ขบวนการเสรีไทยมีจุดมุ่งหมาย

�Ѱ����»�С��ʧ�����Ѻ���� ����ѹ��Ե���ѹ��� �� �� ���� �դ��¨ӹǹ �ҡ������й͡����ȷ�������繴��¡Ѻ����� �. �Ժ��ʧ���� ���� �.�.�. �ʹ��� ������ ������͡�Ѥ��Ҫ�ٵ��Ш����Ѱ����ԡ� �繼��Ӥ��»�С�ȵ�� "��ǹ���������" ����Ѱ��ž�Ѵ��蹢�����͵�͵�ҹ����� ��Ъ�������ͽ�������ѹ��Ե�

�Ѱ������Ѱ����ԡ��Ѻ�ͧ��á�зӢͧ������㹻վ�. ���� �¤��� ��������ͧ͢˹���˹��� O.S.S. (Office of Strategic Services) ������������¡����˹�����ѧ�Ҥ��ͧ�չ ������������л�Ժѵԡ���á���㹻�����«���աͧ���í���� �ִ��ͧ����ش�ط���ʵ���� �Ӥѭ��ҧ � �����������ǡѹ �.�. ������ʴ��ǧ��ʹԷ ���ʴ���ѵ�� ����Ѵ���ͧ���������¢�鹷���ѧ��� �������Ѻ˹��� ��� ��ǹ㹻������ ���չ�»�մ� ���§�� ���������Ҫ����蹴Թ�����˹��˹��������� �Դ��ͻ���ҹ�ҹ�Ѻ˹��� ��.���.���.�ͧ���Ѱ����ԡ����˹��� ��� �ͧ�ѧ���

��͹���ʧ�����š���駷���ͧ���ص�ŧ �Ѱ��Ũ���� �.�����͡����ͻ�����͹�á�Ҥ� ���� ���ͧ�ҡ���ṹ���§���� ��¤ǧ ����ǧ�� ���Ѻ���˹觹�¡�Ѱ����յ��������ͭ��������ӹ���ͽ�������ѹ��Ե����� ��¤ǧ ����ǧ�������͡ ��·�� �س�ࡵ� ����Ѻ���˹觹�¡�Ѱ����ջ���ҳ �� �ѹ��͹��� �.�.�.�ʹ��� ������ ���Թ�ҧ��Ѻ�ҡ���Ѱ����ԡ� ����Ѻ���˹��׺�����

��ѹ��� �� �ԧ�Ҥ� ���� ���������Ҫ���᷹���ͧ�����͡��С����� ��� ��С��ʧ�����ͧ�Ѱ����µ���ѧ������ ���Ѱ����ԡҹ�������� �Դ���ਵ�ӹ��ͧ��ЪҪ������ �֧�ʹͷ��ШѴ��駤�С���Ҹԡ�â�鹷�˹�ҷ��Ԩ�ó��Ҫ�ҡ�ʧ�����ͧ ��о�������Ф׹�Թᴹ������� �ͺ���������ҧʧ���������ȷ�����ӹҨ�����˹�ʹԹᴹ����ҹ�����

เป็นการรวมพลังของบรรดาคนไทยผู้มีจิตสำนึกในความเป็นไท ทำงานรับใช้มาตุภูมิในการกอบกู้เอกราชและอธิปไตยของชาติไทย ซึ่งได้รับผลกระทบจาการที่กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ามายึดครองประเทศไทยในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา

ในครั้งนั้น  ไทยเราไม่มีกำลังเพียงพอที่จะต้านทานกองทัพญี่ปุ่นได้  ดังนั้น รัฐบาลไทยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเข้ามาในประเทศไทย และส่วนหนึ่งก็เคลื่อนเข้าไปยึดครองดินแดนที่อยู่ติดกับประเทศไทย ซึ่งขณะนั้นอยู่ในความปกครองของอังกฤษ

เนื่องจากในช่วงแรกของสงคราม  กองทัพญี่ปุ่นมีความได้เปรียบในการยุทธ และสามารถยึดครองดินแดนส่วนใหญ่ในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งในขณะเดียวกันก็เรียกร้องความร่วมมือจากไทยในทุกๆ ด้าน  รัฐบาลไทยในขณะนั้น  เห็นว่าเมื่อไม่สามารถจะต่อต้านจากการยึดครองเบ็ดเสร็จของญี่ปุ่นที่อาจจะหลีกเลี่ยงไม่พ้น

ในวันที่ 21 ธันวาคม 2484 ภายหลังที่กองทัพญี่ปุ่นได้บุกประเทศไทยได้ 13 วัน ญี่ปุ่นกับไทยก็ได้ลงนามในกติกาสัญญาเป็นพันธมิตรกันทั้งในทางการทหาร การเมือง และการเศรษฐกิจ ต่อมาในวันที่ 25 มกราคม 2485 ประเทศไทยก็ได้ประกาศสงครามต่ออังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ซึ่งหมายถึงว่าไทยได้เข้าร่วมสงครามเป็นฝ่ายญี่ปุ่นทั้งโดยนิตินัยและพฤตินัย

"ขบวนการเสรีไทย" ซึ่งได้ก่อกำเนิดตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2484 เมื่อกองทัพญี่ปุ่นได้บุกประเทศไทย มีความเชื่อมั่นว่าแม้นกองทัพญี่ปุ่นจะเป็นฝ่ายได้เปรียบในการรบ เพราะเป็นฝ่ายเปิดฉากสงคราม แต่ในที่สุดญี่ปุ่นก็ต้องเป็นฝ่ายพ่ายแพ้

ดังนั้น  ประเทศไทยจะต้องหลีกเลี่ยงการล่มหัวจมท้ายกับญี่ปุ่น มิฉะนั้นก็จะต้องเป็นฝ่ายแพ้สงครามไปด้วย ซึ่งในขณะเดียวกัน  ก็จะต้องพยายามติดต่อทำความเข้าใจกับฝ่ายสัมพันธมิตรอันได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีนและประเทศอื่นๆ ว่าประเทศไทยและประชาชนคนไทย มิได้เห็นดีเห็นชอบกับการทำสงครามของญี่ปุ่น และมีความพร้อมที่จะร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตรในการต่อต้านญี่ปุ่นทุกวิถีทาง ในระหว่างเวลา 3 ปีครึ่งของสงครามมหาเอเชียบูรพา

ขบวนการเสรีไทยได้กระทำทุกอย่างตามเจตนารมณ์ดังกล่าวข้างต้น ปฏิบัติการทางการทหารที่แสดงความกล้าหาญ ท่ามกลางการเสี่ยงอันตรายด้วยเอาชีวิตเป็นเดิมพันของสมาชิกขบวนการเสรีไทย ความสุขุมรอบคอบ และเฉียบขาดในการตัดสินใจดำเนินการทางการทูตและการเมือง อีกทั้งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบรรดาคนไทยผู้รักชาติเหล่านี้ ได้สร้างความประทับใจในความจริงใจของขบวนการเสรีไทยแก่ฝ่ายสัมพันธมิตร

ดังนั้น เมื่อญี่ปุ่นได้ยอมจำนนโดยปราศจากเงื่อนไขเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2488 ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงได้แจ้งให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 ซึ่งเป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทยว่า
  สัมพันธมิตรไม่ถือว่าประเทศไทยเป็นผู้แพ้สงคราม ประเทศไทยไม่ต้องถูกยึดครอง กองทัพไทยไม่ต้องวางอาวุธ และรัฐบาลไทยไม่ต้องยอมจำนน

สัมพันธมิตรขอให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ "ประกาศสันติภาพ" ลบล้างข้อผูกพันทั้งหลายทั้งปวงที่รัฐบาลไทยในสมัยหนึ่งได้ทำไว้กับญี่ปุ่น รวมทั้งการประกาศสงครามต่อต้านฝ่ายสัมพันธมิตร และให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศกลับคืนสู่สถานภาพเมื่อก่อนสงครามในวันที่ 8 ธันวาคม 2484

นายปรีดี  พนมยงค์  ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล  ได้ประกาศสันติภาพ  โดยมีสาระสำคัญว่า  เมื่อกองทัพญี่ปุ่นยาตราเข้าสู่ประเทศไทย  เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ..2488  ซึ่งแสดงว่า  การประกาศสงครามต่ออังกฤษและสหรัฐอเมริกา  โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม  นายกรัฐมนตรี  เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2485  ตลอดจนการกระทำทั้งหลายที่เป็นปรปักษ์ต่อสหประชาชาตินั้น เป็น
"การกระทำอันผิดจากเจตจำนงของประชาชนชาวไทย  และฝ่าฝืนขืนขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายบ้านเมือง" และคนไทยทั้งภายในและภายนอกประเทศก็ได้กระทำทุกวิถีทางในการช่วยเหลือสหประชาชาติ 

 

ดังนั้น "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  จึงขอประกาศโดยเปิดเผยแทนประชาชนชาวไทยว่า  การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่เป็นโมฆะ  ไม่ผูกพันประชาชนชาวไทย"

 

และ "ประเทศไทยได้ตัดสินที่จะกลับคืนมาซึ่งสัมพันธไมตรีอันดีอันเคยมีมากับสหประชาชาติ  ในการสถาปนาเสถียรภาพในโลกนี้" นอกจากนั้น  "บรรดาดินแดนซึ่งญี่ปุ่นได้มอบให้ไทยครอบครอง  ก็พร้อมที่จะมอบคืนให้อังกฤษและบรรดาความเสียหายใดๆ  ก็จะชดใช้ให้โดยมิชอบ"  นายทวี  บุณยเกตุ  เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

 

และเมื่อสิ้นสุดภารกิจลงแล้ว  นายปรีดี  พนมยงค์  ในฐานะหัวหน้าขบวนการเสรีไทย  ได้ประกาศยกเลิกขบวนการ  เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ..2448  โดยได้กล่าวว่า "สิ่งที่เหลืออยู่ในความทรงจำของเราทั้งหลาย  ก็คือมิตรภาพอันดีในทางส่วนตัวที่เราได้ร่วมรับใช้ชาติด้วยกัน" และ "ผู้ที่ได้ร่วมงานกับข้าพเจ้าคราวนี้  ถือว่าทำหน้าที่เป็นผู้รับใช้ชาติ  มิได้ถือว่าทำหน้าที่เป็นผู้กู้ชาติ  การกู้ชาติเป็นการกระทำของคนไทยทั้งปวงซึ่งแม้ผู้ไม่ได้เข้าร่วมในองค์การนี้โดยตรง  ก็ยังมีอีกประมาณ  17  ล้านคน  ที่ได้กระทำโดยอิสระของตน  ในการต่อต้านด้วยวิถีทางที่เขาเหล่านั้นสามารถทำได้"


ปัจจุบัน  รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 16 สิงหาคม เป็น "วันสันติภาพไทย" และเป็นวันที่รำลึกถึงวีรกรรมกู้ชาติของขบวนการเสรีไทย ซึ่งมีความสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย

ต่อมารัฐบาลโดยกรุงเทพมหานครได้จัดสร้าง "สวนเสรีไทย" ในเขตบึงกุ่ม เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ขบวนการเสรีไทย และบัดนี้ก็ได้ก่อสร้างอาคารเสรีไทยอนุสรณ์ ณ สวนเสรีไทย โดยจำลองแบบจากทำเนียบผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่ท่าช้างวังหน้า ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการของขบวนการเสรีไทยขึ้น

เหตุการณ์อันเกี่ยวกับขบวนการเสรีไทยได้ผ่านพ้นไป 60 ปีแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ของบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์ได้ล่วงลับไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เรื่องราวของขบวนการเสรีไทยจะต้องคงอยู่เป็นตำนานในประวัติศาสตร์ของชนชาติไทยชั่วฟ้าดินสลาย ซึ่งการสืบทอดเรื่องราวในตำนานเสรีไทยจะต้องเป็นภารกิจอันสูงส่งของบรรดาเยาวชน ทั่งในปัจจุบันและในอนาคต

ขบวนการเสรีไทยมีจุดมุ่งหมายสําคัญในเรื่องอะไร

เสรีไทย (อังกฤษ: Free Thai Movement) เป็นขบวนการใต้ดินที่ดำเนินการระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วง พ.ศ. 2484–2488 มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านการรุกรานของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น รักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติไทย ขบวนการเสรีไทยกำเนิดขึ้นในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เมื่อกองทัพ ...

จุดมุ่งหมายของขบวนการเสรีไทย คืออะไร Quizizz

ขบวนการเสรีไทยตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด ช่วยเหลือญี่ปุ่นต่อต้านฝ่ายสัมพันธมิตร ช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตรต่อต้านญี่ปุ่น เรียกร้องดินแดนจากอังกฤษและฝรั่งเศสคืน

แกนนำขบวนการเสรีไทยในอังกฤษคือใคร

อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ แกนนำคนหนึ่งของกลุ่มเสรีไทยในอังกฤษ

ขบวนการเสรีไทยส่งผลดีต่อประเทศไทยอย่างไร เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง

ปฏิบัติการของขบวนการเสรีไทยได้ให้ข้อมูลอันล้ำค่าเกี่ยวกับตำแหน่งทางทหารของญี่ปุ่น และให้การช่วยเหลือทหารพันธมิตรที่ถูกจับเป็นเชลยได้จำนวนมาก เสรีไทยสายอังกฤษที่ได้อาสาเข้าปฏิบัติการร่วมกับหน่วยบริหารงานพิเศษ SOE ทำประเทศสัมพันธมิตรโดยเฉพาะอังกฤษ เห็นถึงความตั้งใจของชาวไทยในการต่อต้านญี่ปุ่น ทำให้ไทยไม่ต้องตกเป็นประเทศ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก