ขอใบรับรองแพทย์ ใบขับขี่ ต้องใช้อะไรบ้าง

ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2561 การทำใบขับขี่จะต้องใช้ใบรับรองแพทย์จากแพทยสภาเท่านั้น ซึ่งจะมีทั้งแบบฟอร์มที่เปลี่ยนไป รวมถึงโรคต้องห้ามสำหรับการทำใบขับขี่ ฉะนั้นคนที่ใช้รถยนต์ควรตรวจสอบรายละเอียดดังนี้

ทำใบขับขี่ ต้องตรวจสุขภาพอะไรบ้าง?

การตรวจสุขภาพเพื่อขอใบรับรองแพทย์ไปทำใบขับขี่ ปัจจุบันมีความละเอียดมากขึ้น ข้อจำกัดมากขึ้น แต่กระบวนการตรวจนั้นไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด โดยมีสิ่งที่ตรวจหลักๆ 4 ข้อ ดังนี้

  1. ตรวจร่างกายโดยแพทย์ (Physical Examination) เป็นการตรวจพื้นฐานโดยแพทย์อายุรกรรม ส่วนมากเป็นการสอบถามซักประวัติทั่วไป อาการปัจจุบันที่เป็น เพื่อนำมาวินิจฉัยให้ได้ว่าเป็นโรคอะไรหรือไม่ หากมีความจำเป็นต้องการข้อมูลวินิจฉัยเพิ่ม เราก็มักจะคุ้นเคยกับการที่หมออายุรกรรมจะส่งตัวไปตรวจเลือด หรือเอกซเรย์เพื่อยืนยัน
  2. เอกซเรย์ปอดและหัวใจ (Chest X-ray) เนื่องจากระบบหลอดเลือดและหัวใจมีผลอย่างมากต่อความปลอดภัยในการขับขี่บนท้องถนน เช่น หากเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันขณะขับรถ อาจนำไปสู่อุบัติเหตุบนท้องถนนได้
  3. ตรวจสายตาเบื้องต้น (Visual Acuity) พูดง่ายๆ ก็คือการวัดสายตานั่นเอง เนื่องจากระยะการมองเห็นเป็นสิ่งสำคัญต่อการขับรถ รวมถึงอาจมีการทดสอบตาบอดสีด้วย เพื่อให้มองเห็นสัญลักษณ์ต่างๆ บนท้องถนนอย่างชัดเจน
  4. ตรวจหาสารเสพติด (Amphetamine) ส่วนมากเป็นการตรวจจากสารปัสสาวะ เนื่องจากผู้ที่ใช้ยาเสพติดจะปรากฎผลในปัสสาวะภายใน 1-3 วันหลังใช้ยาเสพติด

หมายเหตุสำคัญ แบบใบรับรองแพทย์สำหรับทำใบขับขี่มีการปรับเปลี่ยนตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งแตกต่างกับแบบฟอร์มตรวจสุขภาพทั่วไป

ดังนั้นหากต้องการนำไปทำใบขับขี่ ต้องกำชับกับบุคลากรทางการแพทย์ให้ชัดเจนว่าต้องการใบรับรองแพทย์สำหรับใบขับขี่ ดูตัวอย่างใบรับรองแพทย์ได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม: ตรวจหัวใจคืออะไร ตรวจอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม: ตรวจสารพิษ สารเสพติด

โรคอะไรบ้างที่ไม่สามารถทำใบขับขี่ได้

เนื่องจากปัญหาสุขภาพบางรายการมีผลต่อความปลอดภัยในการขับขี่ จึงมีการกำหนดโรคที่ไม่สามารถทำใบขับขี่ได้ ดังนี้

  • โรคเท้าช้าง เป็นโรคที่ทำให้อวัยวะบวมโต หยาบกระด้าง คนที่เป็นมานานแล้วจะมีอวัยวะส่วนนั้นโตถาวร
  • วัณโรค อาจทำให้มีอาการผิดปกติเรื้อรัง เช่น ไอเรื้อรัง มีไข้เรื้อรัง และส่งผลกระทบต่อการขับขี่ได้
  • โรคเรื้อน เกี่ยวข้องกับเส้นประสาท หากรอยโรคปรากฎชัดเจนจนเห็นได้ง่าย อาจมีอาการชาตามผิวหนัง
  • โรคพิษสุราเรื้อรัง เนื่องจากอาจมีอาการผิดปกติ กระวนกระวาย หรือมีแนวโน้มจะดื่มสุราขณะขับรถ
  • ผู้ใช้ยาเสพติด เพราะอาจมีผลจต่อสติในการขับขี่รถ
  • โรคลมชัก ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมอาการชักได้ หรือเป็นบ่อย อาจไม่ปลอดภัยต่อการขับขี่
  • โรคเบาหวาน รวมเฉพาะคนที่ต้องฉีดอินซูลินตามแพทย์สั่งเท่านั้น
  • โรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ อาจทำให้ความดันเลือดสูงเกินไปขณะขับขี่รถยนต์
  • ผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดสมอง
  • โรคหัวใจ เนื่องจากเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวาย หรือหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ส่งผลเสียโดยรวมต่อคนบนท้องถนน

ดังนั้น ก่อนที่จะทำเรื่องใบอนุญาตขับขี่ ควรตรวจสอบสุขภาพของตัวเองและเตรียมเอกสารให้พร้อม เพื่อความสะดวกและปลอดภัยของทุกคนนะ

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เทียบราคาจากโรงพยาบาลต่างๆ ได้ผ่านเว็บไซต์ HDmall.co.th ศูนย์รวมบริการด้านสุขภาพ ทำฟัน และความงามที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หรือแอดไลน์ @hdcoth สอบถามแอดมินได้ ฟรี! ก่อนตัดสินใจซื้อ 

ในปัจจุบันการสอบใบขับขี่ใหม่ การต่ออายุใบขับขี่ชั่วคราว ไม่ว่าจะเป็นกี่ปีก็ตามแต่ ได้มีการกำหนดไว้ว่าต้องมีเอกสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น บัตรประชาชน หรือใบขับขี่ตัวจริง ทะเบียนบ้าน และใบรับรองแพทย์ ซึ่งในส่วนของใบรับรองแพทย์ ทําใบขับขี่นั้น เพิ่งมีการประกาศเปลี่ยนใหม่ว่า ทุกครั้งที่มาทำธุรการที่เกี่ยวข้องกับใบขับขี่จำเป็นต้องขอใบรับรองแพทย์มาด้วยทุกครั้ง

ทั้งนี้ใบรับรองแพทย์ ใบขับขี่ ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ตามที่แพทยสภารับรองอย่างเดียวเท่านั้น หากไม่ใช่ใบรับรองตามที่แพทยสภารับรองก็ไม่สามารถทำใบขับขี่ได้

เมื่อเล่มทะเบียนรถหาย ต้องทำอย่างไร และค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

ต่อใบขับขี่มอเตอร์ไซค์

ใบรับรองแพทย์แบบ 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 กรอกข้อมูลเพื่อรับรองตัวคุณเอง มีหรือไม่มีโรคประจำตัวรึไม่ ตลอดจนเคยประสบอุบัติเหตุ หรือเคยผ่าตัดมาก่อนรึไม่ และมีส่วนที่แพทย์ต้องรับรองว่าผู้ขอไม่เป็นโรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือการขับขี่ ได้แก่ สติฟั่นเฟือน, ติดยาเสพติด, โรคเท้าช้าง, วัณโรค และโรคเรื้อน

ส่วนที่ 2 ผู้ขอใบรับรองแพทย์ต้องทำการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดัน และตรวจชีพจร นอกจากนี้ยังมีการระบุเพิ่มเติมถึง “โรคต้องห้าม” ที่ทางกรมการขนส่งทางบกและแพทยสภาได้ประกาศไว้ว่า หากเป็นโรคเหล่านี้จะไม่สามารถทำใบขับขี่ได้ ได้แก่

  • โรคลมชัก
  • โรคเบาหวานร้ายแรง (ในเคสที่ต้องฉีดอินซูลิน)
  • โรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่เคยผ่าตัดสมองมาก่อน 
  • โรคหัวใจที่เสี่ยงจะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด

ใบรับรองแพทย์ ใบขับขี่ 2564 คลินิก

ดังนั้นการขอใบรับรองแพทย์ ทําใบขับขี่ หากคุณไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงตามที่กรมการขนส่งทางบกและแพทยสภาได้ประกาศ ก็สามารถขอใบรับรองได้เลย

ใบรับรองแพทย์ ใบขับขี่ 2564 ขอที่ไหน? ราคาเท่าไหร่? ทั้งนี้ราคาของการขอใบรับรองแพทย์ ใบขับขี่นั้น ไม่มีราคาตายตัวสักเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับคลินิกแต่ละที ตลอดจนโรงพยาบาลแต่ละทีนั้นเอง แต่บอกได้ว่าราคาของการขอใบรับรองแพทย์ ใบขับขี่ ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 50 บาท ขึ้นไปก็ว่าได้

ข้อควรระวังเพิ่มเติมหลังจากได้รับใบรับรองแพทย์ ใบขับขี่มาแล้วก็คือ เมื่อนำไปใช้ทำใบขับขี่ ต้องมีอายุไม่เกิน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกจนถึงวันที่ขอทำใบขับขี่ หากไม่ใช่รูปแบบตามที่ขนส่งกำหนด หรือมีอายุเกินจากที่ระบุไว้ ถือว่าใช้ไม่ได้

ตามปกติของการขอใบรับรองแพทย์ ทําใบขับขี่ สถานพยาบาลบางแห่งอาจจะให้ตรวจตาบอดสีเพิ่มเติมอีกด้วย เนื่องจากหากสายตาของคุณมีความผิดปกติกับสีสันแล้ว การขับรถยนต์ไปเจอไฟจราจร ได้แก่ สีแดง, สีเหลือง และสีเขียว ก็อาจสร้างความสับสนได้เนื่องจากมองไม่เห็นสีที่ถูกต้องนั้นเอง อย่างไรก็ตามทางกรมขนส่งก็จะมีการทดสอบซ้ำอีกครั้งหนึ่งอยู่ในเรื่องตาบอดสี

เมื่อเตรียมทุกอย่างครบถ้วนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นบัตรประชาชน สำเนาบัตรประชาชน หรือใบขับขี่ตัวจริง ทะเบียนบ้าน และใบรับรองแพทย์ สามารถเดินทางไปสำนักงานขนส่งแถวบ้านคุณได้เลย โดยในปัจจุบันอาจต้องลงทะเบียนจองคิวในรูปแบบออนไลน์เสียก่อน มีให้เลือกทั้งเว็บไซต์ gecc.dlt.go.th และแอปพลิเคชันชื่อว่า DLT smart queue

เมื่อสามารถจองคิวการทำใบขับขี่ผ่านรูปแบบออนไลน์ได้แล้ว สิ่งที่เหลือก็เตรียมตัวให้พร้อม หากเป็นการทำใบขับขี่ครั้งแรก จะต้องพบเจอการอบรมที่มีระยะเวลาตามประเภทใบขับขี่นั้น ๆ และยังต้องเตรียมตัวทำข้อสอบใบขับขี่ด้วย โดยในส่วนข้อสอบแบบทฤษฎีเรียกได้ว่าเป็นจุดยากสุดในการทำข้อสอบก็ว่าได้ ซึ่งมีการระบุไว้ว่า ต้องทำข้อสอบทั้งหมด 50 ข้อ และสามารถผิดได้เพียง 5 ข้อเท่านั้น เรียกว่าคะแนนต่ำสุดที่จะสอบผ่านก็คือ 45 คะแนน เลยทีเดียว

หลังจากสอบทางทฤษฎีเสร็จเรียบร้อย สิ่งสุดท้ายที่ต้องได้รับการทดสอบก็คือ สอบภาคสอบภาคปฏิบัติ ซึ่งมีรูปแบบเป็นฐานต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ชัดเจนอยู่แล้ว ความยากง่ายในการทดสอบขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ขับขี่เพียงเท่านั้น

สำหรับคนที่ต้องการต่อใบขับขี่เพียงเท่านั้น หากใบขับขี่ยังมีอายุไม่ขาดเกินตามที่สำนักงานขนส่งกำหนดไว้ จะไม่มีขั้นตอนการสอบต่าง ๆ แต่อย่างใด มีเพียงแค่ทดสอบอ่านสี ทดสอบเหยียบเบรก ทดสอบการกะระยะ เพียงเท่านั้น ในส่วนที่เหลือจะเป็นเพียงการนั่งฟังอบรมระยะเวลา 1 ชั่วโมง และไปถ่ายรูปรับบัตรใหม่ เพียงเท่านี้ก็ถือว่าเป็นการเสร็จสิ้น

ขอใบรับรองแพทย์ต่อใบขับขี่ต้องตรวจอะไรบ้าง

ตรวจสุขภาพทำใบขับขี่มักจะต้องผ่านซักประวัติทั่วไป บางโปรแกรมตรวจอาจส่งตรวจเลือดด้วย หลังจากนั้นจะมีการตรวจวัดสายตา เอกซ์เรย์ปอด หัวใจ และที่สำคัญคือตรวจหาสารเสพติด โรคที่ทำใบขับขี่ไม่ได้ เช่น โรคหัวใจ โรคลมชัก โรคเบาหวาน วัณโรค พิษสุราเรื้อรัง โรคความดัน เป็นต้น

ใบรับรองแพทย์ทำใบขับขี่ใช้แบบไหน

ซึ่งเราสามารถขอ “ใบรับรองแพทย์ตามแบบที่แพทยสภารับรอง” เพื่อไปต่อใบขับขี่ได้ที่ คลินิกใกล้บ้าน หรือที่โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล ก็ได้ครับ

ขอใบรับรองแพทย์ ทํายังไงบ้าง

1 คัดกรอง/ประเมินจ าแนกประเภท 1 นาที พยาบาล 2 ตรวจสอบสิทธิ / เปิดแฟ้ม 3 นาที งานสิทธิบัตร /เวช ระเบียน 3 ชั่งน ้าหนัก วัดส่วนสูง 1 นาที ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 4 ซักประวัติ อาการปัจจุบัน /เขียนแบบ บันทึกค าร้องขอใบรับรอง 15 นาที พยาบาล 5 พบแพทย์ พิจารณาออกใบรับรอง ความพิการ 10 นาที แพทย์

ใบรับรองแพทย์ต้องตรวจอะไรบ้าง

บริการตรวจสุขภาพขอใบรับรองแพทย์เพื่อทำใบอนุญาตทำงาน (Work Permit).
โรคเรื้อน (Leprosy).
วัณโรคระยะอันตราย (Advanced Pulmonary Tuberculosis).
โรคยาเสพติดให้โทษ (Drug Addiction).
โรคพิษสุราเรื้อรัง (Chronic Alcoholism).
โรคเท้าช้าง (Elephantiasis).
โรคซิฟิลิสในระยะที่ 3 (VDRL).

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก