ศิลปะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทอะไรบ้าง

     1.1ความหมายของศิลปะ

                ศิลปะ (Art) เป็นคำที่มีความหมายกว้างขวางครอบคลุมพฤติกรรมการแสดงออก และการสร้างสรรค์ทุกๆ ด้านของมนุษย์ ตามพจนานุกรมศัพท์ศิลปะ : ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2530 ได้ให้ความหมายศิลปะ (สินลปะ)  ส.น. การประดับ การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นได้อย่างงดงามน่าพึงชม และเกิดอารมณ์สะเทือนใจ การช่างทั่วไปการฝีมือคำนิยามทั่วไปของศิลปะ (Art)

                ศิลปินนักปราชญ์ราชบัณทิตและนักการศึกษาทั้งหลายได้พยายามกำหนดความหมายของศิลปะไว้มากมาย ด้วยเหตุผลต่างๆ กัน เช่น

                ศิลปะ     หมายถึง  การเลียนแบบธรรมชาติ

                ศิลปะ     หมายถึง  สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อความงามและประโยชน์ใช้สอย

                ศิลปะ     หมายถึง  การถ่ายทอดความรู้สึกเป็นรูปทรง

                ศิลปะ     หมายถึง  การแสดงออกทางความเชื่อและความงาม

                ศิลปะ     หมายถึง  การแสดงออกทางบุคลิกภาพเด่นๆ ของศิลปิน

                ศิลปะ     หมายถึง  งานอันเป็นความพากเพียรของมนุษย์   ซึ่งต้องใช้ความพยายามด้วยความคิดเห็นและมือ

                ศิลปะ     หมายถึง  ความชำนาญในการลำดับประสบการณ์และการถ่ายทอดตามจินตนาการให้เป็นวัตถุที่มีสุนทรียภาพ ฯลฯ

                เมื่อพิจารณาจากความหมายดังกล่าว  สรุปได้ว่า

                ศิลปะ     เป็นผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ จากภูมิปัญญาของมนุษย์ที่ถ่ายทอดออกมา โดยผ่านสื่อวัสดุ เทคนิควิธีการต่างๆ มีคุณค่า ทั้งเนื้อหา เรื่องราวและความหมาย เมื่อได้พบเห็นหรือสัมผัสแล้วก่อให้เกิดความพึงพอใจ ประทับใจมีความสุข เพลิดเพลินและปิติยินดี

การสร้างงานศิลปะของมนุษย์แบ่งออกเป็น  2  ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. วิจิตรศิลป์  (Fine  Art) หมายถึงศิลปะที่แสดงความต้องการทางด้านจิตใจและอารมณ์เป็นสำคัญ  โดยถือเอาความรู้สึกจากงานนั้นเป็นคุณค่า

2.              ศิลปประยุกต์  (Applied  Art)  หมายถึ งศิลปะที่สนองความต้องการทางด้านร่างกาย  เศรษฐกิจ 

และชีวิตประจำวัน  โดยถือเอาคุณค่าทางประโยชน์ใช้สอยเป็นอันดับแรกและคุณค่าทางความงามเป็นอันดับรอง

วิจิตรศิลป์  (Fine  Art)  แบ่งออกเป็น  6  แขนง

                ทัศนศิลป์  เป็นส่วนหนึ่งของวิจิตรศิลป์  เนื่องจากเป็นศิลปะที่มีความงาม  และสนองความต้องการทางด้านจิตใจและอารมณ์เป็นสำคัญ

                ทัศนศิลป์  (Visual  Art)  หมายถึงศิลปะที่มองเห็น  หรือศิลปะที่สามารถสัมผัสรับรู้  และชื่นชมด้วยการมองเห็นเป็นศิลปะที่สัมผัสจับต้องได้  และกินที่ว่างในอากาศ

(ปัญญา  เศรษฐศิริ  ศุภกร  และคณะ  พิมพ์ครั้งที่ 1  พ.ศ.  2540 : หน้า  4-6)

                ทัศนศิลป์แบ่งออกเป็น  3  ประเภทได้แก่  จิตรกรรม  ประติมากรรม  และสถาปัตยกรรม

จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น

พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับซึ่งจำแนกได้ตามลักษณะผลงานที่สิ้นสุด และ วัสดุ

1.  จิตรกรรม  (Painting)

จิตรกรรม  หมายถึง  การเขียนภาพและระบายสี  เป็นการถ่ายทอดความงาม  และความรู้สึกนึกคิดลงบนพื้นระนาบที่เป็น  2  มิติ  แต่สามารถใช้สี  เส้น  แสงเงา  ฯลฯ สร้างสรรค์ให้เกิดภาพลวงตา  มีความลึกตื้นและดูเป็น  3  มิติได้  เราเรียกผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรมว่า  “จิตรกร”

จิตรกรรมจำแนกได้  2  ลักษณะดังนี้

                1.1  ภาพวาด  (Drawing)  หมายถึงการวาดภาพ  แบบเป็น 2 มิติ คือมีเพียงความกว้างและความยาว  โดยใช้วัสดุต่าง ๆ เช่น  ดินสอดำ  สีชอล์ก  สีเทียน  สีไม้  เกรยอง เป็นต้น   ฯลฯ 

                1.2  ภาพเขียน  (Painting) เป็นการสร้างงาน  2  มิติ  บนพื้นระนาบด้วยสีหลายสี  การเรียกชื่อลักษณะของภาพเขียนจะเรียกตามสื่อวัสดุที่ใช้เป็นสำคัญ  เช่น  การเขียนภาพด้วยสีน้ำ  การเขียนภาพด้วยสีน้ำมัน  เป็นต้น  ( สุชาติ  เถาทอง,สังคม  ทองมี,ธำรงศักดิ์  ธำรงเลิศฤทธิ์,รอง ทองดาดาษ พิมพ์ครั้งที่  3  : หน้า 5-6 )

รูปแบบของงานจิตรกรรม

งานจิตรกรรมแบ่งออกเป็น  8  ประเภทได้แก่

1.    ภาพหุ่นนิ่ง  (Still  life)

2.             ภาพสัตว์  (Animal)

3.             ภาพคนและคนเหมือน  (Human  Figure  and  Portrait)

4.             ภาพทิวทัศน์บก  (Landscape)  ทะเล (Seascape)  และทิวทัศน์สิ่งก่อสร้าง (Building  scape)

5.             ภาพชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์  (Genre)

6.             ภาพเกี่ยวกับศาสนา (Religious)

7.             ภาพจินตนาการ  (Imagination)

8.       ภาพนามธรรม (Abstract)

องค์ประกอบสำคัญของงานจิตรกรรม คือ

 1. ผู้สร้างงาน หรือ ผู้วาด เรียกว่า จิตรกร

2. วัสดุที่ใช้รองรับการวาด เช่น กระดาษ ผ้า ผนัง ฯลฯ

3. ี เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงเนื้อหา เรื่องราวเกี่ยวกับผลงาน

งานจิตรกรรมเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ดั้งเดิมของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การขีดเขียนบนผนังถ้ำ บนร่างกาย บนภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ จนพัฒนามาเป็นภาพวาดที่ใช้ประดับตกแต่งในปัจจุบัน การวาดภาพเป็นพื้นฐานของงานศิลปะทุกชนิด ผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม เรียกว่า จิตรกร(Painter)

คุณค่าของงานจิตรกรรม

                …  ศิลปกรรมเป็นการแสดงออกถึงจิตใจของชาติ  ฉะนั้นผู้ที่เป็นศิลปินไม่ว่าประเภทใด  จึงควรได้พยายามศึกษาหาความรู้ให้กว้างขวางเพื่อที่จะแสดงจิตใจนั้นได้ดี

                1.  คุณค่าทางด้านจิตใจ

-ถ่ายทอดอารมณ์จิตใจ เเละความรู้สึกภายในสู่ภายนอก
-ยกระดับจิตใจให้ประณีตละเอียดอ่อน
-ผ่อนคลายอารมณ์ เคร่งเครียดเเละเศร้ามอง
–จรรโลงศาสนารักษาคุณธรรม

2.  คุณค่าทางความคิดเเละสติปัญญา

-เป็นสื่อการถ่ายทอดความคิดเเละสติปัญญา
-พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
-เป็นสื่อในการศึกษาค้นคว้าทางศิลปะกรรม

3.  คุณค่าทางด้านประโยชน์ใช้สอย

-เป็นพื้นฐานของงานออกเเบบ
-เป็นส่วนประกอบของงานประยุกต์ศิลป์ 
-เป็นศิลปะภายใน

-เป็นอาชีพที่มั่นคง

//school.obec.go.th/huyhinpit/Student/Art3/Bo6.html

2.  ประติมากรรม  (Sculpture)

                เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการสร้างรูปทรง 3 มิติ มีปริมาตร มีน้ำหนักและกินเนื้อที่ในอากาศ โดยการใช้วัสดุชนิดต่าง ๆ วัสดุที่ใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรม จะเป็นตัวกำหนด วิธีการสร้างผลงาน ผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม เรียกว่า ประติมากร   ความงามของงานประติมากรรม เกิดจากการแสงและเงา ที่ เกิดขึ้นในผลงานการสร้างงานประติมากรรมทำได้ 4 วิธี คือ 
                1. การปั้น (Casting) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุ ทีเหนียว อ่อนตัว และยึดจับตัว กันได้ดี วัสดุที่นิยมนำมาใช้ปั้น ได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูน แป้ง ขี้ผึ้ง กระดาษ หรือ ขี้เลื่อยผสมกาว เป็นต้น 
                2. การแกะสลัก (Carving) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่ แข็ง เปราะ โดยอาศัยเครื่องมือ วัสดุที่นิยมนำมาแกะ ได้แก่ ไม้ หิน กระจก แก้ว ปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
                3. การหล่อ (Molding) เป็นการสร้างรูปทราง 3 มิติ จากวัสดุที่หลอมตัวได้และกลับแข็งตัวได้ โดยอาศัยแม่พิมพ์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลงานที่เหมือนกันทุกประการตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป วัสดุที่นิยมนำมาใช้หล่อ ได้แก่ โลหะ ปูน แป้ง แก้ว ขี้ผึ้ง ดิน เรซิ่น พลาสติก ฯลฯ

//www.mew6.com/composer/art/sculpture.php

                4. การประกอบขึ้นรูป (Construction) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ โดยนำวัสดุต่าง ๆ มา ประกอบเข้าด้วยกัน และยึดติดกันด้วยวัสดุต่าง ๆ การเลือกวิธีการสร้างสรรค์งานประติมากรรม ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ต้องการใช้ ประติมากรรม ไม่ว่าจะสร้างขึ้นโดยวิธีใด จะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ แบบนูนต่ำ แบบนูนสูง และแบบลอยตัว

ประเภทของงานประติมากรรม 
                1.ประติมากรรมแบบนูนต่ำ ( Bas Relief ) เป็นรูปที่เป็นนูนขึ้นมาจากพื้นหรือมีพื้นหลัง 
รองรับ มองเห็นได้ชัดเจนเพียงด้านเดียว คือด้านหน้า มีความสูงจากพื้นไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรูป จริง ได้แก่รูปนูนแบบเหรียญ รูปนูนที่ใช้ประดับตกแต่งภาชนะ หรือประดับตกแต่งอาคารทาง สถาปัตยกรรม โบสถ์ วิหารต่างๆ พระเครื่องบางชนิด 
                2.ประติมากรรมแบบนูนสูง ( High Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ในลักษณะเช่นเดียวกับแบบ นูนต่ำ แต่มีความสูงจากพื้นตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของรูปจริงขึ้นไป ทำให้เห็นลวดลายที่ลึกชัดเจน และ และเหมือนจริงมากกว่าแบบนูนต่ำและใช้งานแบบเดียวกับแบบนูนต่ำ

          3.ประติมากรรมแบบลอยตัว ( Round Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ที่มองเห็นได้รอบด้านหรือ ตั้งแต่ 4 ด้านขึ้นไป ได้แก่ ภาชนะต่าง ๆ รูปเคารพต่าง ๆ พระพุทธรูป เทวรูป รูปตามคตินิยม รูปบุคคลสำคัญ รูปสัตว์ ฯลฯ

ประติมากรรม เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา ประติกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานประติมากรรม มักเรียกว่า ประติมากร

งานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า ปฏิมากรรม ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า ปฏิมากร      //www.prc.ac.th/newart/webart/sculpture.html

3.  สถาปัตยกรรม (Architecture)

                สถาปัตยกรรม (ARCHITECTURE) สถาปัตยกรรมเป็นงานที่รวมจิตรกรรมและประติมากรรมมาประกอบด้วยมีขนาดใหญ่กว่าศิลปะแขนงอื่น ๆ เป็นทัศนศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบก่อสร้างเพื่อประโยชน์ของมนุษย์ เป็นการกำหนดขอบเขตบริเวณว่าง    เพื่อให้เกิดประโยชน์     ผู้ออกแบบสถาปัตยกรรม เรียกว่า สถาปนิก (ARCHITECT) เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง อาคาร ที่อยู่อาศัยต่าง ๆ การวางผังเมือง การจัดผังบริเวณการตกแต่งอาคาร การออกแบบก่อสร้าง ซึ่งเป็นงานศิลปะ ที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้ผู้สร้างงานจำนวนมาก และเป็นงานศิลปะที่มีอายุยืนยาว สถาปัตยกรรม เป็นวิธีการจัดสรรบริเวณที่ว่างให้เกิดประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และศิลปะ ความงดงาม และคุณค่าของสถาปัตยกรรม ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ดังนี้ คือ 
1. การจัดสรรบริเวณที่ว่างให้สัมพันธ์กันของส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก 
2. การจัดรูปทรงทางสถาปัตยกรรมให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย และสิ่งแวดล้อม 
3. การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกลมกลืน

สถาปัตยกรรมแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ 
1. ชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อให้มนุษย์เข้าไปอาศัยอยู่ หรือประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร ศาลา ฯลฯ 
2. ชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยอย่างอื่น ๆ เช่น อนุสาวรีย์ เจดีย์ สะพาน เป็นต้น ผู้สร้างสรรค์

สถาปัตยกรรมแบ่งตามลักษณะวัสดุและเทคนิคการก่อสร้าง มี 4 ประเภท คือ
1. สถาปัตยกรรมเครื่องไม้
2. สถาปัตยกรรมเครื่องหิน
3. สถาปัตยกรรมคอนกรีตเสริมเหล็ก
4. สถาปัตยกรรมโครงเหล็ก
ความเป็นมาของสถาปัตยกรรม

                 สถาปัตยกรรมเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมที่มีลักษณะเด่น ให้เห็นเด่นชัด สมัยแรกมนุษย์อยู่ตามถ้ำ ซึ่งมีขนาดเล็กใหญ่ต่างกัน ต่อมามนุษย์อพยพออกจากถ้ำแหล่งที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ก็คือ บริเวณใกล้แม่น้ำลำธาร    เพื่อสะดวกในการไปมาหาสู่กัน     เป็นที่สร้างที่อยู่อาศัยใช้ในการเพาะปลูก สถาปัตยกรรมจึงเป็นการก่อสร้างอันสำคัญของมนุษย์ ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของตนเองและสังคม
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=ploykimjie&group=2

4. วรรณกรรม (Literature)

             เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารเรื่องราวให้เข้าใจระหว่างมนุษย์ ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดค้น และสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมายเรื่องราวต่าง ๆ ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารได้แก่ 
1. ภาษาพูด โดยการใช้เสียง 
2. ภาษาเขียน โดยการใช้ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ และภาพ 
3. ภาษาท่าทาง โดยการใช้กิริยาท่าทาง หรือประกอบวัสดุอย่างอื่น 
                ความงามหรือศิลปะในการใช้ภาษาขึ้นอยู่กับ การใช้ภาษาให้ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับเวลา โอกาส และบุคคล นอกจากนี้ ภาษาแต่ละภาษายังสามารถปรุงแต่งให้เกิดความเหมาะสม ไพเราะ สวยงามได้ ชาติไทย เป็นชาติที่มีอารยะธรรมเก่าแก่ มีภาษที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง ทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน นอกจากนี้ ยังมีความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ภาษาได้อย่างไพเราะ ถือเป็นความงามของการใช้ภาษา จากการแต่งโคลง กลอน คำประพันธ์ ร้อยแก้วต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติคำ 
ราชาศัพท์ คำสุภาพ ขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แสดงให้เห็นวัฒนธรรมที่เป็นเลิศทาง การใช้ภาษาที่ควรดำรง และยึดถือต่อไป ผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรม เรียกว่า นักเขียน นักประพันธ์ หรือ กวี (Writer or Poet) วรรณกรรมไทย แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ 
1. ร้อยแก้ว เป็นข้อความเรียงที่แสดงเนื้อหา เรื่องราวต่าง ๆ 
2. ร้อยกรอง เป็นข้อความที่มีการใช้คำที่สัมผัส คล้องจอง ทำให้สัมผัสได้ถึงความงามของภาษาไทย ร้อยกรองมีหลายแบบ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย

//www.prc.ac.th/newart/webart/literature.html

5.  ดนตรี และนาฏศิลป์ Music & Dramatic Art

                เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้เสียง การจัดจังหวะ และท่วงทำนองของเสียง ด้วยการเล่นดนตรี และการขับร้องเพลง ที่มีผลต่ออารมณ์และจิตใจของมนุษย์ รวมถึงการใช้ ท่าทางประกอบเสียง การเต้น ระบำ รำ ฟ้อน การแสดงละคร ฯลฯ ผู้สร้างสรรค์งาน เรียกว่า นักดนตรี (Musician) นักร้อง (Singer) หรือ นักแสดง (Actor / Actress) //www.prc.ac.th/newart/webart/music&drama.html

                ดนตรีและนาฏศิลป์ [Music & Drama] เป็น 1 ใน 8 ของศิลปะประเภท วิจิตรศิลป์ เช่นเดียวกับศิลปะภาพถ่าย [Photography] ซึ่งจัดได้ว่าเป็น ทัศนศิลป์ [Visual Art]

 ดนตรี หมายถึง ศิลปะที่แสดงอออกโดยการเรียบเรียงระดับเสียงสูงต่ำที่ใช้ความรู้สึกและจินตนาการสร้างสรรค์ผสมผสานกันอย่างลงตัวผ่านเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ เพื่อให้เกิดความไพเราะ

นาฎศิลป์ เป็นการแสดงออกทางลีลา ท่าทางการรำ การแสดงโยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความงาม ความพอใจสรุปก็คือ ศิลปะประเภทดนตรีและนาฏศิลป์ เรียกว่า โสตทัศนศิลป์(Audiovisual Art]

//pookiefoto.multiply.com/links/item/16

6.  การพิมพ์ภาพ ( PRINTING )
                การพิมพ์ภาพ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากแม่พิมพ์ออกมาเป็นผลงานที่มีลักษณะเหมือนกันกับแม่พิมพ์ทุกประการ และได้ภาพที่เหมือนกันมีจำนวนตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไปการพิมพ์ภาพเป็นงานที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากการวาดภาพ ซึ่งการวาดภาพไม่สามารถ สร้างผลงาน 2 ชิ้น ที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการได้ จึงมีการพัฒนาการพิมพ์ขึ้นมา ชาติจีน ถือว่าเป็นชาติแรกที่นำเอาวิธีการพิมพ์มาใช้อย่างแพร่หลายมานานนับพันปี จากนั้น จึงได้แพร่หลายออกไปในภูมิภาคต่างๆของโลก ชนชาติทางตะวันตกได้พัฒนาการพิมพ์ภาพ ขึ้นมาอย่างมากมาย มีการนำเอาเครื่องจักรกลต่างๆเข้ามาใช้ในการพิมพ์ ทำให้การพิมพ์มีการ พัฒนาไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน การพิมพ์ภาพมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
1. แม่พิมพ์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพิมพ์ 
2. วัสดุที่ใช้พิมพ์ลงไป 
3. สีที่ใช้ในการพิมพ์ 
4. ผู้พิมพ์ 
ผลงานที่ได้จากการพิมพ์ มี 2 ชนิด คือ 
                
1. ภาพพิมพ์ เป็นผลงานพิมพ์ที่เป็นภาพต่างๆ เพื่อความสวยงามหรือบอกเล่าเรื่องราวต่างๆอาจมีข้อความ ตัวอักษรหรือตัวเลขประกอบหรือไม่มีก็ได้ 
                2. สิ่งพิมพ์ เป็นผลงานพิมพ์ที่ใช้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ เป็นตัวอักษร ข้อความ ตัวเลข อาจมี 
ภาพประกอบหรือไม่มีก็ได้ 
ประเภทของการพิมพ์ การพิมพ์แบ่งออกได้หลายประเภทตามลักษณะต่าง ดังนี้ 
1. แบ่งตามจุดมุ่งหมายในการ พิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ 
                1.1 ศิลปภาพพิมพ์ ( GRAPHIC ART ) เป็นงานพิมพ์ภาพเพื่อให้เกิดความสวยงามเป็น 
งานวิจิตรศิลป์ 
                1.2 ออกแบบภาพพิมพ์ ( GRAPHIC DESIGN ) เป็นงานพิมพ์ภาพประโยชน์ใช้สอยนอก 
เหนือไปจากความสวยงาม ได้แก่ หนังสือต่างๆ บัตรต่างๆ ภาพโฆษณา ปฏิทิน ฯลฯ 
จัดเป็นงาน ประยุกต์ศิลป์   //www.prc.ac.th/newart/webart/printing.html

2.             แบ่งตามกรรมวิธีในการพิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ

               2.1 ภาพพิมพ์ต้นแบบ ( ORIGINAL PRINT ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์และวิธี 
การพิมพ์ที่ถูก สร้างสรรค์และกำหนดขึ้นโดยศิลปินเจ้าของผลงาน และเจ้าของผลงาน จะต้องลงนามรับรองผลงานทุกชิ้น บอกลำดับที่ในการพิมพ์ เทคนิคการพิมพ์ และ วัน เดือน ปี ที่พิมพ์ด้วย 
                2.2 ภาพพิมพ์จำลองแบบ ( REPRODUCTIVE PRINT ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์ 
หรือวิธี การพิมพ์วิธีอื่น ซึ่งไม่ใช่วิธีการเดิมแต่ได้รูปแบบเหมือนเดิม บางกรณีอาจเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น

3.             แบ่งตามจำนวนครั้งที่พิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ

3.1 ภาพพิมพ์ถาวร เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาจากแม่พิมพ์ใดๆ ที่ได้ผลงานออกมามีลักษณะ 
เหมือนกันทุกประการ ตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป 
                3.2 ภาพพิมพ์ครั้งเดียว เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาได้ผลงานเพียงภาพเดียว ถ้าพิมพ์อีกจะ 
ได้ผลงานที่ไม่เหมือนเดิม

4.             แบ่งตามประเภทของแม่พิมพ์ ได้ 4 ประเภท คือ

                4.1 แม่พิมพ์นูน ( RELIEF PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าที่ทำให้นูนขึ้นมาของแม่พิมพ์ ภาพที่ได้เกิดจากสีที่ติดอยู่ในส่วนบนนั้น แม่พิมพ์นูนเป็นแม่พิมพ์ที่ทำขึ้นมาเป็นประเภทแรก ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์แกะไม้ ( WOOD-CUT ) ภาพพิมพ์แกะยาง( LINO-CUT ) ตรายาง ( RUBBER STAMP ) ภาพพิมพ์จากเศษวัสดุต่างๆ 
                4.2 แม่พิมพ์ร่องลึก ( INTAGLIO PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีอยู่ในร่องที่ทำให้ลึกลง 
ไปของแม่พิมพ์โดยใช้แผ่นโลหะทำเป็นแม่พิมพ์ ( แผ่นโลหะที่นิยมใช้คือแผ่นทองแดง )และทำให้ลึกลงไปโดยใช้น้ำกรดกัด ซึ่งเรียกว่า ETCHING แม่พิมพ์ร่องลึกนี้พัฒนาขึ้นโดยชาวตะวันตก สามารถพิมพ์งานที่มีความ ละเอียด คมชัดสูง สมัยก่อนใช้ในการพิมพ์ หนังสือพระคัมภีร์ แผนที่ เอกสารต่างๆ แสตมป์ ธนบัตร ปัจจุบันใช้ในการพิมพ์งานที่เป็นศิลปะและธนบัตร 
                4.3 แม่พิมพ์พื้นราบ ( PLANER PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้า 
ที่ราบเรียบของแม่พิมพ์ โดยไม่ต้องขุดหรือแกะพื้นผิวลงไป แต่ใช้สารเคมีเข้าช่วย ภาพพิมพ์ 
ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์หิน ( LITHOGRAPH ) การพิมพ์ออฟเซท ( OFFSET ) ภาพพิมพ์กระดาษ 
( PAPER-CUT ) ภาพพิมพ์ครั้งเดียว ( MONOPRINT ) 
                4.4 แม่พิมพ์ฉลุ ( STENCIL PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีผ่านทะลุช่องของแม่พิมพ์ลงไป สู่ผลงานที่อยู่ด้านหลัง เป็นการพิมพ์ชนิดเดียวที่ได้รูปที่มีด้านเดียวกันกับแม่พิมพ์ ไม่กลับซ้าย //www.prc.ac.th/newart/webart/printing.html
เป็นขวา ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์ฉลุ ( STENCIL ) ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ( SILK SCREEN ) 
การพิมพ์อัดสำเนา ( RONEO ) เป็นต้น

2.              ศิลปประยุกต์ หรือประยุกต์ศิลป์  (Applied Arts)

                ประยุกต์ศิลป์ หมายถึงศิลปะที่แสดงความต้องการทางร่างกายและประโยชน์ใช้สอยโดยยึดคุณค่าได้จากประโยชน์การใช้งาน ความคงทนถาวรเป็นสำคัญ โดยมีความงามเป็นส่วนประกอบได้แก่ หัตถศิลป์ อุตสาหกรรมศิลป์ พาณิชย์ศิลป์ นิเทศศิลป์ และมัณฑนศิลป์

 //ebook.nfe.go.th/ebook/html/017/22.htm

1.              มัณฑนศิลป์ Decorative Art
     เป็นงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อการตกแต่ง สิ่งต่าง ๆ ให้เกิดความสวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้นได้แก่ การจัดตกแต่งภายในบ้าน อาคาร สถานที่ต่าง ๆ การตกแต่งภายนอก การจัดสวน การจัดนิทรรศการ การจัดบอร์ด ป้ายนิเทศการจัดแสดงสินค้า การแต่งกาย การแต่งหน้า การตกแต่งร้านค้า เป็นต้น ผู้สร้างสรรค์งาน เรียนว่า มัณฑนากร (Decorator) 
//www.prc.ac.th/newart/webart/decorate.html

2.              อุตสาหกรรมศิลป์ Industrial Art

                เป็นงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ (Product) สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้สวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น ด้วยวิธีการในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งมีการทำงานเป็นระบบ เป็นขั้นตอน มีมาตรฐาน มีการใช้เครื่องจักรกลเข้าช่วย ทำให้ต้นทุนต่ำ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆได้แก่ เครื่องยนต์ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอิเลคโทรนิค เฟอร์นิเจอร์ สุขภัณฑ์ ครุภัณฑ์ เสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย เครื่องอุปโภค บริโภคต่าง ๆ ตลอดจนถึงภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ด้วย ผู้สร้างสรรค์งาน เรียกว่า นักออกแบบ (Designer)
//www.prc.ac.th/newart/webart/industrial_art.html

3.  พาณิชย์ศิลป์ Commercial Art

                เป็นงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อสนับสนุนกิจการค้า และการบริการ เพื่อให้ประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายได้แก่ การออกแบบเครื่องหมายการค้า การออกแบบสิ่งพิมพ์ การออกแบบโฆษณา การออกแบบฉลากสินค้า การออกแบบจัดแสดงสินค้า ฯลฯ ผู้สร้างสรรค์งาน เรียกว่า นักออกแบบ (Designer)  //www.prc.ac.th/newart/webart/commerce.html

4.  การออกแบบ Design

                การออกแบบ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่น สามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน ความสำคัญของการออกแบบ มีอยู่หลายประการ กล่าวคือ

ความหมายของการออกแบบ

                การออกแบบเป็นกิจกรรมที่ควบคู่กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาโดยตลอด เพราะในการดำรงชีวิตมนุษย์จะต้องกำหนดวางแผนในขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่ มีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอได้มีผู้ให้ความหมายของคำว่า การออกแบบ ( Design ) " ไว้อยู่หลายความหมาย ด้วยกัน เช่น

การออกแบบ คือการสร้างผลงานขึ้นโดยไม่ได้ลอกเลียนของเดิมหรือความคิดเดิมที่มีการสร้างมาก่อน เพื่อสนองความต้องการในด้านประโยชน์ใช้สอยหรือความต้องการด้านอื่น ๆ

การออกแบบ คือการสร้างสรรค์ปรุงแต่งส่วนประกอบของศิลปะเช่น แสง เงา สี ลักษณะผิว ขนาด รูปร่าง เพื่อให้ได้รูปทรงใหม่ตามต้องการ เกิดประโยชน์ ในการใช้สอย และมี ความงาม

การออกแบบ คือการสร้างผลงานในรูป มิติและ มิติ ให้เกิดความสวยงามและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตามความเหมาะสมกับสภาพการณ์ต่าง ๆ

- การออกแบบ คือ การแก้ปัญหาหรือรู้หลักการในงานศิลปะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ใช้สอยและมีความงาม

การออกแบบจะเกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน แต่ที่มีความหมายมากกว่านั้นคือ การออกแบบคือสิ่งที่เจริญเติบโตมีส่วนสำคัญในการสร้าง ความหวัง ความฝัน ความต้องการและแรงบันดาลใจให้กับมนุษย์   //gotoknow.org/blog/tonyboss/155210

                กล่าวโดยสรุป คือ การออกแบบหมายถึง การถ่ายทอดความคิด เป้าหมาย และความต้องการเป็นรูปธรรม หรือผลงานที่ก่อให้เกิดคุณค่าทางประโยชน์ใช้สอยและความงามที่เป็นลักษณะของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ประการหนึ่ง รู้จักปรับปรุงแก้ไขผลงานที่มีอยู่เดิมให้เกิดคุณค่ายิ่งขึ้น

1.ในแง่ของการวางแผนการการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตามขั้นตอน อย่างเหมาะสม และประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ การวาง แผนการทำงานก็ได้ 
2. ในแง่ของการนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ ตรงกันอย่างชัดเจน ดังนั้น ความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจ ระหว่างกัน&

ศิลปะแบ่งเป็นประเภทใดบ้าง

1.1 จิตรกรรม(ภาพเขียน) 1.2 ประติมากรรม(ภาพปั้น) 1.3 สถาปัตยกรรม(งานก่อสร้าง) 1.4 วรรณกรรม(บทประพันธ์)

งานศิลปะออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่อะไรบ้าง จงอธิบายโดยละเอียด

1. จิตรกรรม (Painting) เป็นศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้สี แสง เงา และแผ่นภาพที่แบนราบเป็น 2 มิติ 2. ประติมากรรม (Sculpture) เป็นศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้วัสดุ และปริมาตรของรูปทรง

ประเภทของศิลปะกรรมประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

โดยถ้าจะแบ่งประเภทของงานศิลปกรรมอาจจะแบ่งประเภทของงานศิลปกรรมอาจจะจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทคือ.
วาดเส้น (Drawing) ... .
จิตรกรรม (Painting) ... .
ประติมากรรม (Sculpture).

นักวิชาการทางศิลปะแบ่งศิลปะออกเป็นกี่ประเภท

1. วิจิตรศิลป์ (Fine Art) หมายถึงศิลปะที่แสดงความต้องการทางด้านจิตใจและอารมณ์เป็นสำคัญ โดยถือเอาความรู้สึกจากงานนั้นเป็นคุณค่า 2. ศิลปประยุกต์ (Applied Art) หมายถึ งศิลปะที่สนองความต้องการทางด้านร่างกาย เศรษฐกิจ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก