อะไรประกอบไปด้วยระบบประสาทซิมพาเทติกและระบบประสาทพาราซิมพาเทติก

ข่าวสาร

Beauty Sleep ผิวสุขภาพดี แค่นอนก่อน 4ทุ่ม

    เคยสังเกตกันไหมว่า เมื่อเรานอนหลับไม่เพียงพอ ตื่นเช้าหน้าจะดูโทรม ใต้ตาคล้ำ ผิวดูไม่สดใส บางคนอาจจะมีสิวขึ้นอีกด้วย ที่เป็นแบบนี้ เนื่องจากว่าร่างกายของเรานั้นมีระบบการทำงานตามธรรมชาติ หากถูกใช้งานมากเกินไป ก็จะมีผลกระทบต่อระบบต่างๆซึ่งจะส่งผลต่อเซลล์ในร่างกาย

    ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System) เป็นระบบประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในของร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

- ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System) มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกายให้เตรียมพร้อมเผชิญอันตรายหรือภาวะฉุกเฉิน

- ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic Nervous System) มีหน้าที่ควบคุมการสะสมพลังงาน ควบคุมระดับการทำงานของอวัยวะภายใน หลอดเลือดส่วนต่างๆให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำงานได้

ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก มักทำงานได้ดีในช่วงกลางคืนขณะนอนหลับพักผ่อนโดยร่างกายจะทำการส่งอาหารไปยังเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะในช่วง 4ทุ่ม ถึงตี 2

    ดังนั้นคนที่นอนก่อน 4 ทุ่ม จึงมักจะมีสุขภาพผิวดีกว่าคนเข้านอนหลัง 4 ทุ่ม แต่ก็อย่าเพียงแต่ให้ความสำคัญแค่เรื่องชั่วโมงการนอน ให้จงใส่ใจกับเวลานอน และคุณภาพการนอนด้วย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ระบบประสาทอัตโนมัติ
สีน้ำเงิน = พาราซิมพาเทติก
สีแดง = ซิมพาเทติก

ระบบประสาทซิมพาเทติก (อังกฤษ: Sympathetic nervous system) เป็นระบบประสาทหลักหนึ่งในสามส่วนของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งอีกสองส่วนประกอบด้วย ระบบประสาทเอ็นทีริก และระบบประสาทพาราซิมพาเทติก.

โดยทั่วไป ระบบประสาทซิมพาเทติกทำหน้าที่ภายใต้แรงกดดัน เพื่อให้ร่างกายตอบสนองในภาวะคับขัน เช่น การต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด หรือการหนีจากภัยคุกคามเฉพาะหน้า แต่ก็ทำงานเพื่อรักษาเสถียรภาพในสภาวะทั่วไปด้วย. เส้นประสาทในระบบประสาทซิมพาทิติกนี้แยกออกจากไขสันหลังบริเวณอกและเอว[1] เรียกได้อีกอย่างว่า ทอราโคลัมบาร์เอาต์โฟล์ว (thoraco-lumbar outflow).

เซลล์ประสาทตัวแรก (preganglionic fibre) อยู่ที่ไขสันหลัง แล้วมีแอกซอนออกมากับเซลล์ประสาทสั่งการ แล้วแยกไปยังปมประสาทซิมพาเทติกบริเวณอกและเอว แอกซอนของเซลล์ประสาทตัวแรกจะปล่อยสารสื่อประสาท (neurotransmitter) เป็นสารแอซิติลโคลินภายในปมประสาทซิมพาเทติกจะมีเซลล์ประสาททำหน้าที่เป็นเซลล์ประสาทตัวที่สอง (postganglionic fibre) ซึ่งจะส่งแซกซอนไปยังอวัยวะภายในต่าง ๆ สารที่แอกซอนตัวที่สองปล่อยออกมาเป็นสาร นอร์อะดรีนาลิน หรือ นอร์เอพิเนฟริน จึงเรียกเซลล์ประสาทพวกนี้ว่า เซลล์ประสาทอะดรีเนอร์จิก (adrenergic neuron) สารนี้เมื่อปล่อยออกมาจะถูกย่อยสลายโดยเอนไซม์มอนามีนออกซิเดส ช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ใหม่อีกครั้ง.

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-17. สืบค้นเมื่อ 2011-08-05.

<references \>

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Autonomic nervous system innervation, showing the sympathetic and parasympathetic (craniosacral) systems, in red and blue, respectively

ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (อังกฤษ: Parasympathetic nervous system) เป็นหนึ่งในสองระบบหลักของ ระบบประสาทอัตโนมัติ เส้นประสาทในระบบพาราซิมพาเทติก คือเส้นประสาทที่มาจากบริเวณเหนือไขสันหลัง คือบริเวณที่เป็นสมองส่วนกลาง และเมดัลลาออบลองกาตา และเส้นประสาทที่มาจากบริเวณต่ำ

ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกเป็นระบบประสาทอัตโนมัติซึ่งมีหน้าที่ควบคุมกิจกรรมใต้สำนึกต่าง ๆ ของร่างกายและอวัยวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมเกี่ยวกับการพักผ่อน การย่อยอาหาร การปัสสาวะและถ่ายอุจจาระ การหลั่งน้ำตา รวมไปถึงการตื่นตัวหรือมีอารมณ์ทางเพศ. ระบบประสาทประเภทนี้มีลักษณะการทำงานคู่ขนานไปกับระบบประสาทซิมพาเทติก ซึ่งรับผิดชอบต่อการปลุกเร้าหรือเตรียมร่างกายให้ตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้ต่อสู้หรือหนี (fight or flight) ในภาวะคับขัน. ชื่อของระบบประสาทพาราซิมพาเทติก จึงหมายถึง ระบบประสาทที่วิ่งหรือทำงานคู่ขนาน ("para" เป็นคำอุปสรรคภาษากรีกแปลว่า "ขนานไปกับ") กับระบบประสาทซิมพาเทติก.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก