สหวิริยา สตี ล อิน ดั สตรี ฝึกงาน

ค่าตอบแทนสำหรับพนักงานของเราซึ่งเราให้พนักงานของเราเหนือกว่าใครในอุตสาหกรรมเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีค่าที่พัก , เงินพิเศษสำหรับผู้ปฏิบัติงานประจำโรงงาน , Providence funds ที่เริ่มต้น 5% และเพิ่มขึ้นสูงสุด 10% , ประกันสุขภาพ , สหกรณ์ออมทรัพย์ , กองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ และอื่นๆสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด

The information in the above report, publication and website has been obtained from sources believed to be reliable. However, Iron & Steel Institute of Thailand does not guarantee the accuracy, adequacy or completeness of the information. Any opinions or forecasts regarding future events may differ from actual events or results. In addition, Iron & Steel Institute of Thailand reserves the right to make changes and corrections to the information, including any opinions or forecasts, at any time without notice.

เผยแพร่: 23 พ.ค. 2560 13:52   ปรับปรุง: 23 พ.ค. 2560 15:19   โดย: MGR Online


เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือเอสเอสไอ ได้จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาฝึกงาน รุ่นที่ 10 ภายใต้โครงการผลิตช่างเทคนิคเพื่ออุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร ประจำปี 2560 ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างเครือสหวิริยา กับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และวิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน เป็นการจัดการศึกษาหลักสูตรการเรียนการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 4 ในสาขา ประกอบด้วย วิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม และสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ ปัจจุบันมีผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการดังกล่าวแล้ว 9 รุ่น รวม 563 คน โดย 151 คนร่วมทำงานกับบริษัทในกลุ่มเหล็กสหวิริยาฯ

ดำเนินโครงการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน (HOT ROLLED COILS) เป็นรายแรกในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2533 โดยใช้เงินลงทุนกว่า 13,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 13,000 ล้านบาทและมีกำลังการผลิตสูงสุด 2.4 ล้านตันต่อปี บริษัทฯ เริ่มทำการผลิตครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 โดยมีโรงงานตั้งอยู่ ณ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ ”เอสเอสไอ” ร่วมกับศูนย์วิจัยนวัตกรรมการผลิตและรีไซเคิลโลหะ สาขาวิชาวิศวกรรมโลหการ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและกองนวัตกรรมวัตถุดิบและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยนำกรดเกลือเสื่อมสภาพของเอสเอสไอ มาผลิตเป็นเหล็กออกไซด์(เฮมาไทต์) ซึ่งใช้สำหรับเป็นวัตถุดิบในการผลิตสีป้องกันสนิม ภายใต้ “โครงการส่งเสริมและต่อยอดเทคโนโลยีรีไซเคิล เพื่อพัฒนาของเสียเป็นแหล่งทรัพยากรทดแทนในพื้นที่ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี และพิษณุโลก” ด้วยการนำของเสียที่ยังมีศักยภาพไปทดลองเทคโนโลยีรีไซเคิลในห้องปฎิบัติการและนำกลับมาพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ เพื่อใช้เป็นทรัพยากรทดแทนให้กับภาคอุตสาหกรรมในประเทศ

สำหรับคณะทีมวิจัย นำโดยผศ.ดร. สงบ คำค้อ ที่ปรึกษาโครงการฯ ลงพื้นที่ศึกษาความเป็นได้ของเสีย(กรดเกลือ) พร้อมเก็บตัวอย่างกรดเกลือเสื่อมสภาพของโรงงานเอสเอสไอไปทำการวิเคราะห์และศึกษาทดลองในห้องปฎิบัติการ จากผลการวิจัยพบว่า กรดเกลือเสื่อมสภาพของโรงงานเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนเอสเอสไอ สามารถผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์เหล็กออกไซด์(เฮมาไทต์-FE2O3) ที่มีความบริสุทธิ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 97 โดยผลิตภัณฑ์เฮมาไทต์นี้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตสีป้องกันสนิม นับว่าเป็นการนำเทคโนโลยีรีไซเคิลมาต่อยอดพัฒนาของเสียเป็นแหล่งทรัพยากรทดแทน ลดการกำจัดของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Waste) พร้อมทั้งส่งเสริมด้านระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ให้กับองค์กรและชุมชนอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 29-30 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา กองนวัตกรรมวัตถุดิบและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับศูนย์วิจัยนวัตกรรมการผลิตและรีไซเคิลโลหะ สาขาวิชาวิศวกรรมโลหการ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้นำผลงานวิจัยดังกล่าวไปเผยแพร่ในงานสัมมนาและฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีรีไซเคิล ในโครงการส่งเสริมและต่อยอดเทคโนโลยีรีไซเคิล เพื่อพัฒนาของเสียเป็นแหล่งทรัพยากรทดแทน ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี และพิษณุโลก ณ โรงแรมรีเจ้นท์ ชะอำ หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี

ผศ.ดร.สงบ คำค้อ ที่ปรึกษาโครงการฯ เปิดเผยว่า “ของเสียประเภทกรดเกลือเสื่อมสภาพ ซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการกัดกรดที่ผิวเหล็กแผ่นรีดร้อนมีเหล็กเป็นองค์ประกอบอยู่ประมาณ 233 กรัมต่อลิตร นำมาผลิตเป็นเฮมาไทต์ เป็นการกู้ศักยภาพของเหล็กมาใช้ประโยชน์ นอกจากจะทำให้ไม่ต้องเสียค่ากำจัดของเสีย เฮมาไทด์ที่ได้สามารถนำไปจำหน่ายได้อีกด้วยโดยการนำไปเป็นผงสีเพื่อผลิตสีทากันสนิม และมีความเป็นไปได้ ในการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ เพราะปัจจุบันผงสีที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตสีกันสนิมนั้น ประเทศไทยนำเข้ามาจากต่างประเทศ 100 % และยังไม่มีการดำเนินธุรกิจหรือการผลิตในประเทศไทย นอกจากนี้ผงสีดังกล่าวยังใช้ในอุตสาหกรรมหมึกและอุตสาหกรรมพลาสติกได้ด้วย ทีมคณะวิจัยฯ ขอขอบคุณเอสเอสไอ ที่ให้ความอนุเคราะห์ข้อมูลและวัตถุดิบในการศึกษาทดลองครั้งนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่ร่วมกันส่งเสริม Circular Economy และ Zero Waste Society ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตเหล็กอีกด้วย”

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก