ผลงานที่มีลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง

ลิขสิทธิ์ คืออะไร?

  • TGC Thailand
  • 11385

ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน

การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา มิได้ เป็นการรับรองสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการแจ้งต่อหน่วยงานราชการว่าตนเองเป็นเจ้าของสิทธิ์ในผลงานลิขสิทธิ์ที่แจ้งไว้เท่านั้น โดยผู้แจ้งต้องรับรองตนเองว่าเป็นเจ้าของผลงานที่นำมาแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และหนังสือรับรองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้ ก็มิได้รับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์แต่อย่างใด หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้แจ้งจำเป็นต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ นั้นเอง

เอกสารที่ใช้ประกอบการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
1. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)
2. สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล ที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6 เดือน ของเจ้าของลิขสิทธิ์ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
3. ผลงานหรือภาพถ่ายงานลิขสิทธิ์ จำนวน 1 ชุด
4. หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
5. หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐบาลใช้สำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้บริหารหน่วยงานหรือองค์กรฯ รวมทั้งสำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นคำขอ (รับรองสำเนาถูกต้อง)

อะไรที่จดได้ เช่น

1.ภาพลวดลายกล่องสินค้าที่สร้างสรรค์ จดได้

ถ้าลวดลายปกติ เช่น แถบสีคาดไปมา ลวดลายปกติอาจจะมีความแตกต่างก็จริง แต่ไม่ใช่งานสร้างสรรค์จดแจ้งลิขสิทธิ์ไม่ได้

2.ภาพการ์ตูน จดได้

3.งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใช้ซอสโค้ดจดแจ้งได้

4.งานหนังสือ งานเขียน เพลงเนื้อร้อง ทำนองเพลง ต่างๆ จดได้

5.ภาพงานประติมากรรม  เช่น พระพิฆเนศที่สร้างสรรค์ใหม่ จดได้

บุคคลธรรมดา
ลิขสิทธิ์คุ้มครอง 50 ปีนับจากวันที่เสียชีวิต (แนะนำ)

นิติบุคคล
ลิขสิทธิ์คุ้มครอง 50 ปีนับจากวันสร้างสรรค์

จดแจ้งงานอันมีลิขสิทธิ์แก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่

1.งานวรรณกรรม (หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ)
2.งานนาฎกรรม (ท่ารำ ท่าเต้น ฯลฯ)
3.งานศิลปกรรม (จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ศิลปประยุกต์ ฯลฯ)
4.งานดนตรีกรรม (ทำนอง , ทำนองและเนื้อร้อง ฯลฯ)
5.งานสิ่งบันทึกเสียง (เทป ซีดี )
6.งานโสตทัศนวัสดุ (วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง)
7.งานภาพยนตร์
8.งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
9.งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ

  • Categories:บทความ

ชวนรู้ ! ผลงานที่มีลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง ? รู้เท่าทันและพร้อมรับมือกับคนละเมิดลิขสิทธิ์กัน !

หลายครั้งที่เราได้ยินคำว่าลิขสิทธิ์ทางปัญญา ที่มีไว้เพื่อการปกป้องผลงานต่างๆ ของผู้สร้าง แต่ก็ยังไม่เข้าใจว่าการละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานนั้นเจ้าของผลงานสามารถทำอะไรได้บ้าง หรือคนที่เป็นฝ่ายละเมิดต้องรับโทษอย่างไร เพื่อเป็นความรู้ให้กับทุกคน เราจะมาแนะนำในเรื่องของ ผลงานที่มีลิขสิทธิ์ มีอะไรบ้างที่เราควรรู้ รวมถึงทำความเข้าใจว่าลิขสิทธิ์คืออะไรกันค่ะ

ผลงานที่มีลิขสิทธิ์ มีอะไรบ้าง รู้ก่อนรับมือได้ทัน จากคนคิดละเมิดลิขสิทธิ์เรา

ก่อนที่เราจะไปรู้ว่าผลงานที่มีลิขสิทธิ์มีอะไรบ้างนั้น เราจะมาแนะนำให้ทุกคนรู้จักก่อนค่ะว่าแท้จริงแล้วลิขสิทธิ์นั้นคืออะไร ? ลิขสิทธิ์ หรือ Copyright เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่ปกป้องงานต้นฉบับของผู้ประพันธ์ ผู้สร้าง ทันทีที่มีการเผยแพร่งานในรูปแบบที่จับต้องได้ ซึ่งในกฎหมายลิขสิทธิ์มีอะไรบ้างนั้น งานลิขสิทธิ์มีหลายประเภท เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพประกอบ ดนตรี การบันทึกเสียง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หนังสือ บทกวี บล็อกโพสต์ ภาพยนตร์ งานสถาปัตยกรรม บทละคร และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ถ้าหากแบ่งประเภทของงานลิขสิทธิ์ในประเทศไทยนั้น จะมีด้วยกัน 9 ประเภท ดังนี้ค่ะ

  1. งานวรรณกรรม

ผลงานที่มีลิขสิทธิ์มีอะไรบ้างอย่างแรกเลยคือ งานวรรณกรรม ซึ่งหมายรวมถึงงานเขียนต่างๆ ที่เราเขียนหรือประพันธ์ขึ้น ตัวอย่างเช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอื่นๆ ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นจัดว่าได้รับความคุ้มครองอัตโนมัติโดยไม่ต้องจดทะเบียน

  1. งานนาฏกรรม

ผลงานด้านนาฏกรรมมีลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง เช่น งานที่เกี่ยวกับการร่ายรำ การออกแบบท่าเต้น หรือการแสดงประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว รวมถึงการแสดงละครใบ้

  1. งานศิลปกรรม

งานศิลปกรรมที่มีลิขสิทธิ์ ได้แก่ งานภาพเขียน ภาพวาด ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ภาพประกอบ เช่น การ์ดสวัสดีปีใหม่ก็ถือว่าเป็นผลงานลิขสิทธิ์ รวมไปถึงงานปั้น งานประติมากรรม งานสถาปัตยกรรม หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติเกี่ยวกับภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ แผนผังของงาน และงานศิลปะประยุกต์

  1. งานดนตรีกรรม

งานด้านดนตรีไม่ว่าจะเป็นคำร้อง ทำนอง การเรียบเรียงเสียงประสาน รวมถึงโน้ตเพลงที่แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว ล้วนแล้วแต่ถูกคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์ทั้งสิ้น

  1. งานสิ่งบันทึกเสียง

สิ่งบันทึกเสียงที่เป็นผลงานที่มีลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง ได้แก่ เทปเพลง แผ่นซีดี แผ่นเสียง ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลเสียงต่างๆ ไว้ แต่ไม่รวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์ หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น

  1. งานโสตทัศนวัสดุ

งานโสตทัศนวัสดุอันเป็นลิขสิทธิ์คือสิ่งที่เป็นวิดีโอเทป วีซีดี ดีวีดี แผ่นเลเซอร์ดิสก์ ที่บันทึกข้อมูลของภาพและเสียงที่สามารถนำไปเล่นซ้ำได้ โดยใช้อุปกรณ์ที่สามารถอ่านได้

  1. งานภาพยนตร์

สำหรับงานด้านภาพยนตร์นั้น จะรวมทั้งภาพและเสียงประกอบของภาพยนตร์นั้นด้วย ที่จัดว่าเป็นผลงานที่มีลิขสิทธิ์ที่ได้รับการคุ้มครองทันทีที่เผยแพร่

  1. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ

งานแพร่เสียงแพร่ภาพนั้น คืองานที่มีการเผยแพร่และกระจายเสียง เช่น การกระจายเสียงวิทยุ รายการวิทยุ จัดเป็นการแพร่เสียง และการแพร่ภาพได้แก่ ภาพทางโทรทัศน์ รายการโทรทัศน์ และรวมถึงการ Live Streaming เป็นต้น

  1. งานอื่นๆ

งานในด้านอื่นๆ ที่มีลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง ได้แก่ งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

สิทธิ์ของเจ้าของงานมีอะไรบ้าง ?

กฎหมายลิขสิทธิ์นั้นจะคุ้มครองสิ่งที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของผู้สร้าง ผู้ผลิต ทันทีที่มีการเผยแพร่งานออกไป ตามรายละเอียดของผลงานที่มีลิขสิทธิ์มีอะไรบ้างที่เราได้บอกไปข้างต้น และเป็นสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่ม โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น และจะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน และเจ้าของผลงานนั้นมีสิทธิ์ต่างๆ ที่กระทำได้ ดังนี้

  1. การทำซ้ำ เจ้าของลิขสิทธิ์หรือเจ้าของผลงานนั้นๆ สามารถคัดลอก ทำสำเนา เพื่อทำซ้ำผลงานได้
  2. ดัดแปลง เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถดัดแปลงงานที่มีลิขสิทธิ์ของตนเองได้ เช่น นำรูปการ์ตูนที่วาดมาดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์ หรือดัดแปลงบทละครต่างๆ เป็นต้น
  3. เผยแพร่ต่อสาธารณะ ผู้ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิ์ที่จะนำงานของตนเผยแพร่ต่อสาธารณะได้ เช่น การจัดแสดง การจัดจำหน่าย หรือการเปิดเพลงในที่สาธารณะ เป็นต้น ส่วนการเปิดเพลงฟังส่วนตัวในบ้าน ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพราะไม่ได้เป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณะ
  4. ให้เช่า เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถหาประโยชน์จากการให้สิทธิ์ผู้อื่น หรือให้เช่าในช่วงเวลาหนึ่งแล้วเก็บเงินได้ จากงานประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
  5. ให้ประโยชน์แก่ผู้อื่น เจ้าของลิขสิทธิ์นั้นมีสิทธิ์ที่จะยกประโยชน์อันเกิดจากค่าลิขสิทธิ์ให้กับผู้อื่นได้ เช่น ยกให้ทายาท หรือคนในครอบครัว
  6. อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์ หากเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ประสงค์ใช้งานลิขสิทธิ์ของตนเอง ก็สามารถอนุญาตให้ผู้อื่นใช้งานลิขสิทธิ์ของตนเองแทนได้ โดยอาจรับเป็นเงินตอบแทน

เมื่อมีคนละเมิดลิขสิทธิ์ของเราควรทำอย่างไร

หากเราคือผู้สร้างสรรค์ผลงาน เช่น งานออกแบบผลิตภัณฑ์ลวดลายต่างๆ แล้วมีคนมาลอกเลียนผลงานของเรา อย่างที่เราอาจจะเคยเห็นในสื่อโซเชียลมีเดีย แอปพลิเคชั่น หรือแอพจีนสั่งของบ่อยๆ นั้น ถือว่าเราโดนละเมิดลิขสิทธิ์ และเราควรทำอย่างไร มี 4 ขั้นตอนง่ายๆ จากคำแนะนำของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ดังนี้

  1. ทำการร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และแนบหลักฐานการสร้างสรรค์งาน หรือหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของ
  2. นำตัวอย่างงานหรือสินค้าที่เป็นของแท้ที่ถูกลิขสิทธิ์ และตัวอย่างงานหรือสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์มาแสดง
  3. หากเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่สามารถมาเองได้ สามารถมีหนังสือมอบอำนาจให้คนอื่นมาร้องทุกข์แทนได้
  4. อย่าลืมเตรียมสำเนาบัตรประชาชน หรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของเจ้าของ หรือผู้รับมอบอำนาจมาด้วยค่ะ

โทษของการละเมิดลิขสิทธิ์

สำหรับคนที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของเรานั้นจะต้องรับโทษตามกฎหมาย เพราะการละเมิดลิขสิทธิ์มีโทษทั้งทางอาญา คือจำคุกและโทษปรับแล้วแต่กรณี ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิ์ในการเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งได้ด้วย ซึ่งโทษทางอาญาของการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมทั้งการนำต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าวออกให้เช่า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์นั้น มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท หากเป็นการกระทำเพื่อการค้า มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับค่ะ

Inspire Now ! : ผลงานที่มีลิขสิทธิ์มีอะไรบ้างก็ได้รู้กันไปแล้วนะคะ ซึ่งลิขสิทธิ์นั้นให้ประโยชน์ต่อเจ้าของลิขสิทธิ์ในฐานะผู้สร้างสรรค์ ที่สามารถให้เช่าและขายงานอันมีลิขสิทธิ์ได้ และก่อให้เกิดรายได้แก่ผู้สร้างสรรค์ จากความพยายามในการคิดและสร้างสรรค์ผลงานนั้นๆ อย่างเช่น louis vuitton ประวัติที่มีมายาวนานกว่าจะกลายมาเป็นแบรนด์ดังยอดนิยมทุกวันนี้ และเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์มากที่สุดในโลกด้วย

DIY INSPIRE NOW คือแรงบันดาลใจของฉันใช่ไหม ? เราได้รู้ถึงเรื่องของกฎหมายลิขสิทธิ์กันไปแล้วนะคะ หากเราเป็นเจ้าของผลงานอย่าลืมปกป้องงานของตนเองหากถูกละเมิด โดยทำตามขั้นตอนร้องทุกข์ที่เราได้แนะนำไปนะคะ ♡

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : spu.ac.th, ipthailand.go.th, atpserve.com, copyright.gov

Featured Image Credit : freepik.com

diyinspirenow Tips & Trick ผลงานที่มีลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง. ลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง

หาข้อมูล-ลงมือเขียนและเรียบเรียงโดยทีมกองบรรณาธิการเว็บไซต์ DIY INSPIRE NOW

สินค้าอะไรบ้างที่มีลิขสิทธิ์

ประเภทและตัวอย่างของงาน ลิขสิทธิ์.
งานวรรณกรรม งานวรรณกรรม อันได้แก่งานเขียนต่างๆที่เราเขียนหรือประพันธ์ขึ้น ตัวอย่างเช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ... .
งานนาฏกรรม ... .
งานศิลปกรรม ... .
งานดนตรีกรรม ... .
งานสิ่งบันทึกเสียง ... .
งานโสตทัศนวัสดุ ... .
งานภาพยนตร์ ... .
งานแพร่เสียงแพร่ภาพ.

ผลงานที่ลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง

งานลิขสิทธิ์มี 9 ประเภท ได้แก่ งานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ ข่าวประชาสัมพันธ์

ผลงานที่ "มีลิขสิทธิ์" มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างมา 2 ข้อ *

งานศิลปกรรมที่มีลิขสิทธิ์ ได้แก่ งานภาพเขียน ภาพวาด ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ภาพประกอบ เช่น การ์ดสวัสดีปีใหม่ก็ถือว่าเป็นผลงานลิขสิทธิ์ รวมไปถึงงานปั้น งานประติมากรรม งานสถาปัตยกรรม หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติเกี่ยวกับภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ แผนผังของงาน และงานศิลปะประยุกต์ งานดนตรีกรรม

ลักษณะในการใช้งานลิขสิทธิ์ คืออะไร

ลักษณะของงานลิขสิทธิ์ คือ งานที่มีระดับของการสร้างสรรค์งานหรือใช้จินตนาการมาก เช่น นวนิยาย หากมีการนำงานไปใช้ โอกาสที่จะถือว่าเป็นการใช้งานลิขสิทธิ์ที่ไม่เป็นธรรมจะมากกว่างานลิขสิทธิ์ที่ประกอบด้วยข้อเท็จจริงจำนวนมาก

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก