โทรทัศน์สมัยก่อนกับปัจจุบัน

     นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 เป็นต้นมา สถานีโทรทัศน์ในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย  ช่อง 3, 5, 7, 9 และ 11 พยายามขยายเครือข่ายการส่งออกอากาศโดยใช้ระบบดาวเทียม และระบบไมโครเวฟภาคพื้นดิน เพื่อถ่ายทอดการออกอากาศไปยังสถานีโทรทัศน์ส่วนภูมิภาคของประเทศไทย สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ได้ทั่วถึงกันหมด นับเป็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านโทรทัศน์ที่สำคัญยิ่ง

ในอดีตผู้คนรับข้อมูลข่าวสารและความบันเทิงผ่านการอ่านหนังสือพิมพ์ และการฟังวิทยุ    จนเมื่อเทคโนโลยีด้านการสื่อสารถูกพัฒนา โทรทัศน์จึงถือกำเนิดขึ้น และกลายเป็นสื่อที่ผู้คนต่างให้ความนิยมจนทุกวันนี้ เพราะสามารถรับชมได้ทั้งภาพและเสียงพร้อมกัน   

ทำไมต้องมี “โทรทัศน์”หลายคนสงสัย หลังผ่านช่วงเวลาแห่งความทุกข์จากสงครามโลก ครั้งที่ 2 ผู้คนแสวงหาความบันเทิง นักธุรกิจและนักประดิษฐ์เกิดแนวคิดที่จะนำโทรทัศน์กลับมาพัฒนาให้เป็นเทคโนโลยีใหม่ในการสื่อสารที่สามารถรับชมได้ทั้งภาพและเสียง จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในช่วงเวลานั้น เล็งเห็นความสำคัญของการมีโทรทัศน์ มีคำสั่งให้ จัดตั้ง บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ขึ้น เมื่อวันที่ 10 พ.ย. พ.ศ. 2495 เพื่อสร้างความบันเทิงให้แก่ประชาชน ทั้งยังช่วยเผยแพร่ข่าวสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ในช่วงแรกดำเนินกิจการสถานีวิทยุ ท.ท.ท. เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเปิดสถานีโทรทัศน์ 

หลังจากนั้นไม่นาน สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 เปิดทำการขึ้น เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.พ.ศ. 2498 ตั้งอยู่ที่วังบางขุนพรหม บริเวณเดียวกับที่ตั้งของธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน จึงเรียกว่า “ช่อง 4 บางขุนพรหม” เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกในอาเซียน โดยมีคุณจำนง รังสิกุล หรือ “หัวหน้าจำนง” ที่ชาวช่อง 4 ให้ความเคารพเป็นกำลังสำคัญพัฒนารูปแบบรายการและก่อตั้งสถานีโทรทัศน์

ช่วงแรกเริ่มเผยแพร่ภาพขาว – ดำ ระบบ 525 เส้น 30 ภาพต่อวินาที  และถ่ายทำด้วยการออกอากาศสด เพราะยังไม่มีเทคโนโลยีการบันทึกเทป ออกอากาศสัปดาห์ละ 4 วัน คือ อังคาร, พฤหัสบดี, เสาร์ และอาทิตย์  ตั้งแต่เวลา 18.00 – 23.00 น. ต่อมาจึงเพิ่มวันและเวลาออกอากาศจนครบทุกวัน 

ตำนานโทรทัศน์ไทยมีคุณค่า นำมาสู่การเปิด MCOT MUSEUM  แหล่งรวบรวมประวัติศาสตร์วงการโทรทัศน์ไทยและสื่อสารมวลชน  ในโอกาสที่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ครบรอบ 70 ปี เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เป็นมิวเซียมใหม่ใจกลางเมือง

การเยี่ยมชม MCOT MUSEUM  เหมือนได้ย้อนวันวานไปยังจุดเริ่มต้นของ “ตำนานโทรทัศน์ไทย” นับตั้งแต่ยุคบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด หลักหมุดแรกของโทรทัศน์ไทยสู่องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ อ.ส.ม.ท. จนเป็น บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ที่อยู่คู่สังคมไทยมากว่า 70 ปี  ซึ่งยังคงมุ่งมั่นนำเสนอสาระประโยชน์สร้างสรรค์สังคมทำหน้าที่ดั่งดวงตาที่สะท้อนปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมตามแนวคิดของมิวเซียมแห่งนี้  “Journey through the eye” 

MCOT MUSEUM ตั้งอยู่ที่อาคารปฏิบัติการวิทยุโทรทัศน์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน ) ถนนพระราม 9  เมื่อเดินเข้าไปใน MCOT MUSEUM เริ่มต้นด้วยการเล่าเรื่อง“ชีวิตก่อนมีโทรทัศน์”  ที่ผู้คนต่างติดตามข่าวสารจากสื่อหลักอย่างหนังสือพิมพ์และวิทยุ จนมีวิวัฒนาการช่องทางรับข่าวสารผ่านโทรทัศน์ อย่างในปัจจุบัน   

ก่อนนำสู่การจัดแสดง 3 โซน ได้แก่ โซนที่ 1 “The Foresight  มองไกลให้ก้าวไกล” บอกเล่าความเป็นมาวิวัฒนาการสื่อสารมวลชนใน 3 ยุค คือ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด, องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย, บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)  

โซนที่ 2 “The Visionary  มองต่างให้เติบโต”  จัดแสดงภาพถ่ายและแนวคิดของปูชนียบุคคล  ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้วงการโทรทัศน์ไทย

โซนที่ 3 “The Reflection  มุมมองภาพสะท้อนบทบาท อสมท ที่อยู่คู่สังคมไทย สะท้อนให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือในฐานะองค์กรสื่อที่มีบทบาทคู่สังคม 

สนใจเยี่ยมชม MCOT MUSEUM  เปิดให้เข้าชมเป็นหมู่คณะ และจำกัดการเข้าชม ครั้งละไม่เกิน 15 คนภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด – 19  ในวันและเวลาทำการ ลงทะเบียนล่วงหน้า ติดต่อฝ่ายสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร บมจ.อสมท โทรศัพท์ 02 201 6392 – 3

TagsMCOT MUSEUMบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน )

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บูมขับรถเที่ยว'น่าน' ซิกท์ รองรับกระแสเดินทางคึกคัก

11 ธ.ค.2565 - บรรยากาศการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไทยกลับมาคึกคัก หลังวิกฤตโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย โดยเฉพาะภาคเหนือที่สภาพอากาศหนาวเย็น นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศมีหมุดหมายเป็นจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือ โดยเฉพาะ จ.น่าน ที่ได้รับความนิยมมากจากการ

ตามรอย’หลวงปู่มั่น’ เยือนชุมชนไทยพวน

ชวนตามรอย “หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ” บุคคลสำคัญของโลกที่วัดถ้ำสาริกา  จ.นครนายก ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ  เยี่ยมชมถ้ำที่หลวงปู่มั่นใช้ปฏิบัติธรรม และเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมชุมชนชาวไทยพวนที่มิวเซียมปะพวน

แสตมป์วันชาติถ่ายทอดภาพ'ศาลาไทย'

8 ธ.ค.2565 - ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า ไปรษณีย์ไทย มีความตั้งใจที่จะนำสัญลักษณ์ประจำชาติ ทั้งศาลาไทย ช้างไทย และดอกราชพฤกษ์ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติเมื่อปี 2544

'ไทยพลาสติก รีไซเคิล กรุ๊ป' คว้ารางวัลสุดยอดเอสเอ็มอี ธุรกิจสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนแห่งปี

แผนลดฝุ่น PM2.5 ปี 66 เข้มโรงงานปล่อยมลพิษสูง

2 ธ.ค.2565 - นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และผู้อำนวยการศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) แถลงข่าวการเตรียมพร้อมป้องกันและแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5  ประจำปี 2566 ว่า สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5

ชวนเที่ยวงาน'เพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ปี 65'

งานเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ประจำปี 2565 กลับมาจัดในสถานที่จริงอย่างเต็มรูปแบบที่สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ  ท่ามกลางความร่มรื่นของต้นไม้และความสวยงามของดอกไม้นานาพันธุ์ ภายใต้แนวคิด“เพื่อนไม่ทิ้งกัน ในยามยาก”ภายในงานฯ มีการถอดแบบโครงสร้าง “

โทรทัศน์สมัยก่อนกับปัจจุบันแตกต่างกันอย่างไร

ทีวีในสมัยก่อนมีรูปร่างและขนาดที่ใหญ่ น้ำหนักมาก ทำให้เคลื่อนย้ายได้อย่างลำบาก ทีวีในสมัยก่อนความคมชัดน้อย ไม่สามารถดูผ่านอินเทอร์เน็ตได้ ทีวีในสมัยก่อนสัญญาณรบกวนสูงทั้งจากภายในและภายนอกของทีวี ทีวีในสมัยก่อนไม่สามารถทัชสกรีนได้ ทำให้ใช้งานไม่สะดวก

ทีวีสมัยก่อน เรียกว่าอะไร

1. จอทีวี CRT (Cathode Ray Tubes) เป็นจอทีวีหลังตุง มีมุมมองกว้าง ให้กำลังความสว่างของจอภาพมาก ถ้ามองเป็นเวลานานอาจจะทำให้แสบตาได้ ใช้งานตั้งแต่ยุคทีวีจอขาวดำ จนถึงทีวีจอสี แต่ในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมแล้ว เพราะทีวีจอ CRT ใช้พื้นที่เยอะ และกินไฟเยอะ

ทีวีมีกี่ยุค

ในช่วงเวลากว่า 80 ปีที่ได้มีการคิดค้นเครื่องรับโทรทัศน์และมีการพัฒนาเทคโนโลยีมาเป็นลำดับนั้น สามารถแบ่งช่วงการพัฒนาที่ได้เป็น 5 ยุคคือ ยุคแรกเป็นยุคของโทรทัศน์ขาวดำ ต่อมาได้พัฒนาเป็น โทรทัศน์สีจอโค้ง หลังจากนั้นได้พัฒนาเป็นโทรทัศน์สีจอแบน (Flat TV) และโทรทัศน์จอแบนแบบสลิม ( Slim TV ) โดยทั้ง 4 ยุคนี้ ยังคงใช้เทคโนโลยี ...

โทรทัศน์เป็นอย่างไร

โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก