พัฒนาการ ด้านสังคมสมัยสุโขทัย

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

ใบงานที่ 4.4 พัฒนาการทางด้านสังคมสมัยสุโขทัย

คำชี้แจง   ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

    1.  สังคมสุโขทัยประกอบด้วยกลุ่มคนกี่ประเภท แต่ละประเภทมีบทบาทหน้าที่ในสังคมอย่างไรบ้าง

  • สังคมสุโขทัยแบ่งกลุ่มคนออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 
    • 1) บุคคลที่มีอำนาจในการปกครอง ประกอบด้วย 
      • (1) พระมหากษัตริย์ เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง
      • (2) พระราชวงศ์ เป็นผู้ที่มีเชื้อสายร่วมกับกษัตริย์ พระราชวงศ์ที่ใกล้ชิดและมีความสามารถอาจได้รับมอบหมายจากพระมหากษัตริย์ให้ปกครองดูแลเมืองสำคัญ หรือมีโอกาสได้สืบราชสมบัติ
      • 3) ขุนนาง เป็นผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลบ้านเมือง ปกครองประชาชน และเป็นผู้นำในการทำสงคราม ปกป้องอาณาจักร
    • 2) บุคคลที่อยู่ใต้ปกครอง ประกอบด้วย
      • (1) ไพร่ หมายถึง ประชาชนทั่วไป มีอิสระในการดำเนินชีวิต มีสิทธิภายใต้กฎหมายกำหนด
      • (2) ข้า หมายถึง กลุ่มคนที่ไม่มีอิสระในการดำเนินชีวิตของตนเอง และต้องเสียสละแรงงานให้กับนาย 

     2.  สุโขทัยจัดระเบียบสังคมที่มีผู้คนหลากหลายให้อยู่กันอย่างสงบสุขได้อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

สุโขทัยมีการตรากฎหมายหลายฉบับ เพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในสังคม จากการตีความในศิลาจารึกที่ค้นพบ พบว่ากฎหมายในสมัยสุโขทัยมีหลายลักษณะ ดังนี้

    • 1) ลักษณะทรัพย์สินมรดก ตัวอย่างข้อความจากศิลาจารึกหลักที่ 1 ความตอนหนึ่งว่า “...ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มตายหายกว่าเหย้าเรือนพ่อเชื้อ เสื้อคำมันช้างขอลูกเมียเยียข้าว ไพร่ฟ้าข้าไท ป่าหมาก ป่าพลู พ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น...” หมายความว่า ไม่ว่าจะ เป็นผู้ใดเสียชีวิต ทรัพย์สมบัติต่างๆ ให้ตกทอดเป็นมรดกแก่ลูกของผู้ตาย
    •  2) ลักษณะการพิจารณาคดีความตัวอย่างข้อความจากศิลาจารึก ความตอนหนึ่งว่า “...ลูกเจ้าลูกขุนแลผิดแผกแสกกว้างกัน สวนดูแท้แลจึ่งแล่งความแก่  ข้าด้วย ซื่อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน...” แสดงให้เห็นว่า มีการพิจารณาคดีโดยใช้หลักประกันความยุติธรรม เช่น เมื่อพลเมืองผิดใจเป็นความกันจะมีการสอบสวนแน่ชัดจึงตัดสินโดยยุติธรรม 
    • 3) ลักษณะการร้องฎีกา ตัวอย่างข้อความจากศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ความตอนหนึ่งว่า “...ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้  พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก เมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม...” แสดงให้เห็นถึงการร้องทุกข์ในสมัยสุโขทัย 
    • 4) ลักษณะโจร จากศิลาจารึกหลักที่ 38 แสดงให้เห็นว่ากฎหมายลักษณะโจร มีลักษณะเป็นกฎหมายอาญามุ่งให้ประชาชนพยายามนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษให้ได้ และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเป็นพลเมืองดี

3.  พระพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญอย่างไรในสังคมสุโขทัย

  •                พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทลังกาวงศ์เป็นกลุ่มสำคัญอีกกลุ่มหนึ่งต่อสังคมสุโขทัย เนื่องจากอนุญาตให้คนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ขุนนาง ไพร่ หรือข้า สามารถบวชเพื่อศึกษาหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาได้ และยังได้รับการอุปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์  ตลอดจนเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในการดำเนินชีวิตของคนสุโขทัย ดังเห็นได้จากข้อความจากศิลาจารึกสมัยสุโขทัยความตอนหนึ่งว่า “...คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้าท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้ญีง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน...”

พัฒนาการด้านสังคม

                                 

เมื่อสุโขทัยเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจโดยสมบูรณ์แล้วนั้น มีการสร้างเมืองเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีการระบุไว้ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า “รอบเมืองสุโขทัยนี้ ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา” ตรีบูรหมายถึง กำแพงเมือง 3 ชั้น และยังอาจมีความหมายเชิงสัญลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์ คือเป็นเมืองสวรรค์ในชั้นดาวดึงส์ซึ่งอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ โดยมีวัดพระศรีมหาธาตุ สุโขทัย ที่มีเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมเป็นประธานของวัด เป็นศูนย์กลางความศักดิ์สิทธิ์ของราชอาณาจักรนี้ กำแพงเมืองสามชั้นนี้นอกจากจะมีไว้เพื่อเป็นแนวป้องกันข้าศึก ยังใช้ประโยชน์ในการกักเก็บและระบายน้ำ ทั้งนี้ด้วยสภาพภูมิประเทศไม่ค่อยอำนวยต่อการเพาะปลูกจึงเป็นเหตุให้เกิดรูปแบบงานชลประทานของชาวสุโขทัย บางส่วนได้รับอิทธิพลมาจากเขมร เช่น การขุดตระพังหรือการฝังท่อระบายน้ำดินเผา การสร้างเขื่อน สรีดภงส์คือสร้างถนนพระร่วง เป็นเขื่อนทำนบบังคับน้ำจากที่สูงให้กระจายไปสู่ที่ลุ่มบริเวณเพาะปลูกตอนล่าง ตลอดจนขุดคูน้ำเข้าสู่ตัวเมืองและขุดเหมืองฝายขนาดเล็กซึ่งชาวบ้านอาจขุดขึ้นเองในบริเวณที่ลุ่มนอกตัวเมือง การชลประทานของสุโขทัยเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐกับราษฎรไม่ได้เป็นการเกณฑ์แรงงานโดยตรง ดังนั้นการควบคุมคนจึงไม่เข้มงวดมากนัก

กลุ่มคนในสังคมสุโขทัยนั้นประกอบด้วย กษัตริย์ ขุนนาง พระสงฆ์ ไพร่ และทาส

  1. พระมหากษัตริย์ คือ ผู้ปกครองสูงสุด ในนามบุคคลแรกของผู้ปกครองกรุงสุโขทัยมีพระนาม “พ่อขุน” นำหน้า เช่น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนบานเมือง และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ส่วนพระมหากษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาได้เปลี่ยนมาใช้คำว่า “พระ” นำหน้าพระนาม คือ พระมหาธรรมราชาที่ 1 จนถึงพระมหาธรรมราชาที่ 4 จึงอาจตีความได้ว่า พระมหากษัตริย์ 3 พระองค์แรกเป็นช่วงที่สภาพทางสังคมยังเป็นแบบประเพณีดั้งเดิมที่ปฏิบัติกันมา เพราะมหากษัตริย์มีความใกล้ชิดกับประชาชนในฐานะพ่อปกครองลูก ต่อมาในสมัยราชการหลัง ๆ ฐานะของพระมหากษัตริย์ได้เปลี่ยนแปลงไปตามแบบข้ากับเจ้า บ่าวกับนาย และต่อมาได้เปลี่ยนเป็นการปกครองแบบธรรมราชา หรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งจะเห็นเด่นชัดในสมัยพญาลิไท หรือพระมหาธรรมราชาที่ 1 ระบบการปกครองที่เปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปตามสภาพความซับซ้อนและขนาดของสังคม ยิ่งสังคมมีประชากรมากขึ้นเท่าใดความใกล้ชิดระหว่างกษัตริย์และประชาชนก็จะยิ่งน้อยลงไป 

  2. เจ้านายและขุนนาง คือ กลุ่มผู้ปกครองระดับรองลงมาจากพระมหากษัตริย์ในสมัยอาณาจักรสุโขทัยเป็นเจ้าเมืองมีศักดิ์เป็น “ขุน” มีอำนาจปกครองในเขตเมืองของตนโดยเด็ดขาดเมืองสำคัญรองลงไปจากกรุงสุโขทัย คือ เมืองศรีสัชนาลัย หรือ เชลียง ถือว่าเป็น “ราชธานีแฝด” ของสุโขทัย ตัวเมืองเดิมอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำยม ตอนหลังย้ายมาทางฝั่งตะวันตกมีกำแพงเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใกล้กันนั้นมีแหล่งชุมชนโบราณที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาสังคโลก เมืองนี้ใช้เป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช ก่อนที่จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ดังที่ปรากฏในศิลาจารึก เช่น พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเจ้าเมือง “ศรีสัชนาลัยสุโขทัย” ส่วนเมืองเครือข่ายที่สำคัญและเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ คือ เมืองพิจิตร ทางทิศตะวันตกคือเมืองกำแพงเพชร ส่วนราชธานีชั่วคราวคือเมืองพิษณุโลก เมืองเหล่านี้มักจะให้เจ้านายและขุนนางชั้นรองๆลงมาปฏิบัติราชการช่วยเหลือเจ้าเมืองและพระมหากษัตริย์ที่เมืองหลวงด้วย เรียกว่า ลูกเจ้าลูกขุน 

  3. พระสงฆ์ มีหน้าที่สั่งสอนธรรมะให้แก่ประชาชนตามแนวทางที่สอดคล้องกับความประสงค์ของกษัตริย์ ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและเกื้อกูลกันเช่นเดียวกับสังคมล้านนา นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ในการส่งเสริมงานศาสนสถาน พระสงฆ์ในสุโขทัยแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ คามวาสี หมายถึงกลุ่มพระสงฆ์ที่จำพรรษาในเมืองเน้นการศึกษาพระคัมภีร์ ส่วนอรัญวาสี คือ กลุ่มพระสงฆ์ที่จำพรรษานอกชุมชน เน้นการปฏิบัติธรรม นอกจากนั้นยังมีการจัดสถาบันพระสงฆ์ขึ้น คือ สังฆราช มหาเถร เถร และปู่ครู 

  4. ไพร่ คือ ประชาชนธรรมดาที่เป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม เรียกในสมัยนั้นว่า “ไพร่ฟ้าหน้าใส” เป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในเขตราชธานีและตามหัวเมืองต่าง ๆ ไพร่มีภาระผูกพันกับรัฐโดยต้องเป็นทหารในยามสงคราม หรือเสียภาษีให้กับรัฐบางส่วน แต่ก็เป็นการควบคุมอย่างหลวมๆ มีความยืดหยุ่นตามความเหมาะสมของลักษณะงานไพร่เหล่านี้สามารถร้องเรียนพระมหากษัตริย์ หรือเจ้าเมืองให้ช่วยเหลือในยามทุกข์ร้อนหรือเมื่อมีคดีความได้ ดังที่ปรากฏในศิลาจารึกว่า เป็นพวก “ไพร่ฟ้าหน้าปก” นั่นเอง 

  5. ทาส คือ ประชาชนที่ไม่มีอิสระในตัวเอง เรียกในสมัยกรุงสุโขทัยว่า “ไพร่ฟ้าข้าไท” คำว่าข้าเป็นคำเรียกชนชั้นทาส ซึ่งปรากฏในดินแดนใกล้เคียง ข้าและทาส ข้าคือราษฎรที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจจากการกู้หนี้ยืมสิน และยอมขายตัวเป็นคนรับใช้คนอื่น ข้ามีฐานะเป็นเหมือนทรัพย์สิ่งของตกทอดอยู่ในกลุ่มตระกูล เจ้าของมรดกผู้เป็นนายจะขายหรือใช้งานอะไรก็ได้ ข้าในสมัยอาณาจักรสุโขทัย มีทั้งข้าวัด และข้าที่เป็นของมูลนาย ส่วนทาสในสมัยอาณาจักรสุโขทัย คือ ทาสเชลยจากศึกสงคราม ไม่มีอิสระในการกำหนดวิถีชีวิตของตนเอง

พัฒนาการทางด้านสังคมในสมัยสุโขทัยเป็นอย่างไรบ้าง

สุโขทัยเป็นอาณาจักรที่ร่มเย็นเป็นสุข โดยเฉพาะในช่วงสุโขทัยตอนต้น ที่บ้านเมืองยังมีขนาดเล็ก ทุกคนมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ เสรีภาพในการค้า ขาย และเสรีภาพในการนับถือศาสนาตามความเชื่อของตน พระมหากษัตริย์มีความ ใกล้ชิดกับไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน มีงานรื่นเริงให้ชาวเมืองได้สนุกสนานมิได้ขาด สมกับ

วัฒนธรรมสมัยสุโขทัยมีอะไรบ้าง

สุโขทัยเป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ได้นานเกือบ 200 ปี สร้างแบบแผนการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกัน ตลอดจนได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมไว้มากมาย วัฒนธรรมสมัยกรุงสุโขทัยในที่นี้ได้แก่ วัฒนธรรมทางการศึกษา วัฒนธรรมทางด้านตัวอักษร วัฒนธรรมทางด้านวรรณกรรม วัฒนธรรมทางด้านการแต่งกาย วัฒนธรรมทางด้านดนตรีและการฟ้อนรำ วัฒนธรรมทางด้านประติมากรรมและ ...

พระพุทธศาสนามีบทสำคัญอย่างไรในสังคมสุโขทัย

3. พระพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญอย่างไรในสังคมสุโขทัย พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทลังกาวงศ์เป็นกลุ่มสำคัญอีกกลุ่มหนึ่งต่อสังคมสุโขทัย เนื่องจากอนุญาต ให้คนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ขุนนาง ไพร่ หรือข้า สามารถบวชเพื่อศึกษาหลักธรรมคำสอน

พัฒนาทางด้านเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยเป็นอย่างไรบ้าง

เนื่องจากสุโขทัยมีตลาดปสาน เป็นศูนย์กลางการค้าขาย สำหรับชาวเมือง และมีการผลิตเงินตราขึ้นเพื่อเป็น สื่อกลางในการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า ได้แก่ เบี้ย บาท และพดด้วง นอกจากนี้ยังสนับสนุนการค้าอย่างเสรีโดยไม่เก็บ ภาษี และมีการติดต่อค้าขายกับดินแดนต่างๆ นอกราชอาณาจักรด้วย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก