สรุป ย่อ พร บ บริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่น 2542


สำหรับพี่น้องที่อยากสอบรับราชการให้ได้ สรุป พระราชบัญญัติเรื่องนี้จะช่วยให้พี่น้องได้เป็นข้าราชการครับ

1. ความเป็นมา การจัดรูปแบบการปกครองออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และการปกครองรูปแบบพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา การพัฒนาระบบการกระจายอำนาจที่เน้นความเป็นอิสระ ส่งผลต่อความต้องการในความเป็นอิสระด้านการบริหารงาน บริหารงานบุคค และบริหารงบประมาณ

 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้รับรองความเป็นอิสระในการบริหาร

งานบุคคลไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 284 และกำหนดให้มีคณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งและการให้พนักงานและลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงเป็นที่มาของ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้มีคณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่น ของแต่ละท้องถิ่น เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริหาร

งานบุคคลสำหรับท้องถิ่น และได้กำหนดให้มีองค์กรกลางทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานการบริหารงานบุคคลของพนักงานส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบ เป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับท้องถิ่นในลักษณะของการกำกับดูแลการบริหารงานบุคคลของท้องถิ่นภายใต้มาตรฐานกลางที่เหมาะสมเป็นธรรม

  รู้ไว้ให้จำ องค์กรกลาง คือ ???

 อบจ. จะมี คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

 เทศบาล จะมี คณะกรรมการพนักงานเทศบาล

 อบต จะมี คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล

 เมืองพัทยา จะมี คณะกรรมการพนักงานเมืองพัทยา

  – ทำหน้าที่กำกับดูแลด้านการบริหารงานบุคคลของแต่ละท้องถิ่นที่รับผิดชอบ เช่น การแต่งตั้งโยกย้าย การพิจารณาเรื่องร้องทุกข์หรืออุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย

  – หลักสำคัญของการสอบกฎหมายฉบับนี้ คือ การแยกให้ออกว่าแต่ละคณะกรรมการมีความแตกต่างกันอย่างไร ???

  – จะเห็นได้ว่า ไม่มีกรุงเทพมหานคร เนื่องจาก กรุงเทพมหานคร จะมีพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2538 เป็นกฎหมายเฉพาะ จึงไม่มีการบัญญัติรายละเอียดไว้ในกฎหมายนี้

 2. บททั่วไป

 พรบ. ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นฯ มีทั้งหมด 7 หมวด 43 มาตรา

 – บังคับใช้วันที่ 30 พฤศจิการยน 2542

 พนักงานส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการ อบจ., พนักงานเทศบาล , พนักงานส่วนตำบล , ข้าราชการ กทม, พนักงานเมืองพัทยา และได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนจาก งบประมาณหมวดเงินเดือน หรือ งบประมาณหมวดเงินอุดหนุน

 – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามกฎหมายนี้

 3. การบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

  3.1 แต่ละจังหวัดจะมี คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

(ก. อบจ.)จำนวน 1 องค์คณะ มีสมาชิกทั้งหมด 12 คน มาจาก



ผู้ทรงคุณวุฒิ มาจาก คณะกรรมการโดยตำแหน่ง เสนอรายชื่อ 6 คน และ

ผู้แทนข้าราชการเสนอรายชื่ออีก 6 คน จะได้ 12 คน แล้วคัดเลือกให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน และคุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ มีสัญชาติไทย อายุไม่ตำกว่า 40 ปีบริบูรณ์

และมีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตจังหวัด ไม่น้อยกว่า 1 ปี (ข้อสอบมักถามจำนวนปีที่มีชื่ออยู่

ในเขตจังหวัด)

  *** รู้ไว้ให้จำ

 ผู้ทรงคุณวุฒิ มาจาก ถิ่น / บุคคล / ราช / จัดการ

 ย่อมาจาก บริหารงานท้องถิ่น (ถิ่น)

   บริหารงานบุคคล (บุคคล)

   ระบบราชการ (ราช)

   บริหารและการจัดการ (จัดการ)

 – ผู้แทนข้าราชการ อบจ. มาจากการคัดเลือกของผู้ว่าราชการจังหวัด

 – ปลัด อบจ. เป็นเลขานุการฯ

 – ผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผู้แทนข้าราชการ อบจ.มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี

 – การพ้นจากตำแหน่งของ ผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผู้แทนข้าราชการ ให้ยื่นหนังสือลาออกต่อประธานกรรมการ (ยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด)

  3.2 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

  1. กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามที่มีความจำเป็นเฉพาะสำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น

  2. กำหนดจำนวนและอัตราตำแหน่ง อัตราเงินเดือน และวิธีการจ่ายเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นสำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

  3. กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้ง การย้าย

การโอน การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์

  4. กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการบริหารและการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

  5. กำกับ ดูแล ตรวจสอบ แนะนำและชี้แจง ส่งเสริมและพัฒนาความรู้แก่ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

4. การบริหารงานบุคคลในเทศบาล

  แต่ละจังหวัดจะมี คณะกรรมการพนักงานเทศบาล(ก.ท.จังหวัด.)จำนวน

1 องค์คณะ มีสมาชิกทั้งหมด 18 คน มาจาก


ผู้ทรงคุณวุฒิ มาจาก คณะกรรมโดยตำแหน่ง เสนอรายชื่อ 9 คน และผู้แทนข้าราชการเสนอรายชื่ออีก 9 คน จะได้ 18 คน แล้วคัดเลือกให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน และคุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ มีสัญชาติไทย อายุไม่ตำกว่า 40 ปีบริบูรณ์

และมีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตจังหวัด ไม่น้อยกว่า 1 ปี (ข้อสอบมักถามจำนวนปีที่มีชื่ออยู่

ในเขตจังหวัด)

  – ผู้ว่าราชการจังหวัด จัดให้มีการคัดเลือกผู้แทนพนักงานเทศบาล

  – ให้ผู้ว่าฯแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานเทศบาล 1 คนเป็น เลขานุการฯ

   – ผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผู้แทนพนักงานเทศบาล มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี

  – อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพนักงานเทศบาลใช้สูตรเดียวกับ อบจ.

 5. การบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนตำบล

  แต่ละจังหวัดจะมี คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต. จังหวัด.) จำนวน

1 องค์คณะ มีสมาชิกทั้งหมด 27 คน มาจาก


ผู้ทรงคุณวุฒิ มาจาก คณะกรรมโดยตำแหน่ง เสนอรายชื่อ 15 คน และผู้แทนข้าราชการเสนอรายชื่ออีก 15 คน จะได้ 30 คน แล้วคัดเลือกให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และคุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ มีสัญชาติไทย อายุไม่ตำกว่า 40 ปีบริบูรณ์

และมีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตจังหวัด ไม่น้อยกว่า 1 ปี (ข้อสอบมักถามจำนวนปีที่มีชื่ออยู่

ในเขตจังหวัด)

  – ผู้ว่าราชการจังหวัด จัดให้มีการคัดเลือกผู้แทนพนักงานส่วนตำบล

  – ให้ผู้ว่าฯแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนตำบล 1 คนเป็น เลขานุการฯ

   – ผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผู้แทนพนักงานเทศบาล มีวาร่ะอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี

  – อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพนักงานเทศบาลใช้สูตรเดียวกับ อบจ.

 6. การบริหารงานบุคคลในเมืองพัทยา

  คณะกรรมการเมืองพัทยา มีสมาชิกทั้งหมด 12 คน มาจาก



ผู้ทรงคุณวุฒิ มาจาก คณะกรรมโดยตำแหน่ง เสนอรายชื่อ 6 คน และผู้แทนข้าราชการเสนอรายชื่ออีก 6 คน จะได้ 12 คน แล้วคัดเลือกให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน และคุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ มีสัญชาติไทย อายุไม่ตำกว่า 40 ปีบริบูรณ์

และมีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตจังหวัด ไม่น้อยกว่า 1 ปี (ข้อสอบมักถามจำนวนปีที่มีชื่ออยู่

ในเขตจังหวัด)

  – ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี จัดให้มีการคัดเลือกผู้แทนพนักงานเมืองพัทยา

  – ปลัดเมืองพัทยา เป็น เลขานุการฯ

   – ผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผู้แทนพนักงานเทศบาล มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี

  – อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพนักงานเทศบาลใช้สูตรเดียวกับ อบจ.


 7. ก.กลาง (คณะกรรมการกลาง .) คืออะไร ???

  – คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

  – คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล

  – คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล

  เป็นคณะกรรมการในส่วนกลาง (ประจำกระทรวงมหาดไทย) ทำหน้าที่กำกับดูแลคณะกรรมการในระดับจังหวัด

 คณะกรรมการกลาง …อบจ. เทศบาล , อบต มีอย่างละ 18 คน


คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

  1. ปลัดกระทรวงมหาดไทย จัดให้มีการคัดเลือก นายก อบจ. และ ปลัด อบจ.

  2. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแต่งตั้งข้าราชการในกรมส่งเสริม

การปกครองท้องถิ่น ตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดีเป็นเลขานุการ

  3. ผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผู้แทน มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี

  คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล

  1. ปลัดกระทรวงมหาดไทย จัดให้มีการคัดเลือก นายกเทศมนตรี และ ปลัดเทศบาล

  2. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแต่งตั้งข้าราชการในกรมส่งเสริม

การปกครองท้องถิ่น ตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดีเป็นเลขานุการ

  3. ผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผู้แทน มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี

  คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล

  1. ปลัดกระทรวงมหาดไทย จัดให้มีการคัดเลือก นายก อบต. และ ปลัด อบต.

  2. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแต่งตั้งข้าราชการในกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดีเป็นเลขานุการ

  3. ผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผู้แทน มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี

  ผู้ทรงคุณวุฒิ มาจาก คณะกรรมโดยตำแหน่ง เสนอรายชื่อ 9 คน และผู้แทนข้าราชการเสนอรายชื่ออีก 9 คน จะได้ 18 คน แล้วคัดเลือกให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน และคุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ มีสัญชาติไทย อายุไม่ตำกว่า 40 ปีบริบูรณ์และมีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตจังหวัด ไม่น้อยกว่า 1 ปี (ข้อสอบมักถามจำนวนปีที่มีชื่ออยู่ในเขตจังหวัด)

  อำนาจหน้าที่ของ (คณะกรรมการกลาง .) สูตรให้ใช้ร่วมกันทั้ง อบจ. เทศบาล อบต. *** ให้จำไว้แบบสุด ๆ ว่า คณะกรรมการกลางมีหน้าที่ “กำหนดมาตรฐานทั่วไป” ของคณะกรรมการในระดับจังหวัด

 8. คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.)

 ก.ถ. มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานกลางของคณะกรรมการกลาง

 คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น มี 17 คน (ประธาน ก.ถ. จำนวน 1 คน + คณะกรรมการอีก 16 คน)

  8.1 ประธาน ก.ถ. มาจากการเสนอชื่อของคณะกรรมการกลาง อบจ. อบต. และเทศบาลฝ่ายละ 3 คน แล้วให้บุคคลทั้ง 9 คัดเลือกกันเอง 1 คนให้เป็นประธาน

  – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจัดให้มีการคัดเลือก ประธาน ก.ถ.

  – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศแต่งตั้ง ประธาน ก.ถ.

  – ประธาน ก.ถ. มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี และเป็นได้เพียง

วาระเดียว

  8.2 คณะกรรมการ ก.ถ.


บทสรุป

 – ก.ถ. กำกับดูแล คณะกรรมการกลาง อบจ. อบต. และเทศบาล

 – คณะกรรมการกลาง อบจ. กำกับดูแล อบจ ทุกจังหวัด

 – คณะกรรมการกลางเทศบาล กำกับดูแล คณะกรรมการเทศบาลทุกจังหวัด

 – คณะกรรมการกลาง อบต กำกับดูแล คณะกรรมการ อบต ทุกจังหวั

 – คณะกรรมการเทศบาลประจำจังหวัด กำกับดูแลทุกเทศบาลในจังหวัดนั้น

 – คณะกรรมการ อบต ประจำจังหวัด กำกับดูแลทุก อบต ในจังหวัดนั้น

ขอให้ทุกท่านสอบติดสอบผ่านได้เรียกบรรจุสมใจครับ

โค้ชพี่แมง ป.

(เจ้าของผลงานหนังสือ แค่เปลี่ยนวิธีคิดก็สอบติดข้าราชการ)

ติดตามข้อมูลดีๆ ครอบจักรวาลสอบรับราชการได้ที่เพจ อยากรับราชการฟังทางนี้ by พี่แมง ป

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก