วัฒนธรรมไทยด้านภาษาและวรรณคดี

ความหมายของวรรณกรรม

วรรณกรรม หมาย ถึง งานเขียนที่แต่งขึ้นหรืองานศิลปะ ที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการ แล้วเรียบเรียง นำมาบอกเล่า บันทึก ขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งวรรณกรรมเป็น 2 ประเภท คือ วรรณกรรมลายลักษณ์ คือวรรณกรรมที่บันทึกเป็นตัวหนังสือ และวรรณกรรมมุขปาฐะ อันได้แก่วรรณกรรมที่เล่าด้วยปาก ไม่ได้จดบันทึก

วรรณกรรม เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารเรื่องราวให้เข้าใจระหว่างมนุษย์ ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดค้น และสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมาย เรื่องราวต่าง ๆ ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารได้แก่

1. ภาษาพูด โดยการใช้เสียง

2.ภาษาเขียน โดยการใช้ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ และภาพ

3.ภาษาท่าทาง โดยการใช้กิริยาท่าทาง หรือประกอบวัสดุอย่างอื่น

ความ งามหรือศิลปะในการใช้ภาษาขึ้นอยู่กับ การใช้ภาษาให้ถูกต้อง ชัดเจน และ เหมาะสมกับเวลา โอกาส และบุคคล นอกจากนี้ ภาษาแต่ละภาษายังสามารถปรุงแต่ง ให้เกิดความเหมาะสม ไพเราะ หรือสวยงามได้ นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติคำราชาศัพท์ คำสุภาพ ขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แสดงให้เห็นวัฒนธรรมที่เป็นเลิศทางการใช้ภาษาที่ควรดำรงและยึดถือต่อไป ผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรม เรียกว่า นักเขียน นักประพันธ์ หรือ กวี (Writer or Poet)

วรรณกรรมไทย แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

1.ร้อยแก้ว เป็นข้อความเรียงที่แสดงเนื้อหา เรื่องราวต่าง ๆ

2.ร้อยกรอง เป็นข้อความที่มีการใช้คำที่สัมผัส คล้องจอง ทำให้สัมผัสได้ถึงความงามของภาษาไทย ร้อยกรองมีหลายแบบ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย

มี ความหมายตามนัยยะ หมายถึง กรรม ที่เกิดขึ้นจากต่างคน ต่างวรรณะ หมายความว่า วรรณะหรือชนชั้นต่างกันก็จะใช้คำต่างกัน คำคำนี้ มีปรากฏขึ้นครั้งแรกในพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2475 คำว่า วรรณกรรม อาจเทียบเคียงได้กับคำภาษาอังกฤษว่า Literary work หรือ general literature ความ หมายแปลตามรูปศัพท์ว่า ทำให้เป็นหนังสือ ซึ่งดูตามความหมายนี้แล้วจะเห็นว่ากว้างขวางมาก นั่นก็คือการเขียนหนังสือจะเป็นข้อความสั้น ๆ หรือเรื่องราวสมบูรณ์ก็ได้ เช่น ข้อความที่เขียนตามใบปลิว ป้ายโฆษณาต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงบทความ หรือ หนังสือที่พิมพ์เป็นเล่มทุกชนิด เช่น ตำรับตำราต่าง ๆ นวนิยาย กาพย์ กลอนต่าง ๆ ก็ถือเป็นวรรณกรรมทั้งสิ้น จากลักษณะกว้าง ๆ ของวรรณกรรม สามารถทำให้ทราบถึงคุณค่ามากน้อยของวรรณกรรมได้โดยขึ้นอยู่กับ วรรณศิลป์ คือ ศิลปะในการแต่งหนังสือนั้นเป็นสำคัญ ถ้าวรรณกรรมเรื่องใดมีคุณค่าทางวรรณศิลป์สูง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นหนังสือดี วรรณกรรมก็อาจได้รับยกย่องว่าเป็น วรรณคดี อย่างไรก็ตามการที่จะกำหนดว่า วรรณกรรมเรื่องใดควรเป็นวรรณคดีหรือไม่นั้น ต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่แต่งหนังสือนั้นยาวนานพอควรด้วย เพื่อพิสูจน์ว่าคุณค่าของวรรณกรรมนั้นเป็นอมตะ เป็นที่ยอมรับกันทุกยุคทุกสมัยหรือไม่ เพราะอาจมีวรรณกรรมบางเรื่องที่ดีเหมาะสมกับระยะเวลาเพียงบางช่วงเท่านั้น ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า วรรณคดีนั้นก็คือวรรณกรรมชนิดหนึ่งนั่นเอง กล่าวคือ เป็นวรรณกรรมที่กลั่นกรองและตกแต่งให้ประณีต มีความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ อันเป็นคุณค่าของการประพันธ์ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง วรรณคดีนั้นเป็นวรรณกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นวรรณคดีเสมอไป

บ่อเกิดของวรรณกรรม

          จุด เริ่มต้นของวรรณกรรมอยู่ที่สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมถือเป็นสิ่งเร้าที่ทำให้ผู้ประพันธ์เกิดอารมณ์ ความรู้สึก แล้วก่อตัวขึ้นเป็นมโนภาพแต่โดยนิสัยของนักประพันธ์ เขามักเกิดแรงบันดาลใจที่จะถ่ายมโนภาพนั้นไปให้ผู้อื่นได้รับทราบด้วย จึงเกิดวรรณกรรมขึ้น
          ที่กำเนิดแห่งศิลปและวรรณกรรมนั้น คือชีวิตที่เป็นจริงของมนุษย์ คือ สิ่งที่ตั้งอยู่บนฐานแห่งการคลี่คลายขยายตัวทางเศรษฐกิจของสังคม คือผลงานประวัติศาสตร์ทั้งหมดของโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หรือกล่าวย่อ ๆ ก็คือ ความเป็นจริงทางภววิสัย (Objective Reality) ของมนุษย์นั่นเองเป็นแหล่งกำเนิดแห่งศิลปและวรรณกรรม
         บ่อเกิดของวรรณกรรมไว้หลายลักษณะดังนี้ คือ
        1. วรรณกรรมที่เกิดขึ้นเพราะแรงกระตุ้นทางธรรมชาติ ได้แก่ บทชมธรรมชาติ ชมปลา เหล่านี้เป็นต้น ทางประเทศตะวันตกมีงานเขียนที่เกิดขึ้นเพราะแรงกระตุ้นทางธรรมชาติโดยเฉพาะ เช่น นวนิยาย "ฤดูหนาวอันยาวนาน" ของ ลอรา อิงกัลส์ ซึ่งสุคนธรส แปลเป็นภาษาไทย
        2. วรรณกรรมที่เกิดขึ้นจากปัจจัยทางศาสนาและปรัชญา ที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการสอน ศาสนาโดยตรง เช่น พระปฐมสมโพธิกถา ทศชาติชาดก มหาเวสสันดรชาดก นันโทปนันทสูตรคำหลวง พระมาลัยคำหลวง เป็นต้น
        นอกจากนี้ในยุคที่ศีลธรรมเสื่อม กวีก็มักเสนอผลงานออกมาในเชิงเตือนสติให้คนหันมาคำนึงถึงศีลธรรม ชี้โทษแห่งอบายมุขและพระภิกษุสงฆ์ที่ประพฤติผิดวินัย ดังจะเห็นได้จากงานเขียนบางบทใน "ฤาสมัยนี้โลกมันเอียง" "ดาบที่หมกอยู่ในจีวร" "บังอบายเบิกฟ้า" เป็นต้น
        3. วรรณกรรมที่เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยทางวรรณกรรมด้วยกัน ข้อนี้หมายความว่า เมื่อกวีหรือนักเขียนได้อ่านหรือได้ฟังเรื่องราวจากวรรณกรรมเรื่องใดเรื่อง หนึ่งแล้ว ก็เกิดแรงบันดาลใจให้ผลิตผลงานสืบเนื่องต่อมา อาจออกมาในรูปของการแปล การนำเค้าเรื่องมาดัดแปลงแล้วรจนาขึ้นใหม่หรือคิดสืบเนื่องต่อออกไปเป็น วรรณกรรมเรื่องใหม่ เช่น รามเกียรติ์ อิเหนา รุไบยาต พันหนึ่งทิวา เป็นต้น
        4. วรรณกรรมที่เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวกับชีวิต ข้อ นี้อาจถือเป็นเหตุปัจจัยอันยิ่งใหญ่ เพราะชีวิตย่อมประกอบขึ้นด้วยประสบการณ์รอบด้าน ทั้งความดี ความชั่ว ความรัก ความชัง ความสมหวัง ความผิดหวัง ฯลฯ
เรื่อง ราวของชีวิตนี่แหละเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดวรรณกรรมได้อย่างดีที่สุดดังจะเห็น ได้จากวรรณกรรม และวรรณคดีทุกเรื่องที่จะละเลยในการกล่าวถึงวัฏจักรของชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ แล้วเป็นไม่มี
        5. วรรณกรรมที่เกิดขึ้นเพราะความผันผวนทางการเมืองและสังคม เช่น "ปีศาจ" ของเสนีย์ เสาวพงศ์ "สี่แผ่นดิน" ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนขึ้นจากสภาพที่กลุ่มบุคคลชั้นเจ้าขุนมูลนายต้องมีอาการคลอนแคลนด้าน สถานภาพทางสังคมและกลุ่มชนชั้นกลางจะขึ้นมามีอำนาจแทน "ไผ่ แดง" ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนขึ้นจากสภาพการต่อสู้ของความคิดทางการเมือง ระหว่างค่ายเสรีนิยมกับค่ายสังคมนิยม "แม่" ของแมกซิม กอร์กี้ เขียนขึ้นจากสภาพการรวมกลุ่มของชนชั้นกรรมาชีพ เพื่อเป็นพลังต่อสู้และต่อรองกับฝ่ายนายทุน "เรื่องจริงของอาคิว" ของหลู่ซิ่น เขียนขึ้นจากสภาพชีวิตของคนจีนส่วนหนึ่งที่ยากจนค่นแค้น ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ แต่กลับถูกรับบาปซึ่งผู้มีอำนาจโยนให้
         นอกจากนี้ ถ้าพิจารณาดูวรรณคดีเก่า ๆ ของไทยที่เกิดขึ้นจากปัจจัยทางการเมือง และสังคม หรือเรียกรวม ๆ กันว่า "ปัจจัยทางประวัติศาสตร์" ก็มีไม่น้อย เช่น ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตตะเลงพ่าย สามกรุง บทเสภาพระราชพงศาวดาร เป็นต้น
         ปัจจัยที่ก่อให้เกิดวรรณกรรม นั้นตามความเป็นจริงแล้ววรรณกรรมเรื่องหนึ่ง ๆ มิได้เกิดจากเหตุปัจจัยเดียว หากมีแรงกระตุ้นจากหลายทิศหลายทาง ผสมปนเปกันไป วรรณกรรมเรื่องหนึ่ง ๆ จึงมีหลายรสหลายชาติ อุดมไปด้วยเหตุการณ์ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ อุดมไปด้วยความคิดทางปรัชญา ศีลธรรมสภาพทางการเมืองและสังคม ที่ได้รับการถ่ายทอดออกมาเป็นวรรณกรรม พร้อมกับได้เขียนเป็นแผนภูมิที่แสดงถึงบ่อเกิดของวรรณกรรมได้

แหล่งอ้างอิง: 

//54030009.blogspot.com

ภาษาไทยสำคัญกับวัฒนธรรมไทยอย่างไร

ความสำคัญของภาษาไทยในด้านการสืบทอดวัฒนธรรมไทย จะสืบทอดลักษณะ และรายละเอียดทั้ง มวล จาก อดีต มาถึงปัจจุบันและ จากปัจจุบันที่จะสืบทอดต่อไปในอนาคตได้นั้น ก็ด้วยอาศัยภาษาเป็นเครื่อง มือทั้งโดยการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และการเล่าจดจำสืบกันต่อมา จึงมีคำกล่าวว่า ภาษาไทยเป็นหัวใจของวัฒนธรรม ถ้าปราศจากจากหัวใจ

การมีภาษา เป็นวัฒนธรรมด้านใด

ภาษาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น และใช้เป็นเครื่องมือในการ สื่อสารความคิด ความต้องการ และอารมณ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ระหว่างกัน มนุษย์ยังใช้ภาษาจดบันทึกเรื่องราว เหตุการณ์ ความเชื่อต่างๆ เพื่อให้คน รุ่นหลังได้รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ของบรรพบุรุษ

ลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมไทยที่มองได้จากภาษาได้แก่อะไรบ้าง

1. ภาษาไทยมีระเบียบการใช้ถ้อยค าให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคล - การใช้ภาษากับสถาบันพระมหากษัตริย์ - การใช้ภาษากับวัฒนธรรมด้านศาสนา - การใช้ภาษากับวัฒนธรรมการนับถือผู้อาวุโสกว่า 2. ภาษาไทยมีการใช้ภาษาโดยค านึงถึงกาลเทศะและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

ภาษาและวัฒนธรรมมีความแตกต่างกันอย่างไร

จากการอธิบายความหมายข้างต้น จึงสรุปได้ว่า ภาษาเป็นเรื่องเกี่ยวกับระบบสัญลักษณ์ที่มนุษย์ สร้างขึ้นเพื่อสื่อสารในชีวิตประจ าวัน ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการสื่อสาร ส่วนวัฒนธรรมเป็นเรื่องทุกอย่าง ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตมนุษย์ ดังนั้น ภาษาและวัฒนธรรมจึงมีลักษณะคล้ายกันในแง่ที่ว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์ สร้างขึ้นและทุกคนสามารถเรียนรู้ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก