โครงการ โภชนาการในพระราชดำริ

โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ 4 พ.ศ.2550-2559

Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!

Create your own flipbook

  • Follow

  • Upload

  • 0

  • Embed

  • Share

โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ 4 พ.ศ.2550-2559

โครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุข (โครงการปรับปรุงภาวะโภชนาการและสูขภาพเด็ก)ของสมเด็จพระกนิษฐาฐิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ 2564
รายละเอียด : วัน ศุกร์ ที่ 12 มีนาคม 2564 เวลา 09.00 น. องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะตอ งานสาธารณสุข ได้จัดโครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุข (โครงการปรับปรุงภาวะโภชนาการและสูขภาพเด็ก)ของสมเด็จพระกนิษฐาฐิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ 2564 วันที่ 11-12 มีนาคม 2564 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กหรือประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี และให้เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิดโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ โดย นายรออาลี สาเม๊าะ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะตอ เป็นประธานพิธีเปิด นางสาวโซเฟีย แวยูโซ๊ะ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ จากสาธารณสุขอำเภอรือเสาะ พร้อมด้วย นางศันติ์สนีย์ ลีมอปาแล นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ จาก สาธารณสุขอำเภอศรีสาคร เป็นวิทยากรบรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นที่1 ประกอบด้วย หมู่ 1,2,3,4 จำนวน 20 คน รุ่นที่2 ประกอบด้วย หมู่ 5,6,7,8 จำนวน 20 คน ณ.ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะตอ พร้อมนี้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้เศษฐกิจพอเพียง ของตำบลโคกสะตอ การปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ผู้โพส : admin

โครงการพระราชดำริที่ดำเนินการในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

ความเป็นมา

          สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในชนบทห่างไกลและทุรกันดารทั่วประเทศมาตั้งแต่ยังเยาว์พระชันษา ได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน ทำให้ทรงทราบปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความยากจน ความขาดแคลนอาหารและปัจจัยต่างๆ การขาดบริการสาธารณสุขและการศึกษา จึงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะทรงช่วยเหลือเด็กเยาวชน และประชาชนที่ด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดารเหล่านี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเริ่มงานพัฒนาในปีพุทธศักราช ๒๕๒๓ โดยทรงทดลองทำโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน ๓ โรง เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดอาหารและพัฒนาภาวะโภชนาการและสุขภาพของเด็กที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร หลังจากนั้นได้ทรงขยายงานพัฒนาในด้านอื่นๆ อีกเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้น พร้อมทั้งขยายพื้นที่การดำเนินงานมากขึ้นด้วย โดยโปรดเกล้าฯ ให้สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ รับผิดชอบดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ

.โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน 

ความเป็นมา

เป็นโครงการแรกที่เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยมุ่งเน้นให้นักเรียน ครู และผู้ปกครองร่วมกันทำการเกษตรในโรงเรียน แล้วนำผลผลิตที่ได้ มาประกอบเป็นอาหารกลางวัน โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเงิน สิ่งของ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ วัสดุอุปกรณ์การเกษตร และอุปกรณ์การประกอบอาหารให้แก่โรงเรียนในโครงการ การดำเนินงานของโครงการนี้นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารกลางวันแล้ว ยังทำให้เด็กนักเรียนได้รับความรู้ด้านโภชนาการและด้านการเกษตรแผนใหม่ ที่สามารถนำไปใช้ประกอบเป็นอาชีพได้ต่อไป

วัตถุประสงค์

                เพื่อให้นักเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการบริโภคตลอดปีการศึกษา โดยใช้ผลผลิตการเกษตรที่ผลิตขึ้นภายในโรงเรียนมาประกอบอาหาร

กิจกรรมสำคัญ

๑. พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

          ๒. ผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการในโรงเรียน ทั้งเนื้อสัตว์ ปลา ถั่วเมล็ดแห้ง พืชผักและผลไม้ที่หลากหลายเหมาะสมกับท้องถิ่นโดยเฉพาะกล้วยและมะละกอ โดยใช้รูปแบบการเกษตรแบบผสมผสานและชีววิธี ให้มีผลผลิตที่หลากหลายหมุนเวียนกันอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับแผนการประกอบอาหารของโรงเรียน

          ๓. ส่งเสริมการถนอมอาหารที่มีเหลือใช้ เพื่อเก็บไว้ใช้ในฤดูขาดแคลน

๔. ประกอบอาหารกลางวันและอาหารเสริมที่มีคุณค่า และถูกสุขลักษณะ

๕. เฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ รวมทั้งการตรวจสุขภาพและปรับปรุงภาวะโภชนาการของนักเรียนและของชุมชน

๖. จัดการเรียนการสอนเรื่องการเกษตรและโภชนาการในโรงเรียนให้สอดคล้องกับกิจกรรมของโครงการ

.โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน

          สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตระหนักถึงปัญหาการระบาดของโรคคอพอกเนื่องมาจากการขาดสารไอโอดีน ทั้งจากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข และจากการที่พระองค์ทรงพบเห็นในระหว่างเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมเด็กนักเรียนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จึงมีพระราชดำริที่จะดำเนินการเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยเสริมการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข โครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๓ โดยคาดหวังว่า หากมีการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องแล้ว ก็จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศโดยส่วนรวมได้

วัตถุประสงค์

                เพื่อควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนในพื้นที่ทุรกันดาร

กิจกรรมในโรงเรียน

                ๑. ดื่มน้ำเสริมไอโอดีนเป็นประจำทุกวัน

                ๒. ส่งเสริมการใช้เกลือเสริมไอโอดีนปรุงอาหารกลางวันเป็นประจำทุกวัน

                ๓. เฝ้าระวังโรคขาดสารไอโอดีน โดยตรวจคอพอกในเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาทุกคน

                ๔. อบรมให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนเรื่องโรคขาดสารไอโอดีน

กิจกรรมในหมู่บ้าน

                ๑.  อบรมให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องโรคขาดสารไอโอดีน

                ๒.  รณรงค์การใช้เกลือเสริมไอโอดีนหรือหยดไอโอดีนในน้ำปลาสำหรับปรุงอาหารในครัวเรือนเป็นประจำทุกวัน

หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน    กระทรวงสาธารณสุข

.โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร

วัตถุประสงค์               เพื่อส่งเสริมให้หญิงมีครรภ์  หญิงให้นมบุตร และเด็กทารกแรกเกิดจนถึง 3 ปี  ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารได้รับบริการที่เหมาะสมและได้รับความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ


กิจกรรมที่สำคัญ          ร่วมกับ จนท.อนามัย ในพื้นที่ ให้ความรู้เรื่องโภชนาการและสุขภาพอนามัยแก่หญิงมีครรภ์  และ สสน. อาหารเสริม วิตามิน ให้กับหญิงมีครรภ์

.โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา

ความเป็นมา

                เป็นโครงการที่ดำเนินการขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารซึ่งประสบกับความขาดแคลนในหลายๆ ด้าน ให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับอย่างถูกต้อง ด้วยวิธีการและเทคโนโลยีที่จะช่วยให้นักเรียนได้รับความรู้ความเข้าใจในวิชาการอย่างดี พร้อมที่จะไปศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้เท่าเทียมกับคนอื่นๆ และช่วยให้ครูโดยเฉพาะอย่างยิ่งครูตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งไม่ได้มีอาชีพครูโดยตรงทำหน้าที่ครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์   

          เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน

กิจกรรมสำคัญ

         ๑. พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครู

         ๒. ปรับปรุงอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อม โดย

๒.๑ สนับสนุนสิ่งจำเป็นในการปรับปรุงอาคารสถานที่ ตลอดจนสิ่งแวดล้อม เพื่อเกื้อหนุนให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

๒.๒ รณรงค์การพัฒนาโรงเรียน เพื่อสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมในการเรียน

๓. จัดหาวัสดุอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน โดย

                   ๓.๑ จัดหาแบบเรียนที่ทันสมัยให้แก่โรงเรียนให้ทันเวลา

                             ๓.๒ สนับสนุนการจัดทำสื่อการสอนโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น

          ๔. จัดกิจกรรมสัมพันธ์ชุมชน และให้ผู้ทรงคุณวุฒิประจำท้องถิ่น ได้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับประวัติ ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนภูมิปัญญาของท้องถิ่น

๕. จัดให้มีการเรียนการสอนในกิจกรรมร่วมหลักสูตร โดยเน้นไปที่กิจกรรมการเกษตร การอาชีพ    การสหกรณ์ การส่งเสริมสุขภาพอนามัย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ

๖. จัดการเรียนการสอนทางไกล

          ๗. จัดห้องสมุดให้เป็นที่สำหรับการศึกษาค้นคว้าของนักเรียนและชุมชน

.โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์

วัตถุประสงค์               เพื่อสนับสนุนให้นักเรียนที่มีฐานะยากจน  ในถิ่นทุรกันดารได้รับการศึกษาต่อ   ตามความสามารถและกลับไปช่วยพัฒนาชุมชนในถิ่นทุรกันดาร 


กิจกรรมที่สำคัญ           คัดเลือกนักเรียนที่เรียนจบชั้น ป.6 เข้าเป็นนักเรียนพระราชานุเคราะห์

.โครงการฝึกอาชีพ

ความเป็นมา

               เป็นโครงการที่โปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกอาชีพให้กับศิษย์เก่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนที่ไม่อาจศึกษาในระดับสูงต่อไปได้ และเน้นให้มีการฝึกอาชีพที่เหมาะสมสำหรับท้องถิ่นนั้นๆ ในระยะเริ่มแรกให้จัดทำในโรงเรียนทดลองก่อนภาคละ ๑ โรง โดยมีกรมอาชีวศึกษา(ขณะนั้น) รับไปสนองพระราชดำริฯ

 วัตถุประสงค์

                ๑. เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนมีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ

                ๒. เพื่อให้เยาวชนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนมีวิชาชีพติดตัวและสามารถนำไปประกอบอาชีพได้

กิจกรรมสำคัญ

                ๑. ฝึกทักษะและความรู้ด้านวิชาชีพให้แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียน

                ๒. ส่งเสริมอาชีพให้แก่เยาวชนในท้องถิ่น

                ๓. ส่งเสริมความร่วมมือจากภาคเอกชน

                ๔. ดำเนินงานฝึกอาชีพในศูนย์ฝึกอาชีพนักเรียนเก่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

.โครงการส่งเสริมสหกรณ์

ความเป็นมา

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเห็นว่า การปลูกฝังสหกรณ์แก่เด็กและเยาวชน โดยเริ่มจากโรงเรียนเป็นอันดับแรก จะก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในกลุ่มของเด็กนักเรียน   ตลอดจนครูและประชาชนในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม การรวมกลุ่มกันในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น จึงมีพระราชกระแสกับอธิบดีกรมตำรวจ ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านภู่ต่าง อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์  เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๔  ให้ดำเนินการสหกรณ์ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และมีพระราชกระแสกับอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๔  ให้ส่งเสริมวิธีสหกรณ์ให้แพร่หลายไปยังเด็กนักเรียน จึงได้เริ่มดำเนินโครงการการส่งเสริมสหกรณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นต้น

วัตถุประสงค์

                เพื่อส่งเสริมความรู้ และทักษะทางด้านสหกรณ์ และสร้างลักษณะนิสัยที่สอดคล้องกับอุดมการณ์สหกรณ์ให้แก่เด็กนักเรียน

กิจกรรมสำคัญ

                ๑. จัดการเรียนการสอนวิชาสหกรณ์

                ๒. จัดให้มีกิจกรรมสหกรณ์ภาคปฏิบัติ เช่น กิจกรรมร้านค้า กิจกรรมออมทรัพย์ และกิจกรรมการเกษตร เพื่อเป็นการฝึกทักษะของนักเรียนในการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์ตามความพร้อมของแต่ละโรงเรียน

                ๓. จัดให้มีการศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับสหกรณ์ตัวอย่าง

.โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์               เพื่อปลูกฝังให้เด็กนักเรียน เยาวชนและประชาชนในพื้นที่มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กิจกรรมที่สำคัญ           จัดการเรียนการสอนด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน , ให้ความรู้แก่ประชาชน  เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , ดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ  สิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยสาธิตและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก

บรรณานุกรมรม

          ม.ป.ป. โครงการตามพระราชดำริ. ๒๕๖๐. แหล่งที่มา : กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน๓๔ค่ายพระเจ้าตาก. //bpp34.bpp.police.go.th/K_bpp34.html. [สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐]

ม.ป.ป. โครงการตามพระราชดำริ. ๒๕๖๐. แหล่งที่มา : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็กพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.//www.psproject.org/index.htm. [สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐]

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก