สิทธิของ ผู้ต้องหา ตาม ป. วิ อาญา

ผู้คนส่วนใหญ่อยากมีสิทธิหรือได้สิทธิที่กฎหมายกำหนดความคุ้มครองไว้ แต่ก็มีบางกรณีที่คนส่วนใหญ่ไม่อยากได้สิทธิหรือไม่อยากมีสิทธิตามที่กฎหมายกำหนดไว้ นั่นก็คือกรณีต้องตกเป็นผู้ต้องหา เพราะคนเราทุกคนไม่อยากที่จะตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา แต่หากเกิดตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาไม่ว่าด้วยเหตุผลกลใด กฎหมายได้กำหนดสิทธิไว้สำหรับผู้ต้องหาดังต่อไปนี้

  1. สิทธิที่จะได้รับแจ้งให้ทราบว่าถ้อยคำที่ผู้ต้องหากล่าวนั้นอาจเป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาได้
  2. สิทธิที่จะไม่ตอบคำถามของเจ้าพนักงานสอบสวนเว้นแต่คำถามที่ถามชื่อหรือที่อยู่ของบุคคลนั้นเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย หรือให้การในชั้นสอบสวนโดยจะให้การหรือไม่ให้การในชั้นสอบสวนก็ได้
  3. สิทธิที่จะได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็วต่อเนื่องและเป็นธรรม
  4. สิทธิที่จะพบและปรึกษาผู้ที่จะเป็นทนายความสองต่อสอง
  5. สิทธิที่จะให้ทนายความหรือคนที่ไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำของตนได้
  6. สิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมตามสมควร
  7. สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับ ขู่เข็ญ ทรมาน หรือใช้วิธีหลอกลวงให้รับสารภาพ
  8. สิทธิที่จะได้รับการพยาบาลโดยเร็วเมื่อเจ็บป่วย
  9. สิทธิในการขอประกันต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็วกรณีไม่ได้ประกันต้องได้รับแจ้งเหตุผลให้ทราบโดยเร็ว

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1 ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมหรือขังมีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรกและให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิดังต่อไปนี้ด้วย
(1) พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
(2) ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน
(3) ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร
(4) ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย
ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งรับมอบตัวผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีหน้าที่แจ้งให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหานั้นทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิตามวรรคหนึ่ง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108/1 การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว จะกระทำได้ ต่อเมื่อ มีเหตุอันควรเชื่อ เหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ต้องหา หรือ จำเลย จะหลบหนี
(๒) ผู้ต้องหา หรือ จำเลย จะไปยุ่งเหยิง กับพยานหลักฐาน
(๓) ผู้ต้องหา หรือ จำเลย จะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น
(๔) ผู้ร้องขอประกัน หรือ หลักประกัน ไม่น่าเชื่อถือ
(๕) การปล่อยชั่วคราว จะเป็นอุปสรรค หรือ ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อการสอบสวน ของเจ้าพนักงาน หรือ การดำเนินคดีในศาล
คำสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว ต้องแสดงเหตุผล และ ต้องแจ้งเหตุดังกล่าว ให้ผู้ต้องหา หรือ จำเลย และ ผู้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวทราบ เป็นหนังสือ โดยเร็ว

๑. ฎีกาที่ 3119/2550 แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 7/1 (2) จะบัญญัติให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้ในชั้นสอบสวนและมาตรา 134/3 บัญญัติว่าผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ และมาตรา 134/4 (2) บัญญัติในเรื่องการถามคำให้การผู้ต้องหานั้นให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่าผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ก็ตาม แต่ในบทบัญญัติของมาตรา 134/4 วรรคท้าย ก็บัญญัติไว้แต่เพียงว่า ถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่จะดำเนินการตามมาตรา 134/3 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้เท่านั้น ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นก็หาทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบแต่อย่างใดไม่


๒.ฎีกาที่ 2015/2547 การแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาตามมาตรา 7/1 ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับให้ต้องระบุไว้ในบันทึกคำให้การชั้นสอบสวน อันจะเป็นเหตุให้การสอบสวนไม่ชอบและไม่อาจรับฟังบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 เป็นพยานหลักฐานได้

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้บัญญัติถึงสิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา และจำเลย ให้ได้รับความคุ้มครองถึงสิทธิ เสรีภาพ และความยุติธรรม ถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ

มาตรา 7/1  ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุม หรือขังมีสิทธิแจ้ง หรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุม และสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก และให้ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหา มีสิทธิดังต่อไปนี้ด้วย

(1) พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว

(2) ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน

(3) ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร

(4) ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย

ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งรับมอบตัวผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีหน้าที่แจ้งให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหานั้นทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิตามวรรคหนึ่ง

มาตรา 8  นับแต่เวลาที่ยื่นฟ้องแล้ว จำเลยมีสิทธิดังต่อไปนี้

(1) ได้รับการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม

(2) แต่งทนายความแก้ต่างในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณาในศาลชั้นต้น ตลอดจนชั้นศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา

(3) ปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว

(4) ตรวจดูสิ่งที่ยื่นเป็นพยานหลักฐาน และคัดสำเนาหรือถ่ายรูปสิ่งนั้น ๆ

(5) ตรวจดูสำนวนการไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณาของศาล และคัดสำเนา หรือขอรับสำเนาที่รับรองว่าถูกต้องโดยเสียค่าธรรมเนียม เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมนั้น

(6) ตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวน หรือเอกสารประกอบคำให้การของตน

ถ้าจำเลยมีทนายความ ทนายความนั้นย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับจำเลยดังกล่าวมาแล้วด้วย

เมื่อพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ให้ผู้เสียหายมีสิทธิตามวรรคหนึ่ง(6) เช่นเดียวกับจำเลยด้วย

มาตรา 107  ผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว (ประกันตัว)

ในระหว่างการสอบสวนผู้ต้องหามีสิทธิอะไรตามกฎหมาย

(1) พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว (2) ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน (3) ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร (4) ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย

เมื่อตำรวจจับผู้ต้องหา ต้องแจ้งสิทธิอะไรบ้าง

ดังต่อไปนี้ ๑. มีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจ ทราบถึงการจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก ๒. สิทธิในการพบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายเป็นการเฉพาะตัว ๓. สิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งจนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน

คำว่า “ผู้ต้องหาในคดีอาญา” หมายถึงข้อใด

ผู้ต้องหา หมายถึง บุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังไม่ได้ถูกฟ้องต่อศาล(ป.วิ.อ.มาตรา 2(2)) จากความหมายของผู้ต้องหาดังกล่าว จะเห็นได้ว่าผู้ต้องหานั้นเป็นเพียงผู้ต้องสงสัยว่าได้กระทำความผิดเท่านั้น แต่การที่เขาจะกระทำความผิดจริงหรือไม่นั้น ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานต่างๆโดยศาล ซึ่งผู้ต้องหา ...

กรณีใดเป็นสิทธิของจำเลย

สิทธิขั้นพื้นฐานของจำเลย” 1. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็วต่อเนื่องและเป็นธรรม 2. สิทธิในการขอประกันต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็วกรณีไม่ให้ประกันต้องแจ้งเหตุผลให้จำเลยทราบโดยเร็ว 3. สิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านการไม่ให้ประกัน 4. สิทธิที่จะพบทนายความเป็นการส่วนตัว

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก