ความ เหมือน ระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล

ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล

วัฒนธรรมในแต่ละสังคมย่อมมีความแตกต่างกันออกไป ในที่นี้จะนำเสนอความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล โดยเน้นไปที่วัฒนธรรมของโลกตะวันออกซึ่งมีความใกล้ตัว และเป็นกระแสที่ถาโถมเข้ามายังวัฒนธรรมไทยอย่างมากในปัจจุบัน

             วัฒนธรรมสากล คือวัฒนธรรมต่างชาติ ซึ่งอาจเป็นโลกตะวันตกอันมีวัฒนธรรมยุโรปและอเมริกาเป็นจุดเด่น และโลกตะวันออกอันมีวัฒนธรรมของเอเชียเป็นจุดเด่น

            1.วัฒนธรรมด้านอาหาร

              อาหารของโลกตะวันตกเน้นความสะดวกสบาย ทั้งขั้นตอนการทำและการเข้าถึงในการบริโภค เน้นแป้งและเนื้อสัตว์ เพื่อให้ร่างกายมีไขมัน สร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกายที่มีอากาศหนาวเย็น ส่วนโลกตะวันออกจะรู้จักนำสมุนไพรมาปรุงแต่งเป็นอาหาร มีความพิถีพิถันในการปรุงแต่งจัดวาง สร้างคุณค่าแก่ผู้บริโภคทั้งร่างกายและจิตใจ

        อาหารประจำชาติไทย  ประเทศไทยมีทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน สำหรับอาหารคาวของไทยนั้น จะมีทุกรส ทั้งเค็ม หวาน เปรี้ยว และเผ็ด โดยปรุงขึ้นมาในหลายลักษณะดังนี้ แกง (แกงเผ็ด แกงคั่ว แกงส้ม แกงจืด ฯลฯ) ผัด (ผัดจืด ผัดเผ็ด ผัดเปรี้ยวหวาน ฯลฯ) ยำ (ยำถั่วพู ยำทวาย ยำหัวปลี ฯลฯ) ทอด เผา หรือย่าง (เนื้อสัตว์ที่นิยมใช้คือ กุ้ง หมู ปลา ไก่) เครื่องจิ้ม (น้ำพริก กะปิคั่ว หลน ฯลฯ) และเครื่องเคียง (เช่น แกงเผ็ด จะมีไข่เค็ม ปลาเค็มหรือเนื้อเค็มเป็นเครื่องเคียง เป็นต้น) ส่วนอาหารหวานของไทยจะมีทั้งชนิดน้ำและแห้ง (เช่น กล้วยบวชชี ขนมเปียกปูน ขนมสอดไส้ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา และขนมหม้อแกง เป็นต้น) ขนมหวานชนิดแห้ง ปกติจะทำเป็นขนมอบใส่โหลเพื่อให้เก็บไว้ได้นาน เช่น ขนมกลีบลำดวน ขนมโสมนัส ขนมหน้านวล ขนมทองม้วน ขนมผิง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการแกะสลักหรือปั้นขนมให้เป็นรูปต่างๆอีกด้วย

        อาหารประจำชาติเกาหลี  อาหารที่สำคัญของเกาหลี ได้แก่ กิมจิเป็นผักดองที่มีรสเปรี้ยว เค็ม และเผ็ด มีพริกแดงและกระเทียมเป็นส่วนประกอบ กิมจิเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงที่สุดของเกาหลีในนานาชาติ พุลโกกิและคาลบิ พุลโกกิเป็นเนื้อนุ่มที่หั่นบางๆแล้วหมักในซอสที่ทำด้วยซอสถั่วเหลือง น้ำมันงา กระเทียม และเครื่องปรุงรสอื่นๆ เวลารับประทานจะนำมาย่างบนเตาถ่านที่โต๊ะอาหาร ส่วนคาลบิเป็นซี่โครงเนื้อหรือหมูแถบเล็กๆ คาลบิจะย่างบนเตาถ่านอาหารเหมือนกับพุลโกกิ ชินซอโลเป็นส่วนผสมของเนื้อปลาและเต้าหู้นำมาเคี่ยวกับน้ำซุปเนื้อบนหม้อไฟบนโต๊ะอาหาร พิบิมพัพทำจากข้าวสวยผสมกับเนื้อหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ มีผักปรุงรส และไข่ หรืออาจจะราดด้วยโคชูจัง(ซอสพริกรสเผ็ดก็ได้) คูจอลพันเป็นเนื้อและผักซอยเป็นเส้นเล็กๆ ตักวางเป็นไส้บนแป้งแพนเค้กซึ่งวางเป็นชั้นๆ อยู่ตรงกลางของภาชนะใส่ คูจอลพัน แล้วห่อใส่ปากรับประทาน ซอลลองทังเป็นบะหมี่เนื้อปรุงรสด้วยเมล็ดงา เกลือ พริกไทย หอมและน้ำมัน ซัมเกทังเป็นซุปไก่โสม ปรุงรสด้วยเกลือและพริกไทยดำ เน็งเมียนเป็นบะหมี่ที่ทำจากแป้งสาลี ในน้ำซุปเนื้อมีส่วนประกอบของหอมสับ หัวไช้เท้า ซอยเป็นเส้นๆและแตงกวา เมล็ดงา และเนื้อหั่นบางๆ เติมน้ำส้มสายชู มัสตาร์ด หรือซอสพริก

     อาหารประจำชาติญี่ปุ่น  อาหารญี่ปุ่นทั่วไปประกอบด้วย ข้าว ผัก ซุปปรุงรสเต้าเจี้ยวญี่ปุ่น มิโซะ ผักดอง และปลาหรือเนื้อ เป็นข้าวมักรับประทานกับสาหร่ายทะเลตากแห้ง (โนริ) เครื่องปรุงรสที่นิยมใช้คือ ซอสถั่วเหลือง (โชยุ) สำหรับอาหารญี่ปุ่นที่สำคัญ ได้แก่ ซาชิมิเป็นปลาดิบชิ้นบางๆ รับประทานพร้อมกับมัสตาร์ดเขียว ซูชิเป็นการผสมผสานกันระหว่างปลากับข้าว โดยการวางชิ้นปลาดิบที่แล่บางๆบนข้าวที่ปั้นอย่างประณีต ซูชิ มี 3 ชนิด ได้แก่ นิงิริ ซูชิเป็นข้าวที่ปั้นเป็นก้อนรูปวงรีแล้ววางเนื้อปลาดิบไว้ข้างบนอาจจะเสริมรสด้วยสาหร่ายทะเลก็ได้ มากิ ซูชิเป็นข้าวห่อสาหร่ายที่มีปลาดิบและผักอยู่ด้านในและ เทมากิ ซูชิเป็นข้าวที่มีปลาดิบอยู่ด้านในแล้วห่อเป็นรูปกรวย ชาบุ ชาบุเป็นอาหารประเภทหม้อไฟที่รับประทานคล้าย จิ้มจุ่มของไทย คือขั้นตอนแรก ต้มน้ำซุปด้วยเนื้อวัวหรือหมูให้เดือด แล้วเติมผักที่ชอบลงไป เช่น เห็ดหอมสด เห็ดเข็มทอง ผักกาดขาว เป็นต้น ส่วนเนื้อหรือหมู จะใช้วิธีจุ่มลงไปในน้ำเดือดๆ ให้พอสุก แล้วนำมารับประทานกับน้ำจิ้มประกอบด้วยซีอิ๊วญี่ปุ่น น้ำส้มสายชูและน้ำมะนาวโซบะและอุดง” (โซบะเป็นก๋วยเตี๋ยวที่ทำมาจากแป้งของบัควีต ส่วนอุดงเป็นก๋วยเตี๋ยวที่ทำจากแป้งของข้าวสาลี โซบะและอุดงจะรับประทานกับน้ำซุป โรยหน้าด้วยผัก เต้าหู้ทอดหรือเทมปุระ โดยปกติโซบะและอุดงจะรับประทานแบบร้อน แต่ในช่วงฤดูร้อนจะมีการทำเพื่อรับประทานแบบเย็น

       2.วัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัย

       มีความแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ทั้งในเรื่องของการใช้วัสดุและรูปทรง เช่น คนไทยนิยมสร้างบ้านด้วยไม้ มีใต้ถุนสูง เพื่อให้บ้านโปร่ง สบาย น้ำไม่ท่วม เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมจึงนิยมปลูกบ้านริมแม่น้ำ ออกแบบให้เป็นหลังคาทรงสูง เพื่อให้อากาศถ่ายเทและให้ความร่มเย็นแก่ผู้อยู่อาศัย นอกจากนี้ยังมีชายคาที่ยื่นยาวออกมาปกคลุมตัวบ้านมากกว่าบ้านทรงยุโรป เพื่อป้องกันแดดและฝน เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในภูมิประเทศเขตร้อน มีฝนตกชุก ในขณะที่คนจีนนิยมสร้างบ้านด้วยดินเหนียวผสมหญ้าหรือหญ้าฟาง รูปทรงคล้ายตึก เพราะอยู่ในภูมิประเทศที่มีอากาศหนาว จึงต้องสร้างบ้านให้กันลมหนาวได้ ส่วนชาวยุโรปมักสร้างบ้านเรือนเป็นตึกก่ออิฐหรือเทคอนกรีต

      3.วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย

      แต่ละประเทศล้วนมีการแต่งกายประจำชาติ ที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาและความเป็นมาในทางประวัติศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งประจำชาติ เครื่องแต่งกายแต่ละแบบนั้นมีความละเอียดอ่อนในการทำตั้งแต่วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น การออกแบบ กระบวนการทำเครื่องแต่งกาย ความเหมาะสม การปรับตัวต่อสภาพพื้นที่การสะท้อนความเป็นตัวตนของประเทศตน เป็นต้น

             ชุดประจำชาติไทย  เป็นสิ่งประดิษฐ์เพื่อการสวมใส่มีทั้งของบุรุษและสตรี เครื่องแต่งกายของบุรุษเรียกว่า ชุดพระราชทาน เสื้อชุดพรราชทานใช้คู่กับกางเกงแบบสากลนิยมสีสุภาพ หรือสีเดียวกับเสื้อ ส่วนการแต่งการแบบไทยของสตรี เช่น ชุดไทยเรือนต้น ชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยอมรินทร์ ชุดไทยบรมพิมาน ชุดไทยจักรี ชุดไทยดุสิต ชุดไทยประยุกต์ เป็นต้น

             “กิโมโนเป็นชุดประจำชาติของญี่ปุ่น  กิโมโนเป็นชุดที่พันรอบตัวละผูกด้วยผ้าคาด (โอบิ) ชุดของผู้ชายค่อนข้างอนุรักษ์นิยม คือ มักจะใส่สีดำ น้ำตาล เทา และขาว ชุดกิโมโนสำหรับหญิงรุ่นสาวมีสีสว่างสดใสและสีสันลวดลายสวยงามสำหรับหญิงสูงวัยสีของเสื้อจะสุภาพและนุ่มนวล สำหรับกิโมโนของเด็กจะเหมือนกับของผู้ใหญ่ แต่จะใช้สีสันและลวดลายที่สดใสกว่า ชาวญี่ปุ่นมักใส่กิโมโนในวันสำคัญ เช่น วันขึ้นปีใหม่ เป็นต้น ชาวญี่ปุ่นดูแลชุดกิโมโนของตนอย่างดี และจะมอบต่อจากแม่สู่ลูกสาว และพ่อสู่ลูกชาย

            ฮันบกเป็นชุดประจำชาติของเกาหลี  ฮันบกเป็นชุดตัดเย็บในลักษณะหลวมๆ เพื่อปกปิดสรีระตามธรรมชาติของร่างกาย ผู้ชายจะสวมชอโกรี (เสื้อคอปิด แขนยาว) กับพาจิ (กางเกงขายาวโป่งพอง) ขณะที่ผู้หณิงจะสวมกระโปรงยาวถึงพื้น เอวสูงมาก เรียกว่า ซีม่าและเสื้อแขนยาวหลวมๆ เสื้อตัวสั้นมาก มีริบบิ้นขนาดใหญ่และยาวผูกอยู่เหนืออก คอเสื้อเป็นรูปตัววี ในปัจจุบันฮันบกใช้ใส่เฉพาะโอกาสที่มีการเฉลิมฉลอง เช่น วันแต่งงาน วันซอลลัล วันชูซก เป็นต้น

        4.วัฒนธรรมด้านศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว 

        ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งที่เน้นการเรียนและฝึกฝนด้านการต่อสู้และป้องกันตัว ซึ่งมีหลายลักษณะด้วยกันแตกต่างกันไปในแต่ละชาติ

        ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวประจำชาติของไทย มวยไทยเป็นศิลปะประจำชาติไทยที่คนไทยสามารถใช้ได้อย่างคล่องแคล่วมวยไทยเป็นศิลปะชั้นสูงของการใช้อวัยวะ 6 ประเภท ได้แก่ หมัด ศอก แขน เท้า แข้ง และเข่า มาใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัว

        ศิลปะการป้องกันตัวประจำชาติของญี่ปุ่น คือ ยูโด เป็นศิลปะการต่อสู้ที่ใช้เมื่ออยู่ในจังหวะประชิดตัว โดยใช้หลักการยืมพลังของคู่ต่อสู้มาเป็นพลังของตน และคาราเต้ ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างเป็นจังหวะ เช่น การชก การเตะ การกระแทก การผสมผสานระหว่างการปัดป้องและการจู่โจมในเวลาเดียวกัน

        ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวประจำชาติของเกาหลี  คือ เทควันโด (เท แปลว่า มือ ควัน แปลว่า เท้า โด แปลว่า สติ ดังนั้น เทควันโด จึงหมายถึง ศิลปะการต่อสู้โดยใช้มือและเท้าอย่างมีสติ) เป็นศิลปะการเคลื่อนไหวที่เน้นการใช้เท้าเตะสูงและรวดเร็ว ในกระบวนท่าร่ายรำของเทควันโดประกอบไปด้วยกาปัด ปิด ป้องกัน การชก ใช้กำปั้นสันมือ และนิ้วมือ การหัก การเตะ การขยับหมุน เคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น การหมุนตัว เหวี่ยงเท้า การเตะ การกระโดด เป็นต้น

       5.วัฒนธรรมด้านศิลปะการแสดง 

       ละคร เป็นมหรสพอย่างหนึ่งที่เล่นเป็นเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละชาติ

    ละครของไทย แบ่งออกเป็น ละครรำแบบดั้งเดิม ได้แก่ละครชาตรี (นิยมแสดงเรื่องมโนราห์และรถเสน)

ละครนอก (เรื่องที่นำมาแสดง เช่น หลวิชัยคาวี พิกุลทอง มโนราห์  มณีพิชัย สังข์ทอง ละครใน (เรื่องที่แสดงคือ รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา) และละครที่ประยุกต์ขึ้นใหม่ ได้แก่ ละครพันทาง (เรื่องที่นำมาแสดง เช่น พระอภัยมณี พระลอ ราชาธิราช) ละครเสภา (เรื่องที่นำมาแสดง เช่น นิทราชาคริต ขุนช้างขุนแผน) ละครสังคีต (เรื่องที่นำมาแสดง เช่น หนามยอกเอาหนามบ่ง วิวาห์พระสมุทร) ละครร้อง (เรื่องที่นำมาแสดง เช่น สาวิตรี สาวเครือฟ้า กากี เป็นต้น) ละครพูด (เรื่องที่นำมาแสดง เช่น มัทนะพาธา ชิงนาง เวนิสวาณิช) ละครเพลง (เรื่องที่นำมาแสดง เช่น จันทร์เจ้าขา ฝนสั่งฟ้า)

       ละครของญี่ปุ่น มีการแสดงละคร 3 รูปแบบคือ ละครโน เป็นละครที่เก่าแก่ที่สุด ได้รับความนิยมในศตวรรษที่14 ละครโนมีลักษณะเรียบง่าย ตัวละครจะสวมหน้ากากและแต่งกายแบบโบราณ การพูดและการเคลื่อนไหวของตัวละครจะเป็นไปอย่างเชื่องช้า ละครบุนระกุ เป็นละครหุ่นที่เริ่มแสดงในศตวรรษที่16 ตัวหุ่นจะมีการสร้างขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของมนุษย์ และคล้ายกับมนุษย์มากการแสดงจะใช้คนจริงเล่นร่วมกับหุ่นโดยคนเป้นผู้ชักหุ่นให้เคลื่อนไหวไปมาบนเวทีด้วยกันกับหุ่น ละครคาบูกิ เป็นละครที่พัฒนาขึ้นในศตวรรษที่17 การแสดงจะเน้นไปที่ความตื่นเต้นเร้าใจ เช่น การต่อสู้ การร่ายรำอาวุธ รวมไปถึงการใช้เทคนิคพิเศษเข้ามาช่วยในการแสดง เช่น ฉากพายุหิมะ  ฟ้าร้อง เครื่องแต่งกายของตัวละครจะวิจิตรงดงามและสีสันสดใส

ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากลเป็นอย่างไร

1. วัฒนธรรมไทยให้ความสาคัญกับจิตใจเป็นสาคัญ โดยมุ่งจุดหมายสาคัญ เพื่อขัดเกลา จิตใจของสมาชิกในสังคมให้เป็นคนดีประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีแต่วัฒนธรรมสากลให้ความสาคัญกับการ สะสมทางด้านวัตถุหรือความร่ารวยเป็นสาคัญโดยไม่สนใจว่าจะสามารถหาทรัพย์มาได้โดยวิธีใดหาก บุคคลใดมีทรัพย์สินมากก็จะได้รับการยอมรับจากคนในสังคม

สังคมไทยแตกต่างจากสังคมอื่นอย่างไร

สังคมไทย หมายถึง กลุ่มชนชาติที่อาศัยอยู่ร่วมกันในประเทศไทย มีขนบธรรมเนียมประเพณีแบบไทย มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นต่างจากสังคมอื่น ได้แก่ ภาษาพูด ภาษาเขียน การแต่งกาย ความเชื่อ มารยาท อาหาร การดำเนินชีวิตที่มีพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน เป็นต้น

อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติ (สากล) ต่อวัฒนธรรมไทยปัจจุบันได้แก่อะไร

๑. ความเจริญทางด้านการคมนาคมขนส่ง ทาให้การเดินทางสะดวก 2. อิทธิพลจากสื่อมวลชนต่าง ๆ 3. การเผยแพร่วัฒนธรรมโดยตรง คือ ประเทศต่าง ๆ ส่งคนเข้ามาเผยแพร่ ทางการศึกษา ทางการเมือง อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติ อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติในสังคม แยกเป็นด้านต่าง ๆ นี้ ทางเศรษฐกิจ ทางสังคมและวัฒนธรรม

วัฒนธรรมทางด้านความเชื่อและค่านิยมของไทยแตกต่างจากของสากลอย่างไร *

คนไทยส่วนใหญ่มีความเชื่อเรื่องพรหมลิขิต เชื่อโดยประสบการณ์ เชื่อในความไม่เท่ากันของความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชน เน้นเรื่องระบบอาวุโส การมีอภิสิทธิ์ การถ่อมตน ความเสียสละ การประนีประนอม ซึ่งแตกต่างจากวัฒนธรรมสากลที่ส่วนใหญ่เชื่อในตนเอง เชื่อหลักเหตุผล เชื่อในความเท่าเทียมกันของความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชน เคารพใน ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก