การหยุดการตอก เสาเข็ม แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ

ในการสร้างบ้านและอาคารนั้น การก่อสร้างมักจะใช้ฐานรากเสาเข็มเพื่อรับน้ำหนักของโครงสร้างทั้งหมด โดยทั่วไปจะตอกเสาเข็มให้ปลายของเสาเข็มลงลึกไปจนถึงชั้นดินเหนียวแข็งหรือชั้นดินดาลข้างล่าง เพื่อให้ส่วนปลายของเสาเข็มเป็นตัวรับน้ำหนัก (End Bearing) ในโซนกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะมีความลึกอยู่ที่ประมาณ 21 เมตร โดยที่ดินในชั้นนี้มีคุณสมบัติพอที่จะสามารถรับน้ำหนักของตัวบ้านหรืออาคารที่สูงไม่เกิน 5 ชั้นได้

เทคนิคการตอกเสาเข็มด้วยวิธี Last 10 Blow
การใช้ฐานรากเสาเข็มในชั้นดิน Soft Bangkok Clay
(รูปจากศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ //www.gerd.eng.ku.ac.th/Cai/Ch01/ch012_title.htm)

แต่ปัญหาจะเจอก็คือ ในแต่ละพื้นที่ชั้นดินเหนียวแข็งอยู่ลึกไม่เท่ากัน แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าปลายของเสาเข็มที่ตอกลงไปถึงชั้นดินเหนียวแข็งแล้ว ตอบแบบง่ายๆ ก็คือ ตอกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะตอกไม่ลงอีก ซึ่งเราสามารถเช็คได้จากจำนวนครั้งที่ปล่อยลูกตุ้มว่าทำให้เสาเข็มจมลงเท่าไหร่นั่นเอง โดยทั่วไปเรานิยมใช้กันอยู่ 2 เทคนิค คือ

Blow Count คือ จำนวนครั้งของการยกตุ้มตอกที่ทำให้เสาเข็มจมลงไปในดิน 1 ฟุต หรือ 30 เซนติเมตร (ยิ่งจำนวนครั้งของการยกตุ้มมีเยอะขึ้นแสดงว่าปลายเสาเข็มเริ่มลงไปถึงชั้นดินแข็งแล้ว ถ้าหากได้จำนวนตามที่กำหนดไว้ เราจะเริ่มใช้เทคนิค Last 10 Blow ต่อไป)

2. Last 10 Blow

Last 10 Blow เป็นเทคนิคที่นิยมใช้กันมากที่สุดในการตรวจสอบการจมของเสาเข็ม จะทำเมื่อเริ่มรู้สึกว่าตอกเสาเข็มไม่จมแล้ว จะใช้การขีดเส้นแนวนอนที่เสาเข็ม 1 เส้น ต่อการปล่อยลูกตุ้ม 10 ครั้ง แล้วดูระยะห่างของเส้นที่ขีด เมื่อเส้นอยู่ชิดกันจนไม่มีระยะห่างแล้วหมายความว่าปลายของเสาเข็มไปอยู่ที่ชั้นดินเหนียวแข็งแล้ว จะหยุดการตอกเสาเข็มต้นนั้น ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อเสาเข็มได้ หรือขึ้นอยู่กับทางวิศวกรกำหนดให้อีกที

รอยขีดบนเสาเข็มจากเทคการทำ Last 10 Blow

เสาเข็มมีด้วยกันหลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่นำไปใช้ประเภทของเสาเข็ม ได้แก่

1. เสาเข็มตอก

มีทั้งเสาไม้ เสาเหล็ก และเสาคอนกรีต ส่วนมากจะนิยมใช้เสาเข็มคอนกรีต เนื่องจากราคาถูกกว่าเสาเหล็กและแข็งแรงกว่าเสาไม้ สำหรับเสาคอนกรีตแบ่งย่อยได้ 2 ชนิด ได้แก่ เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก และเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง เสาคอนกรีตอัดแรงจะเป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะหน้าตัดเล็กกว่าทำให้เวลานำไปตอกจะส่งผลกระทบต่ออาคารข้างเคียงน้อยกว่า เสาเข็มตอกมีด้วยกันหลายรูปแบบ ทั้งแบบสี่เหลี่ยม แบบกลม แบบตัว I และแบบตัว T เป็นต้น เสาเข็มตอกสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ราว ๆ 10-120 ตันต่อต้น

ตอกเสาเข็ม ต้องใช้ปั้นจั่นในการตอกลงไปในดิน โดยช่วงสุดท้ายซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการตอกเสาเข็ม จะต้องมีการตรวจสอบการตอก 10 ครั้งสุดท้าย (Last Ten Blow) เข็มที่ตอกมีการทรุดตัวกว่าค่าที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าหากทรุดตัวมากเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้แสดงว่ายังไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดีพอ

2. เสาเข็มเจาะระบบแห้ง เสาเข็มที่เข้ามาแก้ปัญหาเสาเข็มแบบตอกซึ่งไม่สะดวกสำหรับการขนย้าย ให้สามารถทำงานในสถานที่แคบ ๆ เสาเข็มเจาะระบบแห้งเป็นการทำเสาเข็มแบบหล่อในที่ มีรูปร่างหน้าตาเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40-60 เซนติเมตร สามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ราว ๆ 25-60 ตันต่อต้น ความยาวประมาณ 2030 เมตร

ทำเสาเข็มเจาะแบบแห้งสามารถเจาะโดยใช้ขาตั้ง 3 ขา แล้วใช้ลูกตุ้มเหล็กหรือกระบะตักดินกระแทกลงไปในดินลึกประมาณ 1 เมตร หลังจากนั้นนำปลอกเหล็กตอกลงไปในหลุมเจาะ โดยปกติจะลงไปลึกประมาณ 12-14 เมตร ซึ่งระดับความลึกระดับนี้จะเป็นชั้นดินเหนียวอ่อน หลังจากนั้นทำการเจาะดินโดยทิ้งกระบะตักดินลงไปในปลอกเหล็ก แล้วตักขึ้นมาทิ้งบริเวณปากหลุม การเจาะดินจะทำการเจาะไปถึงชั้นทรายแล้วจึงหยุดเจาะ เนื่องจากชั้นทรายจะมีน้ำไหลซึมออกมาตลอดซึ่งจะทำให้ก้นหลุมพัง หลังจากนั้นใส่เหล็กเสริมลงไปในปลอกเหล็ก แล้วเทคอนกรีตลงไปในปลอกเหล็ก หลังจากเทเสร็จให้รีบดึงปลอกเหล็กขึ้นทันที

3. เสาเข็มเจาะระบบเปียกเป็นเสาเข็มแบบคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อในที่ รูปหน้าตัดทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.75-1.50 เมตร สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 150-900 ตัน/ต้น เสาเข็มระบบนี้จะเหมาะกับงานก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ เช่น อาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ เป็นต้น เสาเข็มระบบนี้เมื่อเจาะลงลึกกว่า 20 เมตร จะต้องใช้ละลายเบนโทไนท์ใส่ลงไปในหลุมเจาะ เพื่อผลักน้ำออกไปจากชั้นทรายเพื่อให้สามารถเทคอนกรีตลงไปได้

เสาเข็มที่นิยมใช้สร้างบ้าน จะมี 2 ประเภท ได้แก่

เสาเข็มตอก ซึ่งใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงที่ผลิตจากโรงงาน แต่ละท่อนมีความยาวตั้งแต่ 1-28 ม. มีหลายหน้าตัด เช่น รูปตัวที (T) รูปตัวไอ (I) สี่เหลียม หกเหลี่ยม เป็นต้น เสาเข็มสั้นที่ยาว 1-6 เมตรมักจะตอกลงดินด้วยแรงคนขย่ม ส่วนเสาเข็มยาวจะใช้ปั้นจั่นในการตอก

เสาเข็มเจาะ ซึ่งจะใช้เครื่องมือขุดเจาะดินเป็นหลุมตามขนาดหน้าตัดเสาเข็ม โดยขุดให้ลึกถึงชั้นดินแข็งจากนั้นจึงใส่เหล็กเสริมและเทคอนกรีตลงไป

ในปัจจุบันเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงจะได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีราคาที่ย่อมเยา ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มก่อนที่จะติดตั้งได้ และสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยสูงสุดกว่า 200 ตันต่อต้น ทางด้านการติดตั้งมีกรรมวิธีที่หลากหลายตั้งแต่ใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็ม การเจาะดิน การปรับปรุงสภาพดินบริเวณปลายเสาเข็ม ไปจนถึงการกดเสาเข็มซึ่งสามารถลดมลภาวะเสียงและแรงสั่นสะเทือนได้สมบูรณ์แบบ ความเหมาะสมของวิธีที่ใช้ในการติดตั้งเสาเข็มขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของพื้นที่ ความจำเป็น และกฎหมายที่บังคับในพื้นที่นั้นๆ ภายหลังการติดตั้งวิศวกรนิยมเลือกใช้การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็ม หรือการทำสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มเพื่อยืนยันว่าเสาเข็มสามารถรับน้ำหนักได้ตามการคำนวณ ส่วนข้อจำกัดของเสาเข็มอาจจะพบได้ในพื้นที่ที่ค่อนข้างแคบ เนื่องจากจะต้องมีการขนย้ายเสาเข็มจากโรงงานเข้าสู่หน้างาน



เสาเข็มมี 2 วิธีมีอะไรบ้าง

การถ่ายเทน้ำหนักของเสาเข็มมี 2 ลักษณะ คือ เสาเข็มสั้น หรือ เสาเข็มที่รับน้ำหนักโดยใช้แรงเสียดทาน ซึ่งเสาเข็มชนิดนี้จะถ่ายน้ำหนักตัวอาคารกับชั้นดินโดยใช้แรงเสียดทานในการช่วยรับน้ำหนัก และเสาเข็มยาว คือ เสาเข็มที่ถ่ายน้ำหนักตัวอาคาร ผ่านชั้นดินอ่อนไปยังชั้นดินที่มีความแข็งเพื่อรับน้ำหนักเสาเข็มโดยตรง

เสาเข็มแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง

เสาเข็มที่ใช้กับอาคารบ้านเรือนทั่วไปในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของการผลิตและการใช้งาน ได้แก่ ... .
1.เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง ... .
2. เสาเข็มเจาะ ... .
2.1 เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ( small diameter bored pile ) ... .
2.2 เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ ( large diameter bored pile ) ... .
3.เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง.

เสาเข็มตอกมีลักษณะอย่างไร

เสาเข็มแบบตอกเป็นการใช้ปั้นจั่นขนาดใหญ่ทำการตอกเสาเข็มลงไปในดินเพื่อให้ได้ความลึกตามที่เราต้องการ เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากเพราะไม่มีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก แต่การฝังเสาเข็มในรูปแบบนี้ มักจะมีปัญหาในการเคลื่อนย้ายวัสดุอุปกรณ์เข้าในที่ก่อสร้าง เพราะเป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่กินพื้นที่มาก และสร้างแรงสั่น ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก