หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอะไรบ้าง

บรรจุภัณฑ์มีบทบาทสำคัญมากขึ้นต่อผู้ผลิต ซึ่งเป็นหน้าที่ของนักออกแบบที่ต้องคำนึงถึงศาสตร์และศิลป์สำหรับใช้แก้ ปัญหา ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์แต่ละด้านให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และถูกใจผู้บริโภคมากที่สุด เพื่อให้สามารถสู้คู่แข่งทางการค้าในตลาดได้อย่างมีคุณภาพ 


1. สำรวจและทำความเข้าใจความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
หลักการ และขั้นตอนนี้ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการ SME, OTOP มักพลาด และลืมกันอยู่เป็นประจำ ก็คือการคิดเพียงแค่ว่า ฉันมีสินค้าแล้ว และฉันต้องการจะขายสินค้าของฉัน แต่ลืมมองไปว่าสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ คืออะไร ? สินค้าของเราตอบโจทย์ลูกค้าได้มากน้อยแค่ไหน และที่สำคัญที่สุด ก็คือ ในตลาดปัจจุบันนี้มีสินค้าที่ตอบโจทย์แก่ลูกค้าเหล่านี้บ้างหรือยัง ? 

หากเราตอบคำถามเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน รวมถึง หาความแตกต่างและจุดยืนในตลาด และในมุมมองของลูกค้าได้ ก็จะทำให้เราสามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ออกมาได้อย่างโดดเด่น ตรงใจลูกค้าได้อย่างแน่นอน

2. องค์ประกอบการออกแบบ
องค์ประกอบบนบรรจุภัณฑ์มีอยู่หลากหลายประเภท ณ จุดขายที่มีสินค้าเป็นร้อยให้เลือก องค์ประกอบต่างๆ ที่ออกแบบไว้บนบรรจุภัณฑ์ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อบรรจุภัณฑ์ และสินค้านั้น รายละเอียด หรือส่วนประกอบบนบรรจุภัณฑ์จะแสดงออกถึงจิตสำนึกของผู้ผลิตสินค้า และสถานะของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งสามารถขยับเป็นสื่อโฆษณาระยะยาวได้ ส่วนประกอบที่สำคัญบนบรรจุภัณฑ์อย่างน้อยที่สุดควรประกอบด้วย
          1. ชื่อสินค้า
          2. ตราสินค้า
          3. สัญลักษณ์ทางการค้า
          4. รายละเอียดของสินค้า
          5. รายละเอียดส่งเสริมการขาย
          6. รูปภาพ
          7. ส่วนประกอบของสินค้า
          8. ปริมาตรหรือปริมาณ
          9. ชื่อผู้ผลิตและผู้จำหน่าย (ถ้ามี)
         10. รายละเอียดตามข้อบังคับของกฎหมาย เช่น วันผลิต วันหมดอายุ เป็นต้น

3. ตราสินค้า
 ตราสินค้า (Brand) และสัญลักษณ์ทางการค้า (Logo) จากที่กล่าวมาแล้วจะพบว่าตราสินค้า เป็นการรวมสิ่งที่มีคุณค่า (Set of Values) ของตัวบรรจุภัณฑ์ไว้ในความทรงจำของกลุ่มเป้าหมาย ตราสินค้าที่ดีจะสื่อให้ทราบถึงกลุ่มบริโภคสินค้าช่องทางการจัดจำหน่ายของสินค้า และความรู้สึกที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ สืบเนื่องจากตราสินค้ามีหน้าที่ทำให้ผู้ซื้อ / กลุ่มเป้าหมาย จำสินค้าได้ โดยมีสัญลักษณ์ทางการค้า และการออกแบบกราฟฟิกผนวกอยู่บนบรรจุภัณฑ์ เราจึงกล่าวได้ว่าสัญลักษณ์ทางการค้าเป็นส่วนหนึ่งของตราสินค้าที่สำคัญที่สุด

4. การวางแผน
วางแผนได้ 2 วิธี คือ
- ปรับปรุงพัฒนาให้ฉีกแนวแตกต่างจากคู่แข่ง
- ปรับปรุงพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันโดยตรงได้ด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ดีกว่า หรือด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า การตั้งเป้าหมาย และวางแผนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ดังกล่าว ย่อมต้องศึกษาสถานภาพ บรรจุภัณฑ์ ของคู่แข่ง พร้อมกับล่วงรู้ถึงนโยบายของบริษัทตัวเอง และกลยุทธ์การตลาดที่จะแข่งกับคู่แข่งขัน

5. รูปทรงลักษณะบรรจุของบรรจุภัณฑ์
นอกจากความสวยงามแล้ว ควรคำนึงถึงความคงทนในการขนส่ง ภาพลักษณ์ของสินค้า การสร้างความน่าสนใจ ง่ายต่อการใช้งาน มีเอกลักษณ์แต่สามารถใช้งานได้จริง

การออกแบบผลิตภัณฑ์

- ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบผลิตภัณฑ์

    1.ความจำเป็น (Needs)

     2.จุดมุ่งหมาย (Telesis)

     3.การสื่อความหมาย (Association)

     4.สุนทรีย์ ความงาม (Aesthetic)

     5.วิธีการ (Method)

- ความสําคัญของการออกแบบผลิตภัณฑ์

     1. ความสำคัญ ในด้านคุณค่าทาง ศิลปะ งานออกแบบที่ดีทำให้ผลิตภัณฑ์ มีความงามดึงดูดใจ สามารถตอบสนอง รสนิยมของผู้บริโภคได้ 
     2. มีประสิทธิภาพทางอุตสาหกรรม มีการเลือกวัสดุที่ดีเพื่อนำเข้าสู่ กระบวน การผลิตที่มีประสิทธิภาพลงทุนน้อย แต่มีปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น 
     3. มีคุณภาพทางการบริโภค ผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบที่ดี มีการใช้วัสดุที่ดีมีกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้ผลิตภัณฑ์มีความคงทนและ มีความปลอดภัยในการใช้สอย 
     4. มีศักยภาพในการแข่งขันทางพาณิชย์ ผลิตภัณฑ์ที่มีความงาม ความ คงทนและความปลอดภัยจะเป็นที่ต้องการของตลาดทำให้มียอดขายสูงสามารถแข่งขัน ทางการค้ากับผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันของบริษัทอื่น
     5. มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เมื่อบริษัทมีกำไรจากการขายผลิตภัณฑ์ ที่มีการออกแบบที่ดี บริษัทจะนำผลกำไรมาลงทุนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยการ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมหรือสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่คล้ายคลึงกับผลิตภัณฑ์เดิม 
     6. มีศักยภาพในการรักษาลูกค้าเดิม การปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมหรือการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกี่ยวพันกันขึ้นด้วยการออกแบบที่ดีจะช่วยให้บริษัทสามารถรักษาลูกค้าเดิมไว้ได้ ในขณะเดียวกันบริษัทยังสามารถดึงดูดลูกค้าใหม่ที่มีรสนิยมอย่างเดียวกันได้ด้วย

หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์

     เป็นกิจกรรมของมนุษย์ ที่ควบคู่กับการดำรงชีวิต  เพราะในการดำรงชีวิตของมนุษย์นั้น  จะต้องมีการกำหนด มีการวางแผนเป็นขั้นตอนต่างๆ  เพื่อให้บังเกิดความเหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ 

ประเภทของการออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น

     งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ 

     งานออกแบบครุภัณฑ์ 

     งานออกแบบเครื่องสุขภัณฑ์ 

     งานออกแบบเครื่องใช้สอยต่างๆ 

     งานออกแบบเครื่องประดับ อัญมณี 

     งานออกแบบเครื่องแต่งกาย 

     งานออกแบบภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ 

     งานออกแบบผลิตเครื่องมือต่าง ๆ ฯลฯ

หลักการพื้นฐานในการออกแบบผลิตภัณฑ์

     1. ความเป็นหน่วย (Unity) 
ในการออกแบบ ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงงานทั้งหมดให้อยู่ในหน่วยงานเดียวกันเป็นกลุ่มก้อน หรือมีความสัมพันธ์กันทั้งหมดของงานนั้นๆ และพิจารณาส่วนย่อยลงไปตามลำดับในส่วนย่อยๆก็คงต้องถือหลักนี้เช่นกัน

     2. ความสมดุลหรือความถ่วง (Balancing) 
เป็นหลักทั่วๆไปของงานศิลปะที่จะต้องดูความสมดุลของงานนั้นๆ ความรู้สึกทางสมดุลของงานนี้เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในส่วนของความคิดในเรื่องของความงามในสิ่งนั้นๆ มีหลักความสมดุลอยู่ 3 ประการ

  •      2.1 ความสมดุลในลักษณะเท่ากัน (Symmetry Balancing)

  •      2.2 ความสมดุลในลักษณะไม่เท่ากัน (Nonsymmetry Balancing)

  •      2.3 จุดศูนย์ถ่วง (Gravity Balance)

     3. ความสัมพันธ์ทางศิลปะ ( Relativity of Arts) 
ในเรื่องของศิลปะนั้น เป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณากันหลายขั้นตอนเพราะเป็นเรื่องความรู้สึกที่สัมพันธ์กัน ได้แก่

  •      3.1 การเน้นหรือจุดสนใจ (Emphasis or CentreofInterest)

  •      3.2 จุดสำคัญรอง ( Subordinate) 

  •      3.3 จังหวะ ( Rhythem) 

  •      3.4 ความต่างกัน ( Contrast) 

  •      3.5 ความกลมกลืน ( Harmomies)

ลักษณะของการออกแบบผลิตภัณฑ์

     1. แบบ 2 มิติ เป็นการออกแบบที่มีลักษณะเป็นภาพวาดลายเส้น(Drawing) ภาพระบายสี(Painting) ภาพถ่าย(Pidture) แบบร่าง(Sketch) และแบบที่มีรายละเอียด(Draft) เช่น แบบก่อสร้าง ภาพพิมพ์ ภาพเขียน

     2. แบบ 3 มิติ เป็นการแสดงแบบจำลองจากของจริง มีรายละเอียดของงานชัดกว่า 3 มิติ สามารถเห็นทั้งด้านกว้าง ด้านยาว และด้านลึก

- มิติในการออกแบบ

     1. การออกแบบ 2 มิติ คือ การออกแบบที่เขียนลงบนแผ่นกระดาษ หรือวัสดุที่มีพื้นระนาบเรียบ มีความกว้าง ยาว สูง ต่ำ มความลึกสมจริง เช่น

  •      1.1 รูปทรงธรรมชาติ

  •      1.2 เส้นและทิศทางของเส้นต่างๆ

  •      1.3 ความหนักเบาของเส้น

  •      1.4 ขนาดของรูปทรง

  •      1.5 ความคมชัด

  •      1.6 การซ้อนกันของรูปทรง

  •      1.7 ความเข้มของสี

  •      1.8 ลักษณะพื้นผิว

  •      1.9 เส้นเดินทาง

     2. การออกแบบ 3 มิติ คือ การออกแบบรูปทรงที่มีปริมาตร มีทั้ง 3 ด้าน ได้แก่  กว้าง ยาว และสูง การออกแบบงาน 3 มิติควรคำนึงถึงสิ่งสำคัญ 3 ประการ

  •      2.1 รูปทรง

  •      2.2 ปริมาตร

  •      2.3 ลักษณะพื้นผิว

การออกแบบผลิตภัณฑ์มีหลักการอย่างไร

หลักการและแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นการรวมกันขององค์ประกอบในงานออกแบบ สร้างสรรค์ทั้งทางด้านศิลปะ ความงาม ที่ค านึงถึงปัจจัยด้านการวิศวกรรมเพื่อการใช้สอย ความ แข็งแรง ปลอดภัย วัสดุ ผสานกับศาสตร์วิเคราะห์พฤติกรรมผู้เกี่ยวข้อง(ผู้ใช้ ผู้ผลิต และผู้ขาย) ด้านการตลาด และผลกระทบโดยรวมตั้งแต่การคิด การผลิต จ าหน่าย การใช้ ...

ข้อใดเป็นหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์

5 หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์.
1. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ... .
2. กำหนดชื่อตราสินค้า ... .
3. วัสดุที่ใช้ผลิตในการออกแบบผลิตภัณฑ์ และ บรรจุภัณฑ์ ... .
4. รูปทรงลักษณะบรรจุของบรรจุภัณฑ์ ... .
5. การออกแบบกราฟิก.

หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์มีทั้งหมดกี่อย่าง อะไรบ้าง?

รูปแบบการออกแบบผลิตภัณฑ์.
1. รูปแบบมาก่อนประโยชน์ใช้สอย(Function follows form) ... .
2. ประโยชน์ใช้สอยมาก่อนรูปแบบ(Form follows function) ... .
3. การตลาดมาก่อนออกแบบ (Design follow marketing) ... .
4. อารมณ์ความรู้สึกมาก่อนรูปแบบ (Form follows emotion) ... .
5. รูปแบบนิยมความน้อย (Minimal style) ... .
6. รูปแบบอนาคตกาล (Futuristic Style).

หลักการออกแบบ 5 ข้อ มีอะไรบ้าง

การออกแบบงานทัศนศิลป์ นิยมใช้หลักองค์ประกอบการทัศนศิลป์เป็นแนวทางในการสร้าง 5 ประการ ได้แก่ เอกภาพ ดุลยภาพ จุดเด่น ความกลมกลืน และความขัดแย้ง โดยสามารถวิเคราะห์การใช้ธาตุและ หลักการออกแบบในงานทัศนศิลป์5 ประการ ดังนี้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก