ขอบเขตของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีดังนี้

1.1  ขอบเขตงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

        การดำเนินการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดโรค ปลอดภัย มีสภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล การบริการที่จัดขึ้นในสถานประกอบการโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมและดำรงไว้ ซึ่งสุขภาพอนามัยที่ดีของผู้ประกอบอาชีพ รวมทั้งการควบคุมโรคตลอดจนอันตราย อันเกิดจากอุปกรณ์และเครื่องจักรในการปฏิบัติงาน

1.1.1  ขอบเขตตามข้อกำหนดของ WHO และ ILO

          องค์การอนามัยโลก (World Health Organization – WHO) WHO เป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในกฎบัตรของสหประชาชาติ และก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2491

โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างพวกเขาและหน่วยงานอื่นเพื่อส่งเสริมสุขอนามัยของทุกคน ประการ

1. การส่งเสริมสุขภาพ (Promotion)และธำรงรักษาไว้ (Maintenance) เพื่อให้ทุกคนทุกอาชีพมีสุขภาพร่างกาย จิตใจที่สมบรูณ์

2. การป้องกัน(Prevention) สุขภาพคนทำงานไม่ให้เสื่อมโทรมหรือผิดปกติจากสาเหตุอันเนื่องจากการทำงาน

3. การปกป้องคุ้มครอง (Protection) คนทำงานหรือลูกจ้างไม่ให้ทำงานที่เสี่ยงอันตราย 

4. จัดคนงานให้ทำงานในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม กับความสามารถของร่างกายและจิตใจ

 5. ปรับงานให้เหมาะสมกับคน และปรับคนให้เหมาะสมกับสภาพการทำงาน

1.1.2 ขอบเขตในศาสตร์และงานในสาขาวิชาต่างๆ

1.  งานอาชีวศาสตร์ ซึ่งมีนักอาชีวสุขศาสตร์ (Occupational hygienist) ทำหน้าที่สืบค้นตรวจประเมินเพื่อควบคุมสิ่งแวดล้อมการทำงาน

2.  งานอาชีวนิรภัย (Occupational Safety) บุคลากรประกอบด้วย นักวิทยาศาสตร์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย วิศวกรความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในกาารทำงาน นักการยศาสตร์ (Argonomist) มีหน้าที่ตรวจสภาพการทำงานและสิ่งแวดล้อมการทำงานเพื่อประเมิน ป้องกัน และควบคุมอุบัติเหตุ

3.  งานอาชีวเวชสาสตร์ (Occupational  Medicine) บุคลากรประกอบด้วย แพทย์อาชีวอนามัย พยาบาลอาชีวอนามัย ทำหน้าที่ในการตรวจสอบร่างกายและรักษาโรคแก่คนทำงาน

4.  งานเวชกรรมฟื้นฟู (Rehabilitation) ประกอบด้วย แพทย์เฉพาะสาขา นักกายภาพบำบัด นักวิจัยอุตสาหกรรม ทำหน้าที่ฟื้นฟูสภาพความพิการของทำงาน

1.2  สภาวะการทำงานไม่ปลอดภัยและการเสริมสร้างความปลอดภัย

      1.2.1  สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย 

สภาวะการทำงานที่ไม่ปลอดภัย เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุและจากกความไม่เหมาะสมของปัจจัยต่างๆปัจจัยสำคัญส่วนใหญ่เกิดจากพนักงานและสื่งแวดล้อมการทำงาน

 1.  เกิดจากพนักงาน ได้แก่ การขาดความรู้ ประสบการณ์ ความชำนาญและขาดความเข้าใจในงานที่ทำ มีเจตคิต และจิตสำนึกที่ไม่ปลอดภัย

 2.  เกิดจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน ได้แก่ สภาพการทำงานไม่ปลอดภัยหรือมีความผิดพลาดของสิ่งต่างๆ ได้แก่ เครื่องจักรกล อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้เสียง แสงรังสี ความสั่นสะเทือน ความร้อน ความเย็น อากาศที่หายใจก๊าซ ไอสาร ฝุ่น รวมถึงสภาพการทำงานที่ซ้ำซาก เร่งรีบ งานกะ งานล่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม

        1.2.2  การเสริมสร้างความปลอดัยด้วยหลัก 3 E

 โรค อุบัติภัย การบาดเจ็บ การสูญเสีย มีผลต่อพนักงานทรัพย์สิน ผลผลิตและคุณภาพงานความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น สามารถควบคุมได้โดยการบริหารจัดการให้มีความปลอดภัยในงาน

 1.  Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)  คือการใช้ความรู้วิชาการด้านวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ในการคำนวนและออกแบบเครื่องจักรเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพการใช้งานที่ปลอดภัยที่สุด การติดตั้งเครื่องป้องกันอันตรายให้แก่ส่วนที่เคลื่อนไหวหรืออันตรายของเครื่องจักร การวางผังโรงงาน ระบบไฟฟ้า แสงสว่าง เสียง การระบายอากาศ เป็นต้น

 2.  Education (การศึกษา)  คือการให้การศึกษา หรือ การฝึกอบรมและแนะนำคนงาน หัวหน้างาน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำงาน ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุ และการเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงงาน ให้รู้ว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นและป้องกันได้อย่างไร และจะทำงานวิธีใดจึงจะปลอดภัยที่สุด เป็นต้น

3.  Enforcement (การออกกฎข้อบังคับ) คือการกำหนดวิธีการทำงานอย่างปลอดภัย และมาตรการบังคับควบคุมให้คนงานปฏิบัติตาม เป็นระเบียบปฏิบัติที่ต้องประกาศให้ทราบทั่วกัน หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงโทษ เพื่อให้เกิดความสำนึกและหลีกเลี่ยงการทำงานที่ไม่ถูกต้อง หรือเป็นอันตราย

ขอบเขตของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยคืออะไร

ขอบเขตงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเป็นการด าเนินการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อ ดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดโรค ปลอดภัย มีสภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล งานบริการที่จัดขึ้นในสถานประกอบการโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะ ...

ข้อใดคือผู้ที่กําหนดขอบเขตงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ลักษณะงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะกรรมการร่วมระหว่างองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization; IKO) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) ได้กำหนดจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยไว้ดังนี้ คือ

อาชีวอนามัยมีความสําคัญอย่างไร

ป้องกัน – การป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบอาชีพ มีสุขภาพทรุดโทรม อันเนื่องมาจากสภาพการทำงานที่ผิดปกติไป ปกป้องคุ้มครอง – การปกป้องคุ้มครองผู้ประกอบอาชีพ ไม่ให้มีการทำงานที่เสี่ยงต่ออันตรายทั้งปวง จัดการทำงาน – จัดการสภาพสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ให้มีความเหมาะสมกับสภาพร่างกาย และจิตใจ ของผู้ประกอบอาชีพ

จุดมุ่งหมายของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมีอะไรบ้าง

เป้าหมายของอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ประกอบด้วยการส่งเสริมให้เกิดให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและมีอนามัย ทั้งยังให้การป้องกันต่อเพื่อนร่วมงาน, สมาชิกในครอบครัว, ผู้ว่าจ้าง, ลูกค้า และอื่น ๆ อีกมากที่อาจได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน ส่วนในสหรัฐอเมริกา คำนิยามนี้ยังกินความหมายเป็น อาชีวอนามัย และความ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก