เบิกค่า ทํา ฟันประกันสังคม ทางไปรษณีย์ 2564

หนึ่งในสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ต้องได้รับคือ “ทำฟันประกันสังคม” ซึ่งไม่ได้ครอบคลุมแค่เพียงการถอนฟัน อุดฟัน หรือขูดหินปูนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นๆ อีกด้วย

ทำฟันประกันสังคม ครอบคลุมอะไรบ้าง

ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ผ่าฟันคุด

วงเงินรวมไม่เกิน 900 บาทต่อปี ในกรณีที่ค่ารักษาสูงกว่า 900 บาท ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินส่วนเกินตรงนั้นเอง

ใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้บางส่วน

ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ใส่ฟันเทียมนั้น ตามหลักเกณฑ์ดังนี้

  • จำนวน 1-5 ซี่ วงเงินไม่เกิน 1,300 บาท เบิกได้ทุก 5 ปี
  • มากกว่า 5 ซี่ วงเงินไม่เกิน 1,500 บาท เบิกได้ทุก 5 ปี

ใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก

ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียมนั้น ตามหลักเกณฑ์ดังนี้

  • ฟันบนหรือล่าง (อย่างใดอย่างหนึ่ง) วงเงินไม่เกิน 2,400 บาท เบิกได้ทุก 5 ปี
  • ฟันบนและล่าง (ทั้งคู่) วงเงินไม่เกิน 4,400 บาท เบิกได้ ทุก 5 ปี

โดยสิทธิประโยชน์ของการทำฟันประกันสังคมนี้มีเฉพาะผู้ถือสิทธิประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 เท่านั้น และต้องมีการนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนรับบริการทำฟัน สำหรับผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมครบ 3 เดือนแล้ว แต่ได้ลาออกจากที่ทำงาน ก็ยังสามารถเข้ารับบริการทันตกรรมได้ เพราะสิทธิทำฟันประกันสังคมจะยังคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน นับจากวันที่ลาออก

สามารถใช้สิทธิ์ได้ทั้งโรงพยาบาลรัฐบาล โรงพยาบาลเอกชน และคลินิกทันตกรรมทั่วไป ที่เข้าร่วมโครงการกรณีทันตกรรม หากวงเงินค่าใช้จ่ายไม่เกินที่กำหนดไม่ต้องสำรองจ่าย แต่ในกรณีที่ต้องทำฟันปลอม ผู้ประกันตนต้องสำรองเงินจ่ายไปก่อนแล้วจึงสามารถทำเรื่องเบิกกับประกันสังคม โดยแยกจากสิทธิทำฟัน 900 บาทต่อปี ที่ใช้ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน และผ่าฟันคุด

ภาพกราฟิกโดย Varanya Phae-araya

เบิกค่าทำฟันประกันสังคมได้ยังไงบ้าง

ในกรณีที่เข้ารับบริการทำฟันกับสถานพยาบาลที่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้าไปก่อน หรือเป็นการทำฟันปลอม สามารถยื่นขอเบิกค่าทำฟันย้อนหลังได้ที่

  • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครทุกพื้นที่ ในวัน-เวลาราชการ
  • สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทุกแห่งทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) ในวัน-เวลาราชการ
  • ยื่นเอกสารผ่านทางไปรษณีย์ โดยส่งเอกสารไปตามที่อยู่ของสำนักงานประกันสังคมที่อยู่ใกล้บ้าน พร้อมจ่าหน้าซองว่า “ฝ่ายสิทธิประโยชน์”

เบิกค่าทำฟันประกันสังคม ใช้เอกสารอะไรบ้าง

กรณีที่ต้องทำฟันกับคลินิกทันตกรรมที่ไม่ได้ร่วมโครงการไม่ต้องสำรองจ่าย ให้ผู้ประกันตนเก็บใบเสร็จรับเงินและขอใบรับรองแพทย์ และเตรียมเอกสารต่อไปนี้เพื่อไปยื่นกับสำนักงานประกันสังคมสาขาที่สะดวก

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม (สปส.2-16)
  2. ใบรับรองแพทย์
  3. ใบเสร็จรับเงิน
  4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
  5. เวชระเบียนของแพทย์ผู้รักษา(กรณีเบิกฟันปลอมฐานอะคริลิก)
  6. กรณีขอรับเงินทางธนาคาร ให้แนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี 11 ธนาคาร ดังนี้

  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

ส่วนธนาคารออมสินกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ยังไม่สามารถใช้ยื่นได้

ทำฟันประกันสังคม เบิกได้ปีละกี่ครั้ง

ทางประกันสังคมไม่ได้จำกัดว่าให้เบิกได้กี่ครั้งต่อปี เพราะฉะนั้นหากค่าใช้จ่ายการทำฟันในปีนั้นๆ ยังไม่ถึง 900 บาท ผู้ประกันตนก็ยังสามารถยื่นเบิกได้เรื่อยๆ จนกว่าวงเงินจะครบ 900 บาท ซึ่งเป็นวงเงินที่ให้แบบปีต่อปี ไม่สามารถนำไปทบยอดเพื่อใช้ในปีถัดๆ ไปได้

นอกจากนี้ ควรยื่นเบิกค่าทำฟันประกันสังคมภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่เข้ารับบริการทำฟัน โดยยึดวันที่ระบุไว้ในใบรับรองแพทย์เป็นหลัก หากเกิน 2 ปีแล้วจะหมดสิทธิ์รับเงินทำฟันประกันสังคมทันที ดังนั้นหลักจากทำฟันแล้วควรรีบทำเรื่องเบิกเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของเรา 

ใครที่เป็นผู้ประกันตนเองคุณทราบหรือไม่ว่าจริง ๆ แล้วคุณสามารถเบิกเงินค่าทำฟันได้นะคะ มันเป็นสวัสดิการด้านทันตกรรมที่เราควรได้รับ ซึ่งอันที่จริงแล้วคุณสามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้มากมายไม่ว่าจะเป็น “ลงทะเบียน รับเงินสงเคราะห์บุตร” หรือ “เบิกเงินค่าคลอดบุตร” เป็นต้นที่เราได้เขียนบทความไปแล้ว ซึ่งเราเชื่อว่ายังมีหลาย ๆ ที่ยังไม่รู้ว่าคุณมีสิทธิ์อะไรบ้าง คุณสามารถตามอ่านและ “เช็คสิทธิ์ประโยชน์ของ ประกันสังคม แต่ละมาตรา” ได้จากบทความนี้ค่ะ

เช็กสิทธิ์สำหรับ เบิกค่าทำฟัน  ใครอยู่ในสิทธิ์ประเภทใดบ้าง 

1. สิทธิ์เบิกได้

สิทธิ์นี้ใช้สำหรับคนที่ทำงานราชการ คุณสามารถเบิกเงินได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ โดยต้องอยู่ในรายการทำฟันตามที่กำหนดและเงื่อนไขต่าง ๆ โดยคุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ “ทันตแพทยสภา” จากนั้นให้คุณนำใบเสร็จจากโรงบาลหรือสถานพยาบาลของรัฐที่คุณไปใช้บริการ นำไปเบิกยังต้นสังกัดที่คุณทำงาน ค่ะ

2. สิทธิ์ประกันสังคม

สำหรับใครประกันตนมาตรา 33 และ 39 ที่ส่งเงินให้ประกันสังคมครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ในกรณีที่ลาออกจากงานก็ยังใช้สิทธิ์ต่อไปได้ โดยคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน คุณสามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมในส่วนนี้ได้เช่นกันค่ะ โดยการอุดฟัน, ถอนฟัน, การผ่าตัดทั้งหมดในช่องปาก หรือขูดหินปูน จะสามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ 900 บาท/ปี โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งต่อปี ซึ่งคุณสามารถเบิกได้จนกว่าจะครบ 900 บาท/ปี ค่ะ

จากนั้นให้นำเอกสารเหล่านี้ไปเบิก โดยใช้ ใบเสร็จที่ใช้บริการจากรัฐหรือเอกชนก็ได้ พร้อมใบรับรองการรักษาจากทันตแพทย์ และแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม (สปส.2-16) รวมถึงสำเนาสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารหน้าแรก ไปเบิกเงินที่สำนักงานประกันสังคม ซึ่งสามารถไปเบิกได้ภายใน 1 ปี นับจากวันที่ระบุในใบเสร็จ (ไม่ได้หมายถึงภายในสิ้นปีนะคะ เพราะฉะนั้นคุณไม่จำเป็นไปดำเนินเรื่องภายในสิ้นปีนั้น ๆ เสมอไป)

นอกจากนี้ยังมีวิธีที่สะดวกมากกว่าการดำเนินเรื่องที่สำนักงานโดยตรง เพราะคุณสามารถส่งหลักฐานไปทางไปรษณีย์ได้ค่ะ โดยเขียนหน้าซองว่า “ฝ่ายสิทธิประโยชน์” พร้อมแนบสำเนาสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารหน้าแรก และทางสำนักงานประกันสังคมจะโอนเงินเข้าบัญชีของคุณเอง สะดวกมาก ๆ เลยใช่มั้ยคะ 🙂

หมายเหตุ:

  • กรณีทำฟันเทียมถอดได้บางส่วน ทำได้ไม่เกิน 5 ซี่ เบิกได้ 1,300 บาท ถ้ามากกว่า 5 ซี่ เบิกได้ 1,500 บาท หรือการกรณีทำฟันเทียมถอดได้ทั้งปากก็จะสามารถเบิกได้ 2,400-4,400 บาท
  • ค่าทำฟันโดยใช้สิทธิประกันสังคม แบบไม่ต้องสำรองจ่าย คุณสามารถตรวจสอบยังสถานที่ให้บริการได้จาก สติ๊กเกอร์ที่ติดว่า “สถานพยาบาลแห่งนี้ให้บริการผู้ประกันตนกรณีทันตกรรม ทำฟัน ไม่ต้องสำรองจ่าย” ยกเว้นการทำฟันเทียมที่ต้องสำรองจ่าย

3. สิทธิ์บัตรทอง

สิทธ์นี้คุณสามารถใช้รักษาบริการที่เกี่ยวกับทันตกรรมได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เลยค่ะ แต่จะต้องเป็นโรงพยาบาลของรัฐตามที่กำหนดไว้ โดยรายการที่กำหนดให้ทำได้นั้นมีแจ้งไว้ในเว็บไซต์ทันตแพทยสภา เช่นกันค่ะ

สรุป เบิกค่าทำฟัน กับ ประกันสังคม

  1. ต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ไม่นับมาตรา 40
  2. ต้องส่งเงินครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน
  3. หากลาออกจากงานแล้วยังใช้สิทธิ์ได้อีก 6 เดือน
  4. เบิกค่าใช้จ่ายได้ 900 บาท/ปี สำหรับอุดฟัน, ถอนฟัน, การผ่าตัดทั้งหมดในช่องปาก หรือขูดหินปูน โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ยกเว้นค่ารักษาส่วนเกิน
  5. กรณีทำฟันเทียมต้อง สำรองจ่ายไปก่อน โดยหากทำบางซี่เบิกได้ไม่เกิน 1,300-1,500 บาท หรือหากทำฟันเทียมแบบทั้งปากเบิกได้ 2,400-4,400 บาท
  6. ทำได้ทั้งที่โรงพยาบาลรัฐ เอกชน รวมถึงคลินิก
  7. ขอเบิกทางไปรษณีย์ได้ โดยไม่ต้องไปที่สำนักงานประกันสังคม
  8. วันหมดอายุสำหรับการเบิกค่าทำฟัน คือภายใน 1 ปี นับจากวันที่ระบุในใบเสร็จ
  9. ใช้เวลาในการตรวจสอบประมาณ 1-2 สัปดาห์
การเบิกค่าทำฟันกับสำนักงานประกันสังคม

ขอบคุณที่มาข้อมูลและรูปภาพจากเพจ facebook สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

แน่นอนค่ะว่าปัญหาด้านสุขภาพในช่องปากนั้น คงไม่มีใครอยากให้เกิด แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วตคุณจะต้องรีบได้รักษาโดยทันตแพทย์ ซึ่งคุณสามารถใช้สิทธิ์ที่ตนมีได้ แต่อย่างไรก็ตามการป้องกันตนเองจากปัญหาด้านสุขภาพในช่องปากนั้นย่อมเป็นเรื่องที่ดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นการเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากที่มีคุณภาพดีอย่าง แปรงสีฟันไฟฟ้า, ยาสีฟัน,​ สเปรย์ระงับกลิ่นปาก, ไหมขัดฟันหรือน้ำยาบ้วนปาก เป็นต้น

I am a graduate of Department of Computer Engineering Prince of Songkla University. I really enjoy writing and reviewing technology and women's products.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก