิตของตัวเอง มักชอบทำงานสองอย่างที่ต่างกันในเวลาเดียวกันเสมอ

สมัยหนึ่งที่ผมทำงานโฆษณาก็ริเขียนหนังสือ ทว่างานโฆษณาเป็นงานที่กัดแทะเวลาของคนทำงานโดยไม่เลือกกลางวันหรือกลางคืน

ทว่าเมื่อเลือกเหยียบเรือสองแคม ก็ต้องหาเวลามาเพิ่ม แต่เวลาของมนุษย์ทุกคนเท่ากันคือ 24 ชั่วโมง การหาเวลาเพิ่มก็คือการลดเวลาที่ไม่จำเป็นออกไป

คำถามที่ผมได้ยินเสมอคือ "งานเยอะอย่างนี้ เอาเวลาไหนมาเขียนหนังสือ?"

คำตอบง่ายนิดเดียว ผมเขียนหนังสือตอนที่คนอื่นดูทีวี ตอนกินข้าว ตอนรอคน ตอนที่นั่งในรถแท็กซี่ ไม่มีเวลาสักนาทีที่เสียไป

หลักของการบริหารเวลาไม่ยาก สิ่งแรกก็คือต้องรู้จักเสียดายเวลาก่อน เมื่อรู้จักเสียดาย ก็จะหาทางทำทุกอย่างเพื่อใช้มันให้คุ้มที่สุด การบริหารเวลาที่ดีคือไม่มีคำว่า 'ฆ่าเวลา' มีแต่ 'ค่าเวลา'

ในนวนิยายจีนกำลังภายในเรื่อง มังกรหยก ตัวเอกนาม ก้วยเจ๋ง เรียนวิทยายุทธ์โดยแบ่งความคิดออกเป็นสองส่วน ขณะที่มือข้างซ้ายร่ายกระบวนท่าวิชาหนึ่ง มือข้างขวาก็ร่ายกระบวนท่าของอีกวิชาหนึ่ง เมื่อสู้กับศัตรูก็เหมือน ทู-อิน-วัน สองรุมหนึ่ง!

ในชีวิตจริงเราก็ใช้หลักการนี้ได้ โดยการทำงานในลักษณะที่คู่ขนานกัน หรือทำมากกว่าหนึ่งงานในช่วงเวลาเดียว เพราะหลายงานทำซ้อนกันได้ ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่คุณนั่งรถเมล์ แท็กซีี่ ก็คิดงานที่คั่งค้างได้ ขณะรอแฟนช็อปปิ้ง ก็ทำงานหาเงิน (บางครั้งเพื่อให้แฟนได้ช็อปปิ้ง!) เป็นต้น

ช่วงเวลาที่คิดไม่ออกเรื่องหนึ่ง ก็ไปทำอีกเรื่องหนึ่ง

หลายคนชอบใช้เหตุผลที่ไม่ออกกำลังกายว่าเพราะเวลาน้อย แต่ความจริงก็คือช่วงยามที่เดินออกกำลังกายก็ขบคิดงานสร้างสรรค์ได้

ไอนสไตน์ชอบแช่อ่างอาบน้ำและขบปัญหายากๆ ไปพร้อมกัน

เวลากินข้าว ก็คุยเรื่องดีๆ กับลูกได้

เวลาชงกาแฟก็คิดได้

นัดหมายใครก็ไปก่อนเวลานัด และใช้เวลารอนัดนั้นทำงานได้ เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว คือไม่เสียเวลานัด และได้งาน

เวลาในชีวิตมีจำกัด จึงต้องใช้เวลาให้เป็น

และเมื่อใช้เวลาเป็น ก็จะพบว่าเวลา 24 ชั่วโมง เหลือเฟือที่จะทำการใดๆ

วินทร์ เลียววาริณ
13 มิถุนายน 2552
(พิมพ์ครั้งแรก : เปรียว 2552) 
(ที่มา : //www.winbookclub.com/article.php?articleid=243)

“แบงค์ ช่วยสรุปแผนการดำเนินงานตรงนี้เป็น Gantt Chart ให้พี่หน่อย” .....

..... เราคอมเมนต์น้องด้วยความเคยชิน แต่อาจารย์อีกท่านหนึ่งในกลุ่มสนทนากลับไม่คิดว่าเป็นเรื่องที่ควรปล่อยผ่าน

..... “พูดถึง Gantt Chart เราก็ใช้กันมาเป็น 100 ปี แล้วนะ”

...... หลังจากนั้นไม่กี่วินาที ประวัติของ Gantt Chart โดยย่อก็ถูกส่งเข้าห้องสนทนา เราเปิดอ่านด้วยความอยากรู้อยากเห็น เมื่ออ่านจบก็พัลวันกับการหาข้อมูลเพิ่มเติม จนเจอเข้ากับบทความหนึ่งที่ทำให้เราได้เพลิดเพลินไปกับที่มาและอรรถประโยชน์ที่มีมากกว่าที่เราเคยรู้และเคยนำมาใช้ตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่ได้รู้จักกับเจ้า “ตาราง” ที่โด่งดังนี้
 

บทความที่ถูกส่งมาชื่อว่า “Gantt charts: A centenary appreciation” โดย James M. Wilson เป็นบทความของงานวิจัยคุณภาพที่ใช้การรวบรวมวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมากว่า 43 ชิ้น นำมาเรียบเรียงและวิเคราะห์ โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

1) ที่มาของ Gantt Chart

แผนภูมิแกนต์มีต้นกำเนิดมาจากงานของ Henry L. Gantt ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มีเอกสารจากงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่าเป็นช่วงต้นทศวรรษ 1900 เพื่อการใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการวางแผนและจัดการโครงการ ในช่วงแรกนั้นมีหลักฐานว่า Gantt ไม่ใช่ผู้พัฒนาแผนภูมิแกนต์เพียงผู้เดียว แต่มีนักพัฒนาอีกคนหนึ่งชื่อ Frederik W. Taylor ซึ่งในระยะต่อมานั้นแผนภูมิแกนต์เป็นที่รู้จักได้จากการพัฒนาของ Taylor มากกว่า ซึ่ง Taylor เองพยายามอธิบายว่าถ้ามองจากการใช้กราฟฟิกแล้วนั้น แผนภูมิแกนต์ควรจะถูกเรียกว่า “ตารางแกนต์” มากกว่า เนื่องจากไม่มีการใช้ “แผนภูมิ” ตามชื่อที่สื่อสารออกไป

Henry L.Gantt & Frederik W.Taylor (Wikipedia)

2) จุดมุ่งหมายหลักในการใช้งาน Gantt Chart  

ระยะเริ่มต้นแผนภูมิแกนต์ถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการวางแผนและจัดการการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจวิเคราะห์ได้ว่า แผนภูมิแกนต์พยายามอธิบายความสัมพันธ์ของระยะเวลาในการดำเนินงานกับอุปสงค์ของผลผลิตที่วางแผนไว้ โดยมีลักษณะการใช้งานจาก “บน” ลง “ล่าง” เริ่มจากการสร้างกรอบระยะเวลาแล้วจึงวางแผนกิจกรรมตามลำดับการเกิด นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการคือ การระบุผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมต่อการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ นับเป็นแนวคิดของการทำธุรกิจแบบ “Lean” ในปัจุบันก็เทียบได้ นอกจากนี้แผนภูมิแกนต์ยังสามารถบันทึกปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย ทำให้การวางแผนเป็นไปอย่างต่อเนื่องจากการติดตามผล

//www.teamgantt.com/blog/gantt-chart-example

3) อรรถประโยชน์อื่น ๆ ของ Gantt Chart

นอกจากประโยชน์ตามจุดประสงค์หลักข้างต้นแล้ว Gantt Chart ยังมีประโยชน์ที่ได้รับการกล่าวขานจากผู้ใช้งานจริงมากมาย อาทิ  

(1) ปรับเปลี่ยนขนาดของการวางแผนได้ กล่าวคือ มีความเหมาะสมกับการวางแผนโครงการขนาดเล็ก การวางแผนภาพรวมโครงการขนาดใหญ่ หรือ มีการสร้างแผนงานขนาดเล็กภายใต้โครงการขนาดใหญ่ เป็นต้น

    
โครงการขนาดเล็ก

                                               //www.teamgantt.com/blog/gantt-chart-example

โครงการขนาดใหญ่

                                                              //www.microtool.de/en/knowledge-base/what-is-a-gantt-chart/

(2) ใช้ในการประสานงานระหว่างแผนก/หน่วยงาน เมื่อมี Gantt Chart อยู่ในมือคนละใบ ภาษาที่ใช้สื่อสารในการทำงาน ก็มักจะเป็นเรื่องเดียวกัน ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงความคาดเคลื่อนของการสื่อสารได้เป็นอย่างดี

(3) เมื่อผู้ใช้งานได้นำ Gantt Chart มาปรับใช้ในการทำงานอย่างสม่ำเสมอแล้ว ผู้ใช้งานจะสามารถเห็นรูปแบบของการเกิดปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างซ้ำ ๆ ทำให้มีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจวางแผนงานเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาเดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น อาจเกิดการสังเกตเห็นปัญหาซ้ำ ๆ ในระหว่างเดือนมกราคม ซึ่งเมื่อวิเคราะห์แล้วพบต้นเหตุของปัญหา ก็สามารถวางแผนเพื่อลดผลกระทบของปัญหาได้ในการวางแผนครั้งต่อไป

(4) Gantt Chart สามารถนำมาปรับใช้ให้เป็นไปในรูปแบบที่สามารถติดตามความก้าวหน้าของโครงการได้มากขึ้น วิธีที่นิยมที่สุด คือ การกำหนดสีที่ใช้สำหรับกราฟฟิกที่แตกต่างกัน เช่น สีเขียวสำหรับขั้นตอนที่ทำสำเร็จลุล่วงตามระยะเวลาที่วางแผนไว้ สีเหลืองสำหรับขั้นตอนที่กำลังดำเนินการ และ สีแดงสำหรับขั้นตอนที่ยังไม่ได้ดำเนินการตามแผน หรือ ดำเนินการช้ากว่าแผนงานนั่นเอง

                                                                          //pepskipst.blogspot.com/2015/11/updated-gantt-chart.html

4) เหตุผลที่ทำให้ Gantt Chart เป็นที่นิยม

หลัก ๆ เลย คือ ความง่ายของการใช้งาน หลักการของ Gantt Chart เรียบง่าย จัดทำง่ายและสื่อสารง่าย อีกทั้งยังไม่ต้องพึ่งพาการใช้งบประมาณสูง ๆ ในการวางแผน แม้มีเพียงกระดาษกับปากกา การวางแผนก็พร้อมที่จะเริ่มต้นได้

5) กับดักการใช้ Gantt Chart

เมื่อพัฒนา Gantt Chart ของโครงการแล้ว กุญแจสำคัญเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการนั้น คือ ความมีวินัยในการดำเนินงานตามกิจกรรมที่ได้วางแผนไว้ตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนด อีกประการที่ผู้ใช้งานต้องระลึกถึงอยู่เสมอนั้น คือ Gantt Chart ไม่ใช่เครื่องมือที่ใช้ในการกำหนดเส้นตายหรือเตือนผู้ใช้งานเมื่อจะถึงเส้นตายของการส่งงาน แต่ผู้ใช้งานควรใช้ Gantt Chart เพื่อใช้กำหนดการจากตารางเวลาให้เป็นประโยชน์ต่อการสื่อสารระหว่างคณะทำงาน เพื่อสร้างประสิทธิภาพและคุณภาพของการทำงานของโครงการ

Gantt Chart ยังคงเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน ถึงแม้จะผ่านไปกว่าศตวรรษแล้วก็ตาม มีผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นหลายรายที่ทำงานพัฒนาเครื่องมือนี้ให้อยู่ในรูปแบบดิจิตัลมากยิ่งขึ้น ถึงแม้จะมีรูปแบบการวางแผนอื่น ๆ ตามการพัฒนาของเทคโนโลยีมากขึ้น Gantt Chart ก็ยังได้รับการตอบสนองที่ดีในการวางแผนโครงการและการติดต่อประสานงานระหว่างคณะทำงาน

อ้างอิง

J.M. Wilson. European Journal of Operational Research 149 (2003) 430–437

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก