คนที่เป็นโรคซึมเศร้าอาการเป็นยังไง

อาการโรคซึมเศร้า ในวัยรุ่น

อาการโรคซึมเศร้า : วัยรุ่นอาจไม่สามารถบอกได้ว่ามีภาวะซึมเศร้า หรือมีอารมณ์เศร้า แต่ภาวะเศร้าในวัยรุ่นอาจแสดงออกมาในรูปแบบอาการอื่นๆ ได้แก่

  • รู้สึกแย่ เศร้า หงุดหงิด หรือสิ้นหวัง
  • รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง
  • ไม่สนใจหรือไม่มีความสุขเวลาทำอะไร (ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่เคยชอบ)
  • รู้สึกแย่กับตัวเอง
  • นอนไม่หลับหรือหลับมากไป
  • จดจ่อกับอะไรได้ยาก เช่น อ่านหนังสือ
  • เบื่ออาหาร หรือ กนมากกว่าปกติ
  • พูดหรือทำอะไรช้า หรือกระวนกระวายมาก

อาการโรคซึมเศร้า

>>> แบบประเมินซึมเศร้าสำหรับวัยรุ่น (CES-D) <<<

ใช้เพื่อประเมินตนเองเบื้องต้น ไม่ใช่การวินิจฉัยโรค

>>> ทำอย่างไรเมื่อฉันเป็นโรคซึมเศร้า <<<

​กรณีตัวอย่าง วัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้า

ตุ้ยอายุ 15 ปี เล่นเกมทั้งวัน ไม่สนใจการเรียน ทะเลาะกับแม่บ่อยเพราะเรื่องเล่นเกม

พอสอบถามประวัติโดยละเอียด พบว่าตุ้ยรู้สึกเบื่อ ไม่อยากทำอะไร การเล่นเกมบางทีก็เบื่อ แต่ก็ดีกว่าไม่มีอะไรทำ ตุ้ยนอนไม่หลับมานานประมาณหนึ่งเดือน เบื่ออาหารบางครั้งรู้สึกหงุดหงิดง่าย เคยชอบเตะบอลกับเพื่อนแต่ปัจจุบันก็ไม่ได้ไปเล่นแล้วเพราะรู้สึกเบื่อ เซ็งๆ ไม่ส่งงานครู เพราะไม่มีสมาธิในการทำงาน เคยมีความรู้สึกอยากจะหลับไป ไม่ต้องตื่นขึ้นมาอีก แต่ไม่มีความคิดจะฆ่าตัวตาย

ตุ้ยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคซึมเศร้า ได้รับการรักษาด้วยยา และการทำจิตบำบัด ตุ้ยมีอาการดีขึ้นหลังจากได้รับการรักษาไปหนึ่งเดือน อาการเศร้าหายไป สามารถกลับมาเรียนได้ตามปกต
 

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

สาเหตุของโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้า มักไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง แต่มักเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม โดยพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ในครอบครัวที่มีประวัติโรคซึมเศร้าหรือโรคจิตเวชมักมีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป เหตุการณ์/ความเครียดในชีวิต การเผชิญ ความรุนแรงทางจิตใจมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าได้มากกว่าคนทั่วไป

ปัจจัยเสี่ยงของโรคซึมเศร้า

  • พันธุกรรม จากการศึกษาพบว่าเด็กที่พ่อแม่มีภาวะซึมเศร้า จะมีอัตราการเกิดภาวะซึมเศร้าได้สูงกว่าเด็กทั่วไป
  • สารเคมีในสมอง จากการศึกษาพบว่าผู้ป่ วยภาวะซึมเศร้าจะมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองที่ผิดปกติ ท าให้ส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ ร่างกาย และจิตใจ ซึ่งในปัจจุบันยาที่ใช้รักษาภาวะซึมเศร้าจะมีหน้าที่โดยตรงในการปรับสารเคมีเหล่านี้ให้อยู่ในภาวะสมดุล
  • ปัจจัยแวดล้อมภายนอก หรือ ปัญหาทางจิตสังคม เช่น ปัญหาการเลี้ยงดู ความรุนแรงในครอบครัว การเลี้ยงดูลูกเชิงลบ ใช้คำตำหนิต่อว่าหรือการใช้อารมณ์ในการดูแลบุตร เกิดเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ เช่น การสูญเสียบุคคลสำคัญ หรือ การหย่าร้างของพ่อแม่ การถูกทารุณกรรมหรือการถูกทอดทิ้ง การถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียนหรือถูกกีดกันออกจากสังคม เป็นต้น
  • มุมมองต่อตนเอง และลักษณะการแก้ไขปัญหา พบว่าเด็กที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ และเด็กที่มีความวิตกกังวลสูง จะมีอัตราการเกิดภาวะซึมเศร้าได้สูงกว่าเด็กทั่วไป ลักษณะการแก้ไขปัญหา โดยใช้วิธีหนีปัญหา โทษตัวเองซ้ำๆ และมองโลกในแง่ร้ายก็มีแนวโน้มทำให้มีโอกาสเป็นภาวะซึมเศร้าได้สูงขึ้น
  • ปัจจัยโรคทางกายอื่นๆ โรคทางกายหรือยาบางชนิด ส่งผลต่อฮอร์โมน และสารเคมีในสมองทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ นอกจากนี้เด็กที่มีภาวะโรคเรื้อรัง ไม่สามารถใช้ชีวิตตามวัยได้ตามปกติก็มีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าได้ด้วย

หากคุณกำลังเป็น โรคซึ่งเศร้า อย่าตื่นตกใจเกินไป

โรคซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายได้

ปรึกษาเราได้ ฟรี ที่ สายด่วนสุขภาพจิต 1323

ที่มา คู่มือปฏิบัติการดูแลวัยรุ่นที่มีภาะวะซึมเศร้า
สำหรับบุคคลากรสาธารณสุขและบุคคลากรทางการศึกษา
ตามแนวทางการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า

โดย ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย
จัดพิมพ์โดย สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

ภาพประกอบ เอกสารแผนพับ ภาวะซึมเศร้า..คืออะไร

โดย สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

อาการโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า (Depression) หนึ่งในอาการทางใจที่คนนับล้านบนโลกกำลังเผชิญ ด้วยตัวเลขของผู้คนมากกว่า 300 ล้านคน หรือเกือบ 4% ของประชากรโลกที่กำลังประสบปัญหาจากอาการ โรคซึมเศร้า ในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอยู่ที่ 1.5 ล้านคน ซึ่งเป็นสถิติที่ชี้ให้เห็นว่าโรคซึมเศร้าอยู่ใกล้เรากว่าที่คิด และแทรกซึมอยู่ในคนทุกช่วงวัยโดยไม่รู้ตัว บทความนี้จึงนำวิธีสังเกตโรคซึมเศร้าและวิธีรักษาโรคซึมเศร้าด้วยตัวเองมาฝากกัน

โรคซึมเศร้าคืออะไร มีแบบไหนบ้าง ?

โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีความผิดปกติจากสมองในส่วนของความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรมและร่างกาย ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้แสดงอาการร่วมกัน แม้ความวิตกกังวลจะเป็นหนึ่งในปัจจัยเร่งที่ทำให้เกิดอาการโรคซึมเศร้า แต่แท้จริงแล้วสาเหตุหลักที่ส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้ามีอยู่ด้วยกัน ดังนี้

  • กรรมพันธุ์
    สำหรับใครที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า มีอาการที่เข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีอาการทางจิต มีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนทั่วไปประมาณ 20% หรือถ้าใครที่มีฝาแฝดเป็นโรคซึมเศร้า คู่แฝดอีกคนมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าสูงถึง 60-80%

  • สภาพแวดล้อม
    สังคมหรือสภาพแวดล้อมที่ตึงเครียดจนเกินไป ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยสะสมอาการโรคซึมเศร้าได้โดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมในครอบครัว และบริบทสังคมในที่ทำงานที่มีความกดดันสูง ส่งผลต่อความคิดและพฤติกรรมจนเกิดเป็นความรู้สึกเศร้า หรือมีความคิดท้อแท้และน้อยใจตัวเองนานเข้า จนกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ในที่สุด

  • อาการโรคซึมเศร้าจากลักษณะนิสัย
    หากใครที่มีนิสัยพื้นฐานความคิดชอบมองตัวเองในแง่ลบ มองโลกในแง่ร้าย บุคคลเหล่านี้หากเจอเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบจิตใจ เช่น ตกงาน หย่าร้าง หรือโดนตำหนิบ่อยครั้ง ก็มีโอกาสที่ทำให้พัฒนาความคิดไปสู่โรคซึมเศร้าได้ง่ายขึ้น

  • สารเคมีในสมอง
    โรคซึมเศร้านอกจากจะเป็นเรื่องของสภาพจิตใจแล้ว ในด้านของร่างกายก็มีผลต่อโรคซึมเศร้าด้วยเช่นกัน โดยอาการของโรคซึมเศร้า ยังเป็นผลมาจากสารเคมีในสมองมีการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดโรคซึมเศร้าขึ้นได้ โดยเฉพาะสารสำคัญอย่าง ซีโรโทนิน (Serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephirne) ความผิดปกติของสารเหล่านี้ทำให้สมดุลในสมองเสียจนนำมาสู่โรคซึมเศร้า

ทั้งนี้ โรคซึมเศร้าสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท ตามลักษณะอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้

ประเภทของโรคซึมเศร้าอาการ
โรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น (Major Depression) อาการหลักของคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า โดยอาการโรคซึมเศร้าพื้นฐาน คือ รู้สึกท้อแท้ เศร้า นอนน้อยหรือมากจนเกินไป น้ำหนักขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็ว สำหรับผู้ที่เข้าข่ายโรคซึมเศร้ามักมีอาการซึมเศร้าติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์
โรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมีย (Dysthymia Depression) อาการโรคซึมเศร้าที่มีความรุนแรงน้อยกว่าโรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น สังเกตได้จากไม่อยากอาหารหรือกินมากเกินไป นอนหลับน้อยหรือมากเกินไป อ่อนแรง รู้สึกสิ้นหวัง แต่ความรุนแรงของอาการจะน้อยกว่า โดยคนที่เป็นโรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมียจะมีอาการอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี
โรคซึมเศร้าก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Depression) สภาวะร่างกายที่เปลี่ยนแปลงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ โดยเฉพาะช่วงก่อนมีประจำเดือนสำหรับผู้หญิงบางคนที่จะมีอาการคล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้า เช่น รู้สึกเศร้า อ่อนไหวง่าย รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย พฤติกรรมการนอนที่ผิดแปลกไปจากเดิม เป็นต้น โดยโรคซึมเศร้าก่อนมีประจำเดือนอาการจะดีขึ้นหลังจากมีประจำเดือน 2-3 วัน

นอกจากนี้ยังมีวิธีเช็กอาการโรคซึมเศร้าด้วยตัวเอง ที่อาจบ่งบอกได้ว่ากำลังเผชิญกับโรคซึมเศร้าอยู่ ซึ่งหากใครที่มีอาการเหล่านี้ครบหรือเกิน 5 ข้อ และมีอาการติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ รวมถึงมีความรู้สึกเหล่านี้ตลอดเวลา แสดงว่าคุณมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า

  1. มีความรู้สึกเศร้า เบื่อ หรือหงุดหงิดตลอดทั้งวัน

  2. สนใจในสิ่งรอบตัวหรือกิจกรรมที่เคยชอบน้อยลง

  3. พฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป น้ำหนักเพิ่มหรือลดลงอย่างมาก

  4. นอนไม่หลับหรือหลับมากผิดปกติ

  5. กระวนกระวายหรือเชื่องช้าลงอย่างเห็นได้ชัด

  6. อ่อนแรง ไร้เรี่ยวแรง ไม่อยากทำอะไรเลย

  7. รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า โทษตัวเองในทุกเรื่อง

  8. สมาธิลดลง ใจลอย มีปัญหาเรื่องการตัดสินใจ

  9. คิดเรื่องความตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่บ่อยครั้ง

วิธีรักษาโรคซึมเศร้า บรรเทาด้วยตัวเองได้ไหม ?

การจัดการความรู้สึกเศร้า หรืออาการดาวน์ด้วยตัวเองเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกๆ แต่ในวันที่จิตตกหรืออ่อนแอจนเกินไป สำหรับใครที่รู้สึกไม่ค่อยไหว การได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญหรือนักจิตวิทยาโดยตรงคือสิ่งที่คุณไม่ควรมองข้าม ซึ่งปัจจุบันได้มีช่องทางปรึกษาออนไลน์ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะความเศร้าหรือสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าอย่างใกล้ชิด อย่าง iSTRONG บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตออนไลน์ (Mental Health Care Service) บนแอปพลิเคชัน Cigna Anyware App ที่คุณสามารถเลือกแชท หรือวิดีโอคอลพูดคุยกับนักจิตวิทยามืออาชีพที่มีใบประกอบวิชาชีพรับรองแบบส่วนตัวโดยตรง อีกหนึ่งในบริการที่พร้อมเคียงข้างและเข้าถึงทุกสุขภาพคนไทย รองรับทั้งลูกค้าประกันแบบกลุ่มและรายเดี่ยว ทั้งยังมีแบบประเมินทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับโรค เช่น ความเครียดและภาวะหมดไฟ (Burnout) ความอดทนและพยายาม ความฉลาดทางอารมณ์ เป็นต้น ก่อนจะนำไปสู่วิธีรักษาโรคซึมเศร้า โดยแบ่งออกตามระดับอาการ ดังนี้

  • วิธีรักษาโรคซึมเศร้าด้วยยา การรับประทานยาจะเข้าไปช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมองให้ทำงานเป็นปกติ ในระยะแรกยาจะเห็นผลช้า มีผลข้างเคียงมาก แต่เมื่อสารเคมีในสมองปรับตัวแล้ว อาการจะดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามไม่ควรหยุดยาเมื่อรู้สึกดีขึ้น ควรรับประทานติดต่อกัน 6-12 เดือน เพื่อป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้าซ้ำ

  • วิธีรักษาโรคซึมเศร้าทางจิตใจ สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อปรับแนวคิดและพฤติกรรมให้สมดุล การปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โดยการหาเพื่อนสนิทที่พร้อม ทำความเข้าใจต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจะช่วยปรับตัวต่อบริบทรอบตัวได้ดีขึ้น รวมถึงการบำบัดจิตเชิงลึก วิธีนี้ต้องอาศัยแพทย์และนักจิตเวช ร่วมกันบำบัดคลายปมที่อยู่ลึกภายในจิตใจของผู้ป่วยอันเป็นที่มาของโรคซึมเศร้า

  • วิธีรักษาโรคซึมเศร้าด้วยพลังบวก เพราะโรคนี้สามารถเปลี่ยนความเศร้าให้เป็นพลังได้ โดยเริ่มต้นจากการเพิ่มความคิดด้านดีที่เป็นพลังบวกให้มาก หากไม่รู้จะหาความคิดแบบนั้นจากไหน ทางเราแนะนำให้ฟัง podcast สร้างแรงบันดาลใจ หรือหาบทความดีๆ เพื่อกระตุ้นความคิดที่ดีให้ทำงานตลอดทั้งวัน

รวมถึงการหากิจกรรมอื่นๆ ที่ชอบทำ เพื่อหาแรงบันดาลใหม่ๆ จุดไฟให้พลังชีวิตได้ลุกโชนอีกครั้ง! เพราะการค่อยๆ ปรับพฤติกรรมทีละนิดก็สามารถช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ หรือลองหันไปออกกำลังกายก็ช่วยกระตุ้นโดพามีน หรือสารแห่งความสุขได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ถึงอาการจะเศร้าแต่โรคซึมเศร้าไม่เศร้าอย่างที่คิด เพียงแค่เข้าใจและเรียนรู้ก็สามารถอยู่ร่วมและมีโอกาสหายได้

ดาวน์โหลด หรืออ่านรายละเอียด Cigna Anywhere App เพิ่มเติม Click

คนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีอาการอย่างไร

Log In.
มีอารมณ์ซึมเศร้า (เด็กหรือวัยรุ่นอาจมีอาการหงุดหงิด โกรธง่าย).
เบื่อ หมดความสนใจหรือความสุขในการทำกิจกรรมต่างๆ.
นอนไม่หลับ หรือหลับๆตื่นๆหรือหลับมาก.
เหนื่อยง่ายหรือไม่ค่อยมีแรง.
เบื่ออาหารหรือกินมากเกินไป.
รู้สึกไร้ค่า รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง.
ไม่มีสมาธิหรือลังเลใจไปหมด.
พูดช้า ทำอะไรช้าลงหรือกระวนกระวาย ไม่อยู่นิ่ง.

คนเป็นโรคซึมเศร้าน่ากลัวไหม

โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่อันตรายมาก ดังนั้นเราจึงไม่ควรมองข้าม หากมีอาการเศร้าหรือมีอาการที่เข้าข่ายโรคนี้ ให้รีบพบจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัยและหาทางป้องกันโดยเร็ว สิ่งสำคัญ คือการที่ผู้ป่วยจะต้องดูแลตนเอง ทั้งร่างกายและจิตใจควบคู่ไปด้วย และหากคุณมีคนที่รักป่วยเป็นโรคนี้ล่ะก็ อย่าลืมที่จะมอบความรักและให้กำลังใจเขาเหล่านั้น ให้ ...

โรคซึมเศร้ามีอะไรบ้าง

อาการของโรคซึมเศร้า.
มองโลกในแง่ร้าย.
มีอาการสิ้นหวัง ซึมเศร้า หดหู่.
คิดฆ่าตัวตาย.
รู้สึกไม่ค่อยมีแรง.
มีความเชื่องช้าทั้งการเคลื่อนไหวของร่างกาย และการสนทนา.
ชอบแยกตัว ไม่ต้องการเข้าร่วมสังคม.
ขาดความสามารถในการตัดสินใจ.

สาเหตุของโรคซึมเศร้าเกิดจากอะไร

โดยสาเหตุของโรคซึมแบ่งเป็น 4 ปัจจัยหลัก ดังนี้ ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง กรรมพันธุ์ เช่น มีประวัติญาติพี่น้อง/คนในครอบครัวป่วยโรคซึมเศร้า สภาพแวดล้อมที่มีความกดดันหรือทำให้เกิดความเครียดสะสม ลักษณะนิสัย การมองโลกในแง่ร้ายหรือคิดลบทุกแง่มุม มีโอกาสพัฒนาความคิดไปสู่โรคซึมเศร้าได้ง่าย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก