สมรรถนะประจำสายงานของครูมีอะไรบ้าง

     

สมรรถนะที่ใช้ในการประเมินการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา นั้น มี 3 ประเภทคือ
       1. สมรรถนะหลัก
       2. สมรรถนะประจำสายงาน
      3. วินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ (มาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา  10+ 9 ข้อ)

          สมรรถนะ หลัก(Core Competency)  เป็นสมรรถนะร่วมที่ครูและ บุคลากรทางการศึกษาทุกคนต้องมีเพราะเป็นสมรรถนะพื้นฐานของบุคลากรที่จะส่งผล ให้การปฏิบัติงานในทุกตำแหน่งหน้าที่ประสบผลสำเร็จประกอบด้วย  4  สมรรถนะ ย่อย คือ
                1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์  หมายถึงการปฏิบัติงานด้วยความ มุ่งมั่น เพื่อให้งานสำเร็จ ถูกต้องสมบูรณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงานและพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพอย่างต่อ เนื่อง
               2.  การบริการที่ดี  หมายถึงความตั้งใจ ที่จะปรับปรุงระบบบริการให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้รับบริการ เช่น  นัก เรียน  ครู   ผู้ปกครองพึงพอใจ
              3.  การพัฒนาตนเอง  หมาย ถึง การศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ พร้อมกับติดตามศึกษาองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่  ๆ ในวงวิชาการและวิชาชีพ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
              4.  การทำงานเป็นทีม  หมายถึงความร่วม มือร่วมใจ สนับสนุน ส่งเสริม ช่วยเหลือ ให้กำลังใจแก่เพื่อนร่วมงาน มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้และมีภาวะผู้นำ-ผู้ตามที่ดี

          สมรรถนะ ประจำสายงาน(Functional Competency)หมายถึงสมรรถนะเฉพาะที่เกี่ยวกับการ ปฏิบัติงานของบุคลากรแต่ละตำแหน่ง เช่น ผู้ บริหาร ครูและ  ศึกษานิเทศก์ ทำให้สามารถปฏิบัติงานในสายงานนั้น ๆได้สำเร็จตามเป้าหมายซึ่งสมรรถนะประจำสายงานของครูนั้นประกอบด้วย  5  สมรรถนะ คือ
          1.  การจัดการเรียนรู้  หมาย ถึงความรู้ ความสามารถในการสร้างและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ความรู้ลึกเรื่องเนื้อหาสาระ เทคนิคกระบวนการจัดการเรียนรู้   การส ร้าง    การเลือก  การใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้และนวัตกรรมทางการศึกษา  ตลอดจนการวัดผลและ ประเมินผลการจัดการเรียนรู้
         2. การพัฒนาผู้เรียน  หมายถึง ความสามารถในการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์แก่ผู้เรียน ทั้งคุณธรรม จริยธรรม  ทักษะชีวิต   สุขภาพพลานามัย  ความ เป็นประชาธิปไตย   ความเป็นไทย รวมไปถึงการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
        3. การบริหารจัดการชั้นเรียน  หมายถึง ความสามารถในการกำกับดูแลชั้นเรียน  สร้างบรรยากาศในการจัดการ เรียนรู้   จัดทำข้อมูลสารสนเทศประจำชั้นและประจำวิชา
       4. การวิ เคราะห์  การสังเคราะห์  การวิจัย คือ ความสามารถในการคิดแยกแยะ ทำความเข้าใจในประเด็นต่าง ๆแล้ว สรุปเป็นกฏเกณฑ์หลักการ  สามารถรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน
      5. การสร้างความร่วมมือกับชุมชน  หมายถึง การมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน เพื่อดึงชุมชนให้เข้ามาร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน  ทั้ง นี้ เพื่อให้เกิดการสนับสนุน ส่งเสริม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

                 ทั้งสมรรถนะ หลักและสมรรถนะประจำสายงาน  ปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้เป็นเกณฑ์ใน การประเมินครูและบุคลากรทางการศึกษาและในอนาคตอีกไม่นานนี้ครูและบุคลากรทาง การศึกษาจะต้องได้รับการประเมินเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งสมรรถนะ        คือ สมรรถนะเฉพาะสาขาวิชา  เช่น  ครูวิทยาศาสตร์    ครูคณิตศาสตร์  ครูการงานอาชีพ ฯ     จะมี สมรรถนะเฉพาะที่แตกต่างกัน   การประเมินก็จะต่างกันด้วย  ซึ่งขณะนี้ ก.คศ.ได้จัดทำแล้วกำลังรอพิจารณาอนุมัติ

               สมรรถนะจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน ต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและจริงจัง  แต่ทั้งนี้ทั้ง นั้นเราต้องประเมินตนเองก่อนว่า  เรามีจุดเด่น จุดด้อยในสมรรถนะใด    ต้องการจะพัฒนาอย่างไร    โดย การจัดทำเป็นแผนพัฒนาตนเองหรือ ID – PLAN (Individual  Plan) ทั้งระยะสั้น  (1 ปี)  ระยะยาว  (3 ปี)    เพื่อเสนอต่อผู้บังคับบัญชาให้รับทราบและขอ รับการสนับสนุน   และเมื่อใดก็ตามถ้าครูและบุคลากรทางการศึกษา ทุกคนในองค์กรมีสมรรถนะในด้านต่าง ๆ สมบูรณ์ ครบถ้วนแล้ว องค์กรนั้นจะเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแน่นอน

แหล่งข้อมูล:ระวีวรรณ  โพธิ์วังและคณะ.รวมบท ความการพัฒนาสมรรถนะครู  และ บุคลากรทางการศึกษา.นครปฐม:เพชรเกษมการพิมพ์, 2549.

สมรรถนะ เป็นคุณลักษณะพื้นฐานของบุคคล
ซี่งมีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผลหรือเป็นไปตามเกณฑ์
หรือการมีผลงานที่โดดเด่นกว่าในการทำงานหรือสถานการณ์นั้น
สมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษา (Teachers and personnels competency)
หมายถึง พฤติกรรมซึ่งเกิดจากการรวมความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill)
คุณลักษณะ(Character) ทัศนคติ (Attitude) และแรงจูงใจ (Motivation)
ของบุคคล และส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างโดดเด่น
สมรรถนะ
มีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1. ความรู้ (Knowledge)
2. ทักษะ (Skills) 
3. คุณลักษณะส่วนบุคคล (Attributes)
สมรรถนะ มี 2 ประเภท คือ
1. สมรรถนะหลัก (Core Competency)
2. สมรรถนะประจำสายงาน (Functional Competency)
สมรรถนะหลัก
1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์
2. การบริการที่ดี
3. การพัฒนาตนเอง
4. การทำงานเป็นทีม

สมรรถนะประจำสายงาน
สมรรถนะประจำสายงานเป็นคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่ทำให้บุคลากรในองค์กร
ปฏิบัติงานได้ผลและแสดงคุณลักษณะพฤติกรรมได้เด่นชัดเป็นรูปธรรม
โดยเป็นคุณลักษณะเฉพาะสำหรับสายงานครู คือ
1. การออกแบบการเรียนรู้
2. การพัฒนาผู้เรียน
3. การบริหารจัดการชั้นเรียน

ที่มา : //www.eduzones.com/

สมรรถนะของครูคืออะไร

สรุปได้ว่า สมรรถนะภาวะผู้น าครู หมายถึง คุณลักษณะและพฤติกรรมของครูที่ แสดงถึงความเป็นผู้ใหญ่ที่เหมาะสมกับความเป็นครู มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน ริเริ่มการปฏิบัติที่น าไปสู่ การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนานวัตกรรม ปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นภายใต้ระบบ ก าหนด ...

สมรรถนะประจำสายงานครูเป็นอย่างไร อธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

สมรรถนะประจำสายงานเป็นคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่ทำให้บุคลากรในองค์กรปฏิบัติงานได้ผลและแสดงคุณลักษณะพฤติกรรมได้เด่นชัดเป็นรูปธรรม โดยเป็นคุณลักษณะเฉพาะสำหรับสายงานครู คือ 1. การออกแบบการเรียนรู้ 2. การพัฒนาผู้เรียน.
การมุ่งผลสัมฤทธิ์.
การบริการที่ดี.
การพัฒนาตนเอง.
การทำงานเป็นทีม.

สมรรถนะครู มีกี่ประเภท

สมรรถนะหลัก (Core Competency) 5 ประการ ได้แก่ การบริการที่ดี การพัฒนาตนเอง การทำงานเป็นทีม จริยธรรมและจรรยาบรรณครู

สมรรถนะใดต่อไปนี้ คือความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของครูให้มีคุณภาพ

สมรรถนะที่1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน (Working Achievement Motivation) หมายถึง ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้มีคุณภาพ ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์โดยมีการวางแผน กาหนดเป้าหมาย ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน และปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพและผลงานอย่าง ต่อเนื่อง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก