พระอภัยมณีตอนหนีนางผีเสื้อสมุทรมีคุณค่าดีเด่นด้านใดบ้าง

คุณค่าในวรรณคดี เรื่อง พระอภัยมณี


๑) คุณค่าทางอารมณ์

บทประพันธ์ข้างต้นเป็นเป็นส่วนหนึ่งของพระอภัยมณี ตอนกำเนิดสุดสาครซึ่งเป็นตอนที่นางเงือกจะคลอดสุดสาครสุนทรภู่มีความสามารถในการเลือกใช้คำประพันธ์ที่สื่ออารมณ์ ความรู้สึกได้อย่างงดงามเหมาะสม

                     “ โอ้องค์พระอภัยก็ไปลับ                                ไม่เห็นกลับคืนมานิจจาเอ๋ย
          จะคลอดบุตรสุดใจเมียไม่เคย                         ที่ไหนเลยจะตลอดรอดชีวา
          นางครวญคร่ำร่ำไรไห้ระห้อย                         น้ำตาย้อยพรั่งพรายทั้งซ้ายขวา
     ให้กลุ่มกลัดอัดอั้นหวั่นวิญญาณ์                       ด้วยเป็นปลาแปลกนางอย่างมนุษย์”

บทประพันธ์ดังกล่าว มีการใช้ถ้อยคำที่สื่อถึงอารมณ์โศกเศร้าของนางเงือกได้อย่างชัดเจนว่านางรู้สึกโศกเศร้าและตัดพ้อพระอภัยมณีไม่ได้มาดูแลนางตอนจะคลอดบุตรโดยสุนทรภู่ใช้คำว่า “กลุ่มกลัดอัดอั้นหวั่นวิญญาณ์”ทำให้ผู้อ่านรู้สึกเข้าถึงอารมณ์ความเศร้าได้อย่างลึกซึ้ง

  
               “ โอ้เกิดมาอาภัพอัปภาคย์                                 จะจำจากมารดานิจจาเอ๋ย
                  อย่าเศร้าสร้อยน้อยใจอาลัยเลย                        บุญแม่เคยครองเลี้ยงเจ้าเพียงนั้น
                  ไปชาติหน้ามาเกิดเป็นอกแม่                            อย่าห่างแหเสน่หาจนอาสัญ
                  ในชาตินี้วิบากจะจากกัน                                เพราะต่างพันธุ์ผิดเพศสังเวชใจ”

  บทประพันธ์ดังกล่าว เป็นตอนที่นางเงือกผู้เป็นแม่รำพันด้วยความโศกเศร้าที่จำต้องฝากให้พระโยคีเลี้ยงดูสุดสาครแทนตนเพราะนางเงือกเป็นเงือกไม่สามารถเลี้ยงดูมนุษย์ได้วิสัยอยู่ไกลกัน สุนทรภู่ได้ถ่ายทอดอารมณ์ของผู้เป็นมารดาที่จำต้องพรากจากลูกผู้เป็นดั่งดวงใจได้อย่างชัดเจน

       “ กุมาราถาโถมเข้าโจมจับ                               มังกรรับรบประจัญไม่ผันผิน
         เข้าคาบคอกษัตริย์จะกัดกิน                            กุมารดิ้นโดดขึ้นนั่งอาชา
         ม้าสะบัดพลัดหลุดยังหยุดหาง                         ดูกลิ้งกลางเกลียวคลื่นลื่นถลา
        ตลบเลี้ยวเรี่ยวแรงแผลงศักดา                          เสียงชลาเลื่อนลั่นสนั่นดัง

           บทประพันธ์ดังกล่าว เป็นตอนที่สุดสาครไล่จับม้านิลมังกรมีการใช้คำที่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกสนุกสนานไปกับการต่อสู้ระหว่างมนุษย์กับม้า โดยสุนทรภู่ใช้คำที่แสดงถึงการต่อสู้ได้อย่างมีจินตภาพ ได้แก่  รับรบประจัญ, ถาโถมเข้าโจมจับ ,ดิ้นโดดข้นนั่ง, สะบัดพลัดหลุด, กลิ้งกลางเกลียวคลื่นลื่นถลา, ตลบเลี้ยวเรี่ยวแรงแผลงศักดา, เสียงชลาเลื่อนลั่นสนั่นดัง


๒) คุณค่าทางคุณธรรม

วรรณคดีเรื่อง พระอภัยมณีตอนกำเนิดสุดสาคร สุนทรภู่ได้ให้ข้อคิดแก่บุคคลทุกชนชั้นตั้งแต่ ประชาชนคนรากหญ้าจนถึงพระมหากษัตริย์ ข้อความคุณธรรมต่างๆได้สอดแทรกในบทประพันธ์สามารถพบคุณธรรมต่างๆได้ในชีวิตประจำวันทำให้ผู้อ่านเข้าใจในหลักธรรมได้ง่ายมากขึ้น


              “ พระโยคีมีจิตคิดสงสาร                          ด้วยเหมือนหลานลูกศิษย์สนิทสนม
       จึงว่ากูผู้สถิตในกิจกรม                           ไม่มีสมบัติอะไรที่ไหนเลย
       จะเย็บฟูกผูกเปลเห่อ้ายหนู                      ก็ไม่รู้สีสาสีกาเอ๋ย
      ต้องกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงไปทั้งไม่เคย              จะเฉยเมยเสียไม่ช่วยจะมวยมุด”

บทประพันธ์ดังกล่าว เป็นตอนที่พระโยคีสงสารนางเงือกที่ไม่สามารถเลี้ยงดูสุดสาครได้เนื่องจากเป็นเงือกมีวิสัยอยู่ไกลกันกับมนุษย์ จึงบอกกับนางเงือกว่าตนจะช่วยเลี้ยงดูสุดสาครแทนนางให้ เห็นได้ว่าแม้พระโยคีจะไม่มีสมบัติหรือเย็บฟูกเห่กล่อมเด็กไม่เป็นก็มีจิตเมตตารับปากจะเลี้ยงดูสุดสาคร ผู้ประพันธ์ได้ให้ข้อคิดในคำประพันธ์นี้ว่า เราควรมีความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน สิ่งใดที่เราพอจะช่วยได้ก็ควรช่วยเพราะนอกจากจะทำให้ผู้ได้รับความช่วยเหลือสุขใจแล้วเราซึ่งเป็นผู้ช่วยก็จะมีความสุขด้วย

          “สอนให้หลานอ่านเขียนร่ำเรียนไป                    แล้วก็ให้วิทยาวิชาการ
           รู้ล่องหนทนคงเข้ายงยุทธ์                             เหมือนสินสมุทรพี่ยาทั้งกล้าหาญ”

บทประพันธ์ดังกล่าว แสดงถึงคุณธรรมความเมตตาของพระโยคีที่สอนวิชาความรู้ต่างๆแก่สุดสาครทั้งๆที่สุดสาครไม่ใช่ญาติลูกหลานของท่าน ท่านก็มิได้หวงแหนความรู้

       “นางเงือกน้ำคำรพอภิวาท                               ข้าเป็นชาติเชื้อสัตว์เหมือนมัจฉา
       จะกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมนุษย์สุดปัญญา                  ขอฝากฝ่าบาทบงส์พระทรงธรรม์
        ช่วยเลี้ยงดูกุมารเหมือนหลานเถิด                      เสียแรงเกิดกายมาจะอาสัญ
        อันข้านี้วิสัยอยู่ไกลกัน                                    เช้ากลางวันเย็นลงจะส่งนม”

บทประพันธ์ดังกล่าว แสดงถึงคุณธรรมของนางเงือกที่ยอมปล่อยลูกให้พระโยคีดูแลแทน ทั้งๆที่นางก็รัก ห่วงใย อยากอยู่ใกล้สุดสาครแต่นางไม่เห็นแก่ตัวจึงไปขอร้องให้พระโยคีช่วยเหลือแล้วตนค่อยเวียนมาหาลูกให้ดื่มนม                

๓) คุณค่าทางสติปัญญา

           “ฤกษ์วันนี้ตรีจันทร์เป็นวันโชค                          ต้องโฉลกลัดนามหาอุด

            จะให้นามตามอย่างข้างมนุษย์                           ให้ชื่อสุดสาครอวยพรชัย”

บทประพันธ์ดังกล่าว เป็นตอนที่พระโยคีได้ตั้งชื่อให้ลูกของนางเงือกว่าสุดสาคร โดยถือเอาตามฤกษ์จันทร์ตรีซึ่งเป็นวันที่ดาวเรียงรายติดต่อกันเป็นการให้ความรู้ทางโหราศาสตร์ โดยวันจันทร์ตรีคือวันดาวพระเคราะห์เรียงเป็นแถวไป ราศี มีลัคนาอยู่กลาง ถือเป็นวันดี

๔) คุณค่าด้านประเพณี

          “เอาโคมส่องมองเขม้นเห็นนางเงือก               สลบเสือกอยู่ที่ทรายชายกระแส
            เป่ามหาอาคมให้ลมแปร                           ที่ท้อแท้ค่อยประทังกำลังนาง
            เห็นโยคีดีใจจึงไหว้กราบ                           สมาบาปวิบัติช่วยขัดขวาง
            ความเจ็บปวดรวดร้าวไม่เบาบาง                 นางครางพลางพลิกกายฟายน้ำตา”

          บทประพันธ์ดังกล่าวเป็นตอนที่พระโยคีตามหานางเงือกเพราะรับรู้ถึงความต้องการการช่วยเหลือ            พอพระโยคีเดินออกมาที่ชายหาดก็เห็นนางเงือกนอนสลบที่นั่น จึงเป่าอาคมทำให้นางเงือกฟื้นขึ้นมาเมื่อนางเงือกเห็นพระโยคีก็ไหว้ขอความช่วยเหลือ จากบทประพันธ์จะเห็นได้ว่าประเพณีการไหว้ของคนไทยนั้นมีมาแต่โบราณตั้งแต่ยุคสมัยของสุนทรภู่ดังนั้นเราก็ควรอนุรักษ์ให้คนรุ่นหลังสืบต่อไป

๕)คุณค่าด้านสังคม

              “แล้วหลีกไปให้ห่างเสียข้างเขา                     ช่วยเสกเป่าป้องปัดกำจัดผี
                เดชะฤทธิ์อิศโรพระโยคี                             มิได้มีเภทภัยสิ่งไรพาน
                ทั้งเทวาอารักษ์ที่ในเกาะ                            ระเห็จเหาะมาสิ้นทุกถิ่นฐาน
               ช่วยแก้ไขได้เวลากฤษดาการ                       คลอดกุมารเป็นมนุษย์บุรุษชาย”

บทประพันธ์ดังกล่าวเป็นตอนที่พระโยคีท่องคาถาให้เทวดาที่อารักษ์อยู่ที่เกาะมาช่วยเหลือนางเงือกคลอดบุตร จากบทประพันธ์นี้แสดงถึงสภาพสังคมของคนไทยสมัยโบราณว่า มีความเชื่อเรื่องเทวดาที่อารักษ์สถานที่ต่างๆว่ามีอยู่จริง

ศิลปะการประพันธ์ในวรรณคดีไทยเรื่อง พระอภัยมณี

         ๑)      การเล่นเสียง คือการใช้คำที่ทำให้เกิดเสียง นอกจากสัมผัสนอกซึ่งเป็นสัมผัสบังคับแล้ว ทุกวรรคของ

คำกลอนจะแพรวพราวด้วยสัมผัสใน อันได้แก่ เสียงสัมผัสสระและเสียงสัมผัสอักษร ดังบทประพันธ์

                “นางครวญคร่ำร่ำไรไห้ระห้อย                      น้ำตาย้อยพรั่งพรายทั้งซ้ายขวา
    ให้กลุ่มกลัดอัดอั้นหวั่นวิญญาณ์                               ด้วยเป็นปลาแปลกนางอย่างมนุษย์สงสารนางให้
    ครางครวญอย่างป่วนปวด                                      ยิ่งเร้ารวดร้อนใจดังไฟจุด
    สะอื้นอ่อนอ่อนระทวยแทบม้วยมุด                             หากบุญบุตรบันดาลช่วยมารดา”

สัมผัสสระ ได้แก่ คร่ำ-ร่ำ , ไร-ไห้,กลัด-อัด,อั้น-หวั่น

สัมผัสอักษร ได้แก่ ครวญ-คร่ำ,พรั่ง-พราย,กลุ่ม-กลัด,อัด-อั้น,ปลา-แปลก,คราง-ครวญ,ป่วน-ปวด,เร้า-รวด-ร้อน,อื้น-อ่อน,ทวย-แทบ,บุญ-บุตร-บัน

“ฝ่ายโยคีนั่งนิ่งได้ฟังเสียง                              จึงมองเมียงมาชะโงกริมโกรกผา

เห็นกุมารคลานได้มิใช่ปลา                               หัวร่อร่าร้องไม่เป็นไรแล้ว”

สัมผัสอักษร ได้แก่ นั่ง-นิ่ง,มอง-เมียง-มา,ร่อ-ร่า-ร้อง

        “ถึงดึกดื่นตื่นนอนป้อนกล้วยน้ำ                            กุมารกล้ำกลืนกินจนสิ้นหวี
         ทึ้งฟูกเมาะเบาะอินทรีย์                                     พระโยคีคอยระวังเป็นกังวล”

สัมผัสสระ ได้แก่ ดื่น-ตื่น,นอน-ป้อน,เมาะ-เบาะ,หมอน-อ่อน

สัมผัสอักษร ได้แก่ กล้ำ-กลืน,ดึก-ดื่น


“ได้สิบเดือนเหมือนได้สักสิบขวบ                        ดูขาวอวบอ้วนท้วนเป็นนวลฉวี
ออกวิ่งเต้นเล่นได้ไกลกุฎี                                เที่ยวไล่ขี่วัวควายสบายใจ”

สัมผัสสระ ได้แก่ เดือน-เหมือน, อ้วน-ท้วน,เต้น-เล่น

สัมผัสอักษร ได้แก่ อวบ-อ้วน

                   “อยู่วันหนึ่งถึงเวลาสิทธาเฒ่า                          สำรวมเข้านั่งฌานกุมารหนี
                     ลงเล่นน้ำปล้ำปลาในวารี                              แล้วข้นขี่ขัดขวางไปกลางชล”

สัมผัสสระ ได้แก่ น้ำ-ปล้ำ

สัมผัสอักษร ได้แก่ ข้น-ขี่-ขัด-ขวาง

      ๒)     การเล่นคำพ้องความ 

                      “ได้เจ็ดคาบปราบม้าสวาหะ                            แล้วเป่าลงตรงศีรษะสิ้นหกหน

                        อาชาชื่นฟื้นกายไม่วายชนม์                          ให้รักคนขี่หลังดังชีวา”

จากบทประพันธ์มีการเล่นคำพ้องความ คือคำว่า ม้าและอาชา


      “แล้วเรียกบุตรสุดสาครของแม่                    เฝ้าแลแลมารดาน่าสงสาร
     ให้กินนมชมชูพระกุมาร                             แล้วให้คลานขึ้นบนเพลาพระเจ้าตา”

จากบทประพันธ์มีการเล่นคำพ้องความ คือคำว่า แม่และมารดา 

       
      ๓)      การเล่นคำซ้ำ คือการนำคำมาเขียนซ้ำติดๆกัน เพื่อเน้นย้ำความหมายที่หนักแน่น

ไม่ปรากฏในบทประพันธ์ตอน กำเนิดสุดสาคร

      ๔)      การเล่นคำเชิงถาม

“เมื่อเงือกน้ำร่ำเรียกก็รู้เหตุ                       นิ่งสังเกตว่าสีกามาแต่ไหน

       พลางหัวร่ออ้อเมียพระอภัย                        เขาฝากไว้วันจะลาไปธานี”

จากบทประพันธ์มีการเล่นคำเชิงถาม คือคำว่า มาแต่ไหน เป็นเพียงความคิดของพระโยคีไม่ได้ต้องการคำตอบ

“พระทรงศิลป์ยินสุดสาครบอก                         นึกไม่ออกอะไรกัดหรือมัจฉา

จึงเล็งญาณฌานทิพย์ด้วยฤทธา                             ก็รู้ว่าม้ามังกรสมจรกัน”

          จากบทประพันธ์มีการเล่นคำเชิงถาม คือคำว่า ไม่ออกอะไรกัดหรือมัจฉา เป็นตอนที่พระโยคีรำพึงกับตัวเองถึงม้าหน้าตาคล้ายมังกร ที่สุดสาครได้พบ

       ๕)      การกล่าวเกินความเป็นจริง

          “ขี่ขยับขับขึ้นบนเกาะแก้ว                             ยิ่งคล่องแคล่วควบกระโดดโขดไศล

เที่ยวเลียบรอบขอบเกาะแล้วเหาะไป                          ประเดี๋ยวใจถึงศาลาพรอาจารย์”

            จากบทประพันธ์ได้กล่าวว่า สุดสาครขี่ม้านิลมังกรเหาะไปหาพระโยคี ซึ่งในความเป็นจริงแล้วม้าไม่สามารถเหาะได้

“ได้สิบเดือนเหมือนได้สักสิบขวบ                      ดูขาวอวบอ้วนท้วนเป็นนวลฉวี

ออกวิ่งเต้นเล่นได้ไกลกุฎี                            เที่ยวไล่ขี่วัวควายสบายใจ”

          จากบทประพันธ์ได้กล่าวว่า เมื่อสุดสาครอายุได้สิบเดือนก็สามารถวิ่งเล่น เที่ยวขี่วัวควายได้แล้ว แต่ในความเป็นจริงเด็กสิบเดือนยังไม่สามารถวิ่งเล่น เที่ยวขี่วัวควายได้

“นางกราบกรานท่านสิทธาว่าสาธุ                        ให้อายุยืนยงอสงไสย

               สืบตระกูลพูนสวัสดิ์กำจัดภัย                                แล้วอุ้มให้กินนมแล้วชมเชย”

          จากบทประพันธ์ได้กล่าวว่า  นางเงือกอวยพรให้ฤาษีอายุยืนเป็นอสงไขยปี แต่ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์ไม่สามารถอายุยืนได้ถึงอสงไขยปีได้

         ๖)      การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ

          “จึงวางองค์ลงบนเปลแล้วเห่ช้า                        ทำขนมแชงม้าเวลาดึก

           โอละเห่โอละโห่โอระอึก                                 อึกทึกทั้งศาลาจนราตรี”

จากบทประพันธ์มีการเลียนเสียงการเห่กล่อมสุดสาครของพระโยคี คือคำว่า โอละเห่โอละโห่โอระอึก      

        “พระดาบสสอดปากมิอยากได้                     ใครใช้ให้มึงรักกันหนักหนา

                ส่วนลูกไม่ใคร่ออกสิบอกตา                          สมน้ำหน้าปวดท้องร้องเบยเบย

จากบทประพันธ์มีการเลียนเสียงของนางเงือกที่ร้องด้วยความเจ็บปวดตอนคลอดสุดสาคร คือคำว่า เบยเบย

        ๗)      การเปรียบเทียบแบบอุปมา

     “สงสารนางให้ครางครวญอย่างป่วนปวด                ยิ่งเร้ารวดร้อนใจดังไฟจุด
      สะอื้นอ่อนอ่อนระทวยแทบม้วยมุด                        หาบุญบุตรบันดาลช่วยมารดา”

จากบทประพันธ์ข้างต้นมีการเปรียบเทียบแบบอุปมาถึงความเจ็บปวดในการคลอดสุดสาครของนางเงือกว่าดังเอาไฟมาจุดรนกาย  โดยมีคำว่า ดัง ในบทประพันธ์

          “เนตรขนงวงนลาฎไม่คลาดเคลื่อน                   ละม้ายเหมือนพระอภัยนั้นใจหาย
          มีกำลังนั่งคลานทะยานกาย                             เข้ากอดกายมารดรไม่อ่อนแอ”

จากบทประพันธ์ข้างต้นมีการเปรียบเทียบแบบอุปมาถึงหน้าตาของสุดสาครว่าเหมือนพระอภัยมณีโดยมีคำว่า เหมือน ในบทประพันธ์

         “พอพบม้าหน้าเหมือนมังกรร้าย                     แต่กีบกานนั้นเป็นม้าน่าฉงน

               หางเหมือนอย่างหางนาคปากคำรณ                     กายพิกลกำยำดูดำนิล”

จากบทประพันธ์ข้างต้นมีการเปรียบเทียบแบบอุปมาถึงหน้าของม้านิลมังกรว่าเหมือนมังกรร้าย              โดยมีคำว่า เหมือน ในบทประพันธ์

       ๘)      การเปรียบเทียบแบบอุปลักษณ์ ไม่ปรากฏในบทประพันธ์ ตอนกำเนิดสุดสาคร

  ๙)      การใช้สัญลักษณ์เป็นสิ่งแทน

“ฝ่ายโยคีมีพรตปรากฏกล้า                              นั่งรักษาทางธรรมกรรมฐาน
 แสนสว่างทางกสิณอภิญญาณ                              พระอาจารย์แจ้งจบทั้งภพไตร”

จากบทประพันธ์ข้างต้นซึ่งเป็นบทที่กล่าวถึงพระโยคีที่อยู่เกาะแก้วพิสดาร มีการใช้สัญลักษณ์ คือ             คำว่า สว่างทางกสิณอภิญญาณแทนผู้ที่มีญาณวิเศษและมีคุณธรรม

๑๐) การใช้บุคลาธิษฐาน  ไม่ปรากฏในบทประพันธ์ตอน กำเนิดสุดสาคร

           ๑๑) การใช้นาฏการ

                    “กุมาราถาโถมเข้าโจมจับ                             มังกรรับรบประจัญไม่ผันผิน

                    เข้าคาบคอกษัตริย์จะกัดกิน                          กุมารดิ้นโดดขึ้นนั่งอาชา

                    ม้าสะบัดพลัดหลุดยังหยุดหาง                       ดูกลิ้งกลางเกลียวคลื่นลื่นถลา

                    ตลบเลี้ยวเรี่ยวแรงแผลงศักดา                       เสียงชลาเลื่อนลั่นสนั่นดัง”

          บทประพันธ์ข้างต้น เป็นตอนที่สุดสาครไล่จับม้านิลมังกรมีการใช้คำที่ทำให้ผู้อ่านสามารถจิตนาการ      การต่อสู้ ไล่จับกันระหว่างม้านิลมังกรกับสุดสาครได้อย่างชัดเจน โดยสุนทรภู่ใช้คำที่แสดงถึงการต่อสู้ได้อย่าง                   มีจินตภาพ ได้แก่  รับรบประจัญ, ถาโถมเข้าโจมจับ , ดิ้นโดดขึ้นนั่ง, สะบัดพลัดหลุด, กลิ้งกลางเกลียวคลื่นลื่นถลา, ตลบเลี้ยวเรี่ยวแรงแผลงศักดา, เสียงชลาเลื่อนลั่นสนั่น,กระโดดโครมโถมถึงเข้าทึ้งหนวด,หวดหางกระหวัด,โจนประจบจับหนวดกระหมวดรั้ง

นิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณีมีความดีเด่นด้านใดบ้าง

คุณค่าเด่นด้านอื่นๆของนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณีคือ ให้ความรู้และขยายโลกทัศน์เกี่ยวกับสงคราม ทั้งสงครามที่สู้กันด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ และการใช้เสียงปี่ ซึ่งตีความว่าคือ เสียงสื่อสารมวลชน หรือการใช้ข่าวเป็นอาวุธ ทำลายฝ่ายตรงข้าม ดังที่ปรากฏในสมัยสงครามโลกและแม้จะไม่มีสงครามแล้ว ข่าวก็ยังเป็นอาวุธที่ใช้ทำลายล้างกันได้

แก่นเรื่องของ พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร คือ อะไร

แก่นเรื่องหลัก คือ ชายหญิงที่จะเป็นสามีภรรยากัน หากไม่เหมาะสม กัน ไม่มีความรักซึ่งกันและกัน ย่อมไม่อาจอยู่ร่วมกันได้ ดังจะเห็นได้จากชีวิตคู่ของพระอภัยมณีกับนางผีเสื้อสมุทรที่มีเผ่าพันธุ์ที่ แตกต่างกัน คือ มนุษย์กับยักษ์ อีกทั้งนางผีเสื้อสมุทรยังรักพระอภัยเพียงฝ่าย เดียว โดยที่พระอภัยมณีไม่ได้รักตอบ

คุณค่าทางด้านสติปัญญา มีอะไรบ้าง

คุณค่าทางสติปัญญาหนังสือดีย่อมให้คุณค่าทางด้านสติปัญญา อันได้แก่ความรู้และความคิดเชิง สร้างสรรค์ มิใช่ความคิดในเชิงท าลายความรู้ในที่นี้นอกจากความรู้ทางวิชาการแล้วยังรวมถึงความรู้ทาง การเมือง สังคม ภาษา และสิ่งต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านเสมอ แม้จะหยิบหนังสือมาอ่านเพียง 2-3 นาทีผู้อ่านก็จะได้รับคุณค่าทางสติปัญญาไม่ ...

ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของเรื่องพระอภัยมณี

ลักษณะคำประพันธ์ คำประพันธ์ในเรื่อง พระอภัยมณี เป็นกลอนสุภาพทั้งหมด ด้วยเป็นความถนัดอย่างพิเศษของกวีผู้นี้ ภาษาที่ใช้มีความเรียบง่ายตามแบบฉบับของสุนทรภู่ มีสัมผัสในไพเราะงดงามโดยตลอด ทำให้เป็นที่นิยมอ่านเรื่อยมาแม้ในปัจจุบัน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก