เงินเดือน 14000 หัก ประกันสังคม เท่า ไหร่

ถ้าคุณมีรายได้จากงานประจำเพียงทางเดียว

  • ถ้าเงินเดือนไม่เกิน ฿10,000 = ไม่ต้องยื่นภาษี
  • ถ้าเงินเดือนไม่เกิน ฿26,583.33 = ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
  • ถ้าเงินเดือนเกิน ฿26,583.33 = ต้องยื่นภาษี และต้องเสียภาษีด้วย
  • ถ้าไม่ได้จ่ายประกันสังคมและเงินเดือนไม่เกิน ฿25,833.33 = ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
  • ถ้าไม่ได้จ่ายประกันสังคมและเงินเดือนเกิน ฿25,833.33 = ต้องยื่นภาษี และต้องเสียภาษีด้วย

รู้ไว้ไม่เสียหาย โครงสร้างภาษีปี 2563 มีผลกับ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเฉพาะหน้าที่ของผู้มีรายได้จากงานประจำ (เงินได้ประเภทที่ 1) ในการ “ยื่นภาษี” และ “เสียภาษี” ยังไงบ้าง ทำไมรายได้เท่านี้ถึงไม่ต้องเสียภาษีเราไปดูกัน

โครงสร้างเบื้องต้น

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะคำนวณจาก เงินได้สุทธิ ซึ่งมีสูตรคำนวณเบื้องต้นคือ

เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

ทั้งนี้ หากเงินได้สุทธิไม่เกิน ฿150,000 จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

โครงสร้างภาษี 2563 ตอนนี้เป็นยังไงบ้าง?

ค่าลดหย่อนส่วนตัว

โครงสร้างภาษีตอนนี้ให้สิทธิ์ ค่าลดหย่อนส่วนตัว คนละ ฿60,000

สิทธิหักค่าใช้จ่าย

โครงสร้างภาษีตอนนี้ให้สิทธิหัก ค่าใช้จ่าย ของรายได้จากงานประจำ (เงินได้ประเภทที่ 1) ได้ 50% แต่ไม่เกิน ฿100,000

หน้าที่ยื่นภาษี

สำหรับใครที่มีรายได้จากงานประจำเพียงทางเดียว กฎหมายกำหนดว่า ผู้ที่มีรายได้จากงานประจำตลอดทั้งปี ไม่เกิน ฿120,000 (หรือเฉลี่ยเดือนละไม่เกิน ฿10,000) ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นภาษี

หน้าที่ยื่นภาษี คือ หน้าที่ที่ต้องแสดงรายการภาษีว่ามีรายได้ ค่าภาษีและสิทธิลดหย่อนอย่างไรบ้าง ซึ่งโดยปกติผู้ที่ทำงานประจำจะมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีประจำปี ปีละ 1 ครั้ง ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. ของทุกปี

ทำไมเงินเดือนไม่เกิน ฿10,000 ไม่ต้องยื่นภาษี?

ที่กฎหมายใหม่กำหนดว่าเงินเดือนไม่เกิน ฿10,000 หรือรวมทั้งปีไม่เกิน ฿120,000 ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีนั้น ไม่ใช่ตัวเลขที่กำหนดขึ้นมาเฉยๆ แต่มีที่มาที่ไปดังนี้

ถ้าเราได้รับเงินเดือนรวมตลอดทั้งปี ฿120,000 (หรือเฉลี่ยเดือนละ ฿10,000) เราจะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินเดือนที่เราได้รับ นั่นคือ ฿60,000 และเมื่อเราเป็นผู้มีเงินได้ กฎหมายจึงมอบค่าลดหย่อนส่วนตัวให้ ฿60,000 อยู่แล้วทุกคน ดังนั้น จึงสรุปเป็นสูตรการคำนวณเงินได้สุทธิได้ว่า

เงินได้ ฿120,000 - ค่าใช้จ่าย ฿60,000 - ค่าลดหย่อน ฿60,000 = เงินได้สุทธิ ฿0

ดังนั้น เมื่อมี เงินได้สุทธิ ฿0 อยู่แล้ว จึงไม่มีค่าภาษีต้องเสียเพิ่มอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ โครงสร้างภาษีใหม่จึงกำหนดว่าผู้ที่มีรายได้จากงานประจำตลอดทั้งปีไม่เกิน ฿120,000 หรือเฉลี่ยเดือนละไม่เกิน ฿10,000 ไม่มีหน้าที่ต้อง ยื่นภาษี

หน้าที่เสียภาษี

ตอนนี้โครงสร้างภาษีทำให้ผู้ที่มีรายได้จากงานประจำสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินเดือนที่ได้รับตลอดทั้งปีแต่ไม่เกิน ฿100,000 และให้ค่าลดหย่อนส่วนตัว ฿60,000 ด้วย แต่ค่าลดหย่อนจาก เงินสะสมกองทุนประกันสังคม ยังคงอยู่ที่เพดานสูงสุด ฿9,000 เท่าเดิม

ดังนั้น หากมีเงินเดือนเฉลี่ยเดือนละ ฿26,583.33 จะคำนวณเงินได้ตลอดทั้งปีได้ ฿319,000 (เงินเดือน ฿26,583.33 x 12 เดือน) โดยเราจะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินเดือนที่เราได้รับ ซึ่งควรจะเป็น ฿159,500 แต่เนื่องจากโครงสร้างภาษีปัจจุบันจำกัดสิทธิหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน ฿100,000 จึงทำให้เราสามารถหักค่าใช้จ่ายจากเงินเดือนได้สูงสุดที่ ฿100,000

และเมื่อรวมกับค่าลดหย่อนส่วนตัว ฿60,000 และเงินสะสมกองทุนประกันสังคมที่เราถูกนายจ้างหักไปตอนรับเงินเดือนด้วยอีกเดือนละ ฿750 หรือรวมทั้งปีเป็นเงิน ฿9,000 จึงทำให้เราสามารถสรุปเป็นสูตรการคำนวณเงินได้สุทธิได้ว่า

เงินได้ ฿319,000 - ค่าใช้จ่าย ฿100,000 - ค่าลดหย่อน (฿60,000+฿9,000) = เงินได้สุทธิ ฿150,000
ดังนั้น เมื่อมีเงินได้สุทธิไม่เกิน ฿150,000 แม้จะยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีตามปกติ แต่เราจึงไม่มีภาระภาษีต้องจ่ายแต่อย่างใด

หากคุณเป็นหนึ่งคนที่มีรายได้และต้องยื่นภาษีประจำปี แต่ยังไม่แน่ใจว่า รายได้ประจำปีของคุณต้องเสียภาษีหรือไม่ คุณสามารถคำนวณภาษีกับ iTAX ก่อนได้ หรือหากคุณมีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี และต้องการตัวช่วยลดหย่อนภาษี สามารถมองหาตัวช่วยดีๆได้ที่ iTAX shop รับรองว่า เราสามารถช่วยให้คุณจ่ายภาษีได้ถูกลงแน่นอน!!

สรุป

ถ้าคุณมีรายได้จากงานประจำเพียงทางเดียว

  • ถ้าเงินเดือนไม่เกิน ฿10,000 = ไม่ต้องยื่นภาษี
  • ถ้าเงินเดือนไม่เกิน ฿26,583.33 = ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
  • ถ้าเงินเดือนเกิน ฿26,583.33 = ต้องยื่นภาษี และต้องเสียภาษีด้วย

เผยแพร่ 22 ก.ย. 2564 ,13:58น.

การคำนวนเงินสมทบที่ต้องนำส่งเข้าประกันสังคม ทำให้เรารู้ได้ว่าเดือนนี้ต้องถูกบริษัทหักเงินเท่าไหร่ และไม่ผิดพลาดหรือถูกหักเกินไป

จากกรณีที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบลดยอดเงิน จ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 33 และ มาตรา 39 ต่ออีก 3 เดือน เพื่อเป็นมาตรการเยียวยาโควิด ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด - 19 โดยปรับลดเงินสมทบผู้ประกันตน มาตรา 33 และมาตรา 39 ทั่วประเทศ เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ ก.ย.  - พ.ย. 2564  ซึ่งในการคำนวณหักเงินสมทบทั้ง 2 มาตรา มีอัตราการหักเปอร์เซ็นต์ไม่เท่ากัน 

ช่วย ม.33 ม.39 นายจ้าง ทั่วประเทศ "ครม." ไฟเขียว ลดเงินสมทบผู้ประกันตน 3 เดือน

เคาะแล้ว! ลดเงินสมทบผู้ประกันตน ม. 33 - นายจ้าง - ม.39 อีก 3 เดือน

การคำนวณ การนำส่งเงินสมทบผู้ประกันตนในมาตรา 33 นั้น ในส่วนนายจ้าง ลูกจ้าง ตามกฎหมายประกันสังคมนั้นให้คำนวณเงินเดือน + รายได้อื่นๆ ที่นายจ้างไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขไว้ในระเบียบของผู้ว่าจ้างหรือสถานประกอบการ เช่น เงินค่าครองชีพ  นายจ้างจ่ายให้เดือนละ 1,000 บาทต่อเดือน  โดยจ่ายให้ทุกคนไม่ว่าจะลาป่วยในเดือนนั้นๆ หรือไม่  เงินค่าครองชีพจะต้องนำมารวมกับเงินเดือนเพื่อหักนำส่งเงินสมทบ 5%

ส่วนเงินสวัสดิการอื่นๆ ที่นายจ้างหรือสถานประกอบการมีการตั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขไว้กับลูกจ้าง เช่น ค่าคอมมิชชั่น มีการตั้งยอดขายให้กับพนักงานถ้าทำยอดขายได้ 20,000 บาทต่อเดือน จะได้รับค่าคอมมิชชั่น 5% เงินส่วนนี้จะไม่นำมารวมคำนวณเงินสมทบ 5% เพราะไม่ถือเป็นค่าจ้าง (ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่กำหนดไว้) ยกตัวอย่าง

เงินเดือน   8,000 บาท (เงินเดือน) x 5% (เงินหักเข้าประกันสังคม) = 400 บาท  ที่ต้องหักเข้าประกันสังคม 
เงินเดือน 15,000 บาท (เงินเดือน) x 5% (เงินหักเข้าประกันสังคม) = 750 บาท ที่ต้องหักเข้าประกันสังคม 

และเมื่อปรับลดตามประกาศ ครม. 
เงินเดือน   8,000 บาท (เงินเดือน) x 2.5% (เงินหักเข้าประกันสังคม)  ทำให้เงินคงเหลือที่ถูกหักเข้าประกันสังคม  200 บาท
เงินเดือน 15,000 บาท (เงินเดือน) x 2.5% (เงินหักเข้าประกันสังคม)  ทำให้เงินคงเหลือที่ถูกหักเข้าประกันสังคม  375 บาท 

ส่วนผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ผู้ที่เคยทำงานในบริษัท หรืออยู่ในมาตรา 33 มาก่อน แต่ว่างงาน หรือลาออกไม่เกิน 6 เดือน และเคยส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือนขึ้นไป แต่ยังอยากได้รับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมอยู่ รัฐบาลกำหนดให้ส่งเงินสมทบ 9% โดยใช้ฐานเงินเดือนในการคำนวญเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาท เท่ากันทุกคน จึงทำให้ช่วงปกติจะต้องส่งเงินสมทบ 

เงินเดือน 4,800 บาท (ฐานเงินที่ใช้คำนวณ) x 9% (เงินหักเข้าประกันสังคม)  =  432 บาท

และตามประกาศ ครม. ให้หลักลดเหลือ 4.9%
เงินเดือน 4,800 บาท (ฐานเงินที่ใช้คำนวณ) x 4.9% (เงินหักเข้าประกันสังคม)  ทำให้เงินคงเหลือที่ถูกหักเข้าประกันสังคม  235 บาท

เตือนภัย! มิจฉาชีพแอบอ้าง “ไปรษณีย์ไทย” ส่งข้อความชวนโหลดแอปฯ หลอกขโมยข้อมูล

เงินเยียวยารอบ 2 ม.40 เข้าพร้อมเพย์ 22 -23 ก.ย.เช็กสิทธิ www.sso.go.th 3.95 ล้านคน รับ 5,000 บาท

อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก