นักพัฒนาซอฟต์แวร์ เรียนอะไร

Skip to content

สำหรับอาชีพที่พี่จะนำเสนอวันนี้ก็คือ นักพัฒนาซอฟต์แวร์

หลายคนอาจสงสัยว่า เรียนสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ จบแล้วทำอาชีพอะไรได้บ้างนะคะ ซึ่งพี่ก็จะนำเสนอข้อมูลทีละอาชีพนะค่ะ เผื่อน้องๆที่สนใจในอาชีพต่าง ๆ จะได้มีแนวทางเข้าศึกษาในสาขาวิชานี้นะคะ

เส้นทางสู่อาชีพนักพัฒนาซอฟต์แวร์

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว  ประเทศไทยจึงมีความต้องการบุคลากร ที่ประกอบอาชีพนักพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นอย่างมาก  เนื่องจากทุกหน่วยงานจะต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาพัฒนาองค์กรให้มีความทันสมัยจึงจะสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้  อีกทั้งยังคงต้องการซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ ปลอดภัย และมีเสถียรภาพ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ จึงต้องเป็นบุคคลที่รู้วิธีการทำงานให้มีคุณภาพ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ สามารถบริหารจัดการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้อย่างเหมาะสม และวางแผนการทำงานได้อย่างแม่นยำ

ลักษณะงานที่ทำ

1.วิจัย วิเคราะห์ และพัฒนาระบบซอฟต์แวร์
2.ศึกษากระบวนการ  ตลอดจนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
3.ออกแบบกระบวนการในการทำระบบซอฟต์แวร์ให้เป็นมาตรฐาน
4.ทดสอบ ตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการให้เป็นไปตามความต้องการ
5.ประเมินผลการทำงานของแต่ละขั้นตอนในกระบวนการ  พร้อมประเมินผลความเสี่ยง
6.สนับสนุนการพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบใหญ่ให้มีคุณภาพสูง
7.ดูแลแก้ไขข้อมูลด้านซอฟต์แวร์ของสถานประกอบการ
8.แนะนำและสอนเทคนิคการใช้โปรแกรมให้พนักงาน และงานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย
9.ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา

รายได้ของอาชีพนักพัฒนาซอฟต์แวร์

ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง สามารถปฏิบัติงานได้ในหน่วยงานราชการ  และภาคเอกชนจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนในระดับ ปริญญาตรีประมาณ 20,000 บาท และระดับปริญญาโทประมาณ 30,000 บาท

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

1.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
2. เชี่ยวชาญด้าน Software Engineering หรือวิศวกรรมซอฟต์แวร์
3.ชอบการคำนวณ คิดค้น วิเคราะห์ สังเคราะห์ สถิติ และตัวเลข
4.สนใจเทคโนโลยีใหม่ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ เนื่องจากจะต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาเพื่อพัฒนาออกแบบซอฟต์แวร์ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เพื่อนำมาใช้ในระบบการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมปฏิบัติการต่างๆ
5.สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับองค์กรและสามารถทดสอบซอฟต์แวร์โดยกรรมวิธีมาตรฐานได้
6.สามารถแจกแจงรายละเอียดงาน จัดการกับระบบงานที่สลับซับซ้อนได้
7.ขยัน อดทน และมีความพยายาม
8.มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ชอบดัดแปลง รักความก้าวหน้า และสนุกกับการทำงานที่ท้าทาย

วันนี้พี่ก็มีวีดีโอที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับน้องๆที่กำลังเรียนในสายคอมพิวเตอร์และน้องๆมัธยมที่วางแผนจะเลือกคณะทางคอมพิวเตอร์ในการเรียนนะคะ จะได้มีข้อมูลในการตัดสินใจค่ะ

Post navigation

นักพัฒนาซอฟแวร์/โปรแกรมเมอร์/เว็บดีไซเนอร์
(Software developer / Programmer / Web designer)

นักออกแบบเว็บไซต์

ผู้ออกแบบและเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการนำเสนอในเว็บไซต์เพื่อโฆษณาสินค้าและบริการ โครงการรณรงค์ต่างๆ รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลของสถาบันหรือหน่วยงานของสถานประกอบการที่มอบหมายให้จัดทำ หรือสิ่งอื่นๆ เพื่อเสนอต่อสาธารณชน ทางระบบเครือข่ายทางอินเตอร์เน็ต

ลักษณะของงานที่ทำ

1. รับรายละเอียดความต้องการของผู้มอบหมายงานในการจัดทำ เว็บไซต์ ศึกษาข้อมูลสิ่งที่ต้องการนำเสนอ เช่นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการโฆษณา โครงการ หรือสถาบันต่างๆ ว่ามีจุดกำเนิดอย่างไร มีจุดยืนอย่างไร ต้องการเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายใดให้มาสนใจ ด้วยถ้อยคำอย่างไร 

2.วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ มาใช้สร้างหรือกำหนดลำดับขั้นตอนของการนำเสนอ รวมทั้งกำหนดประเภทและแบบของการเขียนโปรแกรมในการนำเสนอในเว็บไซต์ 

3.ออกแบบ การจัดวางเนื้อหาและการเชื่อมสู่รายละเอียดในแต่ละรายการที่ต้องการนำเสนอ(Sitemap) และโครงร่าง (Outline) ของเว็บไซต์ 

4.ปรึกษาหารือกับผู้ควบคุมงานและผู้แทนของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาที่สำคัญในการนำเสนอ การนำข้อมูลเข้าระบบ ขอบเขตของการแสดงข้อมูล 

5.ออกแบบการจัดวางภาพและข้อความ (layout) ในแต่ละเว็บเพจ ซึ่งอาจจะมีผู้ออกแบบกราฟฟิก (Graphic Designers) เป็นผู้ช่วยทำให้การนำเสนองานมีความสมบูรณ์ก่อนจะส่งให้ผู้ว่าจ้างพิจารณา 

6.เปลี่ยนข้อมูลและภาพให้เป็นข้อมูลและภาพที่สามารถนำเสนอในเว็บไซต์ได้ 

7.ทดสอบความถูกต้องของโปรแกรมและข้อมูลที่นำเสนอ และแก้ไขความคลาดเคลื่อนของโปรแกรมใหม่ให้ถูกต้อง 

8.จัดเตรียมข้อสั่งหรือคู่มือการใช้งานระบบนั้นๆ และชี้แจงให้เจ้าหน้าที่ผู้ใช้เครื่องได้ใช้เป็นแนวทางในการทำงาน

สภาพการจ้างงาน

นักออกแบบเว็บไซต์ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีได้รับเงินเดือนเทียบเท่าวุฒิปริญญาตรีทั่วไปและจะมีค่าวิชาชีพให้เป็นกรณีพิเศษ ส่วนใหญ่มักมีรายได้ค่อนข้างดี อัตราค่าจ้างเป็นรายเดือนแตกต่างกันไปตามความรู้และความชำนาญ ส่วนใหญ่ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมงหรือวันละ 8 ชั่วโมง อาจต้องมาทำงาน วันเสาร์ วันอาทิตย์ หรือวันหยุด อาจต้องทำงานล่วงเวลาในกรณีที่ต้องการให้ระบบงานเสร็จทันต่อการใช้งาน 

สำหรับผู้ที่ชอบงานอิสระจะรับงานมาทำที่บ้านด้วยตนเองจะได้รับค่าตอบแทนเป็นชิ้นงานซึ่งมีอัตราแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงาน สภาพ ปริมาณ และระยะเวลาการทำงาน ซึ่งไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนขึ้นอยู่กับลักษณะงาน ความยากง่ายของงานและความต้องการของลูกค้า

สภาพการทำงาน

นักออกแบบเว็บไซต์จะต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการเขียนและทดสอบ ดังนั้นสถานที่ทำงานจะเป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเช่นสำนักงานทั่วไป มีการออกไปติดต่อผู้ใช้งานระบบเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมเป็นครั้งคราว สำหรับนักออกแบบเว็บไซต์อิสระสามารถทำงานที่บ้านของตนเองได้ รวมทั้งการประสานงานบางอย่างอาจใช้ระบบการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตช่วยโดยไม่ต้องเดินทางไปสถานประกอบการก็ได้ งานออกแบบเว็บไซต์เป็นงานที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน วันหนึ่งประมาณ 6 - 7 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น ต้องใช้ประสาทสัมผัสของสายตาและมือ บางครั้งอาจมีปัญหากับสายตาได้เนื่องจากอยู่กับจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

-สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำตามระเบียบบังคับของกระทรวงศึกษาธิการ มีปฏิภาณไหวพริบดี 

-มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมการสร้างเว็บไซต์ และออกแบบได้ เช่น Java HTML 

- มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบในงานศิลปะ และสนใจในการใช้ระบบงานคอมพิวเตอร์ 

-มีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและพร้อมที่จะพัฒนาตนเองอยู่เสมอ 

-เป็นคนที่มีมุมมองไม่เหมือนคนอื่น และมีแง่มุมหลายมุมมอง 

-เป็นคนทันสมัย มีความรู้รอบตัว มีความคิดกว้างไกล และมีจินตนาการ 

-มีทัศนะคติที่ดี ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบสูงทั้งต่อลูกค้าและสังคม 

-มีความซื่อสัตย์ในอาชีพ ไม่ใช้ความรู้ ความสามารถในการดัดแปลงข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตัว มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ควรจะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเนื่องจากหน่วยงานที่ว่าจ้างและผู้เข้าชมเว็บไซต์อาจจะต้องการความช่วยเหลือและคำแนะนำในด้านการใช้งานจึงต้องมีความสามารถชี้แจง ให้ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้ใช้ระบบงาน รวมทั้งต้องรับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากผู้อื่น 

การเตรียมความพร้อมสู่อาชีพ

เมื่อสำเร็จการศึกษาตามกฎ ข้อบังคับของกระทรวงศึกษาธิการ หรือสำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และสนใจศึกษาในการเขียนโปรแกรมเพื่อสร้างเว็บไซต์ รวมทั้งมีความสามารถในเชิงศิลป์ หากมีประสบการณ์และประสบความสำเร็จในการสร้างเว็บไซต์จะยิ่งเป็นที่สนใจในการว่าจ้าง โดยอาจจะโฆษณา รับเขียนเว็บไซต์ทางระบบอินเตอร์เน็ตหรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านคอมพิวเตอร์ มีความรู้ในการเขียนภาษาคอมพิวเตอร์มีทักษะทางด้านคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ 

หรือผู้ที่ไม่ได้ศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์มาในระดับปริญญาตรีแต่มีความสนใจในการเขียนโปรแกรมสร้างเว็บไซต์ อาจเข้ารับการอบรมตามสถาบันสอนคอมพิวเตอร์ทั่วไป และหากมีความสามารถในการออกแบบเว็บไซต์และมีความเชี่ยวชาญมากพอก็สามารถประกอบนักออกแบบเว็บไซต์ได้เช่นกัน

โอกาสในการมีงานทำ

บุคลากรทางด้านนี้ยังมีแนวโน้มความต้องการในตลาดแรงงานค่อนข้างสูงและให้ผลตอบแทนสูงสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์และความสามารถมากเพราะปัจจุบันการสื่อสารเผยแพร่ข่าวสารไม่จำกัดอยู่เพียงวิทยุ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ยังมีระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้ดีและกระจายไปทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนได้เห็นความสำคัญของการนำเสนอข่าวสารหรือโฆษณาทางอินเตอร์เน็ตแทบทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่าเกือบทุกหน่วยงานพยายามที่จะมีเว็บไซต์ของตนเองเพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ธุรกิจ กิจกรรมหรือสินค้าของตน รวมทั้งการสร้างเว็บไซต์ของบุคคลธรรมดาหรือกลุ่มบุคคล เพื่อการนำเสนอสิ่งที่ต้องการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ 

องค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการมีเว็บไซต์ของตนเองอาจจะให้หน่วยงานทางด้านคอมพิวเตอร์ซึ่งมีบุคลากรที่ชำนาญทางด้านนี้ออกแบบและสร้างเว็บไซต์ได้เอง สำหรับองค์กรขนาดเล็กหรือองค์กรที่ไม่มีหน่วยงานหรือบุคลากรชำนาญในการออกแบบและสร้างเว็บไซต์ อาจจะจัดจ้างบริษัทหรือจัดจ้างผู้ประกอบอาชีพอิสระที่มีความชำนาญงานทางด้านนี้ออกแบบและบำรุงรักษาเว็บไซต์ขององค์กรของตน 

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

1. ตำแหน่งเริ่มต้นงานคือ จูเนียร์เว็บดีไซน์เนอร์ (Junior web designer) ที่จะต้องเข้ามาเพื่อเรียนรู้ขั้นตอนการทำงานจริงในแต่ละขั้นอย่างละเอียด โดยมีรุ่นพี่หรือผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานเป็นคนคอยให้คำแนะนำและสอนงาน โดยต้องอาศัยประสบการณ์ในการทำงาน มีความรับผิดชอบ มีพัฒนาการในการทำงานที่ดีจึงจะได้รับโอกาสในการเลื่อนตำแหน่งขึ้นไป

2. ซีเนียร์เว็บดีไซน์เนอร์ (Senior web designer) เป็นคนที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาก มักเป็นผู้อาวุโส จะเป็นคนควบคุมโปรเจค มีอำนาจในการดูแลและตัดสินใจได้อย่างเต็มที่ 

3. ครีเอทีฟ (Creative) เมื่อเรามีประสบการณ์ในการทำงานเว็บดีไซน์มากพอสมควรแล้วก็สามารถปรับเปลี่ยนสายงานมาเป็นคลีเอทีฟสำหรับเว็บไซต์ได้ จะต้องทำงานในกระบวนการคิดและสร้างสรรค์ ออกไอเดียใหม่ๆในมิติที่กว้างขึ้น 

4. บางคนอาจนำประสบการณ์ที่มีมาเปิดบริษัทเพื่อจัดการบริหารและควบคุมระบบการทำงานด้วยตัวเอง ซึ่งนอกจากประสบการณ์แล้วยังต้องมีคอนเนคชั่นที่จะทำให้งานของเราถูกบอกต่อและมีลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยต้องมีความรับผิดชอบมากเพราะต้องดูแลทั้งตัวงานทั้งหมด ควบคุมการทำงานของคนทั้งบริษัท รักษาระดับและคุณภาพของงานให้ดีและพัฒนาขึ้นไปเสมอ 

ตัวอย่างมหาวิทยาลัยและคณะที่เกี่ยวข้อง

1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

2.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 

3.มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

4.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

5.มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

6.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 

7.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 

8.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

9.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

10.มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

11.มหาวิทยาลัยบูรพา คณะวิทยาการสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

12. มหาวิทยาลัยพะเยา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

13.มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

14.มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

15.มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

16.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

17.มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (วิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ)

18.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์

19.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

20.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์

ที่มา: กองส่งเสริมการมีงานทำ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก