อวัยวะเพศไม่แข็ง ทำ ยัง ไง

จากการสำรวจในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2547 ในชายไทยทั่วประเทศ อายุ 40 – 70 ปี จำนวน 1,250 ราย พบว่า มีชายไทยมีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศร้อยละ 43 โดยมีอาการตั้งแต่น้อย ๆ คือร่วมเพศไม่สำเร็จแค่บางครั้ง จนถึงไม่สามารถที่จะร่วมเพศได้เลย ส่วนการสำรวจในสหรัฐอเมริการายงานไว้ถึงร้อยละ 52 และมีการคาดการณ์ว่า จำนวนเพศชายที่หย่อนสมรรถภาพทางเพศจะเพิ่มเป็น 170 ล้านคน ในปี 2568 เพราะฉะนั้นภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม

 

รู้ทันปัญหาคุณผู้ชาย

อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หมายถึง การที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวและ/หรือแข็งตัวได้ไม่นานพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้สำเร็จจนเป็นที่พึงพอใจอยู่เป็นประจำหรืออย่างต่อเนื่อง ซึ่งการที่จะทราบว่าอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศเกิดจากสาเหตุใด จะให้การรักษาได้อย่างไร จะต้องเข้าใจกลไกการแข็งตัวขององคชาตก่อน        

การแข็งตัวขององคชาตมีด้วยกัน 3 กลไก ได้แก่

  1. การแข็งตัวเวลานอนหลับ (Nocturnal Erection) เวลานอนหลับองคชาตจะมีการแข็งตัวคืนละประมาณ 4 – 6 ครั้ง ครั้งละ 15 – 30 นาที
  2. การแข็งตัวจากจิตใจ (Psychogenic Erection) เมื่อมีความต้องการทางเพศจากสิ่งเร้าต่าง ๆ ที่มากระตุ้น คำสั่งจะส่งจากสมองมายังแกนสมองส่วนที่เรียกว่า พาราเวนทริคูลาร์นิวเคลียสที่อยู่บริเวณไฮโปทาลามัส จากนั้นคำสั่งจะผ่านไขสันหลังลงมายังศูนย์กลางการแข็งตัวขององคชาตบริเวณไขสันหลังระดับกระดูกก้นกบและผ่านเส้นประสาทคาร์เวอนัส (Cavernous Nerve) ที่มากระตุ้นให้เส้นเลือดในองคชาตมีการขยายตัว เลือดเข้ามาเลี้ยงมากขึ้น ทำให้องคชาตแข็งตัว
  3. การแข็งตัวจากรีเฟล็กซ์ (Reflexogenic Erection) เมื่อมีการกระตุ้นหรือสัมผัสบริเวณองคชาตก็จะมีสัญญาณผ่านจากเส้นประสาทที่องคชาต (Dorsal Nerve) ไปยังศูนย์กลางการแข็งตัวที่ไขสันหลังระดับกระดูกก้นกบและส่งสัญญาณกลับมายังองคชาต (Cavernous Nerve)


องคชาตประกอบไปด้วยแกน 3 แกนด้วยกัน การแข็งตัวขององคชาตจะต้องอาศัยแกนใหญ่ 2 แกนที่เรียกว่า คอร์ปัส คาเวอร์โนซั่ม (Corpus Cavernosum) ซึ่งประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อร่างแหคล้ายฟองน้ำ (Sinusoid) ซึ่งร่างแหเหล่านี้ก็คือเส้นเลือดแดงฝอยขององคชาตนั่นเอง  

เมื่อมีการกระตุ้นทางเพศเกิดขึ้น ที่สำคัญที่สุดจะต้องมีการกระตุ้นผ่านสิ่งเร้าที่สมองส่วนที่เรียกว่า Paraventricular Nucleus (PVN) ซึ่งอยู่ในบริเวณก้านสมองส่วนที่เรียกว่า Hypothalamus เรียกกลไกนี้ว่า การแข็งตัวจากการกระตุ้นทางจิตใจ (Psychogenic Erection) ซึ่งระบบประสาทที่รับการกระตุ้นส่วนใหญ่จะเป็นชนิด Dopamine Receptor ชนิดที่ 2 จากนั้นคำสั่งจะผ่านมาทางไขสันหลังจนถึงไขสันหลังบริเวณก้นกบที่ระดับ 2 – 4 ซึ่งจะรวมกันเป็นปมประสาทที่เรียกว่า Sacral Plexus และแตกแขนงเป็นเส้นประสาท Cavernous (Cavernous Nerve) ไปยังองคชาต ทำให้มีการพองตัวของเส้นเลือดที่เป็นร่างแหคล้าย ๆ ฟองน้ำนี้เต็มที่ ก็จะกดเส้นเลือดดำที่ไหลออกจากองคชาต ทำให้เลือดไหลออกจากองคชาตได้น้อยมาก องคชาตก็จะแข็งตัวเต็มที่

เลือกรักษาให้เหมาะสม

ปัจจุบันแพทย์จะอธิบายวิธีการรักษาแต่ละชนิดให้คนไข้ทราบถึงข้อดีข้อเสีย จากนั้นคนไข้จะตัดสินใจเองว่าชอบวิธีใด คนไข้ส่วนใหญ่จะเลือกใช้วิธีง่าย ๆ ราคาเหมาะสม และไม่มีข้อห้ามในการใช้ จึงมักจะเลือกใช้ยารับประทานหรืออมใต้ลิ้น เมื่อไม่ได้ผลจึงทดลองวิธีต่อไป เช่น ยาสอดทางท่อปัสสาวะและการใช้ปั๊มสูญญากาศและจะทำการตรวจเลือดง่าย ๆ เพื่อเช็กเบาหวาน ไขมันในเลือด การทำงานของตับและไต ซึ่งอาจจะมีผลต่อขนาดของยาที่ให้

ในรายที่ไม่ได้ผลจากวิธีง่าย ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะใช้ยาฉีดเข้าโคนองคชาต เพื่อทดสอบดูสภาวะของเส้นเลือดและการตอบสนองต่อยาฉีด ในรายที่ได้ผลและไม่กลัวการฉีดยาเข้าตนเองก็จะเลือกวิธีนี้ แต่ในรายที่ไม่ได้ผลหรือไม่ชอบใจ ก็อาจจะต้องทำการผ่าตัดใส่แกนองคชาตเทียม ส่วนวิธีการผ่าตัดต่อเส้นเลือดที่ตีบจะเลือกใช้ในคนอายุน้อยที่เส้นเลือดตีบจากอุบัติเหตุและไม่เป็นเบาหวานชนิดที่ต้องใช้ยาฉีด อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ภายหลังจากที่ไม่ได้ผลด้วยการรักษาง่าย ๆ นี้จะต้องได้รับการตรวจด้วยวิธีพิเศษขึ้นกับวิธีการรักษานั้น ๆ

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศในเพศชาย หมายถึง ภาวะที่อวัยวะเพศไม่สามารถแข็งตัวได้อย่างเพียงพอ หรือไม่สามารถรักษาการแข็งตัวไว้ได้นานขณะมีเพศสัมพันธ์ เช่น บางคนอาจจะไม่แข็งตัว บางคนอาจจะหลั่งเร็ว บางคนอาจจะมีอาการปวดเวลาหลั่ง เป็นต้น ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงที่อวัยวะเพศไม่เพียงพอ ภาวะนี้มักจะพบตามอายุที่มากขึ้น

ผู้ชายอายุต่ำกว่า 40 ปี  

พบประมาณ 5%

ผู้ชายอายุตั้งแต่ 40-70 ปี  

พบประมาณ 50%

สาเหตุ

จากการศึกษาพบว่าสาเหตุหลัก ของการทำให้อวัยวะไม่สามารถแข็งตัวได้อย่างเพียงพอ คือ การที่เลือดไปเลี้ยงอวัยวะเพศไม่เพียงพอ ซึ่งคนไข้กลุ่มนี้มีมากถึง 70% นอกเหนือจากนั้นอาจมีสาเหตุมาจากการผ่าตัด ภาวะฮอร์โมนของร่างกาย การรับประทานยา  และปัญหาจากระบบประสาท เป็นต้น รวมถึงผู้ที่ป่วยเป็นโรค ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง อัมพฤก อัมพาต โรคเกี่ยวกับระบบเส้นเลือด โรคเหล่านี้ทำให้เกิดอาการเสื่อมได้ทั้งสิ้น เนื่องจากสุขภาพทางกายไม่แข็งแรง

อาการ

·  ไม่สามารถแข็งตัวได้ตลอดการมีเพศสัมพันธ์

·  อวัยวะเพศไม่แข็งตัวเต็มที่

·  อวัยวะเพศไม่สามารถแข็งตัวได้เลย

ภาวะนี้สามารถรักษาได้ หากพบปัญหาและรักษาเร็ว ผู้ที่มีปัญหานี้ไม่ต้องกังวล เพราะส่วนมากเป็นแค่ชั่วคราว แต่หากเป็นถาวรแสดงว่าอาจจะมีปัญหาทางด้านจิตใจหรือทางร่างกาย

การป้องกันภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ได้แก่ งดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงภาวะเครียด เป็นต้น

การรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศด้วย Shock Wave

Shock Wave for Erectile Dysfunction (ED)

เป็นเทคโนโลยีล่าสุดในการรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ อันเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงอวัยวะเพศไม่เพียงพอขณะมีเพศสัมพันธ์ ด้วย Shock Wave Therapy คือ การใช้คลื่นเสียงที่มีความเข้มต่ำแบบแรงกระแทกจากภายนอก (Low-Intensity Extracorporeal Shock Wave Therapy : LI-ESWT) ไปกระตุ้นบนอวัยวะเพศของผู้ป่วย เป็นผลทำให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่เพิ่มขึ้นในอวัยวะเพศจากหลอดเลือดเดิม เมื่อหลอดเลือดในอวัยวะเพศทำงานได้ดีขึ้น การตื่นตัวและการขยายของอวัยวะเพศจึงมีประสิทธิภาพมากขึ้น นับเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ซึ่งมีความปลอดภัยสูง ปลอดภัยจากผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยการใช้ยา

โปรแกรมรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศด้วย Shock Wave

Shock Wave for ED Program

-  เข้ารับการรักษา 2-3 สัปดาห์ต่อเนื่องครบ 8 ครั้ง

-  ระยะเวลาในการรักษาครั้งละประมาณ 6-10 นาที

โดยผู้เข้ารับการรักษาจะรู้สึกเหมือนมีแรงกระแทกเบาๆ บริเวณอวัยวะเพศขณะรักษา ไม่รู้สึกเจ็บ ไม่ต้องพักฟื้น สามารถดำเนินชีวิตหรือมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติหลังจากการรักษา เนื่องจากเป็นวิธีการรักษาที่ปลอดภัย ปราศจากผลข้างเคียง จึงเหมาะสมกับผู้ที่ไม่ต้องการรักษาด้วยการรับประทานยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อยา หรือผู้ที่เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา

ผลการรักษา

คนไข้ที่เข้ารับการรักษาหลังจากครั้งที่ 3 – 4  จะพบว่ามีความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศดีขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการรักษา และสมรรถภาพทางเพศจะค่อยๆ ฟื้นฟูขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเข้ารับการรักษาครบตามกำหนด ทั้งนี้จำนวนครั้งของการรักษาอาจขึ้นกับภาวะความรุนแรงของโรคหรือปัจจัยอื่น ๆ เช่น เบาหวาน ภาวะเครียด โดยแพทย์ผู้ทำการรักษาจะเป็นผู้พิจารณาและประเมินผล

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก