อัตราการเกิดของประชากรไทย 2565

วันประชากรโลกเป็นช่วงเวลาให้เราได้เฉลิมฉลองความก้าวหน้าของมวลมนุษยชาติ แม้โลกของเราจะมีความท้าทายมากมายแต่ก็เป็นโลกที่ผู้คนจำนวนมากขึ้นที่เข้าถึงการศึกษาและมีชีวิตที่มีสุขภาพดีขึ้นกว่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ สังคมที่ลงทุนเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน สิทธิและทางเลือกของพวกเขา ได้พิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่าว่านี่คือหนทางสู่ความเจริญรุ่งเรืองและความสงบสุขที่ทุกคนต้องการและสมควรได้รับ

อีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้จำนวนประชากรโลกจะเข้าสู่ 8 พันล้านคน ซึ่งจะทำให้หลายคนให้ความสนใจและถกเถียงกัน และอาจทำให้หลายคนกลัวปรากฏการณ์การมีผู้คน "มากจนเกินไป" ซึ่งนั่นอาจจะไม่ใช่ประเด็นหลัก

นโยบายที่มุ่งเน้นเฉพาะการสร้างจำนวนประชากรและอัตราการเติบโตมักนำไปสู่มาตรการเขิงบีบบังคับและไม่เอื้อให้เกิดประสิทธิผล และนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น ผู้หญิงอาจถูกกดดันให้มีบุตรหรือถูกขัดขวางไม่ให้มีบุตรตามความต้องการของตนเอง ซึ่งนี้อาจทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันที่รุนแรงอยู่แล้วอย่างเฉียบพลัน เช่นผ่านนโยบายปิดการให้บริการอนามัยการเจริญพันธุ์ หรือการปฏิเสธเงินบำนาญที่เพียงพอสำหรับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้ที่เข้าไม่ถึงสิทธิถูกกันให้อยู่ในชายขอบของสังคมมากยิ่งขึ้น

เรื่องของประชากรมีความละเอียดอ่อนและซับซ้อนมากกว่าเป็นแค่เรื่องของตัวเลขหรือจำนวน ปัจจุบันจำนวนประชากรอาจจะเพิ่มมากขึ้น แต่ที่สำคัญไม่แพักันคือความหลากหลายทางประชากรที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ประเทศจำนวนมากขึ้นกำลังเผชิญกับการสูงวัยของประชากร ซึ่งขณะนี้ประมาณ 2 ใน 3 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในประเทศหรือพื้นที่ที่มีภาวะเจริญพันธุ์ต่ำกว่าระดับทดแทนหรืออัตราการเกิดน้อยกว่า 2.1 คนต่อผู้หญิงหนึ่งคนในขณะที่ประเทศอื่นยังคงมีประชากรในกลุ่มช่วงอายุน้อยและมีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น และผู้คนอีกจำนวนมากมีการย้ายถิ่นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกหรือเกิดจากแรงผลักดันจากวิกฤตต่างๆ จากความขัดแย้งไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ การทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีความสำคัญต่อการสร้างโอกาสจากปรากฏการณ์เหล่านี้และลดความเสี่ยงทั้งหลายที่อาจเกิดขึ้น

ผู้คน เป็นกุญแจไปสู่การแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่ใช่ตัวปัญหา UNFPA สนับสนุนการวัดและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ แต่ละประเทศควรมีข้อมูลที่จำเป็นในการตอบสนองความต้องการของกลุ่มประชากรที่หลากหลาย และทำให้มั่นใจว่าแต่ละปัจเจกสามารถสร้างศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่ เมื่อผู้คนมีอำนาจในการตัดสินใจเลือกว่าจะมีลูกหรือไม่และเมื่อใด เมื่อใดที่สามารถใช้สิทธิและความรับผิดชอบของตนเองได้ พวกเขาจะสามารถใช้ชีวิตผ่านความเสี่ยงต่างๆ ได้และกลายเป็นรากฐานของสังคมที่ทุกคนมีส่วนร่วม ปรับตัวได้ และยั่งยืนมากขึ้น

การบรรลุความยืดหยุ่นทางประชากรนี้เริ่มต้นด้วยความมุ่งมั่นที่จะนับไม่เพียงแค่จำนวนประชากร แต่ยังรวมถึงโอกาสในการเข้าถึงความก้าวหน้าและเห็นถึงอุปสรรคที่อยู่ข้างหน้า นี่เรียกร้องให้เราเปลี่ยนบรรทัดฐานที่นำไปสู่การเลือกปฏิบัติที่ฉุดรั้งความก้าวหน้าของแต่ละปัจเจกและสังคมไว้ นี่นำเราไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์สำหรับทุกคน แทนที่จะเอื้อประโยชน์ให้เพียงไม่กี่คน และนำไปสู่การใช้ทรัพยากรอย่างยุติธรรม เพื่อที่เราจะสามารถลดความเสี่ยงและตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบันและอนาคตได้

ประขากรเป็นมากกว่าตัวเลข และครอบครัวมนุษยชาติก็เช่นเดียวกัน ตัวเลขมีความสำคัญ แต่เราควรนับด้วยความรอบคอบ ให้เรานับโลกที่มีความยืดหยุ่นต่อวิกฤตของคน 8 พันล้านคน โลกที่รักษาสิทธิและทางเลือกของแต่ละปัจเจก นำเสนอความเป็นไปได้ที่ไม่สิ้นสุด ความเป็นไปได้สำหรับผู้คน สังคม และโลกของเรา เพื่อเจริญและรุ่งเรือง ร่วมกัน

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานของ UNFPA ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการกำหนดนโยบายเรื่องสิทธิด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ได้ ที่นี่

กราฟจำนวนเด็กเกิดใหม่ที่ลดลงจนถึงระดับต่ำสุด ปรากฏเป็นกระแสโซเชียลเป็นอีกหนึ่งข้อกังวลถึงสมดุลของประชากร ปัจจุบันไทยเรามีอัตราการเกิดต่ำ ขณะประชากรสูงอายุมีจำนวนมากขึ้น

ทุก 10 ปี ภาครัฐโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติจะมีการจัดทำสำมะโนประชากร เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลประชากรไทยทุกคน โดยแบ่งแยกย่อยตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ อาทิ เพศ อายุ สัญชาติ การศึกษา ที่อยู่จริง หลักการคือเพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของประชากร ซึ่งโดยส่วนใหญ่ข้อมูลเหล่านี้ก็จะถูกนำมาเป็นฐานในการวิเคราะห์และจัดทำนโยบายทั้งในภาครัฐและเอกชน

การทำสำมะโนประชากรครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 2503 และทำต่อเนื่องเรื่อยมาทุก 10 ปี จนล่าสุดในปี 2563 นั้นทำให้เห็นชัดเจนว่าโครงสร้างทางประชากรของประเทศไทยนั้น เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก กล่าวคือ ประเทศไทยจากเดิมที่เคยมีกลุ่มประชากรวัยทำงานจำนวนมากกลับมีจำนวนลดลง ขณะที่กลุ่มวัยพึ่งพิงอันได้แก่ประชาวัยเด็กและประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้น

หากวิเคราะห์ลงให้ละเอียดจะพบว่า กลุ่มประชากรวัยพึ่งพิงที่เพิ่มมากขึ้นนั้น แท้จริงแล้วเพิ่มขึ้นจากกลุ่มประชากรผู้สูงอายุเท่านั้น ขณะที่จำนวนเด็กเกิดใหม่ของประชากรไทยนั้นลดลงเรื่อยๆ ในแต่ละปี จนล่าสุดเหลือน้อยกว่า 600,000 คนต่อปีแล้ว

สมดุลที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ หมายถึงภาระที่มากขึ้นของรัฐและประชากรวัยทำงานที่จำต้องดูแลประชากรกลุ่มอื่นๆ และสมดุลในลักษณะนี้ก็ไม่ใช่อะไรใหม่ แต่เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศที่เจริญแล้ว ยกตัวอย่างที่ใกล้บ้านที่สุด เช่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เป็นต้น

ประเทศไทยเรามีประชากรสูงวัยที่มีอายุ 60 ปีหรือมากกว่า จำนวน 11 ล้านคนแล้ว คิดเป็นร้อยละ 15.7% ของประชากรไทยที่ 70 ล้านคนโดยประมาณ ถือได้ว่าเราได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) แล้ว ขณะนี้คนไทยมีอายุเฉลี่ยที่ 75 ปี และอายุคนไทยเฉลี่ยจะมีแนวโน้มยืนยาวถึง 85 ปี ในปี 2568

กลับมาดูในส่วนของอัตราการเกิดของประชากรไทยที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ จนดูเหมือนว่าจะยังไม่ถึงจุดต่ำสุดเสียที หากสัดส่วนของประชากรยังมีแนวโน้มเช่นนี้ต่อไป จะทำให้จำนวนประชากรวัยทำงานลดลงเรื่อยๆ ขณะที่ประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจะช้าลงเช่นเดียวกับการพัฒนาประเทศ

การทำสำมะโนประชากรล่าสุดในปี 2563 พบว่า จำนวนประชากรเด็กและวัยรุ่นนั้นได้ลงลงจาก 17.2 ล้านคน เหลือเพียง 15.1 ล้านคน คิดเป็น 23.3% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งถือว่าต่ำมากโดยต่ำสุดเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน (รองจากสิงคโปร์) และมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ จนอาจจะเหลือเพียง 13.7 ล้านคนในปี 2573 นี้

ปรากฏการณ์จำนวนเด็กที่ลดลงอย่างมากนี้ สังเกตได้ง่ายที่สุดในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไป ซึ่งจำนวนเด็กนักเรียนนั้นลดลงอย่างมากกลายเป็นห้องเรียนขนาดเล็ก หลายโรงเรียนที่มีตึกหรือห้องประชุมที่ใหญ่โตกลับไม่ได้ใช้งาน บางโรงเรียนก็จำต้องลดจำนวนครูลง ถือเป็นตัวสะท้อนที่เห็นภาพชัดเจนที่สุด ซึ่งก็ตรงกันข้ามกับโรงเรียนชื่อดังที่มีนักเรียนเต็มห้องตลอดเวลาในทุกๆ ปี อันเนื่องมาจากชื่อเสียงและคุณภาพซึ่งก็เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของโรงเรียนนั้นๆ

ความเปลี่ยนแปลงทางค่านิยมและภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สมดุลประชากรไทยนั้นเปลี่ยนไปจากเดิม ตั้งแต่การแต่งงานช้า ความเครียดจากการทำงาน ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพที่สูงขึ้น ค่าใช้จ่ายต่อบุตรที่สูงขึ้นมาก และที่สำคัญก็คือภาวะฝืดเคืองอย่างมากในทางเศรษฐกิจในช่วงวิกฤติโควิดนี้

จะมาเกิดเป็นคนไทยนั้นก็ว่ายากแล้ว การจะรักษาตัวให้มีชีวิตที่ดีพอใช้ มีการศึกษา มีอากาศสดชื่นสะอาดหายใจ มีความปลอดภัยในชีวิตนั้นยิ่งยากกว่า

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก