ระบบที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีอะไรบ้าง10อย่าง

มนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
คนเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ อาศัยปัจจัยในการดำรงชีวิตจากทรัพยากรธรรมชาติ
ประชากร ที่เพิ่มมากขึ้น มีผลต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
•ต้องแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการอุปโภคบริโภคมากขึ้น
•ปรับปรุงเทคโนโลยีทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต
•ปรับปรุงคุณภาพผลผลิตสำหรับเลี้ยงประชากรโลก
•พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม
•พัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร การขนส่ง
•มีการแข่งขันทางการค้าและอุตสาหกรรมในระดับโลก
ประชากรเพิ่มมากขึ้น
•ทรัพยากรธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็ว
•ระบบนิเวศเกิดการเปลี่ยนแปลง มีการสะสมของเสีย
•เกิดมลภาวะที่ส่งผลต่อสุขภาพอนามัย
•ปัญหาของระบบนิเวศ
มีสาเหตุหลากหลาย ระดับท้องถิ่น เช่น น้ำเสียที่เกิดจากครัวเรือน อากาศเสียจากโรงงาน
อุตสาหกรรมในเมือง

ประเภทของระบบนิเวศ

ระบบนิเวศมีอยู่ทุกหนทุกแห่งทั่วโลก มีมากมายหลายระบบ แต่ละระบบมีขนาดเล็กใหญ่
สลับซับซ้อนแตกต่างกัน โลกของเราจัดเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่า โลกของสิ่งมีชีวิต
(biosphere) ซึ่งเป็นที่รวมระบบนิเวศหลากหลายระบบ

ส่วนที่จัดเป็นระบบนิเวศเล็ก ๆ เช่น ทุ่งหญ้า หนองน้ำ สระน้ำ ริมรั้ว ใต้ขอนไม้ผุ
ระบบนิเวศแบ่งได้เป็น 2 ระบบใหญ่ ๆ คือ

1. ระบบนิเวศตามธรรมชาติ

ได้แก่ ระบบนิเวศบนบก เช่น ป่าไม้ ทุ่งหญ้า ทะเลทราย

ระบบนิเวศแหล่งน้ำ แบ่งเป็นระบบนิเวศน้ำจืด เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง

ระบบนิเวศน้ำเค็ม เช่น ทะเล มหาสมุทร

ระบบนิเวศน้ำกร่อย เช่น บริเวณปากแม่น้ำ

2. ระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น

เช่น ระบบนิเวศชุมชนเมือง แหล่งเกษตรกรรม นิคมอุตสาหกรรม หรือแม้กระทั่ง
ตู้ปลา อ่างเลี้ยงปลา ก็จัดเป็นระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
แสงสว่าง แสงจากดวงอาทิตย์เป็นพลังงานที่มีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก ปริมาณแสงใน
ธรรมชาติแต่ละแห่งจะแตกต่างกันทำให้สิ่งมีชีวิตในแต่ละแห่งแตกต่างกันไป พืชต้องการแสงจาก
ดวงอาทิตย์มากกว่าสัตว์ พืชใช้แสงเป็นพลังงานในกระบวนการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างสารอาหาร
สารอาหารสร้างขึ้นจะถ่ายทอด ไปยังสัตว์ในห่วงโซ่อาหาร ความต้องการแสงของสิ่งมีชีวิตจะมีความ
แตกต่างกัน
พืชที่มีแสงสว่างส่องถึงจะมีความหนาแน่นมากกว่าบริเวณที่มีแสงส่องถึงน้อย พืชแต่ละชนิด
ต้องการแสงในปริมาณแตกต่างกันแสงมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ สัตว์บางชนิดต้องการแสงน้อย
มักอาศัยอยู่ในร่มเงาหรือในที่มืด เช่น ตัวอ่อนของแมลงในทะเลทรายซึ่งมีแสงมากในเวลากลางวัน
สัตว์จะหลบซอนตัวและจะออกหากิน ในเวลากลางคืน ในทะเลลึกจะมีแสงสว่างน้อยมากหรือไม่มีเลย
สัตว์จะมีอวัยวะที่ทำหน้าที่กำเนิดแสงได้เอง เป็นต้น
อุณหภูมิ สิ่งมีชีวิตจะเลือกแหล่งที่อยู่อาศัยที่มีอุณหภูมิเหมาะสมกับตัวเอง อุณหภูมิที่เหมาะสม
ประมาณ 10-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิบนพื้นดินจะมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าในน้ำ จึงทำให้สิ่งมีชีวิต
บนพื้นดิน มีการปรับตัวในหลายลักษณะ เช่น การอพยพหนีหนาวของนกนางแอ่นจากประเทศจีน
มาหากินในประเทศไทย ในช่วงฤดูหนาว การจำศีลของกบเพื่อหนีร้อนหรือหนีห
แร่ธาตุและก๊าซ พืชและสัตว์นำแร่ธาตุและก๊าซต่างๆ ไปใช้ในการสร้างอาหารและโครงสร้าง
ของร่างกาย ความต้องการแร่ธาตุและก๊าซของสิ่งมีชีวิตจะมีความแตกต่างกัน

ความเป็นกรด-เบสของดินและน้ำ สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ในดินและแหล่งน้ำที่มีความเป็นกรด-เบส
ของดินและน้ำที่เหมาะสม จึงจะสามารถเจริญเติบโตและดำรงชีวิตอยู่ได้ ความเป็นกรด-เบสของดินและน้ำ
จะขึ้นอยู่กับปริมาณของแร่ธาตุที่ละลายปะปนอยู่

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

1. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ แสง , อุณหภูมิ , น้ำ , อากาศ ,ดินและแร่ธาตุในดิน

แสง เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เช่น

1. ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

2. การหุบและบานของดอกและใบของพืชหลายชนิด เช่น ใบไมยราบ ใบกระถิน

3. มีอิทธิพลต่อเวลาการออกอาหารของสัตว์

อุณหภูมิ เป็นปัจัยสำคัญที่มีอิธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตหลายประการ เช่น

1. อุณหภูมิมีผลต่อการหุบและบานของดอกไม้บางชนิด เช่น ดอกบัวจะบานตอนกลางวันและจะหุบในตอนกลางคืน

2. อุณหภูมิมีผลต่อพฤติกรรมบางประการของสัตว์ เช่น การจำศีลมนฤดูหนาวของหมีขั้วโลก

3. อุณหภูมิมีผลต่อลักษณะและรูปร่างของสิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์ในเขตหนาวจะมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าสัตว์ในเขตร้อน หรือสัตว์บางชนิดที่อยู่ในเขตหนาวจะมีขนหนากว่าสัตว์ในเขตร้อน

น้ำ เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เช่น

1. น้ำเป็นวัตถุดิบในการบวนการสังเคราะห์ด้วยแวงของพืช และน้ำยังเป็นตัวทำละลายที่สำคัญที่ทำให้แร่ธาตุต่างๆที่มีอยู่ในดินละลายและซึมสู่พื้นดินเพื่อให้พืชสามารถนำไปใช้ได้

2. น้ำเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด

3. น้ำเป็นส่วนประกอบในเซลล์ร่างกายของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด

4. น้ำเป็นสื่อกลางในการช่วยขับของเสียออกจากร่างการของสิ่งมีชีวิต

ดินและแร่ธาตุในดิน เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต

1. ดินเป็นแล่งที่อยู่ของพืช อีกทั้งยังให้แร่ธาตุที่จำเป็นในการดำรงชีวิต

2. ดินช่วยในการกักเก็บน้ำและอากาศ

3. ดินเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิดบนโลก

อากาศเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เช่น

1. อากาศมีแก๊สออกซิเจน ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิด

2. อากาศมีแก๊สออกซิเจน ที่ผสมอยู่ช่วยในการเผาไหม้

2. ความสัมพันธ์ระหว่างสางมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศ

2. ความสัมพันธ์ระหว่างสางมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศ

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในสายใยอาหารมีหลายรูปแบบ ได้แก่

2.1ภาวะล่าเหยื่อ ( Predation ) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตโดยฝ่ายหนึ่งจับอีกฝ่ายหนึ่งเป็นอาหาร เรียกว่า ผู้ล่า (predator) ส่วนฝ่ายที่ถูกจับเป็นอาหารหรือถูกล่า เรียกว่า เหยื่อ ( prey) เช่น -กบกับแมลง :กบเป็นผู้ล่า แมลงเป็นผู้ถูกล่า และเหยี่ยวกับหนู:เหยี่ยวเป็นผู้ล่าส่วนหนูเป็นผู้ถูกล่า

2.2ภาวะพึ่งพา ( Mutualism ) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดโดยต่างก็ไ ด้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน หากแยกกันอยู่จะไม่สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ เช่น
– ไลเคนส์ ( Lichens) : สาหร่ายอยู่ร่วมกับสาหร่าย สาหร่ายได้รับความชื้นและแร่ธาตุจากรา ราได้รับอาหารและออกซิเจนจากสาหร่าย

2.3ภาวะการได้ประโยชน์ ( Protocooperation ) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต2 ชนิด โดยก็ได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน แม้แยกกันอยู่ก็สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ เช่น – แมลงกับดอกไม้ : แมลงได้รับน้ำหวานจากดอกไม้ ส่วนดอกไม้ได้แมลงช่วยผสมเกสรทำให้แพร่พันธุ์ได้ดีขึ้น

2.4ภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูล ( Commensalism ) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต2 ชนิด โดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ เช่น
– ปลาฉลามกับเหาฉลาม : เหาฉลามเกาะติดกับปลาฉลาม ได้เศษอาหารจากปลาฉลามโดยปลาฉลามก็ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์อะไร
– พืชอิงอาศัย ( epiphyte) บนต้นไม้ใหญ่ : พืชอิงอาศัย เช่น ชายผ้าสีดาหรือกล้วยไม้เกาะอยู่บนต้นไม้ใหญ่ ได้รับความชุ่มชื้น ที่อยู่อาศัยและแสงสว่างที่เหมาะสมโดยต้นไม้ใหญ่ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ใดๆ
– นก ต่อ แตน ผึ้ง ทำรังบนต้นไม้ : สัตว์เหล่านี้ได้ที่อยู่อาศัย หลบภัยจากศัตรูธรรมชาติโดยต้นไม้ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์อะไร

2.5ภาวะปรสิต ( Parasitism ) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ เรียกว่า ปรสิต ( parasite) อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์เรียกว่าผู้ถูกอาศัย( host) เช่น
– เห็บ เหา ไร หมัด บนร่างกายสัตว์ : ปรสิตภายนอก ( ectoparasite) เหล่านี้ดูดเลือดจากร่างกายสัตว์จึงเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ ส่วนสัตว์เป็นฝ่ายเสียประโยชน์
– พยาธิ ในร่างกายสัตว์ :ปรสิตภายใน (endoparasite) จะดูดสารอาหารจากร่างกายสัตว์จึงเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ส่วนสัตว์เป็นฝ่ายเสียประโยชน์

2.6ภาวะมีการย่อยสลาย (Saprphytism) เป็นความสัมพันธ์ที่กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสารได้แก่ แบคทีเรีย ,เห็ด , รา จะสร้างสารออกมาย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตบางส่วนของสารที่ย่อยแล้ว จะดูดกลับไกใช้ในการดำรงชีวิต

การหมุนเวียงของสารในระบบนิเวศ

โดยทั่วไปในสภาวะแวดล้อมจะมีแร่ธาตุและสารต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบอยู่แล้วตามธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตไม่เพียงแต่ใช้ แร่ธาตุและสารจากธรรมชาติ แต่กิจกรรมการดำรงชีวิตก็มีการปล่อย สารบางอย่างกลับคืนสู่ธรรมชาติด้วย วนเวียนกันเป็นวัฏจักร

การหมุนเวียงน้ำในระบบนิเวศ

น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตอย่างยิ่ง น้ำเป็นตัวกลางของกระบวนการต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิต จากการวิเคราะห์องค์ประกอบของเซลล์ของสิ่งมีชีวิต พบว่ามีน้ำเป็นองค์ประกอบในปริมาณมาก
บางชนิดมีน้ำเป็นองค์ประกอบในเซลล์ถึงร้อยละ 95 สิ่งมีชีวิตจำนวนมากอาศัยน้ำเป็นแหล่งที่อยู่
เพราะผิวโลกเราประกอบด้วยพื้นน้ำถึง 3 ใน 4 ส่วน

การหมุนวียงไนโตรเจนในระบบนิเวศ

ไนโตรเจนเป็นแร่ธาตุสำคัญที่พืชต้องการในปริมาณมาก พืชจะใช้ไนโตรเจนในรูปของ สารประกอบพวกเกลือแอมโมเนีย เกลือไนไตร เกลือไนเตรต เพื่อสร้างสารประกอบอื่น ๆ ในเซลล์ ส่วนสัตว์จะได้รับสารดังกล่าว โดยถ่ายทอดมาในสายใยอาหาร สิ่งมีชีวิตในดิน พวกจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรียไรโซเบียม ในปมรากพืชตระกูลถั่ว แบคทีเรียที่ดำรงชีพอิสระ ในดิน และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินบางชนิด สามารถตรึงไนโตรเจนจากบรรยากาศ แล้วเปลี่ยนเป็นสารประกอบของไนโตรเจนที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ ในขณะเดียวกันก็มี จุลินทรีย์บางชนิดที่เป็นผู้ย่อยสลายอินทรีย์สารย่อยสลายซากพืชและสัตว์ที่ตายลง กลาย เป็นไนโตรเจนอิสระกลับคืนสู่บรรยากาศ และได้สารประกอบไนโตรเจนในดินที่พืชสามารถ นำไปใช้ได้ นอกจากนี้ไนโตรเจนอีกส่วนหนึ่งจะกลับคืนสู่บรรยากาศ โดยสัตว์ขับถ่ายสาร ประกอบไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนีย พืชบางชนิด เช่น – หม้อข้าวหม้อแกงลิง หยาดน้ำค้าง กาบหอยแครง ได้รับสารประกอบไนโตรเจนแตกต่าง จากพืชอื่น โดยมีส่วนของใบเปลี่ยนแปลงไปคลายกับดักแมลง เมื่อแมลงตกลงไปจะมี เอนไซม์ย่อยเนื้อเยื่อแมลง ได้เป็นสารประกอบไนโตรเจนที่เข้าสู่เซลล์พืชได้

การหมุนเวียงคาร์บอนในระบบนิเวศ

คาร์บอนเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของสารที่พบในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศถูกพืชนำมาเปลี่ยนแปลงเป็นสารอินทรีย์ที่มีคาร์บอน เป็นองค์ประกอบในพืชโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง สัตว์ได้รับสารที่มีคาร์บอน เป็นองค์ประกอบโดยการกินอาหาร สำหรับกลุ่มผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร ก็ได้รับสาร คาร์บอนจากกระบวนการย่อยสลาย สิ่งมีชีวิตทุกชนิดปล่อยคาร์บอนกลับคืนสู่บรรยากาศ โดยการหายใจออกในรูปของคาร์บอน ไดออกไซด์ ซึ่งพืชก็นำมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ ด้วยแสงอีก ในระบบนิเวศ จึงมีการหมุนเวียนคาร์บอนตลอดเวลา

ข้อสอบ

1.ข้อใด เป็นระบบนิเวศตามธรรมชาติ ?
ก. ชุมชนเมือง
ข. แหล่งเกษตรกรรม
ค. ป่าไม้
ง. ตู้ปลา

2.ข้อใด เป็นผู้บริโภคพืช ?
ก. นกเป็ดน้ำ
ข. กระต่าย
ค. แมว
ง. เสือ

เฉลย

1. ก

2. ข

(cr.//greentheworld.igetweb.com/index.php?mo=3&art=244791//www.youtube.com/watch?v=IG_VcrwZOH0//environbasical-es-crma.blogspot.com/2008/07/blog-post_30.html//www.4090917.ob.tc/type.htm//www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/59/KpkWeb/p153.htm//www.biogang.com/ecology.html)

ระบบอะไรบ้างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

ระบบที่พบในธรรมชาติ คือระบบที่ธรรมชาติสร้างขึ้น หรือ เป็นไปธรรมชาติ เช่น ระบบลาเลี่ยง ในพืช ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายมนุษย์ระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ ระบบหมุนเวียนเลือด ดังตัวอย่าง ภาพระบบการหายใจ

ระบบเทคโนโลยีที่เกิดเองตามธรรมชาติ10ระบบมีอะไรบ้าง

ระบบทางทางเทคโนโลยี (ระบบร่างกาย ( ระบบผิวหนัง, ระบบกล้ามเนื้อ, ….
ระบบผิวหนัง.
ระบบกล้ามเนื้อ.
ระบบโครงกระดูก.
ระบบหมุนเวียนโลหิต.
ระบบหายใจ.
ระบบประสาท.
ระบบต่อมต่าง ๆ.
ระบบย่อยอาหาร.

มีระบบอะไรบ้างที่มนุษย์สร้างขึ้น

2. ระบบที่มนุษย์สร้างขึ้น หมายถึง ระบบต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการ หรือเป็นเครื่องมือเครื่องใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน เช่น ระบบรถ ระบบเครื่องบิน ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบไฟฟ้า เป็นต้น ระบบทางเทคโนโลยีถือได้ว่าเป็นระบบที่มนุษย์สร้างขึ้น

สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น มีอะไรบ้าง

สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการสร้างของมนุษย์ เพื่อการดำเนินชีวิต เพื่อความสะดวกและประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น บ้าน โรงเรียน ถนน สะพาน ชุมชน ท้องนา เมือง เสื้อผ้า เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ประเพณี ปฏิบัติ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก