เครือข่ายระยะไกล wide area network wan หมายถึง

WAN (Wide Area Network)

WAN เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง หรืออาจจะครอบคลุมทั่วโลกก็ได้ ตัวอย่างเช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เรารู้จักกันดี WAN จะใช้การเชื่อมต่อระหว่าง LAN ที่อยู่ห่างไกลกัน เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานย่อยที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่ง LAN เป็นเทคโนโลยีสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายภายในอาคาร หรือพื้นที่ที่มีรัศมีประมาณ 2-3 กิโลเมตร ส่วน WAN เป็นเครือข่ายที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระยะไกล เช่น เครือข่ายภายในหรือระหว่างเมือง หรือแม้กระทั่งการเชื่อมต่อระหว่างประเทศทั่วโลก เทคโนโลยีที่จัดอยู่ในประเภท WAN เช่น รีโมทแอ็กเซสส์ (Remote Access), สายคู่เช่า (Leased Line), ISDN (Integrated Service Digital Network), ADSL (Asynchronous Digital Subscribe Line), Frame Relay และระบบดาวเทียม เป็นต้น

WAN (Wide Area Network) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อ LAN ที่อยู่ห่างไกลกัน

และไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยใช้เทคโนโลยี LAN ตัวอย่างเครือข่าย WAN ที่รู้จักกันดีและเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็คือ อินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ข้อจำกัดในการออกแบบเครือข่าย นั้นคือ ระยะทาง เพราะไม่ว่าจะเป็นสัญญาณประเภทใดก็แล้วแต่เมื่อต้องส่งไประยะไกลๆ กำลังของสัญญาณนั้นๆ ก็อ่อนลง ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูล การออกแบบ นั้นจะเป็นการแลกเปลี่ยนแบนด์วิธเพื่อเพิ่มระยะทาง ดังนั้นจึงทำให้แบนด์วิธของ WAN น้อยกว่า ของ LAN มาก แต่รับส่งข้อมูลได้ระยะที่ไกลกว่า

เทคโนโลยี WAN มีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเริ่มแรกความต้องการในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกันมาก เป็นแค่การเชื่อมต่อระหว่าคอมพิวเตอร์ไม่กี่เครื่องเท่านั้น แต่ปัจจุบันจะเป็นการเชื่อมต่อ LAN หลายๆ วงที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งเอื้ออำนวยให้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ต่าง LAN กันสามารถสื่อสารกันผ่านเครือข่าย WAN ได้ เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายสำนักงานย่อยเข้ากับเครือข่ายของสำนักงานใหญ่ที่อยู่คนละเมือง ปัจจุบันหลายๆ องค์กรมีเครือข่ายอินทราเน็ต และมีความต้องการที่จะเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตด้วยเหตุผลทางธุรกิจ

เทคโนโลยี WAN นั้นจะแตกต่างจากเทคโนโลยี LAN มาก

เทคโนโลยี LAN ส่วนใหญ่จะมีมาตรฐานรองรับ แต่เทคโนโลยี WAN จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สร้างจากหลายบริษัท บางส่วนก็มีมาตรฐาน บางส่วนก็เป็นเทคโนโลยีเฉพาะของบริษัท ซึ่งจะแตกต่างกันทั้งทางด้านลักษณะ ประสิทธิภาพ และราคาสิ่งอยากที่สุดในการสร้างเครือข่าย WAN คือการเลือกใช้เทคโนโลยีที่สามารถทำงานร่วมกันได้ และสนองความต้องการของธุรกิจ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าใจทุกๆ ส่วนของเทคโนโลยี WAN

รูปแสดงตัวอย่างโครงสร้างระบบเครือข่ายแวน

เทคโนโลยี WAN มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้:

  • ระบบส่งสัญญาณ (Transmission Facility)
  • อุปกรณ์เครือข่าย เช่น เราท์เตอร์ และสวิตซ์ (Channel Service Unit/Data Service Unit)
  • ระบบจัดการที่อยู่ (Internetwork Addressing)
  • โปรโตคอลจัดเส้นทาง (Routing Protocol)

ในแต่ละส่วนประกอบที่กล่าวมานั้นยังแยกออกเป็นส่วนย่อยๆ อีกหลายส่วน ซึ่งจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต โมเดล และคอมฟิกูเรชัน ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีใดก็ควรที่จะพิจารณาให้แน่ใจว่าเทคโนโนโลยีดังกล่าวสนองความต้องการหรือไม่

อุปกรณ์ในการทำงานที่ทุกออฟฟิศขาดไม่ได้ คือคอมพิวเตอร์ เพราะจะช่วยให้การทำงานเต็มไปด้วยความสะดวก และมีความทันสมัยมากขึ้น และอีกสิ่งที่ต้องมาคู่กัน คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) ที่เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลภายในองค์กรได้ เช่น การใช้โปรแกรมร่วมกัน, การใช้เครื่องพิมพ์ และการใช้ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น โดยเครือข่ายระบบ Network สามารถแบ่งประเภทตามพื้นที่ได้ สำหรับคนที่ต้องทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ทุกวัน ลองมาทำความรู้จักกับระบบเน็ตเวิร์คกัน

1. เครือข่ายส่วนบุคคลหรือแพน (Personal Area Network: PAN)

เริ่มกันที่เครือข่ายที่ใช้ส่วนบุคคล เช่น การเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือ กับคอมพิวเตอร์, การเชื่อมต่อ PDA กับเครื่องคอมพิวเตอร์ และการเชื่อมต่อแบบไร้สาย

2. เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน (Local Area Network: LAN)

แลน คือเครือข่ายที่หลายคนน่าจะคุ้นเคย เพราะสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่หรือละแวกเดียวกัน เช่น สำนักงาน, บ้าน, หอพัก และภายในอาคาร หากเป็นการใช้งานที่บ้านจะเรียกเครือข่ายชนิดนี้ว่า เครือข่ายที่พักอาศัย หรือ home network เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป ซื้อเครือข่ายเฉพาะที่จัดเป็นเครือข่ายเฉพาะองค์กร ซึ่งทำหน้าที่สื่อสารข้อมูลภายในได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุด

เครือข่ายเฉพาะที่ ยังทำหน้าที่ในการประสานการทำงาน และบริหารจัดการทรัพยากร ตั้งแต่การติดตั้งเครื่องพิมพ์ส่วนกลาง, การจัดการฐานข้อมูล, การจัดการเอกสาร และการรับส่งรายงานต่างๆ เป็นต้น ทั้งหมดนี้เพื่อช่วยให้การทำงานและการรับส่งข้อมูลภายในองค์กรเต็มไปด้วยความสะดวกสบาย

3. เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (Metropolitan Area Network: MAN)

แมน เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงสิ่งที่อยู่ไกลกัน เช่น การเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานที่อยู่คนละอาหาร หรือมีระยะที่ไกลกัน การเชื่อมต่อเครือข่ายนี้จะใช้สายไฟเบอร์ออพติก หรือใช้ไมโครเวฟในการเชื่อมต่อ หรือเรียกอีกชื่อว่าเครือข่ายแคมปัส ที่จัดเป็นระบบการเชื่อมต่อเครือข่ายที่กว้างใหญ่ ครอบคลุมระยะทางกว่า 100 กิโลเมตร เป็นการติดต่อสื่อสารในระยะไกลกว่าระบบแลน และใกล้กว่าระบบแวน เช่น การติดต่อจากกรุงเทพฯ ไปที่เชียงใหม่ หรือจังหวัดยะลา

โดยเครือข่ายจะเป็นการเชื่อมต่อแบบ Ring หรือระบบ FDDI (Fibre Data Distributed Interface) ที่มีรัศมีในการเชื่อมต่อที่ 100 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วอยู่ที่ 100 Mbps มีรูปแบบการเชื่อมด้วนแหวนสองชั้น ชั้นแรกเป็น Primary Ring ส่วนชั้นที่ 2 เป็น Secondary Ring หรือ Backup Ring มีการทำงานแทนที่ด้วยสัญญาณใน Primary Ring อีกทั้งเป็นเครือข่ายที่จัดส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง สามารถส่งในระยะไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน (Wide Area Network: WAN)

สำหรับเครือข่ายวงกว้าง หรือแวน เป็นการเชื่อมต่อระยะไกล ที่รวมทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณ

เช่นโมเด็ม ที่ช่วยในการติดต่อสื่อสาร และนำเครือข่ายท้องถิ่นมาเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายในระยะไกล เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต, เครือข่ายระบบธนาคาร และเครือข่ายสายการบิน เป็นต้น โดยเครือข่าย Wan สามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้

4.1 เครือข่ายส่วนตัว (private network)

เป็นเครือข่ายที่มีการใช้งานเฉพาะภายในองค์กร เช่น องค์กรที่มีสาขาในการทำระบบเครือข่าย เพื่อเชื่อมต่อสำนักงานใหญ่ และสาขาย่อย โดยการจัดตั้งระบบเครือข่ายส่วนตัว จะมีข้อดีตรงที่สามารถเก็บรักษาข้อมูล และปกปิดความลับได้อย่างดี อีกทั้งควบคุมดูแลเครือข่ายและสามารถขยายเครือข่ายไปยังจุดที่ต้องการได้ ส่วนข้อเสียหากไม่มีการรับส่งข้อมูลอย่างต่อเนื่อง จะเสียค่าใช้จ่ายที่สูง เมื่อเทียบกับการรับส่งข้อมูลแบบสาธารณะ และหากเป็นการรับส่งข้อมูลระหว่างสาขา จะต้องมีการจัดหาช่องทางเพิ่มมากขึ้น นั่นอาจส่งผลให้ไม่สามารถจัดหาช่องทางเพิ่มเติมได้

4.2 เครือข่ายสาธารณะ (PDN: public data network)

เครือข่ายสาธารณะ หรือเครือข่ายมูลค่าเพิ่ม จัดเป็นเครือข่ายแวน จะที่จะมีองค์กรหนึ่ง (third party) เป็นผู้ทำหน้าที่เดินระบบเครือข่าย และมีการให้เช่าช่องทางการสื่อสารให้กับบริษัทต่างๆ ที่อยากจะสร้างระบบเครือข่าย เพื่อช่วยให้บริษัทสามารถลดต้นทุนได้ เนื่องจากมีบุคคลที่ 3 เข้ามาแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายไป ถือเป็นอีกหนึ่งเครือข่ายที่คนนิยมใช้อย่างมาก เพราะมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ และสามารถใช้งานได้ทันที ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาในการจัดตั้งเครือข่ายใหม่ รวมทั้งมีบริการให้เลือกหลากหลาย สามารถเลือกให้เหมาะสมกับงานได้

ลักษณะเครือข่ายที่ใช้งานในเครือข่ายของคอมพิวเตอร์

โดยลักษณะของเครือข่ายที่ใช้งานในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ทรัพยากรและข้อมูลร่วมกัน ตามบทบาทของเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้ ดังนี้

1. เครือข่ายแบบรับ-ให้บริการ หรือไคลเอนท์ / เซิร์ฟเวอร์ (client-server network)

สำหรับเครือข่ายไคลเอนท์ จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่คอยให้บริการต่างๆ เช่น บริการเว็บไซต์ และบริการฐานข้อมูล โดยการบริการจะขึ้นอยู่กับการร้องขอจากเครื่องรับบริการ เช่น การเปิดเว็บเพจ ที่เครื่องรับบริการจะส่งคำร้องขอไปที่เครื่องบริการเว็บ จากนั้นเครื่องจะตอบรับและส่งข้อมูลมาให้เครื่องรับบริการ ซึ่งข้อดีของระบบนี้ คือสามารถให้บริการได้เป็นจำนวนมาก ส่วนข้อเสียคือมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง รวมไปถึงค่าบำรุงรักษาที่สูงมาก

2. เครือข่ายระดับเดียวกัน (Peer- to-Peer network: P2P network)

เครือข่ายระดับเดียวกัน คือการที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเป็นได้ทั้งผู้ให้บริการ และรับการบริการในเวลาเดียวกัน การใช้งานส่วนใหญ่ จะเป็นการแบ่งปันข้อมูล เช่น เพลง, ภาพยนตร์, เกม และโปรแกรมต่างๆ ซึ่งเครือข่ายนี้จะได้รับความนิยมในหมู่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต และมีระบบซอฟต์แวร์เฉพาะ เช่นโปรแกรม eDonkey, BitTorrent และ Lime Wire ข้อดีของเครือข่ายนี้ คือง่ายต่อการใช้งาน ราคาไม่แพงจนเกินไป ส่วนข้อเสีย คือไม่มีการควบคุมความปลอดภัย เสี่ยงต่อการถูกนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง

และทั้งหมดนี้ คือระบบเครือข่าย Network ที่ช่วยให้การรับส่งข้อมูล และการติดต่อสื่อสารภายในองค์กร เต็มไปด้วยความทันสมัยและความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น สำหรับองค์กรหรือธุรกิจใหม่ ควรเลือกใช้ระบบที่เหมาะสมกับการทำงาน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก