ท่าอากาศยานอุดรธานี ตารางบิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี

ข้อมูลสำคัญการใช้งานเจ้าของพื้นที่บริการสถานที่ตั้งความสูงเหนือระดับน้ำทะเลพิกัดเว็บไซต์แผนที่ทางวิ่งสถิติ (2563)

  • IATA: UTH
  • ICAO: VTUD

สาธารณะ (ศุลกากร) / ทหาร
กรมท่าอากาศยาน
จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดบึงกาฬ
กองบิน 23 ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
176 เมตร / 579 ฟุต
17°23′11″N 102°47′18″E / 17.38639°N 102.78833°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 17°23′11″N 102°47′18″E / 17.38639°N 102.78833°E
//minisite.airports.go.th/udonthani/

UTH

ตำแหน่งของท่าอากาศยานในประเทศไทย

UTH

UTH (ประเทศไทย)

ทิศทาง ความยาว พื้นผิว เมตร ฟุต
12/30 3,050 10,007 ยางมะตอย
ผู้โดยสารเที่ยวบิน
1,410,139
12,522

แหล่งข้อมูล: //www.airports.go.th

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี หรือ สนามบินอุดรธานี (อังกฤษ: Udon Thani International Airport) (IATA: UTH, ICAO: VTUD) ตั้งอยู่ในตัวเมืองของ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยตั้งอยู่ในเขตทหารกองทัพอากาศ (กองบิน 23 อุดรธานี) ซึ่งท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีเป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[1] และได้ประกาศท่าอากาศยานศุลกากรเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2497[2] ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีได้รับการปรับปรุง สร้างอาคารผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอีก และเชื่อมต่อกับตัวอาคารเดิมโดยได้รับงบประมาณจากรัฐบาลในการปรับปรุง สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2558

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี เป็นศูนย์กลางการบินของภาคอีสาน ซึ่งมีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ของภูมิภาคเนื่องจากอุดรธานีตั้งอยู่ใกล้เขตเศรษฐกิจพิเศษอย่าง จังหวัดหนองคาย และตั้งอยู่ใกล้เมืองหลวงของ สปป.ลาว อย่าง นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ห่างเพียง 50 กิโลเมตร ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี จึงเป็นส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนของประเทศไทย

ประวัติ[แก้]

พ.ศ. 2466 ท่าอากาศยานอุดรธานีเปิดบริการเป็นครั้งแรกอยู่ภายในตัวเมืองอุดรธานี หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2475 ได้ย้ายท่าอากาศยานย้ายมาสร้างใหม่ที่ตำบลหนองขอนกว้าง (บริเวณที่ตั้งกองบิน 23 ในปัจจุบัน) โดยมีทางวิ่งเป็นทางลูกรังยาวประมาณ 500 เมตร และในปี พ.ศ. 2500 ท่าอากาศยานอุดรธานีได้สร้างทางวิ่งใหม่เป็นคอนกรีตยาว 3,048 เมตร กว้าง 38 เมตร โดยความร่วมมือระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2533 กรมการบินพลเรือน (กรมท่าอากาศยานในปัจจุบัน) ได้ซื้อที่ดิน 400 ไร่ ที่ตำบลนาดี ถนนอุดร-เลย สร้างอาคารที่พักผู้โดยสารและหอบังคับการบิน พร้อมลานจอดเครื่องบิน สามารถจอดเครื่องบินแอร์บัส เอ320ได้ 2 ลำ จากนั้นในปี พ.ศ. 2543-2545 กรมการบินพลเรือน (กรมท่าอากาศยานในปัจจุบัน) ได้ขยายทางวิ่งจากความกว้าง 38 เมตร เป็น 45 เมตร รวมทั้งลานจอด พื้นที่ 47,250 ตารางเมตร สามารถจอดเครื่องบินแบบ Airbus ได้ 3 ลำ และ Boeing 737 ได้ 2 ลำ พร้อมกัน

ในปี พ.ศ. 2546-2548 ได้ก่อสร้างอาคารใหม่ (อาคารผู้โดยสาร A) พร้อมติดตั้งสะพานเทียบเครื่องบิน 1 สะพาน และปรับปรุงทางวิ่งและทางขับ และในปีพ.ศ. 2556-2558 ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีได้ปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสารหลังเดิมให้เป็นอาคารที่พักผู้โดยสารระหว่างประเทศ (อาคารผู้โดยสาร B) พร้อมติดตั้งสะพานเทียบเครื่องบินอีก 1 สะพาน[3]

การจะให้บริษัทท่าอากาศยานไทยเข้าบริหาร[แก้]

กระทรวงคมนาคมได้มีแผนการที่จะให้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) เข้าบริหารท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ในลักษณะการบริหารสัญญาร่วม หรือการจ้าง บมจ. ท่าอากาศยานไทย บริหารจัดการ โดยกรมท่าอากาศยานยังคงความเป็นเจ้าของท่าอากาศยาน[4][5]

ในเดือนมีนาคม 2565 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เปิดเผยว่ากระทรวงคมนาคมจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เข้าดูแลและบริหารจัดการท่าอากาศยานอุดรธานีแทนกรมท่าอากาศยาน[6]

อาคารสถานที่[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีและกองบิน 23 มีพื้นที่ท่าอากาศยานรวมกันจำนวน 2,000 ไร่

อาคารผู้โดยสาร[แก้]

ห้องพักผู้โดยสารขาออก อาคารผู้โดยสาร A

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีมีอาคารผู้โดยสารทั้งหมด 2 อาคาร คือ อาคาร A และอาคาร B เชื่อมกัน มีพื้นที่อาคารรวมกัน 19,200 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้ 1,200 คน/ชั่วโมง หรือประมาณ 3,460,000 คน/ปี และมีพื้นที่ลานจอดท่าอากาศยาน 135x600 เมตร รองรับอากาศยานประเภทโบอิง 737 ได้จำนวน 11 ลำ

อาคารผู้โดยสาร A[แก้]

พื้นที่เช็คอินและตรวจบัตรโดยสารอยู่บริเวณประตู 1 โดยมีสายการบินไทยสมายล์ นกแอร์ และไทยเวียตเจ็ทแอร์ทำการบินออกจากอาคาร A และมีทางออกขึ้นเครื่องทั้งหมด 3 ประตู คือประตู 1, 2 และ 3

มีร้านอาหารตามสั่งอยู่ชั้นสองของอาคาร[7]

อาคารผู้โดยสาร B[แก้]

พื้นที่เช็คอินและตรวจบัตรโดยสารอยู่บริเวณประตู 6 โดยมีสายการบินไทยแอร์เอเชีย ไทยไลอ้อนแอร์ ทำการบินออกจากอาคาร B และมีทางออกขึ้นเครื่องทั้งหมด 2 ประตู คือประตู 4 และ 5

มีร้านอาหารอยู่ 3 ร้านอยู่ชั้นหนึ่งของอาคาร[7]

ทางวิ่ง (รันเวย์)[แก้]

ทางวิ่งของท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีมี 1 เส้น ความกว้าง 45 เมตร พร้อมไหล่ทางวิ่งข้างละ 7.5 เมตร และความยาว 3,048 เมตร พร้อมพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (blastpads) ขนาดกว้างข้างละ 60 เมตร และความยาวข้างละ 303 เมตร โดยการบินพลเรือนกับการบินทหารใช้ทางวิ่งร่วมกัน

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีมีทางขับขนานกับทางวิ่ง 1 เส้น พร้อมทางขับออกจากทางวิ่ง 4 เส้น และทางขับสู่ลานจอดอีก 2 เส้น โดยส่วนมากจะมีความกว้างทั้งหมด 23 เมตร และการบินพลเรือนกับการบินทหารใช้ทางวิ่งร่วมกัน

รายชื่อสายการบิน[แก้]

รายชื่อสายการบินที่ให้บริการ[แก้]

สายการบิน จุดหมายปลายทาง อาคารที่ให้บริการ หมายเหตุ
การบินไทยสมายล์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ อาคารผู้โดยสาร A ภายในประเทศ
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ อาคารผู้โดยสาร ฺA ภายในประเทศ
นกแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง อาคารผู้โดยสาร A ภายในประเทศ
เชียงใหม่ อาคารผู้โดยสาร A ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง อาคารผู้โดยสาร B ภายในประเทศ
ภูเก็ต อาคารผู้โดยสาร B ภายในประเทศ
ไทยไลอ้อนแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง อาคารผู้โดยสาร B ภายในประเทศ
หาดใหญ่ อาคารผู้โดยสาร B ภายในประเทศ

รายชื่อสายการบินบริการขนส่งสินค้า[แก้]

สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
การบินไทยสมายล์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ [7]
เค-ไมล์ แอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง
นกแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง [7]
ไทยไลอ้อนแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, หาดใหญ่ [7]

รายชื่อสายการบินที่เคยให้บริการ[แก้]

สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
การบินไทย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
การบินไทยสมายล์ นครศรีธรรมราช ภายในประเทศ
การบินลาว หลวงพระบาง ระหว่างประเทศ
เดินอากาศไทย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย เชียงใหม่, อู่ตะเภา, หัวหิน ภายในประเทศ
ไทเกอร์แอร์เวย์ สิงคโปร์ ระหว่างประเทศ
นกมินิ เชียงใหม่ ภายในประเทศ
นกแอร์ เลย, อุบลราชธานี ภายในประเทศ
บางกอกแอร์เวย์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ, เชียงใหม่ ภายในประเทศ
บิสิเนสแอร์ อินชอน (เช่าเหมาลำ) ระหว่างประเทศ
พีบีแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, เชียงใหม่ ภายในประเทศ
ภูเก็ตแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, เชียงใหม่ ภายในประเทศ
วัน-ทู-โก กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
แองเจิลแอร์ไลน์ เชียงใหม่ ภายในประเทศ
โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ เชียงราย, ภูเก็ต ภายในประเทศ

สถิติ[แก้]

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ[แก้]

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศในแต่ละปีปฏิทิน[8]ปี (พ.ศ.) ผู้โดยสาร ความเปลี่ยนแปลง จำนวนเที่ยวบิน ขนส่งสินค้า (ตัน) 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564
373,508 2,191 1,355.89
356,037
4.68%
2,369 1,213.08
357,309
0.36%
2,327 1,373.93
613,740
71.77%
4,627 1,431.95
672,355
9.55%
5,303 1,677.83
675,703
0.50%
6,146 1,638.18
719,307
6.45%
5,957 1,626.38
661,247
8.07%
5,293 1,776.74
722,587
9.28%
5,437 1,750.16
816,602
13.01%
6,691 2,312.64
1,011,881
23.91%
8,336 2,654.89
1,184,517
17.06%
9,986 2,946.80
1,325,302
11.89%
11,374 2,827.11
1,682,709
26.97%
13,734 3,590.90
2,213,689
31.56%
16,911 3,678.05
2,350,005
6.16%
15,868 3,394.01
2,577,524
9.68%
17,901 2,452.24
2,651,242
2.86%
18,855 1,330.35
2,507,926
5.41%
18,043 932.78
1,410,139
43.77%
12,522 626.13
661,795
53.06%
5,756 415.74

การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีตั้งอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 210 (อุดรธานี–หนองบัวลำภู) ประมาณ 600 เมตร ซึ่งอยู่บริเวณในวงแหวนรอบตัวเมือง มีลานจอดรถยนต์ทั้งหมด 4 ลานจอด สามารถจุรถยนต์ได้ 665 คัน คือ[7]

  • ลานจอดรถยนต์ A และ B เป็นลานจอดมีหลังคา มีกล้องวงจรปิด คิดค่าบริการชั่วโมงละ 20 บาท หากจอดรถ 8 ชั่วโมงขึ้นไปจะคิดเป็น 1 วัน วันละ 200 บาท
  • ลานจอดรถยนต์ C เป็นลานจอดแบบไม่มีหลังคา ยังไม่เปิดใช้บริการ
  • ลานจอดรถยนต์ D เป็นลานดิน ไม่คิดค่าบริการ แต่ท่าอากาศยานอุดรธานีจะไม่รับผิดชอบใดใดหากเกิดความเสียหายต่อรถยนต์และทรัพย์สินของท่าน

ที่ท่าอากาศยานมีบริการรถเช่า และบริการแท็กซี่ให้บริการไปยังตัวเมืองอุดรธานีในราคา 200 บาทต่อคัน หรือหนองคายในราคา 900 บาทต่อคัน และรถตู้ให้บริการไปยังตัวเมืองอุดรธานีในราคา 80 บาทต่อท่าน และจากสนามบินไปหนองคายในราคา 200 บาทต่อท่าน[7]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • รายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทย
  • กองบิน 23 อุดรธานี

อ้างอิง[แก้]

  1. ท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน
  2. รายชื่อท่าอากาศยานศุลกากรของกรมท่าอากาศยาน
  3. ประวัติความเป็นมา ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี
  4. "เบื้องลึกเด้งอธิบดีทย. เซ่นการเมืองขวางทอท.ฮุบสนามบิน". ฐานเศรษฐกิจ. 8 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2564.
  5. "คมนาคม เคาะให้ ทอท. เช่าบริหาร 3 สนามบิน ของ ทย. ระบุโอนให้ไม่ได้ไม่มีกฎหมายรองรับ". ข่าวสด. 14 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2564.
  6. ""ศักดิ์สยาม" เปิดไทม์ไลน์โอนย้าย 3 สนามบิน จ่อเสนอ ครม. เมษายนนี้". ไทยรัฐ. 21 มีนาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2565. ;
  7. ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 สิ่งอำนวยความสะดวกภายในท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี
  8. ข้อมูลสถิติท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก