เมืองสุโขทัยนี้ดีในน้ำมีปลาในนามีข้าวแสดงให้เห็นถึงอะไร

สำหรับผู้สูงอายุ

ทะเลหลวง

แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์รูปหัวใจ

    นับพันปีล่วงแล้วที่ดินแดนแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นอาณาจักรแรกของความเป็นไทย เป็นดินแดนแห่งอารยะธรรมโบราณที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ดังคำกล่าวในศิลาจารึกหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่ว่า “เมืองสุโขทัยนี้ดีในน้ำมีปลาในนามีข้าว” แสดงถึงแผ่นดินที่มีทรัพยากรธรรมชาติแหล่งดินน้ำอุดมสมบูรณ์ ทั้งในอดีตยังมีการบริหารจัดการระบบชลประทานที่ดีเยี่ยม เป็นเมืองที่มีการวางผังเมืองที่ดีที่สุดในบรรดาเมืองโบราณร่วมสมัยที่มีอยู่ในศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ด้วยเหตุผลที่ว่าพระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงผู้สร้างเมืองสุโขทัยเลือกบริเวณที่ราบเชิงเขาประทักษ์ซึ่งเป็นพื้นที่ลาดเอียงเป็นที่ตั้งของเมืองสุโขทัยแล้วคิดวิธีบริหารจัดการน้ำด้วยการทำเขื่อนสรีดภงส์หรือทำนบพระร่วง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ทำเหมืองฝายเพื่อชะลอความรุนแรงของน้ำก่อนที่จะทดน้ำใช้ในตัวเมืองสุโขทัย

     แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์รูปหัวใจ ทะเลหลวง(แก้มลิง) เป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่สร้างสรรค์ขึ้นจากคำว่า"ทะเลหลวง"แหล่งน้ำที่กว้างใหญ่ไพศาลของเมืองสุโขทัยในอดีตเพราะคำว่า “ทะเลหลวง” ปรากฏในจารึกสุโขทัยหลายหลักและคำว่า แผ่นดินรูปหัวใจ เกิดจากแนวคิดของ ฯพณฯ สมศักดิ์ เทพสุทิน ที่ต้องการให้แผ่นดินนี้เป็นศูนย์รวมแห่งความรักใคร่ปรองดองของชาวเมืองสุโขทัยและเชื่องโยงความรักความผูกพันกับบรรพบุรุษสมัยสุโขทัยถึงปัจจุบันจึงเลือกสัญญาลักษณ์แห่งความรักคือ “รูปหัวใจ” ทะเลหลวงปัจจุบันเป็นการทำชลประทาน คือกักเก็บและระบายน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคและใช้สำหรับการเกษตรเพื่อการบรรเทาอุทกภัยที่เกิดขึ้นมากในจังหวัดสุโขทัย มีประตูผันน้ำเข้าและระบายน้ำออกไปสู่ผืนนาเพื่อประโยชน์ให้เกษตรได้ทำไร่นาปลูกพืชผลได้ดีขึ้น

     ขณะนี้แผ่นดินผืนน้ำทะเลหลวงในอดีตเมื่อร่วมพันปีได้ถูกพลิกฟื้นขึ้นใหม่เป็นแผ่นดินรูปหัวใจ ในบริเวณพื้นที่ตำบลบ้านกล้วยและตำบลปากแคว อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัยจำนวน 7,070 ไร่ เป็นผืนน้ำ 3,755ไร่ แผ่นดิน 3,495ไร่ ผืนน้ำเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุด แผ่นดินจะเป็นที่ตั้งสถานที่ราชการ เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาและศูนย์รวมพันธุ์พืชท้องถิ่นที่ใหญ่สุดของภาคเหนือ ทุ่งทะเลหลวงแห่งนี้ในอนาคตจะเป็นศูนย์รวมแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญยิ่งของจังหวัดสุโขทัยและแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์รูปหัวใจแห่งนี้จะเป็นศูนย์รวมแห่งความรักความศรัทธาของชาวสุโขทัยอย่างแท้จริง

ขอบคุณภาพถ่ายและเนื้อเรื่องจาก  หนังสือ  ทะเลหลวง  โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย

และ  I AM OLE BANNOK

มิวเซียมในจังหวัดสุโขทัย

18 พฤศจิกายน 2562

16,275

569

28 มิถุนายน 2562

7,563

482

01 มีนาคม 2563

11,155

594

02 กรกฎาคม 2562

14,190

515

25 พฤศจิกายน 2564

9,886

563

28 มิถุนายน 2562

4,171

505

28 มิถุนายน 2562

5,801

271

28 มิถุนายน 2562

4,052

245

การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1763 - พ.ศ. 1893)

ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ราชอาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองมาก เพราะพระองค์เป็นทั้งนักรบและนักปราชญ์ ทรงปกครองประเทศชาติได้เป็นปึกแผ่นและมีการขยายการค้าไปทั่วราชอาณาจักรและไปถึงต่างประเทศ จากความเจริญรุ่งเรืองและมีการประกอบการค้าทั้งในและนอกราชอาณาจักรในยุตสมัยราชอาณาจักรสุโขทัยดังที่กล่าวมาข้างต้นปรากฏในศิลาจารึกซึ่งแสดงหลักฐานว่า มีการจัดเก็บภาษีอากรมาตั้งแต่ก่อนยุคพ่อขุนรามคำแหง คือข้อความตอนหนึ่งที่ว่า

เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง   เมืองสุโขทัยนี้ดี

ในน้ำมีปลาในนามีข้าว   เจ้าเมืองบ่เอาจังกอบในไพร่ลู่ทาง

เพื่อนจองวัวไปค้า   ขี่ม้าไปขาย

ใครจักค้าช้างค้า   ใครจักค้าม้าค้า

จากข้อความที่ว่าแต่เดิมมีการจัดเก็บจังกอบ จำกอบ หรือจกอบนี้ เป็นค่าเดียวกัน เป็นภาษีชนิดหนึ่งที่เก็บจากผู้นำสัตว์และสิ่งของสินค้าไปเพื่อขายในที่ต่างๆ หรือหมายถึงภาษีที่เก็บจากสัตว์และสิ่งของที่นำเข้ามาจำหน่าย โดยวิธีเก็บจังกอบในสมัยนั้นจะเก็บในอัตรา 10 ชัก 1 และการเก็บนั้นมิได้เก็บเป็นตัวเงินเสมอไป คือเก็บเป็นสิ่งของแทนตัวเงินก็ได้แล้วแต่จะเก็บอย่างใดได้สะดวก เพราะในสมัยนั้นวัตถุที่ใช้แทนเงินตรายังไม่สมบูรณ์ ในยุคสมัยนั้น ในการจัดเก็บจังกอบ รัฐบาลจะตั้งเป็นสถานที่คอยดักเก็บในสถานที่ที่สะดวก เช่นถ้าเป็นทางบก ก็จะไปตั้งที่ปากทางหรือทางที่จะเข้าเมือง ถ้าเป็นทางน้ำ ก็จะตั้งใกล้ท่าแม่น้ำหรือเป็นทางร่วมสายน้ำ โดยสถานที่เก็บจังกอบ เรียกว่า ขนอน ทั้งนี้ขนอนจะเป็นที่คอยเก็บจังกอบสินค้าทั่วไป ไม่เฉพาะเพียงการนำเข้าและขนออกนอกราชอาณาจักรเท่านั้น เพราะมีทั้งขนอนบก ขนอนน้ำ ขนอนชั้นนอก ขนอนชั้นใน และ ขนอนตลาด เป็นต้น การจัดเก็บจังกอบเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนยุคสุโขทัย และได้ยกเว้นไม่เก็บจังกอบจากราษฎรเลยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ในภายหลังจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงไม่มีหลักฐานว่า ในยุคสุโขทัยได้มีการจัดเก็บจังกอบจากราษฎรอีกหรือไม่

ที่มา :: หนังสือที่ระลึกในการเปิดอาคารกรมสรรพากร 2 กันยายน 2540

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก