บทบาทของพระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัย

พระมหากษัตริย์ไทยสมัยอยุธยา

เมื่อสิ้นกรุงสุโขทัย พระเจ้าอู่ทองได้สร้างกรุงศรีอยุธยา ศาสนาพราหมณ์เข้ามามีบทบาทอย่างมากโดยอิทธิพลของขอมและละโว้ ซึ่งถือว่ากษัตริย์คือพระผู้เป็นเจ้าอวตารมาเกิด พระเจ้าอู่ทองก็กลายเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ รูปแบบของสถาบันพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาแตกต่างจากสมัยสุโขทัยอย่างมากระบอบการปกครองของอยุธยาเป็นระบอบการปกครองซึ่งพระมหากษัตริย์มีอำนาจเป็นล้นพ้น

สังคมในสมัยอยุธยาขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์โดยตรง ซึ่งต่างกับสมัยสุโขทัยที่พระมหากษัตริย์ทรงปกครองราษฎรเยี่ยงบิดาปกครองบุตร แต่ในสมัยอยุธยาเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้ากับข้าโดยแท้ ตำแหน่งพระมหากษัตริย์เป็นตำแหน่งที่ช่วงชิงกันด้วยอำนาจทางทหาร แนวความคิดเกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทวราชและทรงใช้พระราชอำนาจในฐานะที่ทรงเป็นสมมติเทพ กฎเกณฑ์ตลอดจนขนบประเพณีต่างๆ ได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อรักษาฐานะเทวราชของพระมหากษัตริย์ ทำให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอาจเป็นล้นพ้น

ดูเพิ่ม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • พระมหากษัตริย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย ครองราชย์ก่อนหน้าถัดไปพระราชบุตรราชวงศ์พระราชบิดาพระราชมารดาพระราชสมภพสวรรคตศาสนา
พระบาทกมรเตงอัญศรีรามราช

พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

พ.ศ. 1822 - พ.ศ. 1842 (20 ปี)
พ่อขุนบานเมือง
พระยาเลอไทย
พระยาเลอไทย
พญาไสสงคราม
แม่นางเทพสุดาสร้อยดาว
พระร่วง
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
นางเสือง
พ.ศ. 1790
อาณาจักรสุโขทัย
พ.ศ. 1842 (52 พรรษา)
อาณาจักรสุโขทัย
พุทธ

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือ ขุนรามราช หรือ พระบาทกมรเตงอัญศรีรามราช[1] เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ. 1822 ถึงประมาณ พ.ศ. 1842 พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ได้รับการยกย่องเป็น "มหาราช" ด้วยทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์แก่แผ่นดิน ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากกว่าแปดร้อยปี

พระราชประวัติ

พระประสูติกาล

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 3 ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับนางเสือง โดยพระองค์มีพระเชษฐา 2 พระองค์และพระขนิษฐา 2 พระองค์ พระเชษฐาพระองค์แรกสิ้นพระชนม์ตั้งแต่พ่อขุนรามคำแหงยังทรงพระเยาว์ พระเชษฐาพระองค์ที่สองทรงพระนามตามศิลาจารึกว่า "พระยาบานเมือง" ซึ่งได้เสวยราชสมบัติต่อจากพระบรมชนกนาถ และเมื่อพ่อขุนบานเมืองได้เสด็จสวรรคตแล้ว พ่อขุนรามคำแหงจึงเสวยราชสมบัติต่อมา

ตามพงศาวดารโยนก พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัย พญามังรายแห่งล้านนา และพญางำเมืองแห่งพะเยา เป็นศิษย์ร่วมพระอาจารย์เดียวกัน ณ สำนักพระสุกทันตฤๅษี ที่เมืองละโว้ จึงน่าจะมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน โดยพญามังรายประสูติเมื่อ พ.ศ. 1782 พ่อขุนรามคำแหงก็น่าจะประสูติในปีใกล้เคียงกันนี้

พระนาม

เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีพระชนมายุ 19 พรรษา ได้ทรงทำยุทธหัตถีมีชัยต่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด (อยู่ในบริเวณแม่สอดใกล้จังหวัดตาก แต่อาจจะอยู่ในเขตประเทศพม่าในปัจจุบัน) พระบรมชนกนาถจึงทรงขนานพระนามว่า "พระรามคำแหง" ซึ่งแปลว่า "พระรามผู้กล้าหาญ" ภายหลังเมื่อพระบรมชนกนาถได้เสด็จสวรรคต และพ่อขุนบานเมือง พระเชษฐาธิราช ได้เสวยราชสมบัติต่อมา พ่อขุนรามคำแหงจึงได้ไปเป็นเจ้าเมืองครองเมืองศรีสัชนาลัย

ราชบัณฑิตยสถานสันนิษฐานว่า พระนามเดิมของพระองค์คือ เจ้าราม เพราะปรากฏพระนามเมื่อเสวยราชย์แล้วว่า "พ่อขุนรามราช" อนึ่ง สมัยนั้นนิยมนำชื่อปู่มาตั้งเป็นชื่อหลาน ซึ่งตามพระราชนัดดาของพระองค์มีพระนามว่า "พระยาพระราม" และในชั้นพระราชนัดดาของพระราชนัดดา ในเหตุการณ์การแย่งชิงราชสมบัติกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1962 ตามพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ปรากฏเจ้าเมืองพระนามว่า "พระยาบาลเมือง" และ "พระยาราม"

การเสวยราชย์

พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พ่อขุนบานเมือง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระยาเลอไทย
พระยางั่วนำถุม
พระมหาธรรมราชาที่ 1
พระมหาธรรมราชาที่ 2
พระมหาธรรมราชาที่ 3
พระมหาธรรมราชาที่ 4

นายตรี อมาตยกุล ได้เสนอว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชน่าจะเสวยราชย์ พ.ศ. 1820 เพราะเป็นปีที่ทรงปลูกต้นตาลที่สุโขทัย[2]

ศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต จึงได้หาหลักฐานมาประกอบพบว่า กษัตริย์ไทยอาหมถือประเพณีทรงปลูกต้นไทรตอนขึ้นเสวยราชย์อย่างน้อยเจ็ดรัชกาลด้วยกัน ทั้งนี้ เพื่อสร้างโชคชัยว่ารัชกาลจะอยู่ยืนยงเหมือนต้นไทร อนึ่ง ต้นตาลและต้นไทรเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของลังกา

พระราชกรณียกิจ

รัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นยุคที่กรุงสุโขทัยเฟื่องฟูและเจริญขึ้นกว่าเดิมเป็นอันมาก ระบบการปกครองภายในก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยอย่างมีประสิทธิภาพ มีการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง ประชาชนอยู่ดีกินดี สภาพบ้านเมืองก้าวหน้าทั้งทางเกษตร การชลประทาน การอุตสาหกรรม และการศาสนา อาณาเขตของกรุงสุโขทัยได้ขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาล

การเมืองการปกครอง

เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงขจัดอิทธิพลของเขมรออกไปจากกรุงสุโขทัยได้ในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 การปกครองของกษัตริย์สุโขทัยได้ใช้ระบบปิตุราชาธิปไตยหรือ "พ่อปกครองลูก" ดังข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า คำพูด"....เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่อบ้านท่อเมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู.."

ข้อความดังกล่าวแสดงการนับถือบิดามารดา และถือว่าความผูกพันในครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญ ครอบครัวทั้งหลายรวมกันเข้าเป็นเมืองหรือรัฐ มีเจ้าเมืองหรือพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว

ปรากฏข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้พระราชอำนาจในการยุติธรรมและนิติบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้

1) ราษฎรสามารถค้าขายได้โดยเสรี เจ้าเมืองไม่เรียกเก็บจังกอบหรือภาษีผ่านทาง

2) ผู้ใดล้มตายลง ทรัพย์มรดกก็ตกแก่บุตร

3) หากผู้ใดไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีพิพาท ก็มีสิทธิไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้หน้าประตูวังเพื่อถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ได้ พระองค์ก็จะทรงตัดสินด้วยพระองค์เอง

นอกจากนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชยังทรงใช้พุทธศาสนาเป็นเครื่องช่วยในการปกครอง โดยได้ทรงสร้าง "พระแท่นมนังคศิลาบาตร" ขึ้นไว้กลางดงตาล เพื่อให้พระเถรานุเถระแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันพระ ส่วนวันธรรมดาพระองค์จะเสด็จประทับเป็นประธานให้เจ้านายและข้าราชการปรึกษาราชการร่วมกัน[3]

เศรษฐกิจและการค้า

โปรดให้สร้างทำนบกักน้ำที่เรียกว่า “สรีดภงส์” เพื่อนำน้ำไปใช้ในตัวเมืองสุโขทัยและบริเวณใกล้เคียง โดยอาศัยแนวคันดินที่เรียกว่า “เขื่อนพระร่วง” ทำให้มีน้ำสำหรับใช้ในการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภคในยาม ที่บ้านเมืองขาดแคลนน้ำ

ทรงส่งเสริมการค้าขายอย่างเสรีภายในราชอาณาจักรด้วยการไม่เก็บภาษีผ่านด่านหรือ “จกอบ” (จังกอบ) จากบรรดาพ่อค้าที่เข้ามาค้าขายในกรุงสุโขทัย ดังคำจารึกบนศิลาจารึกว่า "เจ้าเมือง บ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง" นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่ปรากฏว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงส่งเสริมให้ชาวสุโขทัยนิยมการค้าขายนั้น ปรากฏตามศิลาจารึกตอนหนึ่งว่า "เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจะใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า" อันเป็นการแสดงให้เห็นว่า ทรงเปิดเสรีทุกประการในการค้าขายทำให้การค้าขายขยายออกไปอย่างกว้างขวางจนปรากฏแหล่งการค้าสำคัญในสุโขทัยได้แก่ "ตลาดปสาน" จากศิลาจารึกกล่าวว่า "เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัย มีตลาดปสาน"

ในด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับมหาอำนาจอย่าง "จีน" โดยนอกจากการเพิ่มพูนสัมพันธไมตรีตามปกติแล้ว ยังโปรดให้นำช่างจากชาวจีนมาเพื่อก่อตั้งโรงงานตั้งเตาทำถ้วยชามทั้งเพื่อใช้ในประเทศ และสามารถส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียงได้ด้วย ถ้วยชามที่ผลิตในยุคนี้เรียกว่า "ชามสังคโลก"

ศาสนาและวัฒนธรรม

ภาพด้านหลังธนบัตรไทยชนิดราคา 20 บาท (ชุดที่ 16) รูปพระบรมราชานุสาวรีย์ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้แทนตัวอักษรขอมที่เคยใช้กันมาแต่เดิม เมื่อ พ.ศ. 1826 เรียกว่า “ลายสือไทย” และได้มีการพัฒนาการมาเป็นลำดับจนถึงอักษรไทยในยุคปัจจุบัน ทำให้คนไทยมีอักษรไทยใช้มาจนถึงทุกวันนี้

โปรดให้จารึกเรื่องราวบางส่วนที่เกิดในสมัยของพระองค์ โดยปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ทำให้คนไทยยุคหลังได้ทราบ และนักประวัติศาสตร์ได้ใช้ศิลาจารึกดังกล่าวเป็นข้อมูลหลักฐานในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวประวัติศาสตร์สุโขทัย

ทรงรับเอาพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ จากลังกา ผ่านเมืองนครศรีธรรมราช มาประดิษฐานที่เมืองสุโขทัย ทำให้พระพุทธศาสนาวางรากฐานมั่นคงในอาณาจักรสุโขทัย และเผยแผ่ไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ในราชอาณาจักรสุโขทัย จนกระทั่งได้กลายเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาจนถึงทุกวันนี้

เมื่อพระพุทธศาสนาได้มาตั้งมั่นที่นครศรีธรรมราช พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงให้นิมนต์พระเถระชั้นผู้ใหญ่จากเมืองนครศรีธรรมราชไปตั้งเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่กรุงสุโขทัยด้วย และนับเป็นการเริ่มการเจริญสัมพันธไมตรีกับลังกา อีกทั้งทรงได้สดับกิตติศัพท์ของ "พระพุทธสิหิงค์" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เจ้าราชวงศ์ลังกาสร้างขึ้นด้วยพระพุทธลักษณะที่งดงาม และมีความศักดิ์สิทธิ์ จึงทรงให้พระยานครศรีธรรมราช เจ้าประเทศราชแต่งสาส์นให้ทูตถือไปยังลังกา เพื่อขอเป็นไมตรีและขอพระราชทานพระพุทธสิหิงค์มาเพื่อเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองไทยสืบไป

อาณาเขต

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางไพศาล คือ

ทิศตะวันออก ทรงปราบได้เมืองสรหลวงสองแคว (พิษณุโลก), ลุมบาจาย, สะค้า (สองเมืองหลังนี้อาจอยู่แถวลุ่มแม่น้ำน่านหรือแควป่าสักก็ได้), ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปถึงเวียงจันทน์และเวียงคำในประเทศลาว

ทิศใต้ ทรงปราบได้คนที (บ้านโคน จังหวัดกำแพงเพชร), พระบาง (นครสวรรค์), แพรก (ชัยนาท), สุพรรณภูมิ, ราชบุรี, เพชรบุรี, และนครศรีธรรมราช โดยมีฝั่งทะเลสมุทร (มหาสมุทร) เป็นเขตแดนไทย

ทิศตะวันตก ทรงปราบได้เมืองฉอด,มีสมุทรเป็นเขตแดนไทย

ทิศเหนือ ทรงปราบได้เมืองแพร่, เมืองน่าน, เมืองพลัว (อำเภอปัว น่าน), ข้ามฝั่งโขงไปถึงเมืองชวา (หลวงพระบาง) เป็นเขตแดนไทย

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

การใช้ความสัมพันธ์ทางด้านการทูตและความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม โดยเฉพาะทางด้านพระพุทธศาสนาแทนการทำสงคราม ทำให้สุโขทัยมีแต่ความสงบร่มเย็น ไม่เกิดสงครามกับแคว้นต่าง ๆ ในสมัยของพระองค์ และได้หัวเมืองประเทศราชเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ทรงทำพระราชไมตรีกับพญามังรายมหาราชแห่งล้านนา และพญางำเมืองแห่งพะเยา โดยทรงยินยอมให้พญามังรายมหาราชขยายอาณาเขตล้านนาทางน้ำแม่กก แม่น้ำปิง และแม่น้ำวังได้อย่างสะดวก เพื่อให้เป็นกันชนระหว่างจีนกับสุโขทัย กับทั้งยังได้เสด็จไปทรงช่วยเหลือพญามังรายมหาราชหาชัยภูมิสร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 1839 ด้วย

ทางอาณาจักรมอญ มีพ่อค้าชื่อ "มะกะโท" เข้ารับราชการอยู่ในราชสำนักของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มะกะโทได้ผูกสมัครรักใคร่กับ "เจ้าเทพธิดาสร้อยดาว" พระธิดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แล้วพากันหนีไปอยู่เมืองเมาะตะมะ แล้วจึงขออภัยโทษต่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ขอพระราชทานนาม และขอยินยอมเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัย ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงได้พระราชทานนามว่า "พระเจ้าฟ้ารั่ว"[4]

ทางทิศใต้ ได้ทรงอาราธนาพระมหาเถรสังฆราชผู้เรียนจบพระไตรปิฎกมาจากนครศรีธรรมราช ให้มาเผยแพ่พุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย

ส่วนด้านเมืองละโว้นั้นทรงปล่อยให้เป็นเอกราชอยู่ เพราะปรากฏว่ายังส่งเครื่องบรรณาการไปจีนอยู่ระหว่าง พ.ศ. 1834 ถึง พ.ศ. 1840 ทั้งนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็คงจะได้ทรงผูกไมตรีกับเมืองละโว้ไว้ นอกจากนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเองก็ทรงส่งราชทูตไปจีนสามครั้งเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี

ประดิษฐกรรม

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เมื่อ พ.ศ. 1826 พระองค์ได้ทรงประดิษฐ์พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เพิ่มขึ้นให้สามารถเขียนแทนเสียงพูดของคำในภาษาไทยได้ทุกคำ กับทั้งได้นำสระและพยัญชนะมาอยู่ในบรรทัดเดียวกันโดยไม่ต้องใช้พยัญชนะซ้อนกัน ทำให้เขียนและอ่านหนังสือไทยได้สะดวกมากขึ้น

วรรณกรรม

วรรณกรรมสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสูญหายไปหมดแล้ว คงเหลือแต่ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ. 1835) ซึ่งแม้จะมีข้อความเป็นร้อยแก้ว แต่ก็มีสัมผัสคล้องจองทำให้ไพเราะซาบซึ้งตรึงใจ เช่น

...ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว...ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย...เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พิน เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด

นับเป็นวรรณคดีเริ่มแรกของกรุงสุโขทัยซึ่งตกทอดมาถึงปัจจุบัน โดยอย่างไรก็ดี ในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา มีข้อสงสัยทางวิชาการว่าศิลาจารึกดังกล่าวจะมิได้ทำขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และมีผู้เสนอว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพบศิลานั้นเมื่อเสด็จจาริกธุดงค์ เป็นผู้ทรงทำศิลานั้นขึ้นเพื่อเหตุผลทางการเมืองในการสร้างประวัติศาสตร์ชาติไทยให้ชาติตะวันตกเห็นว่ามีและรุ่งเรืองมาอย่างยาวนาน เป็นการป้องปัดภัยการล่าอาณานิคมในสมัยนั้น ทั้งนี้ข้อสงสัยนี้กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่

สวรรคต

ตามบันทึกประวัติศาสตร์หยวนของจีน ได้บันทึกไว้ว่า พ่อขุนรามคำแหงได้เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1842 และพระยาเลอไทย พระราชโอรสของพระองค์ จึงเสวยราชสมบัติต่อมา

พงศาวลี

พงศาวลีของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
2. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
1. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
3. นางเสือง

ดูเพิ่ม

  • จารึกพ่อขุนรามคำแหง
  • รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย

อ้างอิง

  1. ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย (2006). จารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาเขมร) ด้านที่ ๑. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).[ลิงก์เสีย]
  2. ตรี อมาตยกุล. "ประวัติศาสตร์สุโขทัย" แถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสารโบราณคดี. Vol. ปีที่ 14 เล่ม 1 (พ.ศ. 2523), ปีที่ 15 เล่ม 1 (พ, ศ. 2524), ปีที่ 16 เล่ม 1 (พ.ศ. 2525) และปีที่ 18 เล่ม 1 (พ.ศ. 2527). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
  3. ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ : ‘มนังคศิลาบาตร’ หรือจะไม่ใช่ ‘มโนศิลาอาสน์’ ? มติชนสุดสัปดาห์ สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2559
  4. ฟ้ารั่ว,พระเจ้า โดย.. รองศาสตราจารย์เรือเอกหญิงปรียา หิรัญประดิษฐ์

  • ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1. (2521). คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
  • ประเสริฐ ณ นคร. (2534). "ประวัติศาสตร์สุโขทัยจากจารึก." งานจารึกและประวัติศาสตร์ของประเสริฐ ณ นคร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน.
  • ประเสริฐ ณ นคร. (2544). "รามคำแหงมหาราช, พ่อขุน". สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน, (เล่ม 25 : ราชบัณฑิตยสถาน-โลกธรรม). กรุงเทพฯ : สหมิตรพริ้นติ้ง. หน้า 15887-15892.
  • ประเสริฐ ณ นคร. (2534). "ลายสือไทย". งานจารึกและประวัติศาสตร์ของประเสริฐ ณ นคร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน.
  • เจ้าพระยาพระคลัง (หน). (2515). ราชาธิราช. พระนคร : บรรณาการ.
  • อุดม ประมวลวิทย์. (2508)" "50 กษัตริย์ไทย". สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • พ่อขุนรามคำแหงไปเมืองจีนเอาเทคโนโลยีทำถ้วยชามกลับมาสุโขทัยจริงหรือ? ศิลปวัฒนธรรม

พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยองค์ใดมีบทบาทมากที่สุด

3. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งอาณาจักรสุโขทัย เป็นพระโอรสพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และพระนางเสือง เสด็จขึ้นครองราชย์ในปีพุทธศักราช 1822.

สถานภาพของกษัตริย์ในสมัยสุโขทัยมีลักษณะสำคัญตามข้อใด

1. รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตย คือพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย 2. พระมหากษัตริย์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนเปรียบเสมือนบิดากับบุคร ทำตัวเปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัว พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีพระนามนำหน้าว่า พ่อขุน

พระมหากษัตริย์ไทยในสมัยสุโขทัยมีทั้งหมดกี่พระองค์

กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงซึ่งขึ้นครองกรุงสุโขทัยต่อจากราชวงศ์ศรีนาวนำถุม ตามที่นักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันยอมรับ มีอยู่ทั้งหมด ๙ พระองค์ แต่ปีที่เสด็จขึ้นครองราชย์และปีที่สวรรคตของกษัตริย์บางพระองค์ยังเป็นปัญหาถกเถียงกันอยู่ และยังหาข้อยุติที่แน่นอนไม่ได้ รายนามของกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วงทั้ง ๙ พระองค์มีดังนี้

พระพุทธศาสนามีบทบาทสําคัญอย่างไรในสมัยสุโขทัย

3. พระพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญอย่างไรในสังคมสุโขทัย พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทลังกาวงศ์เป็นกลุ่มสำคัญอีกกลุ่มหนึ่งต่อสังคมสุโขทัย เนื่องจากอนุญาต ให้คนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ขุนนาง ไพร่ หรือข้า สามารถบวชเพื่อศึกษาหลักธรรมคำสอน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก