สินค้า อุปโภค บริโภค มี อะไร บ้าง

ารเสนอขายให้ได้ผลนั้น พนักงานขายต้องมีความรู้ และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสินค้าอย่างละเอียด เพื่อจะได้ตอบคำถามลูกค้าได้ถึงประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากการซื้อสินค้า อีกทั้งยังช่วยในการตอบคำถามข้อโต้แย้งได้เป็นอย่างดี   และช่วยให้พนักงานขายมีความเชื่อมั่นในตนเองและตัวสินค้าด้วย

ความหมายของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ 

                                สินค้า หรือผลิตภัณฑ์ ( Product ) หมายถึง การนำผลิตผล ( Produce )หรือวัตถุดิบ ( Raw Material ) ที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อ ปลา แร่ธาตุ ฯลฯมาผ่านกรรมวิธีในการผลิต อาจจะใช้เครื่องจักร ออกมาเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์    

ประเภทของสินค้า

แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. สินค้าอุปโภคบริโภค ( Consumer Goods)

2. สินค้าอุตสาหกรรม ( Industrial Goods)

สินค้าอุปโภคบริโภค ( Consumer Goods)   คือ สินค้าที่ผู้บริโภคซื้อไปเพื่อใช้เอง 

แบ่งตามลักษณะการซื้อของผู้บริโภคได้ 4 ชนิด คือ
 

1. สินค้าสะดวกซื้อ ( Convenience Goods) เป็นสินค้าที่เป็นของกินของใช้ประจำวันที่ราคาไม่แพง ใช้เป็นประจำ และเคยชินกับยี่ห้อ เช่น ผงซักฟอก สบู่ ผ้าอนามัย 

ยาสีฟัน ไม้ขีด   นิตยสาร หนังสือพิมพ์ เป็นต้น

2. สินค้าเปรียบเทียบซื้อ ( Shopping Goods )   เป็นสินค้าราคาสูง คงทนถาวร

ซื้อไม่บ่อยนัก จะเลือกยี่ห้อที่เหมาะกับตนเอง   ต้องมีการเปรียบเทียบหลาย ๆ ร้าน หลาย ๆ ยี่ห้อ

เปรียบบริการ สมรรถนะ รูปแบบ ราคา คุณภาพ ฯลฯ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า  ตู้เย็น โทรทัศน์   เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ

3. สินค้าเจาะจงซื้อ ( Specialty Goods )   มีความพอใจเป็นพิเศษ จะซื้อยี่ห้อนี้เท่านั้น มีความภักดีสูง เช่น เครื่องสำอาง น้ำหอม คอมพิวเตอร์ รถยนต์   ฯลฯ

4. สินค้าไม่แสวงซื้อ ( Unsought Goods )   เป็นสินค้าใหม่ที่เพิ่งวางตลาด หรือเป็นสินค้าที่มีราคาสูงเกินอำนาจซื้อ ไม่เห็นความสำคัญ หรือ ความจำเป็น ผู้ขายต้องใช้ความพยายาม และต้องเป็นการขายตรงถึงจะได้ผล เพราะเป็นสินค้าขายยาก เช่น ประกันภัย สารานุกรม    วิตามินบำรุง    เครื่องออกกำลังกาย   เครื่องนุ่งห่อมราคาแพงมากๆ  เป็นต้น

สินค้าอุตสาหกรรม 

( Industrial Goods) คือ สินค้าที่ซื้อไปเพื่อใช้ในการผลิต หรือดำเนินงาน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
 

1. วัตถุดิบและชิ้นส่วน ( Material and Parts )   คือ สินค้าที่ซื้อไปเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต แล้วได้สินค้าสำเร็จรูปออกมา เช่น มันสำปะหลัง และอ้อย เป็นวัตถุดิบของการทำผงชูรส เป็นต้น

2. สินค้าทุน ( Capital   Goods )   เป็นสินค้าที่ช่วยในการผลิต เช่น เครื่องจักรที่ใช้บดมันสำปะหลังกับอ้อย แล้วนำมาผ่านกรรมวิธีทางเคมีให้แปรสภาพเป็นผงชูรส เป็นต้น

                3. วัสดุใช้สอยและบริการ ( Supplies and Service )   เป็นสินค้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการผลิตให้สะดวก คล่องตัว เช่น วัสดุในการซ่อมแซมและบำรุงเครื่องจักร วัสดุ

สำนักงาน แรงงานเป็นต้น                                 

แหล่งที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้า

1. พนักงานขายควรไปศึกษาดูงานถึงโรงงานผู้ผลิต เมื่อจะได้ทราบถึงการได้มาของวัตถุดิบ กระบวนการผลิต เพื่อจะได้นำประสบการณ์จริงมาเล่าให้ลูกค้าฟังได้อย่างมั่นใจ

2. คู่มือขาย ที่กิจการจัดทำขึ้น ซึ่งจะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติของกิจการ ประวัติของผู้บริหาร    รายละเอียดของสินค้าทุกประเภท มีภาพประกอบสวยงาม   ผลประโยชน์ของพนักงานขาย    และวิธีติดต่อกับบริษัท

3. แฟ้มขาย จัดทำขึ้นเพื่อช่วยในการเสนอขายสินค้าของพนักงานขายกับลูกค้า   เป็นรูปภาพเกี่ยวกับสินค้า บอกราคาขาย รางวัลที่กิจการได้รับ ใบรับรองคุณภาพ ใบสั่งซื้อ

4. การฝึกอบรมพนักงานขาย   ก่อนเริ่มดำเนินงาน กิจการจะฝึกอบรมพนักงานขายให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับสินค้า กิจการ วิธีดำเนินการขาย

5. ทัศนวัสดุช่วยศึกษา เช่น วีดีโอ ซีดี เทป ให้พนักงานได้ศึกษามากขึ้น

6. ประโยชน์ของสินค้า และการเก็บดูแลรักษา   พนักงานขายต้องรู้และศึกษาให้ได้ เพื่อตอบคำถามของลูกค้า

7. คู่แข่งขัน พนักงานขายต้องศึกษาสินค้าของคู่แข่ง เพื่อหาข้อเปรียบเทียบและตอบคำถามของลูกค้าได้ว่า สินค้าของเราดีกว่าอย่างไร แต่ทั้งนี้ ต้องไม่โจมตีสินค้าคู่แข่งเป็นอันขาด เพราะถือเป็นผิดจรรยาบรรณอย่างหนึ่ง

ประโยชน์ที่ได้รับจากการมีความรู้เกี่ยวกับสินค้า

              พนักงานขายรู้รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้าจะช่วยให้สามารถหาข้อดีเด่นด้านต่าง ๆ ของสินค้ามาเป็นจุดขายที่ดีได้ และสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างกับสินค้าคู่แข่งทั้งข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเสนอขายได้

ในการขายสินค้า พนักงานขายต้องจำไว้อย่างหนึ่งว่า ผู้บริโภคซื้อสินค้าเพราะ ประโยชน์ที่เขาได้รับจากสินค้านั้น ๆ    ไม่ใช่พูดถึงแต่ตัวสินค้าหรือประโยชน์ของสินค้า   เช่น

“    เครื่องดูดฝุ่นของเราใช้มอเตอร์ที่มีความเร็วสูง  ( คุณสมบัติ )  จึงสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วเป็นสองเท่า  ( ประโยชน์ของสินค้า ) โดยใช้แรงงานน้อยกว่า  ( ประโยชน์ของสินค้า )  จึงสามารถประหยัดเวลาในการทำความสะอาดได้ถึง 15 – 30 นาที  ( ประโยชน์ของผู้บริโภค ) ช่วยให้คุณเหน็ดเหนื่อยน้อยลง (ประโยชน์ของผู้บริโภค ) ”

นอกจากนี้ พนักงานขายควรรู้ว่ากิจการมีบริการหลังการขายอย่างไร การรับประกันหลังการขาย ศูนย์บริการอยู่ที่ใด ชิ้นส่วนอะไหล่หาง่ายหรือไม่ 

สินค้าที่เกี่ยวข้อง พนักงานขายก็ต้องศึกษาและให้คำแนะนำลูกค้าได้ ไม่ใช่รู้แต่เฉพาะสินค้าที่ตนเองขายเท่านั้น   เช่น ขายรถยนต์ก็จำเป็นต้องรู้เครื่องยนต์ของรถเป็นอย่างดี

รู้วิธีการดูแลรักษารถ  อุปกรณ์ตกแต่งรถ บริษัทประกันรถ แหล่งเงินกู้ซื้อรถ เป็นต้น

สินค้าที่เป็นสายผลิตภัณฑ์ ( Product Line ) ของกิจการ พนักงานขายก็ต้องมีความรู้ไว้บ้าง เพราะลูกค้าอาจต้องการซื้อสินค้าอย่างอื่นของบริษัทด้วย เป็นการช่วยเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้น   เช่น เป็นพนักงานขายอาหารไก่ตามฟาร์มไก่    ก็ต้องรู้ว่ากิจการของตนนอกจากขายอาหารไก่แล้วยังขายผลิตภัณฑ์จากไก่อีกด้วย เช่น เนื้อไก่สด  ลูกชิ้นไก่  ไส้กรอกไก่  ด้วย

เพราะเจ้าของฟาร์มอาจต้องการซื้อสินค้าเหล่านี้ เพราะจะเปิดร้านขายอาหาร เป็นต้น

การรู้จักสินค้าจะช่วยให้พนักงานขายสามารถเชื่อมโยงคุณสมบัติและประโยชน์ของสินค้า กับประโยชน์ที่ผู้บริโภคต้องการจากสินค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม อันจะนำไปสู่การซื้อสินค้านั่นเอง

ตัวอย่างสินค้าที่เป็นสายผลิตภัณฑ์

สินค้าอุปโภคบริโภคมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

1. สินค้าสะดวกซื้อ Convenience Goods สินค้า ประเภทนี้หาซื้อได้ทั่วไป ราคาสิ้นค้าไม่สูง เช่น สบู่ยาสีฟัน 2. สินค้าเปรียบเทียบ Shopping Goods สินค้าปรเภท นี้ผู้ซื้อจะท าการเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจซื้อ เช่น เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องประดับ กระเป๋า

สินค้าเพื่อการบริโภคหมายถึงอะไร

ในเชิงของวิชาเศรษฐศาสตร์ สินค้าบริโภค หมายถึงสินค้าที่สุดท้ายแล้วใช้บริโภคมากกว่าที่จะนำไปผลิตสินค้าอื่นต่อ ตัวอย่างเช่น รถยนต์ที่ขายให้ผู้บริโภคถือเป็นสินค้าบริโภค หรือ "สินค้าสุดท้าย" (final goods) ส่วนยางล้อรถที่ขายให้ผู้ผลิตรถยนต์ไม่ถือเป็นสินค้าสุดท้ายแต่เป็นสินค้าช่วงกลาง (intermediate goods)ที่นำมาใช้ประกอบเป็น ...

ประเภทของสินค้ามีอะไรบ้าง

ประเภทของสินค้า แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. สินค้าอุปโภคบริโภค ( Consumer Goods) 2. สินค้าอุตสาหกรรม ( Industrial Goods) สินค้าอุปโภคบริโภค ( Consumer Goods) คือ สินค้าที่ผู้บริโภคซื้อไปเพื่อใช้เอง

สินค้าอุปโภคบริโภคอยู่ในตลาดประเภทใด

ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Markets) ตลาดประเภทนี้ผู้ซื้อจะกระจายอยู่ทั่ว ๆ ไป กิจการจะเสนอสินค้าหรือบริการในวงกว้างและจำนวนมาก ๆ ตัวอย่างเช่น สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป สบู่ ผงซักฟอกของสินค้า เครื่องดื่มน้ำอัดลม ล้วนแต่ต้องใช้เวลา

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก