งานวิจัย ปัญหาการสื่อสารภาษาอังกฤษ

Keywords: Public Speaking in English

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาของการพูดภาษาอังกฤษในที่ชุมชนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาในด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประชากรจำนวน 95 คน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำนวน 23 คน ได้จากการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม แบบสอบถามแบบประเมินค่า แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้เป็นสถิติเชิงพรรณนาซึ่งวิเคราะห์โดยโปรแกรม SPSS คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

การวิจัยพบว่า ปัญหาการพูดภาษาอังกฤษในที่ชุมชนของนักศึกษา คือ

            1) การขาดความมั่นใจในตนเอง สืบเนื่องมาจากมีความรู้พื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษไม่เพียงพอสำหรับการสื่อสาร มีจำนวนคำศัพท์น้อย ขาดทักษะการใช้ภาษาในการสื่อสารในสภาพจริง

            2) การขาดทักษะการคิดวิเคราะห์และการให้เหตุผลสนับสนุนความคิด     นอกจากนี้การวิจัยพบว่าการเรียนที่มีการลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังต่อเนื่องและ    สม่ำเสมอภายใต้การให้คำแนะนำในการแก้ไขข้อบกพร่องเป็นรายบุคคลช่วยให้มี  ความมั่นใจ และพัฒนาความสามารถทางด้านการพูด

          This research has objective to 1) to study problems in public speaking in English of business English 3rd year students, Faculty of Humanities and Social Sciences, Sisaket Rajabhat University 2) to study the ways to solve problems in learning English of Sisaket Rajabhat University students majoring in business English were chosen in number of 23 peoples based on purposive sampling technique. Semi-structured interview, participatory observation and satisfaction questionnaire were used as tools in this inquiry.  

           The results showed as follow:

           1) a lack of self-confidence which was resulted from their inadequate knowledge of English language, insufficient amount of vocabulary, and a lack of English communicative skills in real world communication.

          2) a lack of critical thinking skills and giving a supported logical reason. In addition, it was found that the students’ serious and persistent practices under feedback given and supervised individually made the students have confidence and improve their speaking performance.

References

เอกสารอ้างอิง

เลขา ปิยะอัจฉริยะ. (2524). การพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง. ในเอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาพฤติกรรมเด็กหน่วยที่ 1-7 หน้า 237-265. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อัจฉรา วงศ์โสธร. (2527). การสร้างข้อสอบวัดความสามารถในการสื่อความหมาย ทางภาษา (Pragmatic Communicative) กับการทดลองทางภาษาระดับ
Advanced, ความสอดคล้องระหว่างข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกับหลักสูตรภาษาอังกฤษและแนวโน้มในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bygate, M. (1991). Speaking: Language Teaching, a Scheme for Teacher Education. Oxford: Oxford University Press.
Gardner, R. C. (1985). Social Psycholog and Second Language Learning: The Role of Attitudes and Motivation. London, GB: Edward Arnold.
Stevick, E. W. (1976). Memory Meaning & Method. Massachusetts: Newbury House.

  • PDF

How to Cite

บุญเยี่ยมธ. (2019). ปัญหาของการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในที่ชุมชนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 3(2), 47-58. Retrieved from //huso-journal.sskru.ac.th/index.php/m1/article/view/70

Section

Research Article(บทความวิจัย)

ผลงานนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และจะไม่นำส่งไปเพื่อพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆนับจากวันที่ข้าพเจ้าได้ส่งผลงานต้นฉบับนี้และข้าพเจ้าได้ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาตรวจสอบความถูกต้องของ Abstract และบทความภาษาอังกฤษแล้ว

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก