หลักการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณกรรม

การวิเคราะห์ หมายถึง การพิจารณาตรวจตรา แยกแยะและประเมินค่า ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อผู้วิเคราะห์ในการนำไปแสดงความคิดเห็น อภิปรายข้อเท็จจริงให้ผู้อื่นทราบ ด้วยว่าใครเป็นผู้แต่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร มีประโยชน์อย่างไร ต่อใครบ้าง ผู้วิเคราะห์ มีความเห็นอย่างไร เรื่องที่อ่านมีคุณค่าด้านใดบ้างและแต่ละด้านสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง

 
  แนวในการวิเคราะห์วรรณกรรม

การวิเคราะห์วรรณกรรมมีหลักเกณฑ์การปฏิบัติอย่างกว้าง ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมงานเขียนทุกประเภท แต่ละประเภท ผู้วิเคราะห์ต้องนำแนวการวิเคราะห์ไปปรับใช้ ให้เหมาะสมกับงานเขียนแต่ละชิ้นงานซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป ซึ่งประพนธ์ เรืองณรงค์ และคณะ (2545 : 128) ได้ให้หลักเกณฑ์กว้าง ๆ ในการวิเคราะห์วรรณกรรม ดังนี้
1. ความเป็นมาหรือประวัติของหนังสือและผู้แต่ง เพื่อช่วยให้วิเคราะห์ในส่วนอื่น ๆ
2. ลักษณะคำประพันธ์
3. เรื่องย่อ
4. เนื้อเรื่อง ให้วิเคราะห์เรื่องในหัวข้อต่อไปนี้ตามลำดับ โดยบางหัวข้ออาจจะมี หรือไม่มีก็ได้ตามความจำเป็น เช่น โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก วิธีการแต่ง ลักษณะการเดินเรื่อง การใช้ถ้อยคำ สำนวนในเรื่องท่วงทำนองการแต่ง วิธีคิดสร้างสรรค์ ทัศนะหรือมุมมองของผู้เขียน เป็นต้น
5. แนวคิด จุดมุ่งหมาย เจตนาของผู้เขียนที่ฝากไว้ในเรื่อง ซึ่งต้องวิเคราะห์ออกมาก
6. คุณค่าของวรรณกรรม โดยปกติแบ่งออกเป็น 5 ด้านใหญ่ ๆ และกว้าง ๆ เพื่อความครอบคลุมในทุกประเด็น ซึ่งผู้วิเคราะห์ต้องไปแยกหัวข้อย่อยให้สอดคล้องกับลักษณะ ของหนังสือที่จะวิเคราะห์นั้น ๆ ตามความเหมาะสม

 
 

  การวิเคราะห์คุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม

ความหมายของการวิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรม
การวิเคราะห์ หมายถึง การพิจารณาองค์ประกอบทุกส่วน โดยวิธีแยกแยะรายละเอียดต่าง ๆ ตั้งแต่ถ้อยคำสำนวน การใช้คำ ใช้ประโยค ตลอดจนเนื้อเรื่องและแนวคิด ทุกอย่างที่ปรากฏอยู่ในข้อเขียนนั้น เมื่อวิเคราะห์ส่วนประกอบได้แล้ว จึงวิจารณ์ต่อไป
การวิจารณ์ หมายถึง การพิจารณาเทคนิคหรือกลวิธีที่แสดงออกมานั้นให้เห็นว่าน่าคิด น่าสนใจ น่าติดตาม มีชั้นเชิงยอกย้อนหรือตรงไปตรงมา องค์ประกอบใดมีคุณค่า
น่าชมเชย องค์ประกอบใดน่าท้วงติงหรือบกพร่องอย่างไร การวิจารณ์สิ่งใดจึงต้องใช้ความรู้ มีเหตุผล มีหลักเกณฑ์ และมีความรอบคอบด้วย
การวิจารณ์งานประพันธ์ หมายถึง การพิจารณากลวิธีต่าง ๆ ทุกอย่างที่ปรากฏในงานเขียน ซึ่งผู้เขียนแสดงออกมาอย่างมีชั้นเชิง โดยผู้วิจารณ์จะต้องแสดงเหตุผลที่จะชมเชย หรือชี้ข้อบกพร่องใด ๆ ลงไป

  วิธีวิเคราะห์และวิจารณ์งานประพันธ์

ตามปกติแล้วเมื่อจะวิจารณ์สิ่งใด จำเป็นต้องเริ่มวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ให้เข้าใจ ชัดเจนเสียก่อนแล้วจึงวิจารณ์แสดงความเห็นออกมาอย่างมีเหตุผล ให้น่าคิด น่าฟังและเป็นคำวิจารณ์ที่น่าเชื่อถือได้
การวิจารณ์งานประพันธ์สำหรับผู้เรียนที่เริ่มต้นฝึกหัดใหม่ ๆ นั้น อาจต้องใช้เวลาฝึกหัด มากสักหน่อย อ่านตัวอย่างงานวิจารณ์ของผู้อื่นมาก ๆ และบ่อย ๆ จะช่วยได้มากทีเดียว เมื่อตัวเราเริ่มฝึกวิจารณ์งานเขียนใด ๆ อาจจะวิเคราะห์ไม่ดี มีเหตุผลน้อยเกินไป คนอื่นเขาไม่เห็นด้วย เราก็ควรย้อนกลับมาอ่านเขียนนั้น ๆ อีกครั้งแล้วพิจารณาเพิ่มเติม วิธีวิเคราะห์ วิจารณ์งานประพันธ์จึงมีลักษณะขั้นตอนการวิเคราะห์และวิจารณ์ โดยเริ่มต้นที่ผู้อ่านไปอ่านงานวรรณกรรม เมื่ออ่านแล้วจึงวิเคราะห์แยกแยะดูองค์ประกอบต่าง ๆ ลำดับต่อไปนี้จึงวิจารณ์กลวิธีการ
นำเสนอ ว่าน่าสนใจหรือไม่เพียงใด แล้วผู้วิจารณ์จึงเรียบเรียงความคิดเห็นแสดงออกมาด้วยวิธีพูด หรือเขียนวิจารณ์อย่างมีเหตุผล และแม้นว่า การวิจารณ์จะสิ้นสุดแล้ว แต่ผู้อ่านก็ยังย้อนกลับมาสนใจงานประพันธ์ชิ้นเดิม แล้วเริ่มต้นวิเคราะห์วิจารณ์ใหม่ได้อีกตลอดเวลา

  ประเด็นที่ใช้ในการวิเคราะห์และวิจารณ์คุณค่าของงานวรรณคดีและวรรณกรรม 

การวิเคราะห์และวิจารณ์งานประพันธ์เท่าที่พบเห็นทั่ว ๆ ไป นักวิจารณ์นิยมพิจารณากว้าง ๆ 4 ประเด็น
1) คุณค่าด้านวรรณศิลป์ คือ ความไพเราะของบทประพันธ์ ซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ ความรู้สึกและจินตนาการตามรส ความหมายของถ้อยคำและภาษาที่ผู้แต่งเลือกใช้เพื่อให้มีความหมายกระทบใจผู้อ่าน
2) คุณค่าด้านเนื้อหาสาระ แนวความคิดและกลวิธีนำเสนอทั้ง 2 ประเด็นนี้ จะอธิบาย และยกตัวอย่างประกอบพอเข้าใจ โดยจะกล่าวควบกันไปทั้งการวิเคราะห์และการวิจารณ์
3) คุณค่าด้านสังคม วรรณคดีและวรรณกรรมจะสะท้อนให้เห็นสภาพของสังคมและวรรณคดีที่ดีสามารถจรรโลงสังคมได้อีกด้วย
4) การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันผู้อ่านสามารถนำแนวคิดและประสบการณ์จากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้

 การพิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์

วรรณศิลป์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญซึ่งช่วยส่งเสริมให้วรรณกรรมมีคุณค่าน่าสนใจ คำว่า “วรรณศิลป์” หมายถึง ลักษณะดีเด่นทางด้านวิธีแต่ง การเลือกใช้ถ้อยคำ สำนวน ลีลา ประโยค และความเรียงต่าง ๆ

หลักการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีมีกี่หลักการ

หลักการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม มีดังนี้ ๑. ผู้วิจารณ์จะต้องมีความรู้ในเรื่องรูปแบบ ลักษณะค าประพันธ์และวรรณศิลป์ มีประสบการณ์ในการอ่านมาก ๒. ผู้วิจารณ์จะต้องอธิบายลักษณะของหนังสือว่าเป็นอย่างไร โดยอ่านความเห็นของผู้รู้ ที่น่าเชื่อถือได้ประกอบการวิจารณ์ ๓. ผู้วิจารณ์ควรแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณคดีหรือวรรณกรรมเรื่อง ...

หลักการวิเคราะห์คุณค่าของวรรณคดีมีอะไรบ้าง

การวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีหรือวรรณกรรม คือการพิจารณาวรรณกรรมโดยแบ่งเป็นแต่ละหัวข้อ ตั้งแต่ รูปแบบการประพันธ์ การดำเนินเรื่อง เค้าโครงเรื่อง การผูก และการคลายปม การใช้สำนวนโวหาร การสื่ออารมณ์ ลีลา และสำนวนการประพันธ์ คุณค่าด้านเนื้อหาสาระ ความรู้ที่สอดแทรกอยู่ในเรื่อง คติ ข้อคิดที่แฝงไว้ เป็นต้น แล้วประเมินคุณค่าของ ...

หลักการวิจารณ์มีอะไรบ้าง

แบ่งตามการวิจารณ์ ๑. จิตวิจารณ์ เป็นการวิจารณ์ตามความรู้สึกนึกคิดของผู้วิจารณ์ ๒. อรรถวิจารณ์ เป็นการตีความ วิจารณ์ตามเนื้อหาสาระและสรุปผล สรุปงานแล้วเปรียบเทียบข้อดีข้อด้อย ๓. วิพากษ์วิจารณ์ เป็นการวิจารณ์เชิงตัดสิน อาจใช้แบบอย่างที่ผ่านมาเป็นเครื่องวัดหรืออาจใช้ความรู้สึกชอบไม่ชอบ

หลักการพินิจวรรณคดีมีกี่ข้อ

ผู้พินิจวรรณคดีและวรรณกรรมจะต้องใช้หลักการทั้ง ๕ ขั้นตอนมาพิจารณาองค์ประกอบของวรรณคดีหรือวรรณกรรม ดังนี้.
เนื้อหา คือ ใจความสำคัญของวรรณคดีและวรรณกรรมมีส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ ... .
รูปแบบ คือ ลักษณะของงานประพันธ์ที่ผู้แต่งเลือกใช้ซึ่งการพินิจรูปแบบ ผู้อ่านควรพิจารณารูปแบบและเนื้อหาว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก