หลักธรรมในการบริหารงานบุคคล

          จริงๆ แล้วทุกองค์กรก็ต้องการให้มีบุคลากรที่เป็นทั้งคนเก่งและคนดีไปพร้อมๆ กัน ถ้าหากเป็นไปได้ก็คงจะเป็นเรื่องที่ดีมากๆ แต่หากเป็นไปไม่ได้การจะคัดสรรเอาไว้ก็คงจะหนีไม่พ้นการเลือกคนดีเอาไว้ เพราะคนเก่งสามารถเรียนรู้และพัฒนาจนเกิดความชำนาญได้ แต่คนดีมันต้องสร้างมาจากภายในไม่มีใครสามารถบังคับได้ ผู้บริหารหลายคนพยายามหาวิธีการบริหารจัดการแบบใหม่ๆ มามากมายเพื่อที่จะสร้างให้บุคลากรภายในองค์กรเป็นทั้งคนเก่งและคนดี ซึ่งบางองค์กรก็ประสบความสำเร็จแต่บางองค์กรก็ต้องพบกับความล้มเหลว

          ความสัตย์จริงในเรื่องของการดำเนินชีวิตรวมถึงหลักธรรมในการบริหารคนของพระพุทธเจ้ายังคงใช้ได้อยู่ทุกยุคทุกสมัย หากท่านใคร่ครวญดูท่านจะพบว่าเราไม่จำเป็นต้องเอาการบริหารจัดการของต่างประเทศเข้าใช้มาเลย เพราะหลักการบริหารจัดการของพุทธศาสนานี่แหละชัดเจนที่สุดและใช้ได้จริง

          การที่จะเป็นคนเก่งได้ต้องมาจากการเป็นคนดีก่อน โดยใช้หลักธรรมมะในเรื่องของ “พรหมวิหาร 4” จากนั้นจะค่อยๆ พัฒนาตนเองให้กลายเป็นคนที่เก่งได้ด้วย หลักธรรมมะในเรื่องของ “อิทธิบาท 4”

           พรหมวิหาร 4  ประกอบไปด้วย
               1. เมตตา  ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดจากการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้ และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น

               2. กรุณา  ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกายไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ  คือ ทุกข์โดยสภาวะหรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย และทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา

              3. มุทิตา  ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน

              4. อุเบกขา  การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเรา  เห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

           อิทธิบาท 4  ประกอบไปด้วย

              1. ฉันทะ คือ ความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ตนถือว่าดีที่สุดที่มนุษย์เราควรจะได้ ข้อนี้เป็นกำลังใจอันแรกที่ทำให้เกิดคุณธรรมข้อต่อไปทุกข้อ

              2. วิริยะ คือ ความพากเพียร หมายถึง การกระทำที่ติดต่อไม่ขาดตอนเป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้มีความหมายของความกล้าหาญเจืออยู่ด้วยส่วนหนึ่ง

              3. จิตตะ หมายถึง ความไม่ทอดทิ้งสิ่งนั้นไปจากความรู้สึกของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็นวัตถุประสงค์นั้นให้เด่นชัดอยู่ในใจเสมอ คำนี้รวมความหมายของคำว่าสมาธิอยู่ด้วยอย่างเต็มที่

              4. วิมังสา หมายถึง ความสอดส่องในเหตุและผลแห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้รวมความหมายของคำว่าปัญญาไว้อย่างเต็มที่

               และเมื่อทุกคนทุกฝ่ายมีหลักธรรมมะที่ซึมเข้าไปในจิตใจแล้วการบริหารองค์กรก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะทุกคนภายในองค์กรล้วนแต่เป็นทั้งคนเก่งและคนดี โดยใช้หลักธรรมมะเข้ามาขัดเกลาจิตใจ ดังนั้นการบริหารคนก็คือการนำหลักธรรมมะเข้ามาเพื่อเป็นตัวช่วยทำให้เกิดความสมดุลของชีวิต ทำให้ทุกคนมีความสุขทั้งในชีวิตและการทำงาน

         

หลักธรรมของพระพุทธศาสนา

ป็นที่มาของขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ทัศนคติ ในด้านความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ ของคนไทยจะมีหลักพระพุทธศาสนามาเกี่ยงข้อง ซึ่งหลักธรรมของพระพุทธศาสนา จะมีอิทธิพลต่อชีวิตจิตใจของคนไทยมากและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ โดยยึดแนวทางการปฏิบัติที่เรียกว่า ทางสายกลาง ซึ่งในทางสายกลางของพุทธศาสนาเกี่ยวข้องทั้งกาย วาจา ใจ สมาธิหรือว่าปัญญาสามารถนำประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการธุรกิจได้

          

หลักในการพิจารณาเลือกคำสอนพุทธศาสนามาใช้ในการบริหารจัดการนั้นต้องเลือกมาให้เหมาะกับวิถีชีวิต และองค์กรโดยหลัก ๆ เกี่ยวกับการปกครอง เกี่ยวกับการบริหารองค์กรต่าง ๆ จะต้องใช้หลักธรรมที่เรียกว่า

สังคหวัตถุ 4

คือ เป็นหลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของกันและกัน ประสานใจทุกคนที่อยู่ในองค์กรเดียวกันให้อยู่อย่างมีความสุข สามัคคี ซึ่งประกอบไปด้วย

1. การให้ทาน คือ การอนุเคราะห์หรือสงเคราะห์ การช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามถานานุรูป ในโอกาสต่าง ๆ เช่น งานบุญกุศลงานอัคคีร้าย หรือหลาย ๆ อย่าง

2. ปิยวาจา คือ การกล่าวด้วยคำที่เป็นที่รัก มีประโยชน์ ถูกต้องดีงาม และก็จริงใจต่อผู้ร่วมงาน

3. อัตถจริยา คือ ความประพฤติที่เป็นประโยชน์กันคนอื่น เช่นว่าเราช่วยเหลือกิจการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมทั่วไปแนะนำแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และชักชวนให้คนอื่นสนใจธรรมะ ให้ประพฤติ

4. สมานัตตา คือ ความเป็นผู้มีตนเสมอ วางตนเสมอต้นเสมอปลายปฏิบัติต่อคนอื่นอย่างเสมอภาค วางตัวให้เหมาะสมกับฐานะที่เป็นอยู่ เข้ากับคนอื่นให้ได้ ไม่เอาเปรียบคน อย่างที่กล่าวมาทั้งหมดเรียกว่า สังคหวัตถุ

หลักเกี่ยวกับการบริหารองค์กร คือ อิทธิบาท 4
อิทธิบาท 4 คือ ธรรมะของความสำเร็จเป็นทางแห่งความก้าวหน้า ซึ่งสามารถมาใช้ในธุรกิจได้ มีหลักอยู่ 4 ประการ ดังนี้
1. ฉันทะ คือ ความพอใจ รักในสิ่งที่เราทำและสิ่งที่ถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรม

2. วิริยะ คือ ต้องมีความพยายาม ขยัน หมั่นเพียร เข้มแข็งอดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค
3. จิตตะ คือ เอาใจมุ่งมั่นต่อสิ่งที่ทำ มีสติ ไม่เหม่อลอยฟุ้งซ่าน ต้องมีสมาธิ และตั้งอกตั้งใจ
4. วิมังสา คือ การรู้จักพิจารณาหาเหตุผลใช้ปัญญาในการทำงาน ประกอบไปด้วยการวางแผนงาน วัดผลงาน เมื่อมีข้อ
บกพร่องต้องรู้จักแก้ไขปรับปรุง

        วิธีการผสมผสานระหว่างบริหารจัดการกับคำสอนทางพระพุทธศาสนาแล้วเกิดความเปลี่ยนแปลงภายในองค์การที่เห็นชัด คือองค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นโดยเฉพาะตัวบุคคล ผู้นำองค์กรประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องอยู่ในศีลธรรม พนักงานในองค์กรก็จะถือเป็นแบบอย่างที่ดี ถ้าหากผู้บริหาร และบุคลากรในองค์การมีหลักธรรมเป็นเครื่องชี้นำแนวทาง การทำงานก็จะสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก