หลักธรรมที่ส่งเสริมให้เป็นคนเก่ง

การได้รับการยอมรับว่าเป็นคนดี คนเก่ง อาจถือได้ว่าเป็นความปรารถนาของทุกคนที่ต้องการมีตัวตนปรากฎอยู่ในสังคม  เพราะนอกจากหมายถึงความภาคภูมิใจ  เป็นเกียรติ เป็นศักดิ์ศรีอันเชิดหน้าชูตาแล้ว  การเป็นคนดี คนเก่ง  ยังถือเป็นคุณสมบัติอันเปรียบประดุจพลังในการดึงดูด  ขับเคลื่อน  หรือสร้างสิ่งดี ๆ ให้เกิดขึ้น ทั้งต่อตัวเอง คนรอบข้าง และสังคมส่วนรวม

/ภาพโดย danymena88 จาก pixabay/

แต่การจะก้าวไปถึงจุดที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นคนดีคนเก่งนั้น  จำต้องผ่านการฝึกฝน พัฒนา เพื่อพิสูจน์ตัวเอง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไป  ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวิถีทางของแต่ละคนที่จะพัฒนาตนไปสู่เป้าหมายดังกล่าว

สำหรับวันนี้  ผมขอนำเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ  7 แนวทางการพัฒนาตนไปสู่การเป็นคนดี คนเก่ง ตามแนวคำสอนทางพระพุทธศาสนา มาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้ครับ

/ภาพโดย geralt จาก pixabay/

2.ฝึกฝนตนเองให้มองเห็นผลที่จะเกิดขึ้นจากสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หรือการกระทำที่ตนกระทำอยู่ว่าจะก่อให้ เกิดผลอย่างไรบ้างในอนาคต  ผมเคยเจอถ้อยคำทางกฎหมายคำหนึ่งที่ว่า "กระทำโดยเล็งเห็นผล" ซึ่งคิดว่าอาจนำมาใช้ได้  เพียงแต่คำว่า "เล็งเห็นผล" ในความหมายของกฎหมายนั้นจะจำกัดเฉพาะผลร้าย หากแต่ในการพัฒนาตนตามแนวทางที่กล่าวถึงนี้ ควรต้องเล็งให้เห็นทั้งผลทั้งด้านดีและร้าย  เพื่อจะใช้ในการวางแผนทำสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดผลดี หลีกเลี่ยงผลเสียที่จะเกิดขึ้น เช่น ในวันที่อารมณ์สีเทาหรือความรู้สึกด้านลบเข้าครอบงำ  หากเรารู้จักมองเห็นผลในอนาคตว่า หากปล่อยให้เป็นเช่นนั้นต่อไป จะเป็นการฉุดรั้งชีวิตให้ถอยหลังหรือตกต่ำ  ก็จะกระตุ้นให้เรารีบปรับเปลี่ยนสภาพความคิดและจิตใจให้เป็นบวก เพื่อฉุดดึงชีวิตให้ก้าวต่อไปในทิศทางที่ดีได้ทันท่วงที ดังนี้เป็นต้น

3. ฝึกฝนให้รู้จักตัวเอง ค้นพบตัวตน และทำความรู้จัก เข้าใจในความเป็นตัวของตัวเองให้มากพอ แล้วนำเอาจุดเด่น จุดด้อยของตนเอง มาวางแผนในการปรับปรุง แก้ไข พัฒนา  และกำหนดทิศทางชีวิตให้เหมาะสมกับตัวเอง ด้วยการดึงเอาศักยภาพของตนออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่ามากที่สุด ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น   โดยไม่จำเป็นต้องให้เป็นเหมือนใคร จนต้องฝืนหรือสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง สิ่งนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาและนำพาตนไปสู่ความสำเร็จได้ ดังจะเห็นได้ว่า บุคคลสำคัญของโลกหลายคนที่ค้นพบและรู้จักตนเอง สามารถประสบความสำเร็จและเป็นที่จดจารึกของโลกได้อย่างน่าอัศจรรย์

/ภาพโดย johnhain จาก pixabay/

4.ฝึกฝนตนเองให้รู้จักความพอดี พอควร ไม่ทำอะไรมากหรือน้อยจนสุดโต่งเกินไป เช่น ในเรื่องการเรียนหรือการทำงานก็ไม่หักโหมจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ หรือปล่อยปละละเลย ใส่เกียร์ว่างจนเหมือนใช้ชีวิตไปวัน ๆ ไม่เกิดประโยชน์อะไร  ต้องรู้จักบริหารจัดการให้อยู่บนเส้นแบ่งแห่งความพอดีและสมดุล

5. ฝึกฝนตัวเองให้รู้จักการวางแผน ในการใช้เวลาและโอกาสที่ถูกต้อง เหมาะสม หรือที่เรียกว่า รู้จักกาละเทศะ ว่า เวลาไหนควรทำอะไร เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์มากที่สุด คุ้มค่าที่สุด

6. ฝึกฝนตัวเองให้รู้จักสังคมและชุมชนของตน เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสังคม ในการที่จะดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างราบรื่น  เป็นปกติสุข หลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งหรือกระทบกระทั่ง  แม้กระทั่งความแปลกแยกแตกต่าง ที่เรียกว่าเป็นแกะดำ  ซึ่งย่อมจะไม่ส่งผลดี และอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาตัวเองให้ได้รับการยอมรับ  เพราะเท่าที่รู้จักใครหลายคน  ที่แม้จะมีคุณสมบัติความเป็นคนดี คนเก่ง อยู่ในตัวเอง  แต่มีปัญหาเรื่องการปรับตัวเข้ากับสังคม  ความเก่งความดีที่อยู่ในตัวก็ไม่อาจปรากฎออกมาให้เป็นที่ยอมรับได้อย่างเต็มที่

/ภาพโดย geralt จาก pixabay/

7. ฝึกฝนตนเองให้มีทักษะในการวิเคราะห์บุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง หรือมีปฏิสัมพันธ์ด้วย  ว่าบุคคลแต่ละคนนั้นมีลักษณะ อุปนิสัยใจคอเป็นอย่างไร  เพื่อใช้ในการวางแผนในการวางตัวที่เหมาะสมต่อพวกเขาเหล่านั้น รวมถึงการรู้จักเลือกคบคนที่จะส่งเสริมการพัฒนาตนเองให้เป็นคนดี คนเก่ง และส่งเสริมสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ได้  ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญในการใช้ชีวิต ดังที่เคยได้ยินคำสอนมาตั้งแต่โบราณว่า "คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล"

ทั้ง 7 ข้อนี้ ผมประยุกต์มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า สัปปุริสธรรม 7 หรือคุณธรรมเจ็ดประการของสัตบุรุษ คือ คนดี คนเก่ง อันประกอบไปด้วย ธัมมัญญุตา , อัตถัญญุตา, อัตตัญญุตา, มัตตัญญุตา, กาลัญญุตา, ปริสัญญุตา และปุคคลัญญุตา

ซึ่งอาจสรุปย่อคำแปลเป็นคำคล้องจองภาษาไทย เพื่อง่ายต่อการจดจำได้คือ รู้จักเหตุ - รู้จักผล - รู้จักตน - รู้จักประมาณ - รู้จักกาล - รู้จักชุมชน และรู้จักเลือกคบคน

หลักคำสอนนี้มีมากว่าสองพันห้าร้อยปี แต่ถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่ล้าสมัย ก็ขึ้นอยู่กับคุณแล้วหล่ะ ว่าจะนำไปใช้ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้มากน้อยเพียงใด

ภาพปกบทความโดย kalhh จาก pixabay

หลักธรรมที่ทำให้คนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์คือหลักธรรมใด

อย่างแท้จริงของมนุษยชาตินั้น บุคคลควรมีสัปปุริสธรรม ๗ อันเป็นธรรมะของคนดีหรือคนที่แท้ เป็น คุณสมบัติของความเป็นคนที่สมบูรณ์ เนื่องจากธรรมะนี้ จะท าให้บุคคลรู้จักการด าเนินชีวิตที่ดีงามด้วยตนเอง และช่วยให้สังคมด ารงอยู่ในสันติสุข ได้แก่

หลักธรรมของคนดีมีชื่อว่าอะไร

หลักธรรมของคนดี 1. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ 2. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล 3. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน

หลักธรรมของคนดี หรือ สัตบุรุษ 7 ประการ มีอะไรบ้าง

สัปปุริสธรรม หมายถึง ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมของคนดี ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษมี 7 ประการ คือ 1) ธัมมัญญุตา รู้หลักหรือรู้จักเหตุ 2) อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายหรือรู้ เหตุผล 3) อัตตัญญุตา รู้จักตน 4) มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ 5) กาลัญญุตา รู้จักกาลเวลา 6) ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน สังคม 7) ปุคคสัญญุญา รู้จักบุคคล คุณธรรม 7 ...

หลักธรรมเพื่อพัฒนางานใดเป็นหลักธรรมที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จในงาน

หลักธรรมสำหรับคนทำงานที่ควรมี ได้แก่ หลัก อิทธิบาท 4 คือ ธรรมที่ทำให้เกิดความสำเร็จ ที่คนทำงานต้องมี ประกอบด้วย 1. ฉันทะ มีความพอใจ ใฝ่ที่จะกระทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ ทำให้คนๆ นั้นดียิ่งๆ ขึ้นไป 2. วิริยะ มีความเพียร คนทำงานต้องขยันหมั่นเพียร ประกอบการงานอย่างเข้มแข็ง อดทน ไม่ท้อถอย ก็จะทำให้งาน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก